องค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก
ติมอร์ตะวันออก Timór Lorosa'e Timor-Leste | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2542–2545 | |||||||||||
ตำแหน่งของติมอร์ตะวันออกทางปลายสุดของหมู่เกาะอินโดนีเซีย | |||||||||||
สถานะ | ดินแดนในอารักขาของสหประชาชาติ | ||||||||||
เมืองหลวง | ดิลี | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาเตตุน ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอังกฤษ | ||||||||||
การบริหาร | |||||||||||
นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก | |||||||||||
• 2001-2002 | มารี อัลกาตีรี | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
25 ตุลาคม 2542 | |||||||||||
• เอกราช | 20 พฤษภาคม 2545 | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• | 947,000 | ||||||||||
สกุลเงิน | ดอลลาร์สหรัฐ | ||||||||||
|
องค์กรบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (อังกฤษ: United Nations Transitional Administration in East Timor, UNTAET) เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เพื่อรับผิดชอบการบริหารงานก่อนจะมอบเอกราชให้ติมอร์ตะวันออก ปัญหาในติมอร์ตะวันออกเริ่มขึ้นเมื่ออินโดนีเซียเข้ายึดครองอาณานิคมของโปรตุเกสในติมอร์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2518 สหประชาชาติไม่รับรองอำนาจของอินโดนีเซียเหนือดินแดนแห่งนี้ แต่ไม่มีผลต่อรัฐบาลซูฮาร์โต จนมาถึงรัฐบาลของฮาบิบีจึงได้ยอมให้ดินแดนนี้ปกครองตนเองแบบพิเศษและให้มีการลงประชามติว่าต้องการเป็นเอกราชหรือรวมเข้ากับอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 การลงประชามติเกิดขึ้นเมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยเกิดความรุนแรงจากกลุ่มที่ต้องการรวมเข้ากับอินโดนีเซียตลอดเวลา จนเมื่อมีการประกาศผลการลงประชามมติเมื่อ 4 กันยายน โดย 4 ใน 5 ต้องการเป็นเอกราช กลุ่มกองกำลังที่ต้องการรวมกับอินโดนีเซียได้ก่อการจลาจลจนสหประชาชาติต้องถอนคณะทำงานออกมา และได้มีมติในวันที่ 15 กันยายน ที่จะฟื้นฟูสันติภาพในติมอร์ตะวันออก โดยส่งกองกำลังนานาชาติเข้าสู่ติมอร์ตะวันออกเมื่อ 20 กันยายน จากนั้นจึงก่อตั้งองค์กรบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก และให้องค์กรบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออกเข้าสู่ติมอร์ตะวันออกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 กองกำลังนานาชาติยุติบทบาทลงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
ประเทศที่เข้าร่วมในการรักษาสันติภาพ กองกำลังนำโดยออสเตรเลีย ประเทศที่สนับสนุนได้แก่
- นิวซีแลนด์
- แอลจีเรีย
- ฝรั่งเศส
- อาร์เจนตินา
- บราซิล
- ชิลี
- เดนมาร์ก
- ฟีจี
- ไอร์แลนด์
- ญี่ปุ่น
- มาเลเซีย
- รัสเซีย
- สิงคโปร์
- เกาหลีใต้
- ไทย
- ฟิลิปปินส์
- โปรตุเกส
- สวีเดน
และสหราชอาณาจักร ส่วนสหรัฐอเมริกาสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เอกราช
องค์กรบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออกได้จัดให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2544 โดยพรรคเฟรติลินได้คะแนนมากที่สุด จากนั้นได้ร่างรัฐธรรมนูญซึ่งประกาศใช้เมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545 สภาดังกล่าวได้กลายเป็นสภานิติบัญญัติชุดแรก การเลือกตั้งประธานาธิบดีเกิดขึ้นเมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2545 โดยชานานา กุฌเมา ได้รับเลือก จากนั้น ติมอร์ตะวันออกได้เอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
เหรียญสหประชาชาติ
[แก้]ประเทศที่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ติมอร์ตะวันออกในฐานะสมาชิกของสหประชาชาติ จะได้เหรียญสหประชาชาติทุกคน
อ้างอิง
[แก้]- ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548, หน้า 564-566.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Archived official website
- The United Nations and East Timor - A Chronology
- UNTAET Mission Summary
- A Brief History of Australian Army Operations in East Timor, 1999-2005
- Archived web-site of first Transitional Administration*
- Goldstone, Anthony (2004). "UNTAET with Hindsight: The Peculiarities of Politics in an Incomplete State". Global Governance: 83–98.
- Martin, Ian (2005). "The United Nations and East Timor: From Self-Determination to State-Building". International Peacekeeping. 12 (1): 125–145. doi:10.1080/1353331042000286595.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)