เรนอินบลัด
เรนอินบลัด | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 7 ตุลาคม ค.ศ. 1986 | |||
บันทึกเสียง | มิถุนายน- กรกฎาคม ค.ศ. 1986 ที่ ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย | |||
แนวเพลง | แทรชเมทัล | |||
ความยาว | 28.58 | |||
ค่ายเพลง | เดฟแจม | |||
โปรดิวเซอร์ | ||||
ลำดับอัลบั้มของสเลเยอร์ | ||||
|
เรนอินบลัด (อังกฤษ: Reign in Blood) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สามของวงแทรชเมทัลสัญชาติอเมริกัน สเลเยอร์ อัลบั้มออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1986 ผ่านทางค่ายเดฟแจม โดยมี ริก รูบิน ผู้ก่อตั้งค่ายเพลงเดฟแจม มาเป็นโปรดิวเซอร์คนใหม่ ซึ่งช่วยให้ดนตรีของวงพัฒนามากขึ้น เรนอินบลัด ได้รับการตอบรับจากกลุ่มผู้ฟังและนักวิจารณ์อย่างดี นิตยสารเคอร์แรง! ได้ยกให้เป็น "อัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล" เช่นเดียวกันกับอัลบั้มจากสามวงในเครือ "บิ๊กโฟว์" (Big 4) ได้แก่ อัลบั้ม Among the Living ของ แอนแทรกซ์, อัลบั้ม Peace Sells... but Who's Buying? ของ เมกาเดธ และอัลบั้ม Master of Puppets ของ เมทัลลิกา อัลบั้มนี้ยังช่วยกำหนดมาตรฐานของดนตรีแนวแทรชเมทัล ในสหรัฐอเมริกา ช่วงทศวรรษที่ 1980 และสร้างอิทธิพลแก่แนวเพลงนี้เป็นอย่างมากจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้เองด้วย[1]
แรกเริ่ม เรนอินบลัด เปิดตัวช้ากว่ากำหนดเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับหน้าปกของอัลบั้มที่สื่อถึง ลัทธิซาตาน ลัทธินาซี การเหยียดมนุษย์ เป็นต้น อัลบั้มเปิดตัวด้วยซิงเกิล "Angel of Death" ที่กล่าวถึง ดร.โจเซฟ แม็งเกเล (Josef Mengele) กับสิ่งเขาทำในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ทั้งการทดลองมนุษย์ ซึ่งมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงภาพที่นาซีทำไว้กับผู้คนในค่ายกักกัน[1] แต่ถึงอย่างไรก็ตามวงไม่เคยชื่นชมในหลายอย่าง ๆ สิ่งที่นาซีทำไว้แต่อย่างใด เพียงแค่ใช้เนื้อหาเพื่อสร้างความหนักให้กับเพลงเท่านั้น[2] ด้วยเหตุนี้เอง เรนอินบลัด จึงสร้างอิทธิพลอย่างมากต่อการเกิดแนวเพลงเดทเมทัล ในเวลาต่อมา[3]
ถึงแม้อัลบั้มจะประสบความสำเร็จในเรื่องของกระแสความนิยม แต่ก็สามารถไต่ชาร์ดของบิลบอร์ด 200 ได้เพียงอันดับที่ 94 เท่านั้น[4][5] อัลบั้มสามารถจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 ด้วยยอดจำหน่ายมากกว่า 500,000 ชุด[6] สองซิงเกิลจากอัลบั้มได้แก่ "Angel of Death" (เพลงเปิด) และ "Raining Blood" (เพลงปิด) ต่างได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้เล่นในเกือบทุกคอนเสิร์ต
ประวัติ
[แก้]จากกระแสตอบรับอันดีจากอัลบั้มก่อนหน้านี้ของสเลเยอร์ Hell Awaits ไบรอัน สลาเกล (Brian Slagel) ซีอีโอของค่าย เมทัลเบลดและผู้จัดการวง ได้ประเมินภาพรวมวงว่ากำลังอยู่ในช่วงที่กำลังฮิต สามารถจุดกระแสในอัลบั้มต่อไปได้ สลาเกลได้ไปเจรจากับหลายค่าย หนึ่งในนั้นคือริก รูบินและรัซเซลล์ ซิมมอน จากเดฟแจม แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สลาเกลกลับไม่ค่อยเต็มใจนักกับการเซ็นสัญญากับค่ายเพลงนี้ ที่ในช่วงเวลานั้นเน้นทำเพลงแนวฮิปฮอป เดฟ ลอมบาร์โด มือกลองของวง ก็ได้สร้างความสนใจกับรูบิน จนในที่สุดเขาก็เริ่มต้นเซ็นสัญญากับโปรดิวเซอร์ใหม่นี้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี สมาชิกสเลเยอร์ที่เหลือยังคงกังวลเกี่ยวกับออกจากค่ายเมทัลเบลด เนื่องจากพวกเขายังอยู่ในสัญญากับค่าย[7]
