เซอราโตซอรัส
เซราโตซอรัส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Jurassic, 153–148Ma | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Sauropsida |
อันดับใหญ่: | Dinosauria |
อันดับ: | Saurischia |
อันดับย่อย: | Theropoda |
อันดับฐาน: | Ceratosauria |
วงศ์: | Ceratosauridae |
สกุล: | Ceratosaurus Marsh, 1884 |
ชนิดต้นแบบ | |
†Ceratosaurus nasicornis Marsh, 1884 | |
สายพันธุ์อื่น ๆ | |
ชื่อพ้อง | |
|
เซราโตซอรัส (อังกฤษ: En:Ceratosaurus - กิ้งก่ามีเขา) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ (เทอโรพอด) อยู่ในช่วง (Kimmeridgian กับ Tithonian) ของช่วงปลายยุคจูแรสสิค มีความใกล้ชิดกับNoasauridaeและAbelisauridaeแต่ขนาดตัวใหญ่และเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ความยาวลำตัวประมาณ 6 เมตร แต่จากการคำนวณคาดว่า ตัวโตที่สุดอาจยาวได้ 8.8 เมตร มีลักษณะ คล้ายอัลโลซอรัส แต่มีส่วนหัวที่โตกว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว แขนสั้นและเล็กมี 4 นิ้วไม่น่าใช้เป็นอาวุธได้ และมีเขายื่นออกมาจากเหนือจมูกและดวงตา เป็นเอกลักษณ์และที่มาของชื่อ "กิ้งก่ามีเขา"ของมัน แต่เขาของเซราโตซอรัส เป็นแผ่นกระดูกบางๆ ไม่แข็งแกร่งพอจะเอาไปใช้เป็นอาวุธได้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า เขาของมันน่าจะมีไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย
ฟันของของ(เซราโตซอรัส)ยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว แต่แบนและบางกว่า นักล่ายุคเดียวกัน เหมาะกับการตัดเนื้อกิน แต่ไม่สามารถบดกระดูกได้ ทำให้คาดได้ว่า เหยื่อของมันน่าจะเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดกลาง ที่ฉีกเนื้อกินได้ง่ายกว่า ปัจจุบันพบรอยกัดของ เซราโตซอรัส หรือ อาจจะเป็น ทอร์วอซอรัส ที่บริเวณขาของ อัลโลซอรัส
บวกกับการศึกษาที่พบฟอสซิล เชื่อว่า เซราโตซอรัสมักจะล่าเหยื่อในป่าทึบ ตามลำพังคล้ายๆกับ เสือดาว จึงมีคนเรียกมันว่าเสือดาวแห่งโลกล้านปี แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่านักล่าอื่นๆ แต่ก็มีร่างกายแข็งแกร่ง และ ปราดเปรียว จัดได้ว่าเป็นนักล่าตัวยงอีกสายพันธุ์หนึ่ง
ประวัติการขุดค้นพบ
[แก้]ถูกค้นพบและขุดขึ้นโดยชาวนามาร์แชลล์ ปาร์คเกอร์เฟช (Marshall Parker Felch) ในปี ค.ศ. 1883 ถึง ค.ศ. 1884 พบข้อต่อกระดูกที่เชื่อมต่อกันซึ่งเกือบจะสมบูรณ์รวมทั้งกะโหลกศีรษะ