ข้ามไปเนื้อหา

หินสมัยแคมเบรียน 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หินสมัยแคมเบรียน 2
~521 – ~509 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อไม่ทางการ
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีการของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาสมัย
หน่วยลำดับชั้นหินหินสมัย
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างไม่มีการนิยามทางการ
แคนดิเดตคำนิยามขอบล่างระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์
แหล่งแคนดิเดตคำนิยามขอบล่าง GSSPไม่มี
คำนิยามขอบบนระดับอ้างอิงปรากฏแรกของออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส
ขอบบน GSSPอู่หลิว-เจิ้งเจียหยาน มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน
26°04′51″N 108°24′50″E / 26.0807°N 108.4138°E / 26.0807; 108.4138
การอนุมัติ GSSP2561[2]

หินสมัยแคมเบรียน 2 (อังกฤษ: Cambrian Series 2) เป็นหินสมัยที่สองของยุคแคมเบรียนที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ โดยอยู่เหนือหินสมัยแตร์นูเวียนและอยู่ใต้หินสมัยเมียวลิงเจียน หินสมัย 2 นี้ยังไม่ได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการการลำดับชั้นหินสากล ซึ่งยังขาดขอบเขตล่างที่ชัดเจนและการแบ่งย่อยออกเป็นหินช่วงอายุต่าง ๆ ขอบเขตล่างที่เสนอไว้คือการปรากฏขึ้นครั้งแรกของไทรโลไบต์ซึ่งประมาณว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 521 ล้านปีก่อน[3][4]

การตั้งชื่อ

[แก้]

คณะกรรมการการลำดับชั้นหินสากลยังมิได้ตั้งชื่อหินสมัย 2 ของยุคแคมเบรียน[3] โดยส่วนหนึ่ง ชื่อใหม่นี้จะมาแทนที่คำเดิมที่ใช้ว่า "แคมเบรียนตอนล่าง" และ "แคมเบรียนตอนต้น" ทั้งนี้ คำศัพท์ที่ใช้ในไซบีเรียใช้คำว่า "ยาคูเตียน" (Yakutian) สำหรับหินสมัยนี้[5]

การแบ่งย่อย

[แก้]

หินสมัย 2 ในปัจจุบันถูกแบ่งออกโดยคณะกรรมการการลำดับชั้นหินสากล (ICS) เป็นสองช่วงย่อย ได้แก่ หินช่วงอายุแคมเบรียน 3 และหินช่วงอายุแคมเบรียน 4 ทั้งสองช่วงนี้ยังขาดการกำหนดอย่างเป็นทางการ[3] ในการตั้งชื่อจำแนกของไซบีเรีย มีการระบุหินช่วงอายุย่อยสามช่วง (จากต่ำสุด): อัทดาเบเนียน (Atdabanian), โบทอเมียน (Botomian) และโตโยเนียน (Toyonian)[5] โดยทั่วไปการแบ่งย่อยของหินสมัยนี้มักขึ้นอยู่กับการลำดับชั้นหินตามชีวภาพของโซนไทรโลไบต์[6]

หินช่วงอายุออร์เดียน (Ordian) ซึ่งใช้ในมาตราการลำดับชั้นหินตามอายุกาลของออสเตรเลีย เดิมทีเคยถูกกำหนดให้เป็นช่วงที่ต่ำที่สุดของสมัยเมียวลิงเจียน แต่บางทีอาจอยู่ในหินสมัย 2 ตอนบน จนถึงปี 2567 ฐานของหินช่วงอายุออร์เดียนยังไม่ได้รับการกำหนด[7]

การลำดับชั้นหินตามชีวภาพ

[แก้]

การเริ่มต้นของหินสมัย 2 ของยุคแคมเบรียนถูกกำหนดโดยการปรากฏขึ้นของไทรโลไบต์ การเปรียบเทียบเหตุการณ์นี้บนทวีปต่าง ๆ นั้นพบว่ามีความยากลำบาก และการแก้ปัญหานี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการกำหนดขอบเขตล่างของหินสมัยนี้ ปัจจุบันไทรโลไบต์ที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จัก คือ เล็มดาเดลลา (Lemdadella) ซึ่งกำหนดจุดเริ่มต้นของโซนฟัลโลทัสพิส (Fallotaspis)[6]