ลอมบาร์โด ได้ติดต่อกับค่ายโคลัมเบียเรเคิดส์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่ายของเดฟแจม และได้ติดต่อตรงถึงรูบิน ร่วมกับเกลน อี. ไฟรด์แมน (Glen E. Friedman) ได้เห็นพ้องที่จะรับสมาชิกของสเลเยอร์มาร่วมในคอนเสิร์ต ซึ่งไฟร์ดแมนได้เป็นผู้อำนวยการสร้างอัลบั้มเปิดตัว Suicidal Tendencies ในชื่อเดียวกับวง โดย ทอม อารายา ได้เป็นสมาชิกรับเชิญในมิวสิกวิดีโอจากซิงเกิล "Institutionalized" อีกด้วย[7]
ความสนใจในสเลเยอร์นี้เองของรูบิน ได้สร้างความประหลาดใจให้กับ เจฟ แฮนนีแมน มือกีตาร์เอกของวง นอกจากนี้เขาก็ยังประทับใจในตัวรูบินต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับวงฮิปฮ็อป อย่าง รัน ดีเอ็มซี (Run DMC) และ แอลแอลคูลเจ. (LL Cool J.) ในระหว่างที่สลาเกลได้เดินไปร่วมงานประชุมงานดนตรีที่ยุโรป รูบิน ได้เดินทางมาคุยกับสมาชิกวงโดยตรง และได้ชักชวนให้มาเซ็นสัญญากับค่ายของเขา สลาเกลได้กล่าวว่า รูบินนั้นเป็นตัวแทนค่ายเพลงที่น่าหลงใหลที่สุดในบรรดาทุกค่ายที่ต่อรองมา จนในท้ายสุดนี้ พวกเขาก็ยอมเซ็นสัญญากับค่ายใหม่นี้ ไฟร์ดแมน ได้พาสมาชิกวงทั้งหมดเดินทางไปยังเมืองซีแอตเทิล เป็นเวลาสองวันเพื่อถ่ายภาพอย่างเป็นทางการ และเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในอัลบั้มต่าง ๆ ด้วย แต่รูบินกลับรู้สึกว่า ภาพถ่ายไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้ภาพหนึ่งเป็นภาพหน้าปกหลังของอัลบั้ม South of Heaven ในปี ค.ศ. 1988 อัลบั้มนี้ยังได้กลายเป็นอัลบั้มของค่ายอเมริกันเรเคิดดิงส์ (ซึ่งเป็นค่ายที่ตั้งโดยรูบิน แล้วแยกตัวจากเดฟแจมออกต่างหาก) ภายหลังรูบินยุติหุ้นส่วนกับ รัซเซลล์ ซิมมอนส์ลง มันจึงกลายเป็นหนึ่งในสองอัลบั้มของค่ายเดฟแจม ที่ได้วางจำหน่ายโดยเกฟเฟินเรเคิดส์ ผ่านทางวอร์เนอร์บราเธอส์เรเคิดส์ เนื่องจากค่ายโคลัมเบียปฏิเสธงานดนตรีของพวกเขา
การบันทึกเสียง
[แก้]เรนอินบลัด ได้รับการบันทึกในเมืองลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีรูบินเป็นโปรดิวเซอร์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เขารับหน้าที่มาคุมเพลงแนวเฮฟวี่เมทัล เขาก็มีความคิดที่จะปรับปรุงและพัฒนาเสียงของเพลงให้มีความรุนแรง หนักหน่วง สตีฟ ฮิวอี (Steve Huey) แห่ง ออลมิวสิก เชื่อว่ารูบิน เป็นผู้ผลักดันให้เพลงมีความแรงและรวดเร็วดุดันกว่าที่ผ่านมา ส่งผลให้การบันทึกเสียงในอัลบั้มนี้มีความแตกต่างจาก 2 อันก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน[8] ผลการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีผลอย่างมากต่อกระแสตอบรับโดยตรงต่อผู้ฟัง สิ่งนี้เองที่ทำให้ อารายา กล่าวถึงสองอัลบั้มก่อนหน้านี้ว่าไม่ใช่เกณฑ์การผลิตงานที่ดีเท่าที่ควร[9] ในเวลาต่อมา เคอร์รี คิง มือกีตาร์หลัก ก็ได้กล่าวว่า "มันเหมือนกับ 'ว้าว คุณสามารถรับฟังมันทั้งหมด และพวกเขาไม่ได้เพียงเล่นเพลงเร็ว พวกเขาเล่นตรงตามเวลาโน๊ตชัดเจน"[7]
