กลุ่มนอร์ดิก
กลุ่มประเทศนอร์ดิก | |
---|---|
ดินแดนในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (เขียวเข้ม) | |
เมืองหลวง | 9 เมืองหลวง |
ภาษาราชการ | |
ส่วนประกอบ | 5 รัฐเอกราช 2 ดินแดนปกครองตนเอง 1 แคว้นปกครองตนเอง 2 พื้นที่ที่ไม่ได้ควบคุม 3 ดินแดน |
ก่อตั้ง | |
• พิธีเปิดสภานอร์ดิก | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 |
23 มีนาคม ค.ศ. 1962 | |
• พิธีเปิดสภารัฐมนตรีนอร์ดิก | กรกฎาคม ค.ศ. 1971 |
พื้นที่ | |
• รวม | 3,425,804 ตารางกิโลเมตร (1,322,710 ตารางไมล์) (อันดับที่ 7) |
ประชากร | |
• 2019 ประมาณ | 27,359,000 (อันดับที่ 49) |
• สำมะโนประชากร 2000 | 24,221,754 |
7.62 ต่อตารางกิโลเมตร (19.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 225) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (อันดับที่ 19) |
• ต่อหัว | 58,000 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 13) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 11) |
• ต่อหัว | 58,000 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 10) |
สกุลเงิน | |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ |
กลุ่มประเทศนอร์ดิก (อังกฤษ: Nordic countries) หรือรวมเรียกเป็นภูมิภาคนอร์ดิก (Nordic region; Norden, แปลว่า เหนือ)[2] หมายถึงภูมิภาคในยุโรปเหนือ ประกอบด้วย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน และดินแดนปกครองตนเองในสังกัดประเทศเหล่านั้นสามแห่ง ได้แก่ กรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) หมู่เกาะแฟโร (เดนมาร์ก) และหมู่เกาะโอลันด์ (ฟินแลนด์) ประเทศในกลุ่มนอร์ดิกมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนาน และมีสิ่งต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันในสังคม เช่น ระบบการเมืองการปกครอง กลุ่มนอร์ดิกมีประชากรรวมกันราว 24 ล้านคน
คำว่านอร์ดิก มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Pays Nordiques ซึ่งเทียบเท่ากับคำภาษาท้องถิ่นว่า Norden (ภาษากลุ่มสแกนดิเนเวีย – สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก) Pohjola/Pohjoismaat (ภาษาฟินแลนด์) และ Norðurlönd (ภาษาไอซ์แลนด์และภาษาแฟโร) โดยมีความหมายว่า (ดินแดนทาง)ทิศเหนือ ปัจจุบัน มีการใช้คำว่าสแกนดิเนเวีย ในความหมายของกลุ่มนอร์ดิกในภาษาอังกฤษ[3] ซึ่งส่งผลมาถึงการใช้ในภาษาไทยด้วยเช่นกัน
กลุ่มนอร์ดิกมีความสัมพันธ์กันในทางการเมือง ในองค์กรที่เรียกว่าคณะมนตรีนอร์ดิก ในระยะหลัง ประเทศเอสโตเนียได้วางภาพตัวเองเป็นประเทศนอร์ดิก[4] แต่โดยทั่วไปแล้วมักถือว่าเอสโตเนียเป็นรัฐบอลติก เอสโตเนียมีความใกล้ชิดทางด้านภาษา เชื้อชาติ และวัฒนธรรมกับฟินแลนด์ และมีความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนจำนวนมากกับกลุ่มประเทศนอร์ดิก
ประวัติศาสตร์โครงสร้างทางการเมือง
[แก้]คริสต์ศตวรรษที่ | ประวัติศาสตร์การเมืองของกลุ่มนอร์ดิก | |||||
21 | เดนมาร์ก (อียู) | หมู่เกาะแฟโร (เดนมาร์ก) | ไอซ์แลนด์ | นอร์เวย์ | สวีเดน (อียู) | ฟินแลนด์ (อียู) |
20 | เดนมาร์ก | สวีเดน | ฟินแลนด์ | |||
19 | เดนมาร์ก | สหราชอาณาจักรสวีเดน-นอร์เวย์ | ราชรัฐฟินแลนด์ | |||
18 | เดนมาร์ก-นอร์เวย์ | สวีเดน | ||||
17 | ||||||
16 | ||||||
15 | สหภาพคาลมาร์ | |||||
14 | เดนมาร์ก | ราชอาณาจักรเก่านอร์เวย์ (Hereditary Kingdom of Norway) | ราชอาณาจักรเก่านอร์เวย์
(Hereditary Kingdom of Norway) |
สวีเดน | ||
13 | ||||||
12 | เครือจักรภพไอซ์แลนดิค | |||||
11 | เดนมาร์ก | |||||
ชาวนอร์ดิก | ชาวเดนมาร์ก | ชาวแฟโร | ชาวไอซ์แลนด์ | ชาวนอร์เวย์ | ชาวสวีเดน | ชาวฟินแลนด์ |
สหภาพหนังสือเดินทางนอร์ดิก
