ข้ามไปเนื้อหา

โซเดียมไซคลาเมต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โซเดียมไซคลาเมต
ชื่อ
IUPAC name
sodium N-cyclohexylsulfamate
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.004.863 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
เลขอี E952(iv) (glazing agents, ...)
UNII
  • InChI=1S/C6H13NO3S.Na/c8-11(9,10)7-6-4-2-1-3-5-6;/h6-7H,1-5H2,(H,8,9,10);/q;+1/p-1 checkY
    Key: UDIPTWFVPPPURJ-UHFFFAOYSA-M checkY
  • InChI=1/C6H13NO3S.Na/c8-11(9,10)7-6-4-2-1-3-5-6;/h6-7H,1-5H2,(H,8,9,10);/q;+1/p-1
    Key: UDIPTWFVPPPURJ-REWHXWOFAV
  • [Na+].O=S([O-])(=O)NC1CCCCC1
คุณสมบัติ
C6H12NNaO3S
มวลโมเลกุล 201.22 g·mol−1
ความอันตราย
NFPA 704 (fire diamond)
NFPA 704 four-colored diamondHealth 2: Intense or continued but not chronic exposure could cause temporary incapacitation or possible residual injury. E.g. chloroformFlammability 1: Must be pre-heated before ignition can occur. Flash point over 93 °C (200 °F). E.g. canola oilInstability 0: Normally stable, even under fire exposure conditions, and is not reactive with water. E.g. liquid nitrogenSpecial hazards (white): no code
2
1
0
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

โซเดียมไซคลาเมต (อังกฤษ: sodium cyclamate) หรือ ไซคลาเมต เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น[1] มีสูตรเคมีคือ C6H12NNaO3S มีเลขอีคือ E952[2]

ไซคลาเมตเป็นเกลือโซเดียมหรือเกลือแคลเซียมของกรดไซคลามิกที่เตรียมได้จากปฏิกิริยาซัลเฟชันของไซโคลเฮกซิลเอมีน หรือให้ไซโคลเฮกซิลเอมีนทำปฏิกิริยากับกรดซัลเฟมิกหรือซัลเฟอร์ไตรออกไซด์[3]

โซเดียมไซคลาเมตมีความหวานกว่าซูโครส (น้ำตาลทราย) 30-50 เท่า ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1937 โดยไมเคิล สเวดา (Michael Sveda) นักศึกษาของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์[4] บริษัทดูปองท์ซื้อสิทธิบัตรไปก่อนจะขายให้บริษัทแอบบอตต์ ซึ่งใช้ผสมในยาปฏิชีวนะและเพนโตบาร์บิทัล (ยารักษาโรคซึมเศร้า) ในปี ค.ศ. 1958 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) จัดโซเดียมไซคลาเมตในหมวด GRAS (ยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย) แต่ในปี ค.ศ. 1966 มีรายงานว่าโซเดียมไซคลาเมตอาจก่อให้เกิดพิษเรื้อรังในสัตว์และในปี ค.ศ. 1969 มีรายงานเพิ่มเติมว่าโซเดียมไซคลาเมตอาจก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ[5] สำนักงาน FDA จึงสั่งให้ใช้โซเดียมไซคลาเมตเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่ต้องควบคุมพิเศษ ต่อมาในปี ค.ศ. 1970 สำนักงาน FDA ออกประกาศห้ามใช้โซเดียมไซคลาเมตในผลิตภัณฑ์ทุกชนิดในสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน[6][7] โซเดียมไซคลาเมตได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกว่า 55 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. SODIUM CYCLAMATE | CAMEO Chemicals | NOAA
  2. Sodium Cyclamate analytical standard | Sigma-Aldrich
  3. McKetta Jr, John J. (Jun 19, 1996). "Sweeteners, High Intensity". Encyclopedia of Chemical Processing and Design. 56: 72. ISBN 9780824726072.
  4. Michael Sveda, the Inventor Of Cyclamates, Dies at 87 - New York Times
  5. "Not all are convinced by sweet science". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-10. สืบค้นเมื่อ 2016-01-02.
  6. Chedd, Grahm (May 9, 1974). "The Search for Sweetness". New Scientist. 62 (897): 299.[ลิงก์เสีย]
  7. "Everything Added to Food in the United States (EAFUS), Search Criteria = "cyclamate"". U.S. Food and Drug Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
  8. http://www.cyclamate.org/pdf/Cyclamate_worldwidestatus.pdf

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]