ข้ามไปเนื้อหา

โดมเขียว

พิกัด: 24°28′03.22″N 039°36′41.18″E / 24.4675611°N 39.6114389°E / 24.4675611; 39.6114389 (Green Dome)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดมเขียว
อัลกุบบะตุลค็อฎรออ์
ٱَلْقُبَّة ٱلْخَضْرَاء
โดมเขียวที่มัสยิดอันนะบะวี
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
ภูมิภาคแคว้นอัลมะดีนะฮ์
จารีตซิยาเราะฮ์
หน่วยงานกำกับดูแลประธานกิจการมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง: อับดุรเราะห์มาน อัสซุดัยส์
ที่ตั้ง
ที่ตั้งมัสยิดอันนะบะวี
มะดีนะฮ์ ฮิญาซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
โดมเขียวตั้งอยู่ในซาอุดีอาระเบีย
โดมเขียว
ที่ตั้งของโดมเขียวในประเทศซาอุดีอาระเบีย
โดมเขียวตั้งอยู่ในตะวันออกกลาง
โดมเขียว
โดมเขียว (ตะวันออกกลาง)
โดมเขียวตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง
โดมเขียว
โดมเขียว (เอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง)
ผู้บริหารThe Agency of the General Presidency for the Affairs of the Two Holy Mosques
พิกัดภูมิศาสตร์24°28′03.22″N 039°36′41.18″E / 24.4675611°N 39.6114389°E / 24.4675611; 39.6114389 (Green Dome)
สถาปัตยกรรม
ประเภทสุสาน
ผู้ก่อตั้งสุลต่านมัมลูก อัลมันศูร เกาะลาวูน[1]
เริ่มก่อตั้งฮ.ศ. 678 / ค.ศ. 1279[2][1]
เสร็จสมบูรณ์ฮ.ศ. 678 / ค.ศ. 1279[2][1]
วัสดุไม้,[3] อิฐ[4]

โดมเขียว (อาหรับ: ٱَلْقُبَّة ٱلْخَضْرَاء, อักษรโรมัน: al-Qubbah al-Khaḍrāʾ) เป็นโดมสีเขียวเหนือสุสานของศาสดามุฮัมมัดกับเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน อะบูบักร์ (ค. 632 – 634) กับอุมัร (ค. 634 – 644) ซึ่งเคยเป็นห้องของอาอิชะฮ์ โดมนี้ตั้งอยู่ในบริเวณมุมตะวันออกเฉียงใต้ของมัสยิดอันนะบะวีที่มะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย[5] มีผู้เข้าเยี่ยมชมหลายล้านคนทุกปี เนื่องจากเป็นธรรมเนียมที่ต้องมาเยี่ยมมัสยิดนี้หลังแสวงบุญที่มักกะฮ์

โครงสร้างนี้สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1279 โดยในเวลานั้นเป็นหอหลังคาโดมไม้ที่ไม่มีสีเหนือสุสาน ภายหลังจึงสร้างใหม่และทาสีต่างกันสองครั้งในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และอีกครั้งใน ค.ศ. 1817 โดมนี้ถูกทาเป็นสีเขียวใน ค.ศ. 1837 ทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "โดมเขียว"[2]

ประวัติ

[แก้]
กำแพงที่ฝังศพ

โดมนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1279 หรือ ฮ.ศ. 678 ในรัชสมัยสุลต่านมัมลูก อัลมันศูร เกาะลาวูน[1] โดยโครงสร้างเดิมทำมาจากไม้และไม่มีสี[3] ช่วงการบูรณะในภายหลังจึงทาสีขาวและน้ำเงิน หลังเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้มัสยิดใน ค.ศ. 1481 ตัวมัสยิดและโดมถูกเพลิงเผาไหม้ และสุลต่าน กอยต์บาย ทรงริเริ่มโครงการบูรณะ ด้วยการเปลี่ยนฐานไม้ส่วนใหญ่ไปเป็นโครงสร้างอิฐเพื่อหลีกเลี่ยงการพังทลายของโดมในอนาคต และใช้แผ่นตะกั่วปิดโดมไม้อันใหม่ ส่วนตัวอาคาร (รวมสุสานของท่านศาสดา) ได้รับการปรับปรุงใหม่อย่างกว้างขวางผ่านพระบรมราชูปถัมภ์ของกอยต์บาย[4] ส่วนโดมปัจจุบันสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1818 โดยสุลต่านออตโตมัน มาห์มุดที่ 2[5] ภายหลังจึงทาสีเขียวใน ค.ศ. 1837[2]

เมื่อซะอูด บิน อับดุลอะซีซยึดครองมะดีนะฮ์ใน ค.ศ. 1805 พวกวะฮาบีย์ ผู้ติดตามของพระองค์ เข้าทำลายโดมเกือบทั้งหมดในมะดีนะฮ์ ด้วยความเชื่อที่ว่า การเคารพสุสานและสถานที่อ้างว่ามีอิทธิฤทธิ์ ผิดหลักเตาฮีด[6] เครื่องประดับทองและอัญมณีบนโดมถูกนำออกไป แต่ตัวโดมยังคงอยู่ เนื่องจากการทำลายที่ไม่สำเร็จเนื่องจากโครงสร้างแข็ง หรือจากการที่ช่วงหนึ่ง อิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบ เคยเขียนว่า ตนไม่ต้องการเห็นโดมถูกทำลาย แม้ว่าเขาจะเกลียดชังผู้มาขอพรที่สุสานก็ตาม[7] เหตุการณ์คล้ายกันนี้เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1925 เมื่อกองกำลังติดอาวุธของซาอุดีอาระเบียยึดครองเมืองนี้อีกครั้ง และครั้งสามารถรักษาไว้ได้[8][9][10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Prophet's Mosque". ArchNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 2012-04-13.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Ariffin, Syed Ahmad Iskandar Syed (2005). Architectural Conservation in Islam: Case Study of the Prophet's Mosque. Penerbit UTM. pp. 88–89, 109. ISBN 978-9-8352-0373-2.
  3. 3.0 3.1 "The history of Green Dome in Madinah and its ruling". Peace Propagation Center. 4 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-04-13.
  4. 4.0 4.1 Meinecke, Michael (1993). Mamlukische Architektur (ภาษาเยอรมัน). Vol. 2. pp. 396–442. ', II..
  5. 5.0 5.1 Petersen, Andrew (2002-03-11). Dictionary of Islamic Architecture. Routledge. p. 183. ISBN 978-0-2032-0387-3.
  6. Peskes, Esther (2000). "Wahhābiyya". Encyclopaedia of Islam. Vol. 11 (2nd ed.). Brill Academic Publishers. pp. 40, 42. ISBN 9004127569.
  7. Mark Weston (2008). Prophets and princes: Saudi Arabia from Muhammad to the present. John Wiley and Sons. pp. 102–103. ISBN 978-0-470-18257-4.
  8. Mark Weston (2008). Prophets and princes: Saudi Arabia from Muhammad to the present. John Wiley and Sons. p. 136. ISBN 978-0-470-18257-4.
  9. Vincent J. Cornell (2007). Voices of Islam: Voices of the spirit. Greenwood Publishing Group. p. 84. ISBN 978-0-275-98734-3.
  10. Carl W. Ernst (2004). Following Muhammad: Rethinking Islam in the Contemporary World. Univ of North Carolina Press. pp. 173–174. ISBN 978-0-8078-5577-5.