ข้ามไปเนื้อหา

ฮัมบวร์ค

พิกัด: 53°33′55″N 10°00′05″E / 53.56528°N 10.00139°E / 53.56528; 10.00139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮัมบวร์ค

Hamburg
รูปที่ 1 มุมมองจาก Binnenalster รูปที่ 2 Große Freiheit ในเมือง Speicherstadt ริมแม่น้ำ เอลเบ รูปที่ 3: Alsterfleet; รูปที่ 4: ท่าเรือฮัมบวร์ค
รูปที่ 1 มุมมองจาก Binnenalster รูปที่ 2 Große Freiheit ในเมือง Speicherstadt ริมแม่น้ำ เอลเบ รูปที่ 3: Alsterfleet; รูปที่ 4: ท่าเรือฮัมบวร์ค
ธงของฮัมบวร์ค
ธง
ตราแห่งรัฐ
ตราอาร์ม
พิกัด: 53°33′55″N 10°00′05″E / 53.56528°N 10.00139°E / 53.56528; 10.00139
ประเทศเยอรมนี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีปีเตอร์ เชินท์เชอร์ (SPD)
 • พรรคที่บริหารSPD
 • จำนวนผู้แทนรัฐ3 (จาก 69)
พื้นที่
 • เขตเมือง755 ตร.กม. (292 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (31 ธันวาคม 2564)[1]
 • เขตเมือง1,906,411 คน
 • ความหนาแน่น2,500 คน/ตร.กม. (6,500 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล5,425,628 คน
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
Postal code(s)20001–21149, 22001–22769
Area code(s)040
รหัส ISO 3166DE-HH
ทะเบียนพาหนะHH (1906–1945; again since 1956)
MGH (1945); H (1945–1947), HG (1947); BH (1948–1956)
จีดีพี (ตัวเงิน)€ EUR 94.43[2] พันล้าน (2011) [ต้องการอ้างอิง]
NUTS RegionDE6
เว็บไซต์hamburg.de

ฮัมบวร์ค (เยอรมัน: Hamburg, ออกเสียง: [ˈhambʊʁk]) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเยอรมนี รองลงมาจากเบอร์ลิน และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 8 ของยุโรป โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองฮัมบวร์คมากกว่า 1.8 ล้านคน ในขณะที่รวมปริมณฑลรอบ ๆ ไปด้วยแล้วจะทำให้ นครฮัมบวร์คมีประชากรทั้งสิ้น 5 ล้านคน ท่าเรือฮัมบวร์คเป็นท่าเรือสำคัญ ซึ่งนับเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรป และใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลก พื้นที่ท่าเรือส่วนใหญ่เป็นบริเวณปลอดภาษี

ชื่ออย่างเป็นทางการของฮัมบวร์ค คือ ฮัมบวร์ค นครอิสระและฮันเซอ (เยอรมัน: Freie und Hansestadt Hamburg) ซึ่งสะท้อนความเป็นมาของฮัมบวร์คในฐานะที่เป็นสมาชิกสันนิบาตฮันเซอในยุคกลาง และเป็นเสรีนครจักรวรรดิในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ฮัมบวร์คเป็นนครรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองอย่างสมบูรณ์จนกระทั่งมีการผนวกเยอรมนีใน ค.ศ. 1871 และเป็นสาธารณรัฐที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีผู้ปกครองจากชนชั้นฮันเซอาเทินจนถึง ค.ศ. 1919 ฮัมบวร์คเคยเผชิญพิบัติภัยมากมาย เช่น เพลิงไหม้ครั้งใหญ่, ทะเลเหนือท่วม, และความขัดแย้งทางทหาร เป็นต้นว่า การทิ้งระเบิดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ฮัมบวร์คก็สามารถกลับสู่ภาวะปกติและรุ่งเรืองยิ่งขึ้นทุกครั้ง

ฮัมบวร์คอยู่ทางทิศใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์นั้นอยู่ระหว่างสแกนดิเนเวียกับพื้นทวีปยุโรป ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลบอลติก ปัจจุบันฮัมบวร์คเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ และศูนย์กลางวัฒนธรรมของเยอรมนีทางภาคเหนือ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ฮัมบวร์คเป็นจุดใต้สุดของคาบสมุทรจัตแลนด์ทวีปยุโรป ระหว่างตอนใต้และตอนกลางของแถบสแกนดิเนเวีย อยู่ทางทิศตะวันตกของทะเลเหนือ และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลบอลติก ที่ซึ่งแม่น้ำเอ็ลเบอมาบรรจบกับแม่น้ำอัลส์เทอร์ (Alster) และแม่น้ำบิลเลอ (Bille) ใจกลางเมืองเป็นมีแม่น้ำสายย่อยบินเนินอัลส์เทอร์ (Binnenalster) และเอาส์เซินอัลส์เทอร์ (Außenalster) แม่น้ำย่อยทั้งสองสายนี้เกิดจากการสร้างเขื่อนขวางแม่น้ำอัลส์เทอร์สายหลักเพื่อสร้างทะเลสาบ

ภูมิอากาศ

[แก้]

ฮัมบวร์คมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร อันเป็นอิทธิพลจากสภาพภูมิอากาศในมหาสมุทรเป็นส่วนมากและมวลความกดอากาศสูงจากมหาสมุทรแอตแลนติก เดือนที่สภาพอากาศร้อนที่สุดคือเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคมตามลำดับ ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยช่วงนี้คือ 20.1 ถึง 23.5 °C และช่วงฤดูหนาวนั้นคือช่วงประมาณเดือน ธันวาคม มกราคม และกุมภาพันธ์ โดยมีอุณหภฺมิเฉลี่ยอยู่ที่ -0.3 ถึง 1.0 ° C โดยเฉลี่ยจะมีหิมะตกที่ฮัมบวร์คปีละ 1 ถึง 2 ครั้งเท่านั้น [3]

ข้อมูลภูมิอากาศของฮัมบวร์ค
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 14.4
(57.9)
19.2
(66.6)
23.0
(73.4)
29.7
(85.5)
33.5
(92.3)
37.7
(99.9)
41.9
(107.4)
39.3
(102.7)
32.3
(90.1)
28.6
(83.5)
20.2
(68.4)
17.8
(64)
41.9
(107.4)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 3.9
(39)
4.6
(40.3)
8.2
(46.8)
13.3
(55.9)
17.8
(64)
20.1
(68.2)
23.5
(74.3)
22.5
(72.5)
18.9
(66)
13.4
(56.1)
8.3
(46.9)
4.4
(39.9)
13.3
(55.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 1.7
(35.1)
1.9
(35.4)
4.6
(40.3)
8.6
(47.5)
12.9
(55.2)
15.6
(60.1)
18.7
(65.7)
17.8
(64)
14.0
(57.2)
10.6
(51.1)
6.2
(43.2)
2.4
(36.3)
9.4
(48.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −0.1
(31.8)
−0.3
(31.5)
1.1
(34)
4.7
(40.5)
8.1
(46.6)
10.9
(51.6)
13.8
(56.8)
13.3
(55.9)
10.8
(51.4)
7.3
(45.1)
4.0
(39.2)
1.0
(33.8)
6.2
(43.2)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -22.8
(-9)
-19.1
(-2.4)
-15.3
(4.5)
-7.1
(19.2)
-5.0
(23)
0.6
(33.1)
3.4
(38.1)
1.8
(35.2)
-1.2
(29.8)
-7.1
(19.2)
-15.4
(4.3)
-18.5
(-1.3)
−22.8
(−9)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 64.4
(2.535)
42.4
(1.669)
62.9
(2.476)
45.6
(1.795)
53.7
(2.114)
76.9
(3.028)
74.7
(2.941)
73.0
(2.874)
68.4
(2.693)
63.6
(2.504)
69.4
(2.732)
77.7
(3.059)
772.7
(30.421)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 12.1 9.2 11.3 8.9 9.6 11.3 11.4 10.2 10.8 10.5 11.7 12.4 129.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 43.4 67.2 105.4 162.0 217.0 222.0 207.7 207.7 141.0 99.2 54.0 34.1 1,560.7
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา (UN)[3]
แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง[4]

เมืองพี่น้อง

[แก้]
ภาพพาโนรามาของเมือง ฮัมบูรก์

สภานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "State population". Portal of the Federal Statistics Office Germany. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-08. สืบค้นเมื่อ 3 March 2012.
  2. ข้อผิดพลาด Lua: bad argument #2 to 'formatDate': invalid timestamp '1 มกราคม'
  3. 3.0 3.1 "World Weather Information Service – Hamburg". Deutscher Wetterdienst. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 6 April 2012.
  4. "Climatological Normals of Hamburg". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]