ข้ามไปเนื้อหา

เหตุการณ์ 12-3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุการณ์ 12-3
ส่วนหนึ่งของ การให้เอกราชในเอเชียและสงครามอาณานิคมโปรตุเกส
ผู้ว่าการโปรตุเกสแห่งมาเก๊าลงนามขอโทษใต้ภาพเหมา เจ๋อตง
วันที่พฤศจิกายน ค.ศ. 1966 – มกราคม ค.ศ. 1967
สถานที่มาเก๊า
วิธีการการเดินขบวน, การนัดหยุดงาน, การคว่ำบาตร
ผลรัฐบาลอาณานิคมโปรตุเกสยอมรับข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง โดยจัดให้อาณานิคมอยู่ภายใต้การควบคุมของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพฤตินัย
คู่ขัดแย้ง

คณะกรรมการต่อต้านการกดขี่ข่มเหงของโปรตุเกส

สนับสนุนโดย:
 จีน


ยุวชนแดง
ผู้นำ
จำนวน
ไม่ทราบ

ทหาร 15,000 นาย
เรือรบ 5 ลำ


ยุวชนแดง 15,000 นาย
ความสูญเสีย
ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต, บาดเจ็บบางส่วน
  • ผู้ประท้วงถูกฆ่า 8 คน, บาดเจ็บ 212 คน
  • ยุวชนแดง 25 นาย [3][4]
เหตุการณ์ 12-3
อักษรจีนตัวเต็ม澳門一二·三事件
อักษรจีนตัวย่อ澳门一二·三事件
ความหมายตามตัวอักษรเหตุการณ์มาเก๊า 1 2-3

เหตุการณ์ 12-3 (จีน: 一二·三事件) หรือในโปรตุเกสเรียก การจลาจล 1-2-3 (โปรตุเกส: Motim 1-2-3) เป็นการจลาจลในมาเก๊า เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1966 โดยได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในประเทศจีน ชื่อเหตุการณ์ดังกล่าวมาจากวันที่เกิดเหตุ[5]

ในปี ค.ศ. 1966 ชาวเมืองบนเกาะไทปาพยายามขออนุญาตเปิดโรงเรียนเอกชนที่สนับสนุนโดยองค์กรฝ่ายซ้าย[6] ถึงแม้จะได้รับการจัดสรรที่ดินจากเจ้าหน้าที่ แต่กระบวนการจัดตั้งโรงเรียนที่ล่าช้าและไม่ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ ทำให้ชาวเมืองตั้งโรงเรียนขึ้นเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต[7] ในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน เจ้าหน้าที่สั่งระงับการก่อสร้างโรงเรียน นำไปสู่การปะทะกันระหว่างชาวเมืองกับตำรวจมาเก๊า[6] มีผู้บาดเจ็บกว่า 40 คน[8]

ต่อมามีกลุ่มนักศึกษาและคนงานเดินขบวนที่ทำเนียบรัฐบาลมาเก๊า จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม ปีเดียวกัน กลุ่มยุวชนแดงเริ่มก่อการจลาจล ด้านรัฐบาลประกาศจับกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้สถานการณ์ยิ่งรุนแรงขึ้น มีการทำลายสถานที่ต่าง ๆ เช่น อนุสาวรีย์วีเซ็งตือ นีกูเลา ดือ มึชกีตา ที่จัตุรัสซือนาดู, ทำลายภาพเหมือนของอดีตผู้ว่าการที่ศาลากลางและเผาหนังสือและบันทึกของทางการ[9] ภายหลังมีการประกาศกฎอัยการศึก[10] จากเหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บ 212 คน[5]

หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวจีนในมาเก๊าประกาศ "3 ไม่" เพื่อต่อต้านรัฐบาล ได้แก่ ไม่จ่ายภาษี, ไม่ให้บริการ และไม่ขายสินค้าให้ชาวโปรตุเกส[11] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1967 ผู้ว่าการมาเก๊าแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวที่สภาหอการค้าจีน[12] เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้อำนาจของโปรตุเกสในมาเก๊าเสื่อมลงและจีนแผ่นดินใหญ่ขึ้นมามีอำนาจแทน[10] อิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ทำให้กิจกรรมของพรรคก๊กมินตั๋งบนเกาะมาเก๊าถูกสั่งห้าม[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Fernandes, Moisés Silva. “Macau in Chinese Foreign Policy during the Cultural Revolution, 1966-1968.” Portuguese Literary and Cultural Studies 17/18 (2010): 209–24.
  2. 2.0 2.1 陳堅銘. "國共在澳門的競逐── 以 [一二‧ 三事件](1966-67) 為中心." "The Competition of the Kuomintang and Communist Party of China in Macau-Focusing on the 12-3 Incident (1966-67)" 臺灣國際研究季刊 11, no. 4 (2015): 153-177.
  3. "O Jornal do Brasil". 20 December 1966.
  4. "A Notícia, O Jornal do Brasil, Le Parisien libere, Le Courrier de l'Escaust". 20 December 1966.
  5. 5.0 5.1 Macau History and Society, Zhidong Hao, Hong Kong University Press, 2011, page 215
  6. 6.0 6.1 Hong Kong's Watershed: The 1967 Riots, Gary Ka-wai Cheung, Hong Kong University Press, 2009, page 16
  7. Sovereignty at the Edge: Macau and the Question of Chineseness, Cathryn H. Clayton, Harvard University Press, 2009, page 47
  8. Selected Hsinhua News Items, Xinhua News Agency, 1966, page 144
  9. Rioters Fight Macao Police, The Evening Independent, December 3, 1966, page 14A
  10. 10.0 10.1 Portugal, China and the Macau Negotiations, 1986-1999, Carmen Amado Mendes, Hong Kong University Press, 2013, page 34
  11. Twentieth Century Colonialism and China: Localities, the Everyday, and the World, Bryna Goodman, David Goodman Routledge, 2012, pages 217-218
  12. Naked Tropics: Essays on Empire and Other Rogues, Kenneth Maxwell, Psychology Press, 2003, page 279
  13. "Macao Electoral, Political Parties Laws and Regulations Handbook - Strategic Information, Regulations, Procedures". Google Books. สืบค้นเมื่อ November 10, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]