อีวัน วลาดิสลัฟแห่งบัลแกเรีย
อีวัน วลาดิสลัฟ Иван Владислав | |
---|---|
ซาร์แห่งบัลแกเรีย | |
ครองราชย์ | สิงหาคม 1015 – กุมภาพันธ์ 1018 |
ก่อนหน้า | ซาร์กาวริล ราดอมีร์แห่งบัลแกเรีย |
ถัดไป | ซาร์แปรซีอันที่ 2 แห่งบัลแกเรีย |
สวรรคต | 1018 ดูร์เริส |
ชายา | ซารีนามารียาแห่งบัลแกเรีย |
พระราชบุตร | แปรซีอันที่ 2 เจ้าชายอารอน เจ้าชายอาลูซีอัน เจ้าชายตรายัน จักรพรรดินีเอกาเตรีนาแห่งไบแซนไทน์ |
ราชวงศ์ | กอมีตอปูลี |
พระราชบิดา | อารอนแห่งบัลแกเรีย |
ซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ (สลาวอนิกคริสตจักรเก่า: Їѡаннъ Владиславъ บัลแกเรีย: Иван/Йоан Владислав) เป็นซาร์แห่งจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ครองราชย์ระหว่างเดือนกันยายน 1015 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1018 ปีประสูติไม่ชัดแจ้ง โดยพระองค์น่าจะประสูติอย่างน้อยทศวรรษก่อนปี 987 แต่ไม่น่าจะนานไปมากกว่านั้น
แม้จะเคยได้รับความช่วยเหลือให้พ้นจากความตายโดยซาร์กาวริล ราดอมีร์ ซาร์รัชกาลก่อนหน้าในปี 976 ทว่าซาร์อีวัน วลาดิสลัฟได้ปลงพระชนม์พระญาติของพระองค์เองในเดือนตุลาคม 1015 และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นซาร์แห่งบัลแกเรีย ด้วยสถานการณ์ที่ล่อแหลมของประเทศจากการทำสงครามเป็นเวลานานกว่าทศวรรษกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ และความพยายามที่จะทำให้ตำแหน่งของพระองค์มั่นคงยิ่งขึ้น พระองค์ได้พยายามเจราจาเพื่อยุติสงครามกับจักรพรรดิบาซิลที่ 2 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ พระองค์ได้พยายามต่อต้าน แต่ไม่สามารถที่จะขับไล่กองทัพไบแซนไทน์ออกไปได้ ในรัชสมัยนี้ พระองค์ได้พยายามที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพบัลแกเรีย บูรณะป้อมปราการเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการนำทัพเพื่อโต้กลับ แต่พระองค์สวรรคตในการรบเมื่อปี 1018 หลังจากการสวรรคตของพระองค์ ซารีนามารียา พระมเหสีของพระองค์, อัครบิดรและขุนนางแทบทั้งหมดยอมแพ้ต่อจักรพรรดิบาซิลที่ 2 ผู้ซึ่งนำกองทัพปราบปรามผู้ต่อต้านที่ยังเหลืออยู่ และถือเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1
ซาร์อีวัน วลาดิสลัฟเป็นที่รู้จักในหลากหลายแง่มุม ทั้งในฐานะฆาตกรเหี้ยมโหดและวีรบุรุษผู้ปกป้องประเทศเท่าที่พระองค์จะสามารถทำได้ พระราชบุตรของพระองค์ต่อมาเข้ารับราชการในราชสำนักไบแซนไทน์ และขึ้นสู่จุดสูงสุดของชนชั้นทางสังคม สตรีจำนวนสองพระองค์จากตระกูลซาร์อีวัน วลาดิสลัฟได้ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดินีแห่งไบแซนไทน์ ส่วนบุคคลอื่นมีทั้งที่เป็นผู้นำทางการทหารหรือขุนนางระดับสูง และตัวพระองค์เองยังเป็นบรรพบุรุษของจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอสอีกด้วย
อ้างอิง
[แก้]- Andreev, Jordan; Milcho Lalkov (1996). The Bulgarian Khans and Tsars (ภาษาบัลแกเรีย). Abagar. ISBN 954-427-216-X.
- Gyuzelev, Vasil (1986). The Middle Ages in Bulgaria (ภาษาโปแลนด์) (Polish ed.). Warsaw: Książka i Wiedza. ISBN 83-05-11583-6.
- Runciman, Steven (1930). "The End of an Empire". A History of the First Bulgarian Empire. London: George Bell & Sons. OCLC 832687.
- Stawowy-Kawka, Irena (2000). History of Macedonia (ภาษาโปแลนด์). Wrocław: Ossolineum. ISBN 83-04-04549-4.
- Settipani, Christian (2006), Continuité des élites à Byzance durant les siècles obscurs. Les princes caucasiens et l'Empire du VIe au IXe siècle, Paris: De Boccard.
- Wasilewski, Tadeusz (1988). History of Bulgaria (ภาษาโปแลนด์). Wrocław: Ossolineum. ISBN 83-04-02466-7.
- Zlatarski, Vasil (1971) [1927]. История на българската държава през средните векове. Том I. История на Първото българско царство, Част II. От славянизацията на държавата до падането на Първото царство (852—1018) [History of Bulgaria in the Middle Ages. Vol. 1. History of the First Bulgarian Empire, Part 2.From the Slavicization of the state to the fall of the First Empire (852—1018)]. Sofia: Nauka i izkustvo. OCLC 67080314.
ก่อนหน้า | อีวัน วลาดิสลัฟแห่งบัลแกเรีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ซาร์กาวริล ราดอมีร์แห่งบัลแกเรีย | ซาร์แห่งบัลแกเรีย (ราชวงศ์กอมีตอปูลี) (ค.ศ. 1015–1018) |
ซาร์แปรซีอันที่ 2 แห่งบัลแกเรีย |