ซีเกมส์ 2015

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 28
เมืองเจ้าภาพสิงคโปร์
ประเทศ สิงคโปร์
คำขวัญCelebrate the Extraordinary
(การเฉลิมฉลองที่แสนวิเศษ)
ประเทศเข้าร่วม11 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม4,370 คน
กีฬา36 ชนิดกีฬา
ชนิด402 ประเภท
พิธีเปิด5 มิถุนายน 2558 (2558-06-05)
พิธีปิด16 มิถุนายน 2558 (2558-06-16)
ประธานพิธีเปิดโทนี ตัน เค็ง ยัม
ประธานาธิบดีสิงคโปร์
นักกีฬาปฏิญาณLin Qingyi[1]
ผู้ตัดสินปฏิญาณMohammad Azhar Yusoff[1]
ผู้จุดคบเพลิงฟันดี อะห์มัด
อีร์ฟัน ฟันดี[1]
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์
เว็บไซต์ทางการseagames2015.com

กีฬาซีเกมส์ 2015 เป็นการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 28 โดยมีสิงคโปร์[2][3][4] เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน มีนักกีฬา 4,370 คน จากทั้งหมด 11 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าร่วมแข่งขัน จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 5–16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 การแข่งขันฟุตบอล จะเริ่มแข่งขันวันที่ 29 พฤษภาคม ก่อนพิธีเปิด

การคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]

สิงคโปร์ ได้รับการคัดเลือกในฐานะเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ในครั้งนี้ ระหว่างการแข่งขันซีเกมส์ 2011 ที่จาการ์ตา และเมืองปาเลมบัง อินโดนีเซีย เป็นเจ้าภาพ โดยสิงคโปร์เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ในปี 2007 และ 2013 แต่สิงคโปร์ไม่พร้อมจัดการแข่งขัน เนื่องจากคาดว่าการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่จะมีความล่าช้า[5]

สนามแข่งขัน[แก้]

การแข่งขันซีเกมส์ในครั้งนี้จะใช้การผสมผสานระหว่างสนามกีฬาชั่วคราวและสนามกีฬาแห่งใหม่ที่มีอยู่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จะมีอยู่บริเวณใจกลางเมือง สถานที่จัดการแข่งขันส่วนใหญ่มีคุณภาพดี และได้รับการใช้เพื่อจัดมหกรรมกีฬาสำคัญต่างๆ เช่น โอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ที่สิงคโปร์ รับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

หัวใจหลักของสถานที่จัดการแข่งขันครั้งนี้คือ อุทยานกีฬาสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จเมื่อกลางปี 2014 อีกทั้งยังมีสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์แห่งใหม่ ที่มีความจุของผู้ชมในสนาม 55,000 ที่นั่ง ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันหลักในครั้งนี้

หมู่บ้านของนักกีฬาไม่ได้ถูกสร้างขึ้น ตามแนวคิด "หมู่บ้านในเมือง" โดยนักกีฬาที่เข้าร่วมแข่งขันจะพักผ่อนที่โรงแรมหรู 20 แห่ง ใจกลางเมือง นอกจากนี้สถานที่ออกกำลังกายของนักกีฬา ยังตั้งอยู่ใกล้กับอุทยานกีฬาสิงคโปร์ เพื่อเพิ่มกลิ่นอายของความเป็นเมืองและลดค่าใช้จ่ายในการสร้างหมู่บ้านนักกีฬา เพื่อไปลงทุนในด้านอื่น ๆ

การแข่งขันครั้งนี้ ใช้สนามแข่งขันทิ้งสิ้น 30 แห่ง สำหรับกีฬา 36 ชนิด

ศูนย์กีฬา สนามแข่งขัน กีฬา
อุทยานกีฬาสิงคโปร์ สนามกีฬาแห่งชาติ กรีฑา (เดิน 20 กม., มาราธอน), ฟุตบอล
โอซีบีซี อารีนา ฮอลล์ 1 เนตบอล, บาสเกตบอล
โอซีบีซี อารีนา ฮอลล์ 2 ฟันดาบ, วอลเลย์บอล (ในร่ม)
โอซีบีซี อารีนา ฮอลล์ 4 บิลเลียด และสนุกเกอร์
สนามกีฬาในร่ม เทเบิลเทนนิส, แบดมินตัน
ศูนย์กีฬาทางน้ำโอซีบีซี กีฬาทางน้ำ –กระโดดน้ำ, ว่ายน้ำ, ระบำใต้น้ำ, โปโลน้ำ
กัลลัง สควอช เซ็นเตอร์ สควอช (บุคคล & ทีม)
กัลลัง เทนนิส เซ็นเตอร์ เทนนิส
สนามคริกเกต กัลลัง ยิงธนู
สนามซอฟท์บอล กัลลัง ซอฟท์บอล
สิงคโปร์ เอ็กซ์โป เอ็กซ์โป ฮอลล์ 1 มวยสากลสมัครเล่น, เซปักตะกร้อ, ยูโด, ปันจักสีลัต
เอ็กซ์โป ฮอลล์ 2 เทควันโด, วูซู
ศูนย์กีฬาอ่าวมารีนา อ่าวมารีนา เรือยาวประเพณี, เรือใบ
ช่องแคบมารีนา เรือแคนู, เรือพาย
สถานที่อื่น ๆ อ่างเก็บน้ำเบด็อก สกีน้ำ[6]
ไป่ฉาน สปอร์ต ฮอลล์ ยิมนาสติก
สนามฟุตบอลไป่ฉาน ฟุตบอล[6]
สนามฟุตบอล จาลัน เบซาร์ ฟุตบอล
สนามกีฬาเชาชูกัง รักบี้ 7 คน[6]
สวนสาธารณะชายฝั่งทะเลตะวันออก ไตรกีฬา
มหาวิทยาลัยไอทีอีตะวันออก ฟลอร์บอล
เขื่อนกั้นน้ำมารีนา จักรยาน
สนามกีฬาเรือใบแห่งชาติ เรือใบ
สนามกีฬายิงปืนแห่งชาติ ยิงปืน (ด้านนอก)
ออร์คิด คันทรี คลับ โบว์ลิ่ง
ปาเด็ง เปตอง
สนามกีฬาฮอกกี้เส็งกัง ฮอกกี้
เทิร์ฟ คลับ ไรด์ดิง เซ็นเตอร์ ขี่ม้า
ตังลิน คลับ ควอช (ผสม)
ซาฟาร์ หยีชุน ยิงปืน (ในร่ม)

การตลาด[แก้]

สัญลักษณ์[แก้]

มาสคอต อย่างเป็นทางการ นิลาร์
มาสคอต อย่างเป็นทางการ นิลาร์

มาสคอตอย่างเป็นทางการประจำการแข่งขัน เป็นสิงโต ชื่อ นิลาร์ เป็นสิงโตตัวสีแดง เป็นโครงหน้ารูปหัวใจ สวมเสื้อวอร์มลายเซ็น หรือเสื้อวอร์มลายสีฟ้า ขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะใช้สำหรับการแข่งขัน[7]

การแข่งขัน[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วม[แก้]

ชนิดกีฬา[แก้]

การแข่งขันครั้งนี้ ประกอบด้วย 402 ประเภท จากกีฬา ทั้งหมด 36 ชนิด และจำนวนเหรียญทองที่ชิงชัยจะวงเล็บไว้หลังชนิดกีฬานั้น ๆ

¹ – ไม่ใช้จัดในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
² – จัดในการแข่งขันเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
³ – ไม่ใช้จัดในกีฬาโอลิมปิก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เจ้าภาพเสนอตัวจัดการแข่งขัน
° – ใช้จัดในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และเจ้าภาพเสนอตัวจัดการแข่งขัน
ʰ- ไม่เคยใช้จัดในกีฬาซีเกมส์มาก่อน เป็นครั้งแรกที่เจ้าภาพเสนอตัวจัดการแข่งขัน

30 กีฬาแรกที่จะใช้จัดการแข่งขันได้รับการประกาศครั้งแรกโดยสภาโอลิมปิกแห่งชาติสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2013 ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังจะเริ่มการแข่งขันซีเกมส์ 2013 ที่เนปยีดอ, เมียนมาร์ และไม่มีที่ว่างพอสำหรับอีก 8 ชนิดกีฬาหลักที่จะบรรจุเข้าไป จนเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2014 กีฬาหลักอีก 6 ชนิด ได้แก่ มวยสากลสมัครเล่น, ขี่ม้า, ฟลอร์บอล, เปตอง, เรือพาย และวอลเลย์บอล ถูกบรรจุเข้าไปเพิ่ม อีกทั้งฟลอร์บอล ยังได้ถูกจัดเข้าไปชิงชัยเหรียญทองเป็นครั้งแรก หลังจากที่ซีเกมส์ 2013 ถูกบรรจุเป็นกีฬาสาธิต ไม่มีการชิงเหรียญทอง

