ภาษาไอซ์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไอซ์แลนด์
íslenska
ออกเสียง[ˈislɛnska]
ประเทศที่มีการพูดไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก
ภูมิภาคไอซ์แลนด์
ชาติพันธุ์ชาวไอซ์แลนด์
จำนวนผู้พูด358,000  (2013)[1][2]
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนละติน (แบบไอซ์แลนด์)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์
คณะมนตรีนอร์ดิก
ผู้วางระเบียบสถาบันไอซ์แลนด์ศึกษาเอารนี มักนุสซอน
รหัสภาษา
ISO 639-1is
ISO 639-2ice (B)
isl (T)
ISO 639-3isl

ภาษาไอซ์แลนด์ (ไอซ์แลนด์: íslenska, [ˈislɛnska] อีสฺแลนฺสฺกา) เป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือ ภาษาราชการของประเทศไอซ์แลนด์ มีผู้พูดประมาณ 350,000 คน ภาษาไอซ์แลนด์เป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือที่ใกล้เคียงกับภาษานอร์สโบราณมากที่สุด

ภาษาไอซ์แลนด์ยังคงรูปแบบทางไวยากรณ์หลายอย่างของภาษาเจอร์แมนิกแบบโบราณ โดยยังคงการผันคำที่ซับซ้อน

สัทวิทยา[แก้]

เสียงพยัญชนะ
ริมฝีปากทั้งสอง ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก [m̥] [m] [n̥] [n] [ɲ̊] [ɲ] [ŋ̊] [ŋ]
เสียงกัก [pʰ] [p] [tʰ] [t] [cʰ] [c] [kʰ] [k]
เสียงเสียดแทรก เสียงเสียดแทรกอุสุม [s]
เสียงเสียดแทรกไม่อุสุม [f] [v] [θ] [ð] [ç] [j] [x] [ɣ] [h]
เสียงเปิด [l̥] [l]
เสียงรัวลิ้น [r̥] [r]

คำศัพท์[แก้]

พิสุทธินิยมทางภาษา[แก้]

ภาษาไอซ์แลนด์รูปแบบปัจจุบันได้รับอิทธิพลสูงจากขบวนการพิสุทธินิยมทางภาษา ในศตวรรษที่ 19 นักเขียนและผู้มีการศึกษาอื่น ๆ ในประเทศไอซ์แลนด์ได้เริ่มขบวนการปฏิรูปการใช้ภาษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำจัดคำศัพท์จากภาษาต่างชาติออกให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ 2) สร้างคำศัพท์ใหม่เพื่อรับรองแนวคิดสมัยใหม่ และ 3) ปรับเปลี่ยนรูปแบบภาษาเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในสมัยนั้น จึงทำให้มีการหลีกเลี่ยงการใช้คำยืมที่เป็นคำสร้างใหม่ที่พบได้ในภาษาอื่น ๆ หลายภาษา[3] คำเก่าหลายคำที่เลิกใช้ไปแล้วที่มีรากมาจากภาษานอร์สเก่าก็ได้นำกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้เป็นหน่วยคำที่ได้รับนิยามใหม่ก่อนนำไปประกอบกับหน่วยคำใหม่อื่นเพื่อสร้างคำใหม่ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า rafmagn ("ไฟฟ้า") ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า "พลังงานอำพัน" เป็นคำแปลยืม (calque) จากหน่วยคำไม่อิสระจากภาษากรีก คือ "electr-" (เทียบกับคำว่า elektron "อำพัน")[4] อีกตัวอย่างที่คล้ายกันคือคำว่า sími ("โทรศัพท์") ซึ่งเดิมแปลว่า "สาย หรือ เชือก" และคำว่า tölva ("คอมพิวเตอร์") ซึ่งเป็นคำกระเป๋า (portmanteau) ระหว่างคำว่า tala ("ตัวเลข") และคำว่า völva ("หมอดูผู้หญิง")

อ้างอิง[แก้]

  1. 95% of a population of 346,000
  2. + 30,000 native Icelandic speakers outside Iceland
  3. Brydon, Anne, 1956- (1992). The eye of the guest : Icelandic nationalist discourse and the whaling issue. National Library of Canada = Bibliothèque nationale du Canada. p. 52. ISBN 0315747854. OCLC 29911689.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. "ἤλεκτρον - Wiktionary". en.wiktionary.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-11.