ข้ามไปเนื้อหา

ช่วงอายุไผเบียน

พิกัด: 28°23′22″N 109°31′33″E / 28.3895°N 109.5257°E / 28.3895; 109.5257
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช่วงอายุไผเบียน
~497 – ~494 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
อนุมัติชื่อ2546[2]
ชื่อเดิมหินช่วงอายุแคมเบรียน 8
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีการของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
เสนอครั้งแรกโดยชานชีและคณะ 2545[3]
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์กลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส
ขอบล่าง GSSPแหล่งไผบี้ หมู่บ้านไผบี้ อำเภอกู่จ้าง มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
28°23′22″N 109°31′33″E / 28.3895°N 109.5257°E / 28.3895; 109.5257
การอนุมัติ GSSP2546[2]
คำนิยามขอบบนระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์แอกโนสโตโตส โอเรียนทัลลิส
ขอบบน GSSPแหล่งตุ้ยเบี่ยน บี เมืองตุ้ยเบี่ยน มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน
28°48′57″N 118°36′54″E / 28.815967°N 118.614933°E / 28.815967; 118.614933
การอนุมัติ GSSP2554[4]

28°23′22″N 109°31′33″E / 28.3895°N 109.5257°E / 28.3895; 109.5257

ไผเบียน (อังกฤษ: Paibian) เป็นหินช่วงอายุอยู่ล่างที่สุดของหินสมัยฝูหรงเจียนในหินยุคแคมเบรียน ไผเบียนยังเป็นช่วงอายุแรกของสมัยฝูหรงเจียนของยุคแคมเบรียน ต่อจากช่วงอายุกูจางเจียนซึ่งอยู่ในสมัยเมียวลิงเจียนของยุคแคมเบรียน และถูกสืบต่อด้วยหินช่วงอายุเจียงชานเนียน จุดเริ่มต้นของไผเบียนถูกกำหนดด้วยการปรากฏครั้งแรกของไทรโลไบต์สปีชีส์กลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส (Glyptagnostus reticulatus) ประมาณ 497 ล้านปีก่อน[2] จุดสูงสุดหรือจุดเริ่มต้นของเจียงชานเนียนถูกกำหนดด้วยการปรากฏครั้งแรกของไทรโลไบต์สปีชีส์แอกโนสโตโตส โอเรียนทัลลิส (Agnostotes orientalis) ประมาณ 494 ล้านปีก่อน[4]

จุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลก

[แก้]

ชื่อนี้มีที่มาจากหมู่บ้านไผบี้ ซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลหูหนาน ประเทศจีน จุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลกถูกกำหนดใน "แหล่งไผบี้" (เทือกเขาอู่หลิง อำเภอฮวาหยวน) ซึ่งเป็นหน้าผาของหมวดหินฮวาเฉียว (花桥组) ส่วนฐานเป็นการปรากฏครั้งแรกของกลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส (Glyptagnostus reticulatus) ที่อยู่สูง 396 เมตรเหนือฐานของหมวดหินฮวาเฉียว ณ พิกัด (28.3895°N 109.5257°E)[5]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

ในช่วงการเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงอายุกูจางเจียนและไผเบียน ได้เกิดเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งหนึ่งที่ลดความหลากหลายของสปีชีส์ลงถึง 45% เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นพร้อมกับการสูญพันธุ์มาร์จูมัน (Marjuman) ซึ่งสามารถพบได้ในชุดซากดึกดำบรรพ์ของไทรโลไบต์และแบรคิโอพอดในบริเวณลอเรนเชีย โดยสามารถแบ่งออกเป็นสองระยะที่พบในตะกอนของประเทศจีนตอนใต้ ระยะแรกมีการลดลงของสปีชีส์เล็กน้อยเกิดขึ้นในช่วงอายุกูจางเจียน ใช้เวลาประมาณ 1.8 ล้านปี ส่วนระยะที่สองมีการลดลงของความหลากหลายอย่างชัดเจนใช้เวลา 1.2 ล้านปี ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงอายุไผเบียน หลังจากการสูญพันธุ์ ความหลากหลายของสปีชีส์ได้กลับคืนสู่ระดับเดิม[6]

การเปลี่ยนแปลงของไอโซโทปคาร์บอนเชิงบวกสเต็ปโตอีโออัน (SPICE) ได้เริ่มขึ้นในช่วงเขตแดนระหว่างช่วงอายุกูจางเจียนและไผเบียน[7][6] เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรคาร์บอนระดับโลก กลไกการเปลี่ยนแปลงนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ แต่เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวของน้ำลึกที่ไม่มีออกซิเจนเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น[8] เหตุการณ์ SPICE มีผลกระทบที่ชัดเจนต่อไทรโลไบต์