ในการเลือกจัดการแข่งขันตามชนิดกีฬาต่าง ๆ คณะกรรมการจัดการแข่งขันแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาที่จะกำหนดรูปแบบการแข่งขัน เพื่อเพิ่มระดับความเป็นเลิศในกีฬาที่สำคัญ มีเพียงฟลอร์บอล และเน็ตบอลเท่านั้นที่เป็นกีฬาดั้งเดิมและถูกรวมอยู่ในการชิงชัยเหรียญทอง ทำให้อีก 34 ชนิดกีฬาที่เหลือ ที่มีกีฬาบรรจุในกีฬาโอลิมปิกถึง 24 ชนิด และบรรจุเฉพาะในเอเชียนเกมส์ 10 ชนิด

ปฏิทินการแข่งขัน[แก้]

OC พิธีเปิด การแข่งขันรอบต่างๆ 1 การแข่งขันชิงเหรียญทอง CC พิธีปิด
พฤษภาคม / มิถุนายน 29
ศุกร์
30
เสาร์
31
อาทิตย์
1
จันทร์
2
อังคาร
3
พุธ
4
พฤหัส
5
ศุกร์
6
เสาร์
7
อาทิตย์
8
จันทร์
9
อังคาร
10
พุธ
11
พฤหัส
12
ศุกร์
13
เสาร์
14
อาทิตย์
15
จันทร์
16
อังคาร
จำนวนเหรียญทอง
พิธีการ OC CC
ยิงธนู TBD TBD TBD
กรีฑา TBD TBD TBD TBD TBD TBD
แบดมินตัน TBD TBD TBD
บาสเกตบอล TBD TBD
บิลเลียดและสนุกเกอร์ TBD TBD TBD TBD TBD TBD
โบว์ลิ่ง TBD TBD TBD TBD TBD TBD
มวยสากลสมัครเล่น TBD TBD
เรือแคนู TBD TBD TBD TBD
จักรยาน TBD TBD TBD TBD TBD
กระโดดน้ำ TBD TBD TBD TBD TBD
ขี่ม้า TBD TBD TBD TBD TBD
ฟันดาบ TBD TBD TBD TBD TBD
ฮอกกี้ TBD TBD TBD
ฟลอร์บอล TBD TBD
ฟุตบอล 1 1
กอล์ฟ TBD TBD
ยิมนาสติก TBD TBD TBD TBD TBD TBD
ยูโด
เน็ตบอล TBD TBD
ปันจักสีลัต TBD TBD TBD
เปตอง TBD TBD TBD TBD TBD TBD TBD
เรือพาย TBD TBD TBD
รักบี้ 7 คน 2 2
เรือใบ TBD TBD TBD TBD TBD TBD
เซปักตะกร้อ TBD TBD TBD TBD TBD
ยิงปืน TBD TBD TBD TBD TBD TBD TBD TBD TBD
ซอฟท์บอล TBD TBD
สควอช TBD TBD TBD TBD
ว่ายน้ำ TBD TBD TBD TBD TBD TBD TBD
ระบำใต้น้ำ TBD TBD TBD
เทเบิลเทนนิส TBD TBD TBD 2 7
เทควันโด TBD TBD TBD TBD
เทนนิส TBD TBD TBD 7
เรือประเพณี TBD TBD TBD
ไตรกีฬา 1 1 2
วอลเลย์บอล (ในร่ม) 2 2
โปโลน้ำ TBD TBD TBD
สกีน้ำ TBD TBD TBD TBD
วูซู TBD TBD TBD TBD
จำนวนเหรียญทอง 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 402
จำนวนเหรียญทองสะสม 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 402
พฤษภาคม / มิถุนายน 29
ศุกร์
30
เสาร์
31
อาทิตย์
1
จันทร์
2
อังคาร
3
พุธ
4
พฤหัส
5
ศุกร์
6
เสาร์
7
อาทิตย์
8
จันทร์
9
อังคาร
10
พุธ
11
พฤหัส
12
ศุกร์
13
เสาร์
14
อาทิตย์
15
จันทร์
16
อังคาร
จำนวนเหรียญทอง

สรุปเหรียญการแข่งขัน[แก้]

  *  เจ้าภาพ (สิงคโปร์)