[แก้]สหภาพหนังสือเดินทางนอร์ดิก (อังกฤษ: Nordic Passport Union) เริ่มตั้งในปีพ.ศ. 2497 และมีผลบังคับใช้ในปีพ.ศ. 2501 อนุญาตให้พลเมืองของประเทศกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ เดนมาร์ก (หมู่เกาะแฟโรเข้าร่วมปีพ.ศ. 2509 ไม่รวมกรีนแลนด์) สวีเดน นอร์เวย์ (ไม่รวมสฟาลบาร์ ยานไมเอน บูเวต ดรอนนิงเมาด์ลันด์) ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ (เข้าร่วมพ.ศ. 2508) ข้ามพรมแดนโดยไม่ต้องพกหรือตรวจหนังสือเดินทาง พลเมืองชาติอื่น ๆ สามารถเดินทางข้ามพรมแดนได้โดยไม่ต้องตรวจหนังสือเดินทาง แต่ต้องพกพาหนังสือเดินทางหรือเอกสารอนุญาตอื่น ๆ
ธงนอร์ดิก
[แก้]ประเทศทั้งหมดในกลุ่มนอร์ดิก รวมถึงสองดินแดนปกครองตนเองอย่างหมู่เกาะแฟโรและหมู่เกาะโอลันด์ มีลักษณะธงที่ใกล้เคียงกัน คือเป็นธงที่มีรูปกากบาทที่มีจุดตัดเยื้องไปทางด้านเสาธง ที่เรียกว่าธงกากบาทแบบนอร์ดิก (หรือแบบสแกนดิเนเวีย) ธงของกรีนแลนด์และชาวซามิ (ชนพื้นเมืองในแลปแลนด์) ไม่ได้เป็นรูปกากบาท แต่เป็นรูปวงกลม
เดนมาร์ก | หมู่เกาะแฟโร | ฟินแลนด์ (ธง) | ไอซ์แลนด์ | นอร์เวย์ | สวีเดน | โอลันด์ | สฟาลบาร์ |
กรีนแลนด์ | ชาวซามิ |
ผู้นำประเทศในกลุ่มนอร์ดิก
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Report for Selected Countries and Subjects". www.imf.org.
- ↑ "The next supermodel". The Economist. 2 February 2013. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
- ↑ Nordic FAQ - 2 of 7 - NORDEN (อังกฤษ)
- ↑ Andrew Cave, Finding a Role in an Enlarged EU เก็บถาวร 2007-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Central Europe Review (อังกฤษ)
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Clerc, Louis; Glover, Nikolas; Jordan, Paul, eds. Histories of Public Diplomacy and Nation Branding in the Nordic and Baltic Countries: Representing the Periphery (Leiden: Brill Nijhoff, 2015). 348 pp. ISBN 978-90-04-30548-9. online review
- Elmgren, Ainur and Norbert Götz (eds.). Theme issue "Power Investigation: The Political Culture of Nordic Self-Understanding". Journal of Contemporary European Studies 21 (2013) 3: 338–412.
- Götz, Norbert and Heidi Haggrén (eds.). Regional Cooperation and International Organizations: The Nordic Model in Transnational Alignment. London: Routledge, 2009.
- Götz, Norbert and Carl Marklund (eds.). The Paradox of Openness: Transparency and Participation in Nordic Cultures of Consensus. Leiden: Brill, 2015.
- Strang, Johan (ed.). Nordic Cooperation: A European Region in Transition. London: Routledge, 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Norden, website of the Nordic Council and Nordic Council of Ministers
- Nordic Countries เก็บถาวร 2021-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Railway map of the Nordic countries
- Nordregio, European centre for research, education and documentation on spatial development, established by the Nordic Council of Ministers. Includes maps and graphs
- Go Scandinavia เก็บถาวร 2013-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, official website of the Scandinavian Tourist Boards in North America
- Scandinavia House, the Nordic Center in New York, run by the American-Scandinavian Foundation
- vifanord, a digital library that provides scientific information on the Nordic and Baltic countries as well as the Baltic region as a whole
- Mid Nordic Committee, Nordic organization to promote sustainable development and growth in the region
- The Helsinki Treaty of 1962 เก็บถาวร 2014-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน—Nicknamed the constitution of the Nordic Countries