เหรียญ 5 บาท
ประเทศไทย | |
มูลค่า | 5.00 บาท |
---|---|
น้ำหนัก | 7.5 g |
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 24 mm |
ขอบ | เฟือง |
ส่วนประกอบ | คิวโปรนิกเกิล สอดไส้ ทองแดง 75% Cu, 25% Ni สอดไส้: 99.5%Cu |
ปีที่ผลิตเหรียญ | 2515 – ปัจจุบัน |
หมายเลขบัญชี | - |
ด้านหน้า | |
การออกแบบ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้ออกแบบ | ผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง |
วันที่ออกแบบ | 2560 |
ด้านหลัง | |
การออกแบบ | อักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ |
ผู้ออกแบบ | ผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง |
วันที่ออกแบบ | 2560 |
เหรียญ 5 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย แบ่งเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 บาท
[แก้]เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2515–2520
[แก้]ลวดลาย
[แก้]- ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระดับพระอังสา ริมขอบด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
- ด้านหลัง: เป็นรูปพระครุฑพ่าห์ เบื้องบนมีข้อความ "รัฐบาลไทย พ.ศ. ๒๕๑๕" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคา "๕ บาท" มีลายกระหนกขนาบข้าง
รายละเอียด
[แก้]- ชนิด: คิวโปรนิกเกิล 9 เหลี่ยม ขอบเรียบ
- น้ำหนัก: 9 กรัม
- เส้นผ่านศูนย์กลาง: 27 มิลลิเมตร
- ส่วนประกอบ: ทองแดง 75%, นิกเกิล 25%
- ประกาศใช้: 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516
- จำนวนการผลิต: 30,016,000 เหรียญ
- ผู้ออกแบบ
- ด้านหน้า: นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์
- ด้านหลัง: นายสานต์ เทศะศิริ
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2520–2525
[แก้]ลวดลาย
[แก้]- ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ริมขอบด้านซ้ายมีข้อความ "สยามินทร์" ริมขอบด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
- ด้านหลัง: รูปพระครุฑพ่าห์เฉียงขวา เบื้องบนมีข้อความ "ประเทศไทย" เบื้องซ้ายมีเลขไทยและข้อความบอกราคา "๕ บาท" เบื้องล่างบอกปีพุทธศักราชที่ผลิต
รายละเอียด
[แก้]- ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบเรียบ
- น้ำหนัก: 12 กรัม
- เส้นผ่านศูนย์กลาง: 29.50 มิลลิเมตร
- ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
- ประกาศใช้: 30 สิงหาคม พ.ศ. 2520 และ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
- ผู้ออกแบบ
- ด้านหน้า: นางสุภาพ อุ่นอารีย์
- ด้านหลัง: นายสานต์ เทศะศิริ
จำนวนการผลิต
[แก้]ปีที่ผลิต (พ.ศ.) | จำนวนการผลิต (เหรียญ) | |
---|---|---|
2520 | 27,257,000 | |
2522 | 72,740,000 | |
2524 | ไม่ทราบจำนวนการผลิต |
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2525–2529
[แก้]ลวดลาย
[แก้]- ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
- ด้านหลัง: รูปพระครุฑพ่าห์ชิดวงขอบเหรียญ เบื้องบนมีข้อความ "พ.ศ. ๒๕๒๕" เบื้องล่างมีข้อความ "ประเทศไทย" ด้านซ้ายมีเลข "๕" ด้านขวามีเลข "5" ใต้รูปพระครุฑพ่าห์มีคำว่า "บาท" ใต้คำว่า "บาท" มีตราโรงกษาปณ์และมีเลขย่อของปีพุทธศักราชที่ผลิตเหรียญ
รายละเอียด
[แก้]- ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบเฟือง
- น้ำหนัก: 12 กรัม
- เส้นผ่านศูนย์กลาง: 30 มิลลิเมตร
- ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
- ประกาศใช้: 9 ธันวาคม พ.ศ. 2525
- ผู้ออกแบบ
- ด้านหน้า: นางสุภาพ อุ่นอารีย์
- ด้านหลัง: นางสุภาพ อุ่นอารีย์
จำนวนการผลิต
[แก้]ปีที่ผลิต (พ.ศ.) | จำนวนการผลิต (เหรียญ) |
---|---|
2525 | 500,000 |
2526 | 100,000 |
2527 | 700,000 |
2528 | 17,911,000 |
2529 | 7,201,000 |
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2530–2531
[แก้]เหรียญรุ่นนี้ผลิตแค่ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2530 และ 2531 ในปริมาณที่ไม่มากนัก รวมกันทั้งสองปีประมาณ 44 ล้านเหรียญ โดยในปี พ.ศ. 2531 ได้มีการผลิตพร้อมกันกับรุ่นถัดไป หลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนไปผลิตเป็นรุ่นถัดไปทั้งหมด
ลวดลาย
[แก้]- ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
- ด้านหลัง: รูปส่วนหัวเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ปากหงส์ห้อยพวงแก้วพู่จามรี เบื้องหลังเป็นรูปพระบรมมหาราชวัง ชิดวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความบอกราคา เบื้องล่างข้อความบอกราคามีข้อความ "ประเทศไทย" และปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ
รายละเอียด
[แก้]- ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบเฟือง
- น้ำหนัก: 7.50 กรัม
- เส้นผ่านศูนย์กลาง: 24 มิลลิเมตร
- ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
- ประกาศใช้: 8 สิงหาคม พ.ศ. 2529
- ผู้ออกแบบ
- ด้านหน้า: นางสุภาพ อุ่นอารีย์
- ด้านหลัง: นางสุภาพ อุ่นอารีย์
จำนวนการผลิต
[แก้]ปีที่ผลิต (พ.ศ.) | จำนวนการผลิต (เหรียญ) | |
---|---|---|
2529 | ไม่ทราบจำนวนการผลิต | |
2530 | 14,542,000 | |
2531 | 2,400,000 |
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2531–2551
[แก้]ในปี พ.ศ. 2530 กรมธนารักษ์ได้ปรับปรุงการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนทั้งระบบพร้อมกันทุกชนิดราคา โดยเริ่มทยอยผลิตออกใช้และสามารถผลิตได้ครบทุกชนิดราคาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา
ลวดลาย
[แก้]- ด้านหน้า: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม ด้านในมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย ชิดวงของเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
- ด้านหลัง: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีรูปพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เบื้องบนมีข้อความ "ประเทศไทย" และปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความ "๕ บาท 5"
รายละเอียด
[แก้]- ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบนอกเฟืองหยาบ
- น้ำหนัก: 7.50 กรัม
- เส้นผ่านศูนย์กลาง: 24 มิลลิเมตร
- ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
- ประกาศใช้: 1 มิถุนายน พ.ศ. 2531
- ผู้ออกแบบ
- ด้านหน้า: นางไพฑรูย์ศรี ณ เชียงใหม่
- ด้านหลัง: นางสาวปราณี คล้ายเชื้อวงศ์
จำนวนการผลิต
[แก้]ปีที่ผลิต (พ.ศ.) | จำนวนการผลิต (เหรียญ) |
---|---|
2531 | 44,503,000 |
2532 | 86,339,000 |
2533 | 38,005,000 |
2534 | 68,520,380 |
2535 | 48,939,620 |
2536 | 46,992,000 |
2537 | 123,443,000 |
2538 | 105,100,000 |
2539 | 28,485,000 |
2540 | 10,600 |
2541 | 31,373,000 |
2542 | 50,760,000 |
2543 | 146,920,000 |
2544 | 76,566,000 |
2545 | 29,601,500 |
2546 | 182,000 |
2547 | 120,187,000 |
2548 | 91,079,000 |
2549 | 254,403,000 |
2550 | 131,126,000 |
2551 | 220,463,200 |
- หมายเหตุ: ในปี พ.ศ. 2539 กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยได้ถูกนำมาใช้หมุนเวียนทั่วไปร่วมกับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2551–2560
[แก้]ในปี พ.ศ. 2551 กรมธนารักษ์ปรับปรุงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนเป็นชุดใหม่ เพื่อปรับต้นทุนการผลิตและปรับภาพพระบรมรูปให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น โดยยังคงใช้ลวดลายและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหมือนกับรุ่นก่อนหน้า จึงทำให้เหรียญ 5 บาท ปี พ.ศ. 2551 มีทั้งแบบเก่าและใหม่
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะแรกยังไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก และเหรียญแบบใหม่นี้ยังไม่สามารถใช้กับตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจเป็นเหรียญปลอม
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นนี้ถูกใช้จนสิ้นสุดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในปี พ.ศ. 2560 และถือเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นสุดท้ายในรัชกาลที่ 9
ลวดลาย
[แก้]- ด้านหน้า: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ภายในวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
- ด้านหลัง: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีรูปพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เบื้องบนมีข้อความ "ประเทศไทย" และปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๕ บาท 5"