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 ไทย (THA)958369247
2 สิงคโปร์ (SIN)*8473102259
3 เวียดนาม (VIE)735360186
4 มาเลเซีย (MAS)625866186
5 อินโดนีเซีย (INA)476174182
6 ฟิลิปปินส์ (PHI)293666131
7 พม่า (MYA)12263169
8 กัมพูชา (CAM)15915
9 ลาว (LAO)042529
10 บรูไน (BRU)0167
11 ติมอร์-เลสเต (TLS)0112
รวม (11 ประเทศ)4034015091313
แหล่งที่มา: 2015 SEA Games Medal Standings[8][9][10][11]

การออกอากาศ[แก้]

      ประเทศเจ้าภาพการแข่งขัน

ผู้ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีเกมส์ 2015
รหัสประเทศ ประเทศ เครือข่ายออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ สถานีวิทยุที่ออกอากาศ ออกอากาศออนไลน์
BRU บรูไน บรูไน สถานีโทรทัศน์บรูไน
Kristal-Astro
RTB1
Astro Arena
Hot FM
One FM
CAM กัมพูชา กัมพูชา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศกัมพูชา สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศกัมพูชา สถานีวิทยุแห่งประเทศกัมพูชา
INA อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย Surya Citra Media
Radio and Television of the Republic of Indonesia
สถานีโทรทัศน์เอสซีทีวี
สถานีโทรทัศน์อินโดเซียร์
Televisi Republik Indonesia
Nexmedia
Radio Republik Indonesia
LAO ลาว ลาว สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศลาว สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศลาว
ทีวีลาว
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศลาว
MAS มาเลเซีย มาเลเซีย Sistem Televisyen Malaysia Berhad
Astro
สถานีโทรทัศน์แห่งชาติมาเลเซีย (RTM)
ช่อง 3 มาเลเซีย (บางเกมส์, รายงานข่าว)
ช่อง 9 มาเลเซีย (บางเกมส์, ไฮไลท์)
Astro Arena(Some games)
TV1 Malaysia (News reporting only)
TV2 Malaysia(News reporting only)
Hot FM
Fly FM
One FM
MYA ประเทศพม่า เมียนมาร์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติพม่า สถานีโทรทัศน์แห่งพม่า (MRTV) สถานีวิทยุแห่งชาติพม่า
PHI ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ Sports5[12] TV5
สถานีโทรทัศน์อาสยอน
Radyo5 sports5.ph เก็บถาวร 2015-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
SIN สิงคโปร์ สิงคโปร์ มีเดียคอร์ป ทีวี MediaCorp okto (ช่องหลัก)
MediaCorp Channel U (เฉพาะกีฬาบางชนิด)
MediaCorp Channel 5 (พิธีเปิด รายงานประจำวัน และพิธีปิด)
MediaCorp Channel NewsAsia (รายงานผลและไฮไลต์)
Singtel TV
MediaCorp Radio 938LIVE ยูทูบ ([13])
THA ไทย ไทย โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
วิทยุ อสมท, สวท.
TML ติมอร์-เลสเต RTTL สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศติมอร์-เลสเต สถานีวิทยุแห่งประเทศติมอร์-เลสเต
VIE เวียดนาม เวียดนาม VTV VTV3
VTV6
Voice of Vietnam

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "SEA Games kick off with sell-out opening ceremony". Lim Yong Teck. Red Sports SG. 5 June 2015. สืบค้นเมื่อ 5 June 2015.
  2. "Singapore to host 2015 Southeast Asian Games". Yahoo! News. 13 November 2011.
  3. "Singapore wins bid to host SEA Games in 2015". Xinhua News Agency. 13 November 2011.
  4. "S'pore keen on 2015 SEA Games". The Straits Times. 16 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-03-02.
  5. Singh, Patwant. "No overspending for 2015 SEA Games: Chan Chun Sing"". Singapore News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-04. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Competition venues for SEA Games". Singapore News. สืบค้นเมื่อ 28 January 2015.
  7. "28th SEA Games Mascot - Nila". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.
  8. "SEA Games: Team Singapore breaks records in best performance yet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-29. สืบค้นเมื่อ 2022-08-13.
  9. "Singapore is the 2nd best sporting nation in the region: Mothership SG". Mothership SG. Martino Tan. June 16, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2015.
  10. "OCA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2016. สืบค้นเมื่อ 23 March 2016.
  11. "Thailand tops 28th SEA Games medal tally". SINGSOC. 16 มิถุนายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2017.
  12. "SINGSOC holds first broadcaster meeting". 24 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-28. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
  13. ออกอากาศแบบสด

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ซีเกมส์ 2015 ถัดไป
ซีเกมส์ 2013
(เนปิดอ ประเทศพม่า)

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์
ซีเกมส์ 2017
(กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย)