โรคไวรัสมาร์บวร์ค
โรคไวรัสมาร์บวร์ค | |
---|---|
ชื่ออื่น | ไข้เลือดออกมาร์บวร์ค |
ภาพไวรัสมาร์บวร์คจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน | |
สาขาวิชา | โรคติดเชื้อ (การแพทย์เฉพาะทาง) |
อาการ | ไข้, อ่อนแรง, ปวดกล้ามเนื้อ[1] |
การตั้งต้น | 2–21 วันหลังติดเชื้อ[1] |
สาเหตุ | มาร์บวร์คไวรัส[1] |
ปัจจัยเสี่ยง | สัมผัสโดยตรงกับสารน้ำของผู้ติดเชื้อ[1] |
วิธีวินิจฉัย | ตรวจเลือด[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | โรคไวรัสอีโบลา[1] |
การรักษา | การรักษาตามอาการ[1] |
ความชุก | พบได้ยาก |
การเสียชีวิต | อัตราป่วยตาย 24%–88%[2] |
โรคไวรัสมาร์บวร์ค (อังกฤษ: Marburg virus disease, MVD) หรือเดิมเรียก ไข้เลือดออกมาร์บวร์ค (Marburg hemorrhagic fever) เป็นโรคร้ายแรงในมนุษย์และไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ค หรือไวรัสแรเวิน (Ravn virus)[3] โรคไวรัสมาร์บวร์คเป็นไข้เลือดออกจากไวรัสที่มีลักษณะคล้ายโรคไวรัสอีโบลา[1]
โรคไวรัสมาร์บวร์คมีบันทึกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 เมื่อเกิดการระบาดในเมืองมาร์บวร์คและแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนีตะวันตก และเมืองเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย การระบาดนี้เกิดจากการติดเชื้อจากลิงกรีเวต (Chlorocebus aethiops) ที่ถูกส่งมาจากประเทศยูกันดาเพื่อใช้ในการพัฒนาวัคซีนโปลิโอ การติดเชื้อหลักเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการเมื่อเจ้าหน้าที่ทำงานกับเนื้อเยื่อของลิงโดยไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันเพียงพอ การติดเชื้อครั้งต่อมาเกิดจากบุคลากรทางการแพทย์สัมผัสเลือดของผู้ป่วย จากการระบาดนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน[4][5][6][7]
การพยากรณ์โรคไวรัสมาร์บวร์คนั้นยังไม่ชัดเจน ผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นมีทั้งฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หรือมีโรคตาม เช่น อัณฑะอักเสบ ตับอักเสบ หรือม่านตาอักเสบ นอกจากนี้พบว่าไวรัสสามารถคงอยู่ในร่างกายผู้ป่วยที่หายดีและอาจก่อโรคในภายหลัง ทั้งยังสามารถติดต่อผ่านทางตัวอสุจิ[8][9][10][11] เมื่อเกิดการระบาดในประเทศแองโกลาระหว่าง ค.ศ. 2004–2005 มีผู้ติดเชื้อ 252 คน ซึ่งในจำนวนนี้เสียชีวิต 227 คน คิดเป็นอัตราป่วยตาย 90%[12] แม้ทุกกลุ่มอายุมีโอกาสติดเชื้อ แต่การติดเชื้อในเด็กพบได้ยาก การระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกระหว่าง ค.ศ. 1998–2000 มีเพียง 8% ที่เป็นผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี[13]
อาการ
[แก้]โรคไวรัสมาร์บวร์คมีระยะฟักตัว 2–21 วัน โดยเฉลี่ย 5–9 วัน[14] ช่วงวันที่ 1–5 หลังเริ่มแสดงอาการ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน หนาวสั่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง คอหอยอักเสบ ผื่นนูนแบน ปวดท้อง เยื่อตาอักเสบ และละเหี่ย[14] ช่วงวันที่ 5–13 ผู้ป่วยจะมีภาวะสิ้นกำลัง หายใจลำบาก บวมน้ำ ไข้ออกผื่น และอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมองอักเสบ สับสน เพ้อ ปลายช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีอาการตกเลือดซึ่งจะนำไปสู่ช่วงฟื้นตัวหรือทรุดหนัก[14] หลังจากนั้นช่วงวันที่ 13–21 อาการผู้ป่วยสามารถแบ่งเป็นสองประเภท หากฟื้นตัวผู้ป่วยจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ไฟโบรไมอัลเจีย ตับอักเสบ และอ่อนแรง ส่วนผู้ป่วยที่อาการทรุดจะมีไข้ต่อเนื่อง ภาวะตื้อ โคม่า ชัก การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และช็อก ผู้ป่วยมักเสียชีวิต 8–16 วันหลังเริ่มแสดงอาการ[14]
สาเหตุ
[แก้]โรคไวรัสมาร์บวร์คเกิดจากไวรัสสองชนิดคือไวรัสมาร์บวร์คและไวรัสแรเวินที่อยู่ในสกุล Marburgvirus วงศ์ Filoviridae[15] เป็นไวรัสเฉพาะถิ่นที่พบในป่าแห้งแล้งแถบเส้นศูนย์สูตรของทวีปแอฟริกา[16][17][18] การติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์คส่วนใหญ่มาจากการไปเยือนถ้ำหรือทำงานในเหมือง ในปี ค.ศ. 2009 มีการแยกไวรัสสองชนิดนี้จากค้างคาวผลไม้อียิปต์ (Rousettus aegyptiacus) ที่แข็งแรงที่ถูกจับจากถ้ำ[19] การแยกไวรัสนี้ชี้ว่าค้างคาวผลไม้โลกเก่ามีส่วนเป็นตัวเก็บเชื้อในธรรมชาติ และการเยือนถ้ำที่ค้างคาวอาศัยอยู่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าค้างคาวผลไม้อียิปต์เป็นพาหะที่แท้จริง หรือรับเชื้อมาจากสัตว์อื่น ปัจจัยเสี่ยงอื่นคือการสัมผัสกับไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ถึงแม้ว่าจะมีการระบาดของโรคนี้เพียงครั้งเดียวในปี ค.ศ. 1967 ที่เกิดจากการสัมผัสกับลิงที่ติดเชื้อ[20]
การวินิจฉัย
[แก้]โรคไวรัสมาร์บวร์คมีลักษณะคล้ายโรคไวรัสอีโบลา และมักสับสนกับหลายโรคที่พบในแถบเส้นศูนย์สูตรของแอฟริกา เช่น มาลาเรีย ไข้รากสาดน้อย และโรคบิดจากเชื้อชิเกลลา เมื่อวินิจฉัยแยกโรคยังพบว่าโรคนี้มีอาการคล้ายโรคฉี่หนู ไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ และกาฬโรค รวมถึงโรคไม่ติดต่อ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดโปรไมอิโลไซต์ กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตก-ยูรีเมีย และได้รับพิษงู[21][22][23][24] สิ่งสำคัญในการวินิจฉัยโรคนี้คือการซักประวัติผู้ป่วย โดยเฉพาะประวัติการเดินทาง การทำงาน และการสัมผัสสัตว์ป่า การยืนยันโรคไวรัสมาร์บวร์คทำได้ด้วยการแยกไวรัส หรือตรวจหาแอนติเจนหรืออาร์เอ็นเอของไวรัสในตัวอย่างเลือดผู้ป่วย[25]
การป้องกัน
[แก้]ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคไวรัสมาร์บวร์คที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ มีการพัฒนาวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนดีเอ็นเอ[26] วัคซีนที่ใช้เรพลิคอนไวรัสสมองอักเสบม้าเวเนซุเอลา (Venezuelan equine encephalitis virus)[27] ไวรัสปากอักเสบพุพองอินเดียนา (vesicular stomatitis Indiana virus)[28][29] หรืออนุภาคคล้ายไฟโลไวรัส[30] เนื่องจากมาร์บวร์คไวรัสไม่แพร่กระจายทางละอองลอย การป้องกันหลักจึงเป็นการแยกผู้ป่วยและหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง รวมถึงหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง ของเสีย หรือของใช้ผู้ป่วย[31]
การรักษา
[แก้]ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคไวรัสมาร์บวร์คที่จำเพาะและมีประสิทธิภาพ การรักษามุ่งเน้นที่การรักษาตามอาการ ปรับสมดุลสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้สารกันเลือดเป็นลิ่มในช่วงต้นเพื่อป้องกันภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย ให้สารจับลิ่มของเลือดในช่วงปลายเพื่อป้องกันการตกเลือด รักษาระดับออกซิเจน บรรเทาอาการปวด และให้ยาปฏิชีวนะหรือสารต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อทุติยภูมิ[32][33]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "Ebola Virus Disease & Marburg Virus Disease - Chapter 3 - 2018 Yellow Book | Travelers' Health | CDC". wwwnc.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 19 July 2019.
- ↑ "Marburg virus disease". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
- ↑ Spickler, Anna. "Ebolavirus and Marburgvirus Infections" (PDF).
- ↑ Kissling, R. E.; Robinson, R. Q.; Murphy, F. A.; Whitfield, S. G. (1968). "Agent of disease contracted from green monkeys". Science. 160 (830): 888–890. Bibcode:1968Sci...160..888K. doi:10.1126/science.160.3830.888. PMID 4296724. S2CID 30252321.
- ↑ Bonin, O. (1969). "The Cercopithecus monkey disease in Marburg and Frankfurt (Main), 1967". Acta Zoologica et Pathologica Antverpiensia. 48: 319–331. PMID 5005859.
- ↑ Jacob, H.; Solcher, H. (1968). "An infectious disease transmitted by Cercopithecus aethiops ("marbury disease") with glial nodule encephalitis". Acta Neuropathologica. 11 (1): 29–44. doi:10.1007/bf00692793. PMID 5748997. S2CID 12791113.
- ↑ Stojkovic, L.; Bordjoski, M.; Gligic, A.; Stefanovic, Z. (1971). "Two Cases of Cercopithecus-Monkeys-Associated Haemorrhagic Fever". ใน Martini, G. A.; Siegert, R. (บ.ก.). Marburg Virus Disease. Berlin, Germany: Springer-Verlag. pp. 24–33. ISBN 978-0-387-05199-4{{inconsistent citations}}
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ Nikiforov, V. V.; Turovskiĭ, I.; Kalinin, P. P.; Akinfeeva, L. A.; Katkova, L. R.; Barmin, V. S.; Riabchikova, E. I.; Popkova, N. I.; Shestopalov, A. M.; Nazarov, V. P. (1994). "A case of a laboratory infection with Marburg fever". Zhurnal Mikrobiologii, Epidemiologii, I Immunobiologii (3): 104–106. PMID 7941853.
- ↑ Martini, G. A.; Schmidt, H. A. (1968). "Spermatogenic transmission of the "Marburg virus". (Causes of "Marburg simian disease")". Klinische Wochenschrift. 46 (7): 398–400. doi:10.1007/bf01734141. PMID 4971902. S2CID 25002057.
- ↑ Siegert, R.; Shu, H. -L.; Slenczka, W. (2009). "Nachweis des "Marburg-Virus" beim Patienten". Deutsche Medizinische Wochenschrift. 93 (12): 616–619. doi:10.1055/s-0028-1105105. PMID 4966286.
- ↑ Kuming, B. S.; Kokoris, N. (1977). "Uveal involvement in Marburg virus disease". The British Journal of Ophthalmology. 61 (4): 265–266. doi:10.1136/bjo.61.4.265. PMC 1042937. PMID 557985.
- ↑ "Known Cases and Outbreaks of Marburg Hemorrhagic Fever, in Chronological Order". Centers for Disease Control and Prevention. July 31, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2011. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
- ↑ "Marburg haemorrhagic fever". Health Topics A to Z. สืบค้นเมื่อ 2011-09-25.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 Mehedi, Masfique; Allison Groseth; Heinz Feldmann; Hideki Ebihara (September 2011). "Clinical aspects of Marburg hemorrhagic fever". Future Virol. 6 (9): 1091–1106. doi:10.2217/fvl.11.79. PMC 3201746. PMID 22046196.
- ↑ Singh, edited by Sunit K.; Ruzek, Daniel (2014). Viral hemorrhagic fevers (ภาษาอังกฤษ). Boca Raton: CRC Press. p. 458. ISBN 9781439884317. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.
{{cite book}}
:|first1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Peterson, A. T.; Bauer, J. T.; Mills, J. N. (2004). "Ecologic and Geographic Distribution of Filovirus Disease". Emerging Infectious Diseases. 10 (1): 40–47. doi:10.3201/eid1001.030125. PMC 3322747. PMID 15078595.
- ↑ Pinzon, E.; Wilson, J. M.; Tucker, C. J. (2005). "Climate-based health monitoring systems for eco-climatic conditions associated with infectious diseases". Bulletin de la Société de Pathologie Exotique. 98 (3): 239–243. PMID 16267968.
- ↑ Peterson, A. T.; Lash, R. R.; Carroll, D. S.; Johnson, K. M. (2006). "Geographic potential for outbreaks of Marburg hemorrhagic fever". The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene. 75 (1): 9–15. doi:10.4269/ajtmh.2006.75.1.0750009. PMID 16837700.
- ↑ Towner, J. S.; Amman, B. R.; Sealy, T. K.; Carroll, S. A. R.; Comer, J. A.; Kemp, A.; Swanepoel, R.; Paddock, C. D.; Balinandi, S.; Khristova, M. L.; Formenty, P. B.; Albarino, C. G.; Miller, D. M.; Reed, Z. D.; Kayiwa, J. T.; Mills, J. N.; Cannon, D. L.; Greer, P. W.; Byaruhanga, E.; Farnon, E. C.; Atimnedi, P.; Okware, S.; Katongole-Mbidde, E.; Downing, R.; Tappero, J. W.; Zaki, S. R.; Ksiazek, T. G.; Nichol, S. T.; Rollin, P. E. (2009). Fouchier, Ron A. M. (บ.ก.). "Isolation of Genetically Diverse Marburg Viruses from Egyptian Fruit Bats". PLOS Pathogens. 5 (7): e1000536. doi:10.1371/journal.ppat.1000536. PMC 2713404. PMID 19649327.
- ↑ Siegert, R.; Shu, H. L.; Slenczka, W.; Peters, D.; Müller, G. (2009). "Zur Ätiologie einer unbekannten, von Affen ausgegangenen menschlichen Infektionskrankheit". Deutsche Medizinische Wochenschrift. 92 (51): 2341–2343. doi:10.1055/s-0028-1106144. PMID 4294540.
- ↑ Gear, J. H. (1989). "Clinical aspects of African viral hemorrhagic fevers". Reviews of Infectious Diseases. 11 Suppl 4: S777–S782. doi:10.1093/clinids/11.supplement_4.s777. PMID 2665013.
- ↑ Gear, J. H.; Ryan, J.; Rossouw, E. (1978). "A consideration of the diagnosis of dangerous infectious fevers in South Africa". South African Medical Journal. 53 (7): 235–237. PMID 565951.
- ↑ Grolla, A.; Lucht, A.; Dick, D.; Strong, J. E.; Feldmann, H. (2005). "Laboratory diagnosis of Ebola and Marburg hemorrhagic fever". Bulletin de la Société de Pathologie Exotique. 98 (3): 205–209. PMID 16267962.
- ↑ Bogomolov, B. P. (1998). "Differential diagnosis of infectious diseases with hemorrhagic syndrome". Terapevticheskii Arkhiv. 70 (4): 63–68. PMID 9612907.
- ↑ "Marburg virus disease". World Health Organization. February 15, 2018. สืบค้นเมื่อ March 20, 2021.
- ↑ Riemenschneider, J.; Garrison, A.; Geisbert, J.; Jahrling, P.; Hevey, M.; Negley, D.; Schmaljohn, A.; Lee, J.; Hart, M. K.; Vanderzanden, L.; Custer, D.; Bray, M.; Ruff, A.; Ivins, B.; Bassett, A.; Rossi, C.; Schmaljohn, C. (2003). "Comparison of individual and combination DNA vaccines for B. Anthracis, Ebola virus, Marburg virus and Venezuelan equine encephalitis virus". Vaccine. 21 (25–26): 4071–4080. doi:10.1016/S0264-410X(03)00362-1. PMID 12922144.
- ↑ Hevey, M.; Negley, D.; Pushko, P.; Smith, J.; Schmaljohn, A. (Nov 1998). "Marburg virus vaccines based upon alphavirus replicons protect guinea pigs and nonhuman primates". Virology. 251 (1): 28–37. doi:10.1006/viro.1998.9367. ISSN 0042-6822. PMID 9813200.
- ↑ Daddario-Dicaprio, K. M.; Geisbert, T. W.; Geisbert, J. B.; Ströher, U.; Hensley, L. E.; Grolla, A.; Fritz, E. A.; Feldmann, F.; Feldmann, H.; Jones, S. M. (2006). "Cross-Protection against Marburg Virus Strains by Using a Live, Attenuated Recombinant Vaccine". Journal of Virology. 80 (19): 9659–9666. doi:10.1128/JVI.00959-06. PMC 1617222. PMID 16973570.
- ↑ Jones, M.; Feldmann, H.; Ströher, U.; Geisbert, J. B.; Fernando, L.; Grolla, A.; Klenk, H. D.; Sullivan, N. J.; Volchkov, V. E.; Fritz, E. A.; Daddario, K. M.; Hensley, L. E.; Jahrling, P. B.; Geisbert, T. W. (2005). "Live attenuated recombinant vaccine protects nonhuman primates against Ebola and Marburg viruses". Nature Medicine. 11 (7): 786–790. doi:10.1038/nm1258. PMID 15937495. S2CID 5450135.
- ↑ Swenson, D. L.; Warfield, K. L.; Larsen, T.; Alves, D. A.; Coberley, S. S.; Bavari, S. (2008). "Monovalent virus-like particle vaccine protects guinea pigs and nonhuman primates against infection with multiple Marburg viruses". Expert Review of Vaccines. 7 (4): 417–429. doi:10.1586/14760584.7.4.417. PMID 18444889. S2CID 23200723.
- ↑ Centers for Disease Control and Prevention and World Health Organization (1998). Infection Control for Viral Haemorrhagic Fevers in the African Health Care Setting (PDF). Atlanta, Georgia, USA: Centers for Disease Control and Prevention. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-07. สืบค้นเมื่อ 2009-05-31.
- ↑ Bausch, D. G.; Feldmann, H.; Geisbert, T. W.; Bray, M.; Sprecher, A. G.; Boumandouki, P.; Rollin, P. E.; Roth, C.; Winnipeg Filovirus Clinical Working Group (2007). "Outbreaks of Filovirus Hemorrhagic Fever: Time to Refocus on the Patient". The Journal of Infectious Diseases. 196: S136–S141. doi:10.1086/520542. PMID 17940941.
- ↑ Jeffs, B. (2006). "A clinical guide to viral haemorrhagic fevers: Ebola, Marburg and Lassa". Tropical Doctor. 36 (1): 1–4. doi:10.1258/004947506775598914. PMID 16483416. S2CID 101015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โรคไวรัสมาร์บวร์ค
- "Marburg virus disease". ที่ Scholia