การสิ้นสุดของหินสมัย 2 ของยุคแคมเบรียนถูกกำหนดโดยการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตครั้งใหญ่ครั้งแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก การเปลี่ยนแปลงของเคมีในมหาสมุทรและสภาพแวดล้อมทางทะเลถูกสันนิษฐานว่าเป็นสาเหตุที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดของการสูญพันธุ์นี้[8] ในขอบเขตระหว่างหินสมัย 2 กับเมียวลิงเจียน การสูญพันธุ์ของไทรโลไบต์ครั้งใหญ่ครั้งแรกที่รู้จักกันในชื่อขอบเขตโอลเลเนลลิดไบโอเมียร์ (Olenellid Biomere boundary) ได้เกิดขึ้น โดยเฉพาะไทรโลไบต์ในวงศ์โอลเลเนลลุส (Ollenellidae) และเรดลิเคีย (Redlichiidae) ได้สูญพันธุ์ในลอเรนเทียและจีนใต้ตามลำดับ[9] หลังจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่นี้ ออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส (Oryctocephalus indicus) ตัวแรกปรากฏขึ้น และในพื้นที่ที่ไม่มีซากดึกดำบรรพ์ของออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส ขอบเขตระหว่างหินสมัย 2 กับเมียวลิงเจียนจะถูกกำหนดโดยข้อมูลทางการลำดับชั้นหินตามเคมี[10]

การอ้างอิง

[แก้]
  1. "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
  2. Zhao; และคณะ (June 2019). "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) for the conterminous base of the Miaolingian Series and Wuliuan Stage (Cambrian) at Balang, Jianhe, Guizhou, China" (PDF). Episodes. 42: 165–184. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-02.
  3. 3.0 3.1 3.2 "GSSP Table - Paleozoic Era". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-08. สืบค้นเมื่อ 2024-04-02.
  4. Wu, Tong; Yang, Ruidong; Gao, Junbo; Li, Jun (1 January 2021). "Age of the lower Cambrian Vanadium deposit, East Guizhou, South China: Evidences from age of tuff and carbon isotope analysis along the Bagong section". Open Geosciences (ภาษาอังกฤษ). 13 (1): 999–1012. doi:10.1515/geo-2020-0287. ISSN 2391-5447.
  5. 5.0 5.1 "The 13th International Field Conference of the Cambrian Stage Subdivision Working Group" (PDF). Episodes. 31 (4): 440–441. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-05. สืบค้นเมื่อ 2024-04-02.
  6. 6.0 6.1 Yuan, J.L.; Zhu, X.J.; Lin, J.P.; Zhu, M.Y. (22 September 2011). "Tentative correlation of Cambrian Series 2 between South China and other continents" (PDF). Bulletin of Geosciences (ภาษาอังกฤษ): 397–404. doi:10.3140/bull.geosci.1274. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-01-18. สืบค้นเมื่อ 2024-04-02.
  7. John R. Laurie, Peter D. Kruse, Glenn A. Brock, James D. Holmes, James B. Jago, Marissa J. Betts, John R. Paterson, Patrick M. Smith (April 2024). "The quest for an Australian Cambrian stage scale". Alcheringa: An Australasian Journal of Palaeontology (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1080/03115518.2024.2327045.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Zhang, Wenhao; และคณะ (2014). "Mass-occurrence of oncoids at the Cambrian Series 2–Series 3 transition: Implications for microbial resurgence following an Early Cambrian extinction". Gondwana Research. 28: 432–450. doi:10.1016/j.gr.2014.03.015.
  9. Jih-Pai Lin, Frederick A. Sundberg, Ganqing Jiang, Isabel P. Montañez, Thomas Wotte (22 November 2019). "Chemostratigraphic correlations across the first major trilobite extinction and faunal turnovers between Laurentia and South China". Scientific Reports. 9 (1): 17392. doi:10.1038/s41598-019-53685-2. PMC 6874646.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Courtney Birksmith, Glenn A. Brock, Marissa J. Betts, James D. Holmes, Zhiliang Zhang (2023). "Chronostratigraphy of the Cambrian Series 2 -Miaolingian boundary, western Stansbury Basin, South Australia". Conference: Palaeo Down Under 3 at Perth, Western Australia.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]