ความสัมพันธ์ไทย–สิงคโปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ ไทย–สิงคโปร์
Map indicating location of Singapore and Thailand

สิงคโปร์

ไทย
สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศสิงคโปร์

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้รับการสถาปนาใน ค.ศ. 1965 หลังสิงคโปร์เป็นเอกราช ทั้งสองประเทศเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน

ประวัติ[แก้]

รูปปั้นช้างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้แก่สิงคโปร์

สยามกับสิงคโปร์เริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการค้าก่อนการจัดตั้งประเทศสิงคโปร์โดยสแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ณ เวลานั้น พ่อค้าชาวสยามเชื้อสายจีนบางส่วนลงไปทำการค้าที่สิงคโปร์[1] ใน ค.ศ. 1871 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งสยามเสด็จประพาสสิงคโปร์ และเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ไทยเสด็จประพาสต่างประเทศ[1] ขณะเยี่ยมชมนั้น พระองค์พระราชทานรูปปั้นช้างให้สิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันยังคงยืนตระหง่านนอกอาคารรัฐสภาเก่า[1]

ใน ค.ศ. 1965 ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสิงคโปร์ที่พึ่งได้รับเอกราชจากประเทศมาเลเซีย[1] จากนั้นใน ค.ศ. 1967 ทั้งสองประเทศ ร่วมกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ร่วมกันจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] ต่อมาใน ค.ศ. 1978 เมื่อเกิดสงครามกัมพูชา–เวียดนาม สิงคโปร์สนับสนุนการกระทำของไทยต่อกัมพูชา ต่อมาใน ค.ศ. 1997 ทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์แบบ "ยกระดับหุ้นส่วน"[2] จากนั้นใน ค.ศ. 2005 เซลลัปปัน รามนาทัน ประธานาธิบดีสิงคโปร์ เดินทางมายังประเทศไทย ทำให้เป็นประธานาธิบดีสิงคโปร์คนแรกที่เดินทางมายังประเทศไทย[1]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเวลานั้น เดินทางมายังสิงคโปร์และพบกับลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ผู้นำทั้งสองประเทศยืนยันความสัมพันธ์อันยาวนานและดีเยี่ยมระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ในช่วงการเยือนของธนะศักดิ์นั้น เขาก็ได้พบกับ K. Shanmugam รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ เนื่องในกิจกรรมรำลึกการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ[3]

ทหาร[แก้]

ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ด้านการป้องกันอย่างใกล้ชิด โดยมีการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกข้ามประเทศอย่างสม่ำเสมอ และจัดการฝึกซ้อมประจำปีระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพสิงคโปร์หลายครั้ง[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Corfield, Justin (2011). Historical Dictionary of Singapore. The Scarecrow Press.
  2. "Thailand". Ministry of Foreign Affairs, Singapore. สืบค้นเมื่อ 2016-02-14.
  3. "Singapore, Thailand reaffirm bilateral relations". Channel News Asia. 2015-08-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-01. สืบค้นเมื่อ 2016-02-14.
  4. "Singapore, Thailand to strengthen defence ties | the Straits Times". 7 November 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]