ความสัมพันธ์ไทย–อินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ไทย–อินโดนีเซีย
Map indicating location of Indonesia and Thailand

อินโดนีเซีย

ไทย

ประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1950[1] ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ทวิภาคีที่จริงใจ[2] และแต่งตั้งสถานทูตของตนเองในเมืองหลวง โดยอินโดนีเซียมีสถานทูตของตนที่กรุงเทพมหานครและสถานกงสุลที่สงขลา ส่วนไทยตั้งสถานทูตที่จาการ์ตา ทั้งสองประเทศอยู่ในกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนและเป็นสมาชิกขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเอเปค อินโดนีเซียและไทยถูกมองเป็นพันธมิตรโดยธรรมชาติ[3] อินโดนีเซียก็ได้รับเชิญเป็นผู้สังเกตการณ์ในกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา[4][5]

เปรียบเทียบประเทศ[แก้]

ไทย ไทย อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ประชากร 67,091,120 คน[6] 272,229,372 คน[7]
พื้นที่ 513,120 ตารางกิโลเมตร 1,904,569 ตารางกิโลเมตร
ความหนาแน่นประชากร 132.1 คนต่อตารางกิโลเมตร 124.66 คนต่อตารางกิโลเมตร
จำนวนเขตเวลา 1 3
เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร จาการ์ตา
เมืองใหญ่สุด กรุงเทพมหานคร – 8,280,925 คน (เขตมหานคร 14,565,547 คน) จาการ์ตา – 11,374,022 คน (เขตมหานคร 30,326,103 คน)
รัฐบาล รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ
ภาษาราชการ ภาษาไทย ภาษาอินโดนีเซีย
ศาสนาหลัก 93.2% พุทธ, 5.5% อิสลาม, 0.9% คริสต์, 0.3% ไม่นับถือศาสนา 86.7% อิสลาม, 7.6% โปรเตสแตนต์, 3.12% คาทอลิก, 1.7% ฮินดู, 0.77% พุทธ, 0.03% ลัทธิขงจื๊อ, 0.04% อื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธ์ุ 90% ไทย/จีน, 2% พม่า, 1.3% อื่น ๆ, 0.9% ไม่ระบุ 40.22% ชวา, 15.5% ซุนดา, 3.58% บาตัก, 3.03% มาดูรา, 2.88% เบอตาวี, 2.73% มีนังกาเบา, 2.69% บูกิซ, 2.27 มลายู, 1.97% บันเติน, 1.74% บันจาร์, 1.73% อาเจะฮ์, 1.67% บาหลี, 1.34% ซาซัก, 1.27 ดายัก, 1.2% จีน, 1.14% ปาปัว, 1.13% มากัซซาร์, 14.24% อื่น ๆ
จีดีพี (ต่อหัว) 7,674 ดอลลาร์สหรัฐ 4,224 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (เฉลี่ย) 5.368 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ 1.1150 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประวัติ[แก้]

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์แบบอยุธยาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 พบที่ตาลากา ใกล้กูนีงันกับจีเรอบน จังหวัดชวาตะวันตก กล่าวแนะถึงการเชื่อมโยงการค้าระหว่างอยุธยากับชวา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซียสมัยโบราณสืบได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในสมัยจักรวรรดิศรีวิชัย ภาคใต้ของไทยบางส่วนบนคาบสมุทรมลายูอยู่ภายใต้อิทธิพลของจักรวรรดิศรีวิชัยที่มีการปกครองแบบสมุทราธิปัตย์ (thalassocracy) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บนเกาะสุมาตรา วัดแบบศรีวิชัยสามารถพบได้ที่ไชยา กษัตริย์ Dharanindra (ครองราชย์ ค.ศ. 780–800) แห่งมาตารัมอาจนำลิกอร์ในคาบสมุทรมลายูเข้าในดินแดนของไศเลนทร์[8]: 91–92  นาการาเกรตากามา เอกสารตัวเขียนชวาซึ่งเขียนขึ้นในสมัยมัชปาหิตเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ระบุถึงบางรัฐที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศไทยสมัยใหม่ เช่น Syangka (สยาม), Ayodhyapura (อยุธยา), Dharmanagari (นครศรีธรรมราช) ในภาคใต้ของไทย, Rajapura (ราชบุรี) และ Singhanagari (สิงห์บุรีที่ริมแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา)[9]: 35–36  การค้นพบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์อยุธยาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ตีนเขาจีเรอไมในตาลากา หมู่บ้านใกล้จีเรอบน สามารถกล่าวแนะถึงความสัมพันธ์ในอดีต ในทางกลับกัน เอกสารไทยสมัยโบราณยังกล่าวถึงสถานที่ในอินโดนีเซียด้วย เช่น ชวา (เกาะชวา), มัชปาหิต, มักกะสัน (มากัซซาร์) และมีนังกาเบา[10]

ข้อมูลฝั่งไทยรายงานว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีชาวมากัซซาร์ร้อยกว่าคนหลบหนีจากนครมากัซซาร์ไปยังอยุธยาหลังฝ่ายดัตช์ยึดครองอาณาจักรเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1660 พระองค์พระราชทานที่ดินในนครใกล้กับย่านมลายูแก่พวกเขา[10] ปันหยี เรื่องราวแห่งความรัก การผจญภัย และความกล้าหาญของเจ้าชายและมเหสีชวา มีต้นตอในเกอดีรีและได้รับความนิยมในสมัยมัชปาหิต ก่อนที่จะเดินทางเข้าคาบสมุทรมลายู กัมพูชา และสยามภายใต้ชื่อ อิเหนา (มาจาก Inu หรือ Hino Kertapati อีกพระนามหนึ่งของเจ้าชาย)

รูปปั้นช้างสัมฤทธิ์ที่ลานหน้าของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ

ในสมัยอาณานิคมหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ความสัมพันธ์ที่ดียังคงดำเนินต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปยังชวาสามครั้ง ได้แก่ ค.ศ. 1870, 1896 และ 1901[10] กษัตริย์ไทยเสด็จไปยังบาตาเวีย เซอมารัง และโบโรบูดูร์ พระองค์นำรูปปั้นช้างสัมฤทธิ์ให้เป็นของที่ระลึก ปัจจุบันรูปปั้นช้างตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่จาการ์ตา พระองค์ทรงกระตือรือร้นและสนพระทัยประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมชวาโบราณ ในกรณีหนึ่ง พระองค์ทรงแสดงความปรารถนาที่จะรวบรวมตัวอย่างโบราณวัตถุทางโบราณคดีชวาโบราณ ผู้ว่าการหมู่เกาะอินเดียตะวันออกจึงตอบรับด้วยการให้ของขวัญเป็นรูปปั้นและหินแกะสลักที่นำมาจากโบโรบูดูร์แปดเกวียนบรรทุก สิ่งของเหล่านี้รวมถึงภาพนูน 30 ชิ้น, พระพุทธรูป 5 องค์, รูปปั้นสิงโต 2 อัน, ปนาลี 1 อัน, ลายหน้ากาลจากบันไดและทางผ่านบางส่วน และทวารบาลขนาดใหญ่ โบราณวัตถุเหล่านี้หลายชิ้น โดยเฉพาะสิงโตและทวารบาล ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ[11]

หลังอินโดนีเซียเป็นเอกราชใน ค.ศ. 1945 ตามมาด้วยการปฏิวัติและการยอมรับอธิปไตยจากเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1949 ราชอาณาจักรสยามจึงจัดตั้งความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐอินโดนีเซียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1950 จากนั้นใน ค.ศ. 1967 ทั้งสองประเทศพร้อมกับฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์พบกันที่กรุงเทพมหานคร เพื่อจัดตั้งอาเซียน ซึ่งมีจุดประสงค์ให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค

อ้างอิง[แก้]

  1. ""International Seminar "The 60th Anniversary of the Indonesia-Thailand Diplomatic Relations"". Embassy of Indonesia, Bangkok. 2015-12-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-25. สืบค้นเมื่อ 2016-05-25.
  2. ""International Seminar "The 60th Anniversary of the Indonesia-Thailand Diplomatic Relations"". Chula Global Network, Chulalongkorn University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2011. สืบค้นเมื่อ 20 January 2013.
  3. Chongkittavorn, Kavi (3 August 2010). "Indonesia and Thailand: An emerging natural alliance". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 January 2013.
  4. "Thailand, Cambodia Agree to Indonesian Observers at Border | News | Khmer-English". www.voanews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2011. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
  5. "RI ready to send observers to Cambodia, Thailand". The Jakarta Post. 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  6. "Thailand Population (2016)". World Population Review. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  7. "Indonesia's Demographics June 2021". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-04-01.
  8. Cœdès, George (1968). The Indianized states of Southeast Asia. University of Hawaii Press. ISBN 9780824803681.
  9. Pigeaud, Theodoor Gautier Thomas (1962). Java in the 14th Century: A Study in Cultural History, Volume IV: Commentaries and Recapitulations (3rd (revised) ed.). The Hague: Martinus Nijhoff. ISBN 978-94-017-7133-7.
  10. 10.0 10.1 10.2 Yuliandini, Tantri (September 2, 2002). "Indonesia, Thailand: 50 years and beyond". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 20 January 2013.
  11. John Miksic; Marcello Tranchini; Anita Tranchini (1996). Borobudur: Golden Tales of the Buddhas. Tuttle publishing. p. 29. ISBN 9780945971900. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

หนังสือและบทความ[แก้]

เว็บไซด์[แก้]