แฮนนีแมน ในเวลาต่อมาได้ยอมรับว่า ขณะที่ทั้งวงได้ฟังเมทัลลิกาและเมกาเดธในเวลานั้น เขาค้นว่าการใช้จังหวะซ้ำ ๆ ในท่อนของการริฟฟ์กีตาร์นั้น ดูน่าเบื่อ ซ้ำซาก เขาได้กล่าวว่า "ถ้าพวกเราเล่นจังหวะเช่นนั้น 2-3 ครั้ง พวกเราจะเบื่อกับมันจริง ๆ ดังนั้นพวกเราจึงไม่พยายามที่จะเพลงให้ยาวกว่า" เนื่องจากเพลงแนวแทรชเมทัลส่วนใหญ่ ในหนึ่ง ๆ เพลงจะยาวประมาณ 5-8 นาที สเลเยอร์จึงได้ทำเพลงที่สั้นกว่าประมาณ 2-3 นาที ตามวัตถุประสงค์ของแฮนนีแมนที่ลดความน่าเบื่อของเพลงลง ส่งผลให้อัลบั้มมีระยะเวลาสั้น โดยรวมระยะเวลาของทุกซิงเกิลประมาณ 29 นาที เท่านั้น[7] คิงได้กล่าวถึงเทรนด์การบันทึกเสียงยาวเป็นชั่วโมง "คุณสามารถเสียส่วนนี้ไปได้ คุณสามารถจะตัดบางส่วนของเพลง และทำให้การบันทึกนี้เข้มข้น หนักแน่นมากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราทำมันทั้งหมด"[7] ด้วยจังหวะเพลงที่ใช้ความหนักหน่วงและความรวดเร็วในการเล่นตลอดทั้งอัลบั้ม ยังเป็นการบีบช่องความแตกต่างระหว่างแทรชเมทัลและฮาร์ดคอร์พังค์ให้แคบลง[8] ด้วยจังหวะการเล่นตลอดอัลบั้มที่อัตราเฉลี่ยราว 220 บิตส์ต่อนาที[10]
กระแสตอบรับและบทวิจารณ์
[แก้]คะแนนคำวิจารณ์ | |
---|---|
ที่มา | ค่าประเมิน |
ออลมิวสิก | [11] |
นิตยสารสไทลัส | A+[12] |
เดอะวิลเลจวอยส์ | B+[13] |
ร็อกฮาร์ด | 9.5/10[14] |
เคอร์แรง! | [15] |
เดอะการ์เดียน | [16] |
เดอะโรลลิงสโตนอัลบั้มไกด์ | [17] |
สปินอัลเทอร์เนทีฟเรเคิดไกด์ | 10/10[18] |
แม้ว่าอัลบั้มไม่เคยเผยแพร่ทางการออกอากาศทางวิทยุ แต่ก็เป็นครั้งแรกที่สเลเยอร์สามารถเข้าสู่บิลบอร์ด 200 ได้สำเร็จ ด้วยการเปิดตัวที่อันดับ 127 และไต่สูงสุดที่อันดับ 94 ด้วยการอยู่บนบอร์ดนาน 6 สัปดาห์[4][5] อัลบั้มยังติดบอร์ดของ ยูเค อัลบั้มชาร์ท ในอันดับที่ 47[19] จนกระทั่งในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 ก็สามารถจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำ (500,000+ ชุด) ในสหรัฐอเมริกาเพียงที่เดียว[6]
เรนอินบลัด ได้รับคำชื่นชมอย่างดีจากทั้งใต้ดินและบนกระแสหลัก สตีฟ ฮิวอี (Steve Huey) แห่งค่าย ออลมิวสิก (AllMusic) ได้มอบ 5 ดาวจาก 5 ดาวให้กับอัลบั้มโดยกล่าวว่ามันเป็น "stone-cold classic"[8] เคลย์ จาร์วิส (Clay Jarvis) แห่งนิตยสาร สไทลัส (Stylus) ก็ได้ให้ A+ กล่าวว่าเป็น "ผู้อธิบายความหมายของแนว" (แนวแทรชเมทัล) เช่นเดียวกับเป็น "อัลบั้มเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[12] จาร์วิส ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่าซิงเกิล "แองเจิงออฟเดธ เป็นเหมือนควันทีมีอิทธิพลเหนือวงอื่นๆ ที่เล่นเพลงเร็วและหนักในทุกวันนี้ จากเนื้อหาเพลงอันน่าสะพรึงกลัวที่ร้องออกมา ในขณะที่การบรรเลงเพลงถือเป็นรากฐานอันสำคัญในการบันทึกทั้งความเร็ว ความโอนเอียงและความป่าเถื่อน"[12] นิตยสาร เคอร์แรง! (Kerrang!) ได้จัดอันดับให้เป็น "อัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล"[20] และจัดอันดับที่ 27 ในหัวข้อ "100 อัลบั้มเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[21] และจัดอันดับที่ 27 ในหัวข้อ "100 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" นิตยสาร เมทัลแฮมเมอร์ (Metal Hammer) ขนานนาม เรนอินบลัด ในฐานะ "อัลบั้มเมทัลที่ดีที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา"[22] นิตยสาร คิว (Q Magazine) ก็ได้จัดอันดับ เรนอินบลัด เป็นหนึ่งใน การจัดอันดับหัวข้อ "50 อัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล"[23] และนิตยสาร สปิน (Spin Magazine) ก็ได้จัดอันดับที่ 67 ในหัวข้อ "100 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตั้งแต่ปี 1985-2005"[24] ชาด โบวา (Chad Bowar) นักวิจารณ์ดนตรีได้กล่าวว่า "เรนอินบลัด ปี ค.ศ. 1986 เป็นไปได้ที่จะเป็นอัลบั้มแทรชเมทัลที่ดีที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา"[25] ในเดือนสิงหาคม 2014 นิตสาร รีโวลเวอร์ (Revolver) ก็ได้จัดอันดับอัลบั้มนี้ในหัวข้อ "14 อัลบั้มแทรชเมทัลที่คุณจำเป็นต้องมีเป็นของตัวเอง"[26]
เอเดรีย เบแกรนด์ (Adrien Begrand) จาก ป็อปแมตเทอร์ส (PopMatters) ได้พรรณนาว่า "มันไม่มีเพลงไหนที่ดีกว่าที่จะเตะซิงเกิลชั้นยอดอย่าง 'Angel of Death' ได้ ซึ่งมันเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เมทัล" ที่มือกีตาร์ เคอร์รี่ คิง และเจฟ แฮนนีแมน สร้างขึ้นด้วยการรีฟฟ์อันซับซ้อน การเล่นกลองชุดอันน่าสะพรึงกลัวและแฝงไปด้วยอานุภาพของเดฟ ลอมบาร์โด มากที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา และการบรรเลงเบส เสียงร้องจากทอม อารายา ด้วยเสียงกรีดร้องและคำราม ด้วยเนื้อหาของอาชญากรรมของนาซี นำโดย ดร.โจเซฟ แม็งเกเล่"[27] เมื่อถามว่าทำไมจึงเก็บความนิยมใน เรนอินบลัด ไว้ คิง ได้กล่าวว่า "ถ้าคุณวางจำหน่าย เรนอินบลัด วันนี้ คงไม่มีใครเอาไรพรรรค์นั้นมาให้ เมื่อถึงเวลา มันก็จะเป็นการเปลี่ยนน้ำเสียง ในวงการแทรชเมทัลเวลานั้น กล่าวได้เลยว่าไม่มีใครที่จะได้ยินการบันทึกเสียงที่ดีเช่นนี้ ซึ่งมันก็เป็นการรวมอะไรต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน"[28]
การออกของลอมบาร์โด
[แก้]สเลเยอร์ได้ร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับวงโอเวอร์คิลในทัวร์ "เรนอินเพน" (Reign in Pain) ในสหรัฐอเมริกาและร่วมกับวงแมลลิสในยุโรป สเลเยอร์ยังได้ร่วมเป็นวงเปิดก่อนคอนเสิร์ตของวงดับเบิลยู.เอ.เอส.พี (W.A.S.P.) ในปี ค.ศ. 1987 อีกด้วย ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1986 มือกลองลอมบาร์โด ก็ได้ออกจากวงไปช่วงหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่า เขาไม่ได้รับเงินใด ๆ เลย รวมถึงเพิ่งแต่งงานเสร็จ ซึ่งเขาต้องการค่าใช้จ่าย วงได้มือกลองมาร่วมทัวร์คอนเสิร์ตคือโทนี แสคกเลียน (Tony Scaglione)[7]
รูบิน ได้เรียกร้องให้ลอมบาร์โดกลับวงทุกวัน รูบินเสนอเงินเดือน แต่เขาก็ยังลังเลใจที่จะกลับ ซึ่งในจุดๆนี้เองลอมบาร์โด ได้ออกจากวงมาแล้วหลายเดือน จนในที่สุดภรรยาของลอมบาร์โดเองก็เสนอให้เขากลับในปี ค.ศ. 1987 รูบินได้มารับเขาที่บ้านของลอมบาร์โดด้วยรถปอร์เช่ กลับสู่วงสเลเยอร์อีกครั้ง[7]
อิทธิพลต่อแนวเพลง
[แก้]เรนอินบลัด ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์หลายคนให้เป็นหนึ่งในอัลบั้มแทรชเมทัลที่มีอิทธิพลและสุดขีดที่สุดเท่าที่เคยมีมา[8] ในผลโหวต "วงดนตรีเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" จากเอ็มทีวี (MTV) ยกย่องสเลเยอร์ว่าเป็น "การพลิกโฉมจังหวะ การฝังเชื้อโรคร้ายกับกีตาร์ เนื้อหาโหดเหี้ยมและหน้าปกอันน่าสยดสยอง" ซึ่งพวกเขาอธิบายว่า "เป็นมาตราฐานของวงแทรชเมทัลเกิดใหม่อีกมากมาย" ในขณะที่ "ดนตรีของสเลเยอร์ส่งผลโดยตรงต่อแนวเดทเมทัล" เอ็มทีวีกล่าวต่ออีกว่า เรนอินบลัด เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเข้าถึงการฟังแนวเพลงนี้[3] และอัลบั้มได้ถูกจัดให้อยู่อันดับ 7 ในหัวข้อ "25 อัลบั้มเมทัลที่มีอิทธิพลมากที่สุด" จากไอจีเอ็น (IGN)[29]
ในปี ค.ศ. 2006 ดอน เคย์ (Don Kaye) แห่งเว็บไซต์แบล็บเบอร์เมาท์ (Blabbermouth) ได้เปรียบเทียบถึงอัลบั้มล่าสุดของเขาในปี ค.ศ. 2006 คริสต์อิลลูชัน (Christ Illusion) กับ เรนอินบลัด โดยกล่าวว่า "สเลเยอร์อาจจะไม่สามารถทำอัลบั้มที่บูมขึ้นมาดั่งเช่น เรนอินบลัดได้อีก"[30]
เนโคร (Necro) แรปเปอร์ชาวอเมริกันก็ได้กล่าวว่าได้รับอิทธิพลจากอัลบั้มนี้ ทำให้ผลักดันเขากลับมารุ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980[31] ซอลตัน ฟาร์คาส นักร้องนำแห่งเอคโตมอร์ฟ (Ektomorf) วงกรูฟเมทัลจากฮังการี ก็ได้พูดถึงอัลบั้มว่า "เรนอินบลัด เป็นหนึ่งในอิทธิพลหลักต่องานดนตรีของเขา"[32] พอล มาซูร์ไกวิชซ์ (Paul Mazurkiewicz) มือกลองแห่งแคนนิเบิลคอปส์ วงเดทเมทัลชื่อดังจากบัฟฟาโล กล่าวว่า "การเล่นกลองของลอมบาร์โดในอัลบั้มนี้เป็นผลให้เขาพัฒนาด้วยการเล่นให้เร็วกว่าในชีวิตมือกลองของเขา"[33] เคลลี เซเฟอร์ (Kelly Shaefer) แห่งเอธีอิสท์กล่าวว่า "เมื่อเรนอินบลัดถูกปล่อยออกมา มันเปลี่ยนทุกอย่าง! มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเป็นเอกซ์ตรีมเมทัลที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา"[34]
แฮนนีแมน กล่าวว่าอัลบั้ม เรนอินบลัด เป็นงานโปรดในชีวิตเขา ด้วยเหตุผลที่ว่า "สั้น เร็วและเข้าถึงจุดสุดยอด"[35] อารายาได้เอ่ยถึงอัลบั้ม คริสต์อิลลูชัน (Christ Illusion) ในปี ค.ศ. 2006 ว่า "เข้ามาใกล้ แต่ก็ยังไม่อาจเทียบเรนอินบลัดในเรื่องของความหนัก รุนแรงและมีอิทธิพลได้ ตั้งแต่ออกอัลบั้มออกมา 20 ปีแฟนเพลงเริ่มคุ้นเคยแล้วว่า อัลบั้มที่จะมาแทนที่อาจจะเป็นไปไม่ได้แล้ว"[36] พอล บอสทาฟ (Paul Bostaph) สมาชิกที่มารับตำแหน่งมือกลองของสเลเยอร์ในปี ค.ศ. 1992 - 2001 (และ ค.ศ. 2013 - ปัจจุบัน) เขาได้ฟังการบันทึกเสียงนี้ครั้งแรกตั้งแต่อยู่ในวงฟอร์บิดเดน ซึ่งเขาได้ยินโดยบังเอิญจากอีกห้องหนึ่ง จึงได้ไปถามเครก โลซิเซโร (Craig Locicero) มือกีตาร์ของฟอร์บิดเดน ว่ามันคืองานดนตรีของใคร โลซิเซโร จึงตอบไปว่า "มันคืองานบันทึกเสียงใหม่ของสเลเยอร์" ภายหลังเข้าไปฟังให้ลึกขึ้น เขามองไปที่โลซิเซโร แล้วกลับมามองวงตัวเอง ที่ดู "กระจอก" ไปเลย[7]
การแสดงสด
[แก้]ในซิงเกิล "เรนนิงบลัด" และ "แองเจิลออฟเดท" ได้กลายเป็นซิงเกิลที่ถูกนำมาเล่นหลายครั้ง ซึ่งพบได้จากอัลบั้มแสดงสด เกือบทุกอัลบั้ม อ้างจากแฮนนิแมนซึ่งเขาชอบที่จะเล่นซิงเกิลเหล่านี้ในแสดงสด[37] วงได้เล่นคอนเสิร์ตเฉพาะอัลบั้ม เรนอินบลัด ในปี ค.ศ. 2004 ภายใต้ชื่อทัวร์ "สทิลเรนนิง" (Still Reigning) และต่อมาในปีเดียวกันก็ได้ออกอัลบั้มแสดงสดผ่านดีวิดี ในชื่อเดียวกันออกจำหน่าย ซึ่งถือเป็นครั้งสุดท้ายที่วงนำเลือดปลอมมาใช้ในการแสดงสดจากซิงเกิล "เรนนิงบลัด"[38]
คิง ต่อมาได้กล่าวถึง ความคิดทีจะเล่นคอนเสิร์ตอัลบั้ม เรนอินบลัด ทั้งหมดอีก ซึ่งยังได้รับการสนับสนุกจากแฟนคลับเล็กน้อย สเลเยอร์ จึงได้ตัดสินใจว่า พวกเขาตั้งใจที่จะทำคอนเสิร์ตที่หลากหลายและตื่นเต้นกว่า และปฏิเสธที่จะทำทัวร์คอนเสิร์ตซ้ำอีกรอบ เมื่อถามถึงการใช้เลือกปลอมอีกครั้งในการแสดงสดครั้งต่อไป[39] คิง ได้เน้นย้ำว่า "มันคงเป็นก้าวต่อไป แต่ไม่อาจปฏิเสธว่าจะไม่ทำ ผมรู้ว่าพวกญี่ปุ่น คงไม่เคยสัมผัสมันแน่ อเมริกาใต้และออสเตรเลีย ก็ไม่ต่างกัน ดังนั้นคุณคงไม่รู้"[40] ในปี ค.ศ. 2008 วงก็กลับมาเล่นอัลบั้ม เรนอินบลัด อีกครั้ง ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างทัวร์ The Unholy Alliance Tour[41]
แม้ว่าการแสดงสดทั้งอัลบั้มจะเว้นไปในหลายคอนเสิร์ต วงก็ยังคงกล่าวว่าชื่นชอบการเล่นอัลบั้มทั้งหมดอยู่ดี อ้างอิงจากแฮนนีแมน "พวกเรายังคงชื่นชอบการเล่นเพลงทั้งหมดนี้ในคอนเสิร์ต พวกเราเพลงพวกนี้เอามากและมากและมาก ๆ แม้เพลงเหล่านี้จะไม่ใช่เพลงชั้นเลิศ เพลงที่เข้มข้น! ถ้ามันเป็นเพลงที่รื่นหูหรือบางอย่างที่น่าเบื่อ ก็ต้องปรบมือของคุณ ให้กับเพลง คุณคงรู้สึกอารมณ์เสียที่จะเล่นเพลงพวกนี้ทุกคืน แต่เพลงของพวกเรานั้นแบม-แบม-แบม-แบม พวกมันหนักแน่น"[42] ในคอนเสิร์ตหนึ่งวงมักมีช่วงเวลาบรรเลงดนตรีราว 70 นาที ซึ่งนอกเหนือจากเพลงในอัลบั้มแล้ว ก็ยังมีเพลงอื่น ๆ อีก 7 ถึง 8 เพลงจากอัลบั้มอื่น ๆ คิง ได้กล่าวว่าการจัดเรียงเพลงในคอนเสิร์ตนี้ว่ามันเป็นการ "ตีห่างออกจากคนมากมาย" ในทัวร์คอนเสิร์ตอันโฮลีอัลลิแอนซ์ทัวร์ (Unholy Alliance Tour) ปี ค.ศ. 2004 อัลบั้มได้เล่น 10 เพลงทั้งหมดปิดท้ายในการแสดงสด[43] เรนนิงบลัด ยังได้ถูกนำมาใช้แสดงสดที่เทศกาลดนตรีไอวิลบียัวร์มีเรอร์ลอนดอน (I'll Be Your Mirror London festival) ณ กรุงลอนดอน ในเดือนพฤษภาคม 2012[44] และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 ก็ได้มีการประกาศว่าสเลเยอร์จะนำอัลบั้มนี้มาแสดงสดทั้งหมดที่เทศกาล "ไรเอิทเฟสต์" (Riot Fest) ณ นครชิคาโกและเดนเวอร์[45]
การวิจารณ์
[แก้]หน้าปก
[แก้]เรนอินบลัด ได้ถูกจำหน่ายผ่านทางค่ายเดฟ แจม เป็นหลัก เนื่องจากค่ายคอลัมเบีย (Columbia Records) ปฏิเสธที่จะจำหน่าย ด้วยเหตุมาจากเนื้อหาเพลงที่รุนแรงและภาพหน้าปกอัลบั้ม เรนอินบลัดยังเคยจะได้ถูกจำหน่ายผ่านทางค่ายเกฟเฟ็น (Geffen Records) แต่ด้วยเนื้อหาและประเด็นข้อโต้แย้ง จึงไม่มีการจำหน่ายมาจนถึงปัจจุบันนี้[7]
หน้าปกได้รับการออกแบบโดย ลาร์รี คาร์โรล (Larry Carroll) นักทำภาพแนวเกี่ยวข้องกับการเมืองจาก เดอะโปรเกรสซีฟ (The Progressive) วิลเลจวอยซ์ (Village Voice) และ เดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) หน้าปกอัลบั้มยังถูกบรรจุในหัวข้อ "สิบอันดับหน้าปกอัลบั้มเฮฟวีเมทัลตลอดกาล" จาก นิตยสาร เบรนเดอร์ ประจำปี ค.ศ. 2006 อีกด้วย[46]
เนื้อหาเพลง
[แก้]สำหรับอัลบั้ม สเลเยอร์ได้ตัดสินใจที่จะตัดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับลัทธิซาตานในช่วงก่อนหน้านี้ลงไปมาก โดยเฉพาะจากอัลบั้มก่อนหน้านี้ในอัลบั้ม Hell Awaits และได้แต่งเนื้อหาเพลงใหม่ที่เพิ่มความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ฟังในระดับทั่วๆไป[47] เนื้อหาเรนอินบลัด เกี่ยวกับกับการเข้าถึงความตาย ต่อต้านศาสนา วิกลจริตและฆาตกรรม ในขณะที่ซิงเกิลเปิดของอัลบั้ม "แองเจิลออฟเดธ" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทดลองมนุษย์ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ โดย ดร.โจเซฟ แม็งเกเล่ ผู้ซึ่งถูกขนานนามจากผู้ต้องขังในค่ายกักกันว่าเป็น "เทพแห่งความตาย" (Angel of death)[48] เนื้อหาของเพลงส่งผลให้เกิดการตำหนิและวิจารณ์ที่เอนเอียงไปเข้าทางนาซีและการรังเกลียดเชื้อชาติ ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของวงนับแต่นั้นเป็นต้นมา[1]
แฮนนีแมน ผู้แต่งเพลง "Angel of Death" ได้แรงบรรดาลใจมาจากการอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ ดร.แม็งเกเล่ ในระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตกับสเลเยอร์ แฮนนีแมนได้ปฏิเสธ ผู้คนที่มักตีความ ความหมายของเนื้อหาเพลงผิด ที่กล่าวหาว่าสเลเยอร์นำประเด็นเหล่านี้มาผลักดันทำให้วงมีชื่อเสียง เช่นเดียวกันกับโลโก้ของวงที่ใช้ตราอินทรีของเยอรมัน (Reichsadler) (รวมถึงตัวอักษร S คำหน้าชื่อของวง ที่หมายถึง เดอะซิกรูนส์ ซึ่งเคยนำใช้ในหน่วย เอสเอส อีกด้วย) นอกจากนี้ซิงเกิล "SS-3" ในอัลบั้ม Divine Intervention ก็ยังอ้างถึง รีนฮาร์ด เฮย์ดริช ผู้บัญชาการหมายเลขสองของหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิล[49]
เพลงในรูปแบบอื่น
[แก้]เรนนิงบลัด ได้ถูกนำมาทำใหม่จากโทรี เอมอส จากอัลบั้ม Strange Little Girls ปี ค.ศ. 2001 เพลงยังถูกนำมาทำใหม่จากศิลปินอื่นอีกเช่น มาเรโวเลนต์คลีเอชัน (Malevolent Creation), คิมายรา (Chimaira), เวเดอร์ (Vader), โดคาคา (Dokaka), เรคคีแอนด์แอนด์ฟูลล์เอฟเฟกต์ (Reggie and the Full Effect) และรวมถึงอิริค ไฮนด์ส (Erik Hinds) ผู้ซึ่งนำเพลงจาก เรนอินบลัด มาทำใหม่ทั้งอัลบั้มในชื่อ "H'arpeggione"[50]
ในปี ค.ศ. 2005 วงเดดสกินมาสก์ (Dead Skin Mask) วงเลียนแบบสเลเยอร์ (tribute band) ได้ปล่อยอัลบั้มออกมา 8 ซิงเกิล ซึ่งรวมถึง "Angle of Death"[51] วงเดทเมทัลมอนสโตรซิตี (Monstrosity) ก็ได้นำเพลงจาก เรนอินบลัด มาทำใหม่ ในปี ค.ศ. 1999[52] มีการโคเวอร์ในรูปแนวคลาสสิกของวงเครื่องสายอะโพคาลิปติกา ในอัลบั้ม Amplified / A Decade of Reinventing the Cello ปี ค.ศ. 2006[53] ค่ายเฮอร์ริงเมทัลเรเคิร์ดส์ (Hurling Metal Records) ได้เรียบเรียงออกอัลบั้ม Al Sur del Abismo ซึ่งประกอบด้วย 16 ซิงเกิล รวมศิลปิน วงเมทัลจากอาร์เจนตินา ซึ่งได้แก่ เวอร์ชัน "Angle of Death" ของอสิเนเซีย (Asinesia)[54] เรนนิงบลัด ยังเคยถูกคัพเวอร์จากวงเครื่องกลองและเบสจากนิวซีแลนด์ คองคอร์ดดาวน์ (Concord Dawn) ในอัลบั้ม Uprising ปี ค.ศ. 2003
วงอัลเทอร์เนทีฟร็อกจากบัลแกเรีย ฮิโพดิล ได้นำท่อนนำของ "Raining Blood" มาทำใหม่ในชื่อเพลง "Reigun v kruv" (Reagan in Blood) ในอัลบั้มเปิดตัว Alkoholen delirium ปี ค.ศ. 1993
ในวัฒนธรรมนิยม