รายละเอียด
[แก้]- ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง
- ลักษณะ: เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร
- น้ำหนัก: 6 กรัม
- เส้นผ่านศูนย์กลาง: 24 มิลลิเมตร
- ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
- ประกาศใช้: 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
- ผู้ออกแบบ
- ด้านหน้า: นายวุฒิชัย แสงเงิน
- ด้านหลัง: นางไพฑูรย์ศรี ณ เชียงใหม่
จำนวนการผลิต
[แก้]ปีที่ผลิต (พ.ศ.) | จำนวนการผลิต (เหรียญ) |
---|---|
2551 | 6,225,000 |
2552 | 308,283,000 |
2553 | 37,903,000 |
2554 | 244,100,000 |
2555 | 322,587,000 |
2556 | 156,148,000 |
2557 | 59,000,000 |
2558 | 219,989,500 |
2559 | 330,458,400 |
2560 | 280,008,000 |
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 10 พ.ศ. 2561–ปัจจุบัน
[แก้]ในปี พ.ศ. 2561 กรมธนารักษ์ได้ปรับเปลี่ยนลวดลายบนเหรียญทุกชนิดราคา เนื่องจากได้ผลัดแผ่นดินสู่รัชกาลใหม่ โดยได้ผลิตเพื่อนำออกจ่ายแลกในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นนี้ ถือเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นแรกในรัชกาลที่ 10
ในปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์รุ่นนี้ยังสามารถใช้ควบคู่กับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนสมัยรัชกาลที่ 9 ได้
ลวดลาย
[แก้]- ด้านหน้า: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปสิบเหลี่ยม กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ชิดวงของเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "มหาวชิราลงกรณ" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๑๐"
- ด้านหลัง: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปสิบเหลี่ยม กลางเหรียญมีเลข 10 อุณาโลมและอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี เบื้องบนมีข้อความ "ประเทศไทย" และปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๕ บาท 5"
รายละเอียด
[แก้]- ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง
- ลักษณะ: เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร
- น้ำหนัก: 6 กรัม
- เส้นผ่านศูนย์กลาง: 24 มิลลิเมตร
- ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
- ประกาศใช้: 6 เมษายน พ.ศ. 2561
- ผู้ออกแบบ
- ด้านหน้า: นายไชยยศ สุนทราภา
- ด้านหลัง: นายไชยยศ สุนทราภา
จำนวนการผลิต
[แก้]ปีที่ผลิต (พ.ศ.) | จำนวนการผลิต (เหรียญ) |
---|---|
2561 | 453,343,000 |
2562 | 244,900,000 |
2563 | 270,000,000 |
2564 | 187,295,600 |
2565 | 158,850,000 |
2566 | |
2567 |
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 5 บาท
[แก้]- พ.ศ. 2520
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8
- พ.ศ. 2522
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
- พ.ศ. 2523
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในวโรกาสที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (F.A.O.) ถวายพระเกียรติอัญเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถลงบนเหรียญ CERES
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกฉลองพระชนมายุครบ 80 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ หน้าอาคารรัฐสภาอู่ทองใน
- พ.ศ. 2524
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ 100 ปี
- พ.ศ. 2525
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวันอาหารโลก
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 75 ปี ของการลูกเสือโลก
- พ.ศ. 2527
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เจริญพระชนมายุ 84 พรรษา
- พ.ศ. 2529
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- พ.ศ. 2530
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 200 ปี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2535
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- พ.ศ. 2538
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18
- พ.ศ. 2539
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี) ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช