เนปยีดอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนปยีดอ

နေပြည်တော်
เมืองหลวง
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: อุปปาตสันติเจดีย์, สวนน้ำพุ, เขตกระทรวง, พิพิธภัณฑ์อัญมณี, สมัชชาแห่งสหภาพ
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: อุปปาตสันติเจดีย์, สวนน้ำพุ, เขตกระทรวง, พิพิธภัณฑ์อัญมณี, สมัชชาแห่งสหภาพ
เนปยีดอตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เนปยีดอ
เนปยีดอ
ที่ตั้งของเนปยีดอในประเทศพม่า
พิกัด: 19°44′51″N 96°06′54″E / 19.74750°N 96.11500°E / 19.74750; 96.11500พิกัดภูมิศาสตร์: 19°44′51″N 96°06′54″E / 19.74750°N 96.11500°E / 19.74750; 96.11500
ประเทศพม่า
เขตการปกครองดินแดนสหภาพเนปยีดอ[1]
หน่วยการปกครอง8 อำเภอ
ตั้งรกรากพ.ศ. 2548
ก่อตั้งพ.ศ. 2551
การปกครอง[2]
 • ประธานมโยออง
พื้นที่[3]
 • ทั้งหมด7,054.37 ตร.กม. (2,723.71 ตร.ไมล์)
ความสูง115 เมตร (377 ฟุต)
ประชากร
 • ทั้งหมด924,608 คน
 • ความหนาแน่น131.1 คน/ตร.กม. (339.5 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+06:30 (เวลามาตรฐานพม่า)
รหัสพื้นที่067

เนปยีดอ[5] (พม่า: နေပြည်တော်, เอ็มแอลซีทีเอส: Nepranytau, ออกเสียง: [nèpjìdɔ̀]; มีความหมายว่า "มหาราชธานี"[6][7] หรือ "ที่อยู่ของกษัตริย์")[8][9] เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารของประเทศพม่า ห่างจากย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าราว 320 กิโลเมตร[10] ปัจจุบันเนปยีดอเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สามของประเทศรองจากย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ และเป็นหนึ่งในสิบเมืองเติบโตเร็วที่สุดในโลก[11]

เนปยีดอตั้งอยู่ในหมู่บ้านจะปยีทางทิศตะวันตกของตัวเมืองปยี่นมะน่าในภาคมัณฑะเลย์ เชื่อว่าเหตุผลการย้ายเมืองหลวงมาจากคำทำนายของโหรของพลเอกอาวุโส ต้านชเว รวมถึงเชื่อว่าอาจจะเป็นการฟื้นฟูธรรมเนียมประเพณีเก่าของพม่าสมัยราชาธิปไตย[12] สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร

ปัจจุบันกรุงเนปยีดอมีการพัฒนาถนนทางหลวงหมายเลข 8 เพื่อเชื่อมต่อกับย่างกุ้ง มีโครงการสร้างสถานีรถไฟขึ้นอีก 1 แห่งในเนปยีดอ ถัดจากสถานีในปยี่นมะน่าที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2549 มีการสร้างเจดีย์อุปปาตสันติ ซึ่งจำลองแบบจากเจดีย์ชเวดากองในย่างกุ้ง[13] และทางการยังมีแผนการสร้างสวนสาธารณะ น้ำพุ สวนสัตว์ สวนบริเวณใจกลางเมือง และศูนย์การค้าแห่งใหม่อีก 42 แห่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนเมืองหลวงแห่งใหม่ นอกจากนี้ยังมีแผนการก่อสร้างอาคารทันสมัยต่าง ๆ สำหรับหน่วยงานรัฐ ส่วนที่พักอาศัย โรงพยาบาลเอกชน ธนาคาร อาคารสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพพม่า (UMFCCI) และโครงการศูนย์การค้าระดับนานาชาติ โดยเป็นโครงการที่จะดำเนินไปตลอดทศวรรษหน้า

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

เนปยีดอ มีความหมายว่า "เมืองหลวงของราชวงศ์"[6] "ที่ตั้งของกษัตริย์" หรือ "ที่พำนักของกษัตริย์"[3] เดิมคำนี้ถูกใช้เป็นคำต่อท้ายชื่อเมืองหลวงของราชวงศ์ เช่น มัณฑะเลย์ ได้ถูกเรียกว่า ยะดะนาโบนเนปยีดอ (ရတနာပုံနေပြည်တော်) ชื่อนี้แท้จริงแล้วแปลว่า "ที่พำนักของกษัตริย์" ในภาษาพม่า

ประวัติ[แก้]

กรุงเนปยีดอเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศพม่า โดยพลเอกอาวุโส ต้านชเว เป็นผู้ริเริ่มความคิดที่จะย้ายเมืองหลวงจากนครย่างกุ้ง มายังสถานที่แห่งใหม่ด้วยเหตุผลเพื่อความสะดวกในการบริหารงาน เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งของกรุงเนปยีดอนั้นตั้งอยู่กลางประเทศพอดี และได้เริ่มสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2545 โดยกระทรวงกลาโหมพม่าได้ว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง 25 บริษัท มาก่อสร้างสิ่งก่อสร้างและสาธารณูปโภคต่าง ๆ จนเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 ก็ได้มีการเฉลิมฉลองเมืองหลวงแห่งใหม่และได้ตั้งชื่อทางการของเมืองว่า "เนปยีดอ" นับแต่นั้นมา

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ภาพถ่ายทางอากาศเมืองเนปยีดอ
สนามกีฬาวูนนะเตะดิในเนปยีดอ

กรุงเนปยีดอเป็นดินแดนสหภาพซึ่งได้รับการบริหารโดยตรงจากประธานาธิบดี คำสั่งของประธานาธิบดีจะถูกดำเนินการในนามไปสู่นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาของเนปยีดอ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี อันรวมไปถึงพลเรือนและกองทัพ[14]

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดีเต้นเซนได้แต่งตั้งให้เต้นหญุ่นเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเนปยีดอ พร้อมด้วยสมาชิกอีก 9 คน คือ ต้านเท่, ต้านออง, พันเอก มหยิ่น-อองต้าน, กานชูน, ไปง์โซ่, ซอละ, มหยิ่นซเว, มหยิ่นชเว และมโยหญุ่น[15]

ดินแดนสหภาพเนปยีดอประกอบด้วยเขตเมืองและอำเภอที่อยู่ล้อมรอบอีกแปดอำเภอ[16] เขตเมืองถูกแบ่งออกเป็นสี่เขต อำเภอที่มีอยู่เดิมมีสามอำเภอ คือ อำเภอปยี่นมะน่า อำเภอแลเว่ และอำเภอตะโก้น ซึ่งเดิมขึ้นกับจังหวัดยะแม่ที่น และมีอำเภอใหม่ห้าอำเภอ คือ โอะตะระตีริ แดะคินะตีริ โปะบะตีริ ซะบูตีริ และเซยาตีริ ซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการย้ายที่ทำการรัฐบาลมายังเมืองหลวงใหม่แห่งนี้ เหลือเฉพาะสำนักคณะกรรมการกระทรวงยังคงอยู่ในนครย่างกุ้ง[16]

ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ[แก้]

กรุงเนปยีดอตั้งอยู่ระหว่างทิวเขาพะโคกับทิวเขาชาน อยู่ทางทิศเหนือของนครย่างกุ้ง 323 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 7,054.37 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองหลวงที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ขนาดใหญ่กว่าประเทศสิงคโปร์ถึง 10 เท่า)[17] มีความสูงระหว่าง 90–200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

การคมนาคม[แก้]

ไฟล์:Naypyitaw Railway Station 002.jpg
สถานีรถไฟในเนปยีดอ

การเดินทางจากนครย่างกุ้งมุ่งสู่กรุงเนปยีดอระยะทาง 323.3 กิโลเมตร มีความสะดวกและรวดเร็วโดยใช้ถนน 8 เลน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองย่างกุ้ง–เนปยีดอ–มัณฑะเลย์ ระยะทางกว่า 563 กิโลเมตร แต่ปัจจุบันทางหลวงสายนี้ยังไม่ถูกใช้งานอย่างเต็มศักยภาพ ดังจะเห็นได้จากจำนวนรถยนต์ที่วิ่งมีน้อย ส่วนระบบขนส่งสาธารณะยังจำกัดอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น โดยรัฐบาลพม่ามีการวางแผนจะสร้างระบบรถไฟใต้ดินระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร ซึ่งมีการร่วมทุนกับบริษัทของรัสเซีย ถนนบางเส้นทางในกรุงเนปยีดอห้ามรถจักรยานยนต์วิ่ง

กรุงเนปยีดอมีท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอซึ่งตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 16 กิโลเมตร เดิมเป็นสนามบินขนาดเล็กใช้ในการคมนาคมภายในประเทศเท่านั้น แต่หลังจาก พ.ศ. 2552 ทางรัฐบาลพม่ามีแผนจะขยายสนามบินให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3.5 ล้านคนต่อปี และในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สายการบินฮ่องกงแอร์ไลน์เป็นสายการบินต่างชาติสายแรกที่เปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศคือ ฮ่องกง–เนปยีดอ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ให้บริการเส้นทางบินโดยเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Eleven Media Group Co., Ltd" တိုင်းခုနစ်တိုင်းကို တိုင်းဒေသကြီးများအဖြစ် လည်းကောင်း၊ ကိုယ်ပိုင်အုပ်ချုပ်ခွင့်ရ တိုင်းနှင့် ကိုယ်ပိုင်အုပ်ချုပ်ခွင့်ရ ဒေသများ ရုံးစိုက်ရာ မြို့များကို လည်းကောင်း ပြည်ထောင်စုနယ်မြေတွင် ခရိုင်နှင့်မြို့နယ်များကို လည်းကောင်း သတ်မှတ်ကြေညာ. Weekly Eleven News (ภาษาพม่า). 20 August 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2014. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
  2. "News Briefs". The Myanmar Times. Myanmar Consolidated Media. 20 March 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2006. สืบค้นเมื่อ 1 April 2006.
  3. 3.0 3.1 Pedrosa, Veronica (20 November 2006). "Burma's 'seat of the kings'". Al Jazeera. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2006. สืบค้นเมื่อ 21 November 2006.
  4. Department of Population, Myanmar.
  5. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  6. 6.0 6.1 "An Introduction to the Toponymy of Burma – Annex A"" (PDF). United Kingdom: The Permanent Committee on Geographic Names (PCGN). ตุลาคม 2007. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 ตุลาคม 2008.
  7. "เนปี่ดอว์ (Naypyidaw) : ราชธานีใหม่ในชื่อเก่า". สามก๊กวิว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2014.
  8. ""เต็งเส่ง" เยือนสุสานพระเจ้าธีบอ กษัตริย์พม่าองค์สุดท้ายในอินเดีย". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 22 ธันวาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2014.
  9. "ครั้งหนึ่งในเนปีดอว์". สาละวินนิวส์. 28 มิถุนายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2014.
  10. "Naypyidaw: Burma". Geographical Names. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2011.
  11. "Six of world's 10 fastest-growing cities in China". CNN. 31 ตุลาคม 2011.
  12. ดุลยภาค ปรีชารัชช (พฤศจิกายน 2007). "วิเคราะห์เหตุปัจจัย ทำไมพม่าย้ายเมืองหลวง จาก "ย่างกุ้ง" ไป "เนปิดอว์"". เพียงมะนา เนปิดอว์ ราชธานีแห่งใหม่ของสหภาพพม่า. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2022.
  13. "ผู้นำพม่าไหว้พระ!! รูปนี้หาดูได้ยาก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2013.
  14. "The Nay Pyi Taw Council Law (The State Peace and Development Council Law No. 18 /2010) The13th Waxing of Thadinkyut, 1372 M.E. (21st October, 2010)" (PDF). Myanmar Information Management Unit (MIMU). United Nations Development Programme. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2021.
  15. Thein Sein (31 มีนาคม 2011). "Notification No. 7/2011: Formation of Nay Pyi Taw Council" (PDF). New Light of Myanmar. p. 15. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2011.
  16. 16.0 16.1 "Construction of Myanmar new capital continues". People's Daily Online. Xinhua News. 24 ธันวาคม 2009.
  17. "AEC INSIGHT กับ เกษมสันต์: ข่าววันใหม่". ช่อง 3. 26 พฤศจิกายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2014.
  18. "สายการบินบางกอกแอร์เวย์สเปิดให้บริการบินตรงสู่เมืองเนปิดอว์". บางกอกแอร์เวย์ส. 14 ตุลาคม 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]