[แก้]"Raining Blood" ได้ปรากฏตัวในการ์ตูน เซาท์พาร์ก ตอนที่ 127 ในซีซั่นที่ 9 (Die Hippie, Die) ซึ่งออกอากาศวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2005[55] ในเนื้อเรื่องบอกเล่าถึงเหตุการณ์ในเซาท์พาร์ก ซึ่งกำลังถูกรุกรานจากพวกฮิปปี้ อีริก คาร์ตแมน ตัวละครในเรื่อง พูดถึง "ฮิปปี้ที่รับไม่ได้กับแนวเดทเมทัล" และมีการนำเพลง "Raining Blood" เปลี่ยนเข้ามาเล่นในคอนเสิร์ตของพวกฮิปปี้ ทำให้พวกฮิปปี้ต่างวิ่งหนีกระจัดกระเจิง คิง ซึ่งได้รับชมแล้ว รู้สึกตลกและกล่าวแสดงความสนใจ ในบทสัมภาษณ์ว่า "มันเป็นสิ่งที่ดีที่ได้เห็นเพลงนำมาใช้กับสิ่งดี ๆ บ้าง ถ้าเราทำให้ฮิปปี้หวาดกลัวได้ เราคงประสบควมสำเร็จแล้วล่ะ"[40] "Angel of Death" ยังได้ปรากฏในภาพยนตร์หลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง เกรมลินส์ ปีศาจแสนซน ภาค 2 ในตอนที่ตัวละครโมฮอว์ก (Mohawk) แปลงตัวเองเป็นแมงมุม[56] ภาพยนตร์เรื่อง แจ็กแอส ในฉากดวลรถ และในปี ค.ศ. 2005 ภาพยนตร์สารคดีสงครามอิรัก Soundtrack to War[57][58]
"Angel of Death" ยังได้ปรากฏตัวในเกมแนวสเกตบอร์ด Tony Hawk's Project 8 ด้านผู้จัดทำโนแลน เนลสัน (Nolan Nelson) ได้กล่าวถึงเหตุผลที่เลือกเพลงประกอบนี้มาใช้ในเกมว่า "มันเป็นหนึ่งในการบันทึกเสียงเฮฟวีเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา หากใครไม่รู้ว่าสเลเยอร์คืออะไร ผมคงรู้สึกน่าสงสารคุณ"[59] "Raining Blood" ยังเป็นหนึ่งในเพลงประกอบในเกม แกรนด์เธฟต์ออโต: ไวซ์ซิตี นอกจากนี้ "Raining Blood" ก็ยังปรากฏให้เห็นใน กีตาร์ฮีโร III:ลีเจนด์สออฟร็อก[60] ซึ่งยังถูกยกให้เป็นหนึ่งในเพลงที่ยากที่สุดในเกมอีกด้วย[61] และในเกม ร็อกสมิธ 2014 ก็ยังบรรจุเพลง "Angel of Death" และ "Raining Blood" ไว้อีกด้วย
รายชื่อเพลง
[แก้]ลำดับ | ชื่อเพลง | เนื้อเพลง | ทำนอง | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "Angel of Death" | เจฟฟ์ แฮนนีแมน | แฮนนีแมน | 4:51 |
2. | "Piece by Piece" | เคอร์รี คิง | คิง | 2:03 |
3. | "Necrophobic" | แฮนนีแมน, คิง | แฮนนีแมน, คิง | 1:40 |
4. | "Altar of Sacrifice" | คิง | แฮนนีแมน | 2:50 |
5. | "Jesus Saves" | คิง | แฮนนีแมน, คิง | 2:54 |
6. | "Criminally Insane" | แฮนนีแมน, คิง | แฮนนีแมน, คิง | 2:23 |
7. | "Reborn" | คิง | แฮนนีแมน | 2:12 |
8. | "Epidemic" | คิง | แฮนนีแมน, คิง | 2:23 |
9. | "Postmortem" | แฮนนีแมน | แฮนนีแมน | 3:27 |
10. | "Raining Blood" | แฮนนีแมน, คิง | แฮนนีแมน | 4:17 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | เนื้อเพลง | ทำนอง | ยาว |
---|---|---|---|---|
11. | "Aggressive Perfector[a]" | แฮนนีแมน, คิง | แฮนนีแมน, คิง | 2:30 |
12. | "Criminally Insane (ทำใหม่)" | แฮนนีแมน, คิง | แฮนนีแมน, คิง | 3:18 |
1 "Aggressive Perfector" เป็นซิงเกิลที่สั้นกว่าและเสียงชัดเจนกว่าการบันทึกเสียงครั้งก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรจุในอีพี Haunting the Chapel ชุดเรียบเรียงใหม่นี้ได้เข้าไปแก้ซีดีบางชุดที่เซตเพลง "Raining Blood" แล้วดันไปถูกคั่นด้วยเพลง "Postmortem"[62]
สมาชิก
[แก้]- นักดนตรี
ชาร์ตและการรับรอง[แก้]
บรรณานุกรม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
|