อับดุล ราซัก ฮุซเซน
อับดุล ราซัก ฮุซเซน | |
---|---|
عبد الرزاق حسين | |
ภาพถ่าย ก่อน ค.ศ. 1963 | |
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย คนที่ 2 | |
ได้รับเกียรติเป็น บิดาแห่งการพัฒนา Bapa Pembangunan باڤ ڤمباڠونن | |
ดำรงตำแหน่ง 22 กันยายน 1970 – 14 มกราคม 1976 | |
กษัตริย์ | |
รอง | |
ก่อนหน้า | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ถัดไป | ฮุซเซน อนน์ |
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม 1957 – 22 กันยายน 1970 | |
กษัตริย์ | |
นายกรัฐมนตรี | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | อิซมาอิล อับดุล ระฮ์มัน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 1974–1976 | |
กษัตริย์ | |
นายกรัฐมนตรี | อับดุล ราซัก ฮุซเซน |
ก่อนหน้า | มุซตาฟา ฮารุน |
ถัดไป | ฮุซเซน อนน์ |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม 1957 – 22 กันยายน 1970 | |
กษัตริย์ | |
นายกรัฐมนตรี | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | ฮัมซะฮ์ อาบู ซามะฮ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1974–1974 | |
กษัตริย์ | |
นายกรัฐมนตรี | อับดุล ราซัก ฮุซเซน |
ก่อนหน้า | Tan Siew Sin |
ถัดไป | ฮุซเซน อนน์ |
ดำรงตำแหน่ง 1969–1970 | |
กษัตริย์ | |
นายกรัฐมนตรี | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ก่อนหน้า | Tan Siew Sin |
ถัดไป | Tan Siew Sin |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน 1970 – 12 สิงหาคม 1975 | |
กษัตริย์ | อับดุล ฮาลิม |
นายกรัฐมนตรี | อับดุล ราซัก ฮุซเซน |
ก่อนหน้า | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ถัดไป | เติงกู อะฮ์มัด รีตาอุดดีน เติงกู อิซมาอิล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาชาติและชนบท | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม 1957 – 22 กันยายน 1970 | |
กษัตริย์ | |
นายกรัฐมนตรี | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | อับดุล ฆาฟา บาบา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มิถุนายน 1967 – 20 พฤษภาคม 1969 | |
กษัตริย์ | อิซมาอิล นาซีรุดดิน |
นายกรัฐมนตรี | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ก่อนหน้า | อิซมาอิล อับดุล ระฮ์มัน |
ถัดไป | อิซมาอิล อับดุล ระฮ์มัน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1955–1957 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 |
ข้าหลวงใหญ่ | ดอนัลด์ แมคกิลลิฟเรย์ |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | คีร์ โจฮารี |
เมินเตอรีเบอซาร์แห่งรัฐปะหัง คนที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กุมภาพันธ์ 1955 – 15 มิถุนายน 1955 | |
กษัตริย์ | อาบู บาการ์ |
ก่อนหน้า | เติงกู โมฮามัด ซุลตัน อะฮ์มัด |
ถัดไป | เติงกู โมฮามัด ซุลตัน อะฮ์มัด |
ประธานองค์การมลายูรวมแห่งชาติ คนที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 25 มิถุนายน 1972 – 14 มกราคม 1976 | |
ก่อนหน้า | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ถัดไป | ฮุซเซน อนน์ |
หัวหน้าฝ่ายยุวชนคนที่ 2 ของ องค์การมลายูรวมแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1951–1951 | |
ประธานาธิบดี | อนน์ จะอ์ฟาร์ |
ก่อนหน้า | ฮุซเซน อนน์ |
ถัดไป | ซาร์ดน จูบีร์ |
สมาชิกรัฐสภามาเลเซียจากเปอกัน (รัฐสภาถูกระงับในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 – 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971) | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กันยายน 1959 – 14 มกราคม 1976 | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งเขตเลือกตั้ง |
ถัดไป | นาจิบ ราซัก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Abdul Razak bin Hussein 11 มีนาคม ค.ศ. 1922 เปอกัน รัฐปะหัง สหพันธรัฐมลายู บริติชมาลายา (ปัจจุบันคือมาเลเซีย) |
เสียชีวิต | 14 มกราคม ค.ศ. 1976 ลอนดอน สหราชอาณาจักร | (53 ปี)
ที่ไว้ศพ | มากัมปะฮ์ลาวัน มัสยิดเนอการา กัวลาลัมเปอร์ |
สัญชาติ | มาเลเซีย |
พรรคการเมือง | องค์การมลายูรวมแห่งชาติ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พรรคแรงงาน (1947–1950) พรรคพันธมิตร (1955–1973) แนวร่วมแห่งชาติ (1973–1976) |
คู่สมรส | ราฮะฮ์ โนอาฮ์ (สมรส 1952) |
บุตร | 5 (รวมนาจิบและนาซีร์) |
การศึกษา | วิทยาลัยมลายูกัวลากังซาร์ |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยราฟเฟิลส์ (ไม่จบ) Lincoln's Inn (LLB) |
วิชาชีพ | ทนาย |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | รัฐปะหัง |
สังกัด | อัซการ์วาตานียะฮ์ปะหัง |
ประจำการ | 1941–1945 |
ยศ | กัปตัน |
หน่วย | กองกำลัง 136 |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่สอง |
ตุน ฮาจี อับดุล ราซัก บิน ดาโตะก์ ฮาจี ฮุซเซน (มลายู: Tun Haji Abdul Razak bin Dato' Haji Hussein, ยาวี: عبد الرزاق بن حسين; 11 มีนาคม ค.ศ. 1922 – 14 มกราคม ค.ศ. 1976) เป็นนักการเมืองชาวมาเลเซียที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนที่ 2 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1970 จนกระทั่งเสียชีวิตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1976 เขายังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนแรกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1957 ถึงกันยายน ค.ศ. 1970 เขาได้รับการกล่าวถึงในฐานะบิดาแห่งการพัฒนา
อับดุล ราซักมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดตั้งแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองรัฐบาลผสมที่มีอำนาจในประเทศมาเลเซีย อับดุล ราซัดยังมีชื่อเสียงจากการเปิดตัวนโยบายเศรษฐกิจใหม่มาเลเซีย (MNEP)
นาจิบ ราซัก ลูกชายคนแรกของเขา กลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ใน ค.ศ. 2009 นาจิบกลายเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนแรกที่เป็นผู้สืบสันดานของอดีตนายกรัฐมนตรี
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]อับดุล ราซักเกิดที่หมู่บ้านกัมปุงปูเลาเกอลาดี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเปอกัน รัฐปะหัง ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1922[1] โดยเป็นลูกคนแรกจากสองคนของยังดีโฮร์มัต โอรังกายา อินเดรา ชะฮ์บันดาร์ เกอ-9, ดาโตะก์ ฮุซเซน บิน โมฮ์ด ตาอิบ กับดาติน ฮาจะฮ์ เตะฮ์ ฟาตีมะฮ์ บินต์ ดาวุด ชนชั้นสูงที่สืบตระกูลจาก โอรังกายา อินเดรา ชะฮ์บันดาร์ อับดุล ราซักศึกษาที่วิทยาลัยมลายูกัวลากังซาร์
หลังเข้าร่วมบริการการจัดการมาเลย์ (Malay Administrative Service) ใน ค.ศ. 1939 เขาได้รับรางวัลทุนการศึกษาที่วิทยาลัยราฟเฟิลส์ในสิงคโปร์เมื่อ ค.ศ. 1940 แต่ต้องหยุดเรียนในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงสงคราม เขาช่วยจัดการหน่วยต่อต้านวาตานียะฮ์ในรัฐปะหัง[2]
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง อับดุล ราซักเดินทางออกจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1947 เพื่อศึกษากฎหมาย ใน ค.ศ. 1950 เขาได้รับปริญญาทางกฎหมายและมีคุณสมบัติเป็นทนายความที่ Lincoln's Inn ในลอนดอน ในช่วงที่ศึกษาในอังกฤษ อับดุล ราซักเข้าเป็นสมาชิกพรรคแรงงานอังกฤษแลพเป็นหัวหน้านักศึกษาคนสำคัญในสมาคมมลายูแห่งบริเตนใหญ่ (Malay Association of Great Britain) เขายังเป็นผู้จัดตั้งมาลายันฟอรัมด้วย
เสียชีวิต
[แก้]อับดุล ราซักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่เก็บไว้เป็นความลับตั้งแต่ ค.ศ. 1969
ตอนที่กำลังหาวิธีการรักษาทางการแพทย์ในลอนดอนนั้น อับดุล ราซักเสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1976[1] เขาได้รับฉายาหลังเสียชีวิตว่า บาปะเปิมบางูนัน ('บิดาแห่งการพัฒนา') จากนั้นจึงมีการฝังศพของเขาที่สุสานวีรบุรุษ (มลายู: Makam Pahlawan) ใกล้มัสยิดเนอการา กัวลาลัมเปอร์.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Hoiberg, Dale H., บ.ก. (2010). "Abdul Razak bin Hussein, Tun Haji". Encyclopædia Britannica. Vol. I: A-ak Bayes (15th ed.). Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica Inc. pp. 21. ISBN 978-1-59339-837-8.
- ↑ "1967 Ramon Magsaysay Award for Community Leadership – Tun Abdul Razak". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2007. สืบค้นเมื่อ 17 August 2007.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Tun Razak’s legacy – his vision, The Star, 2 March 2008.
- The band of brothers C. S. TAN, The Star, 2 March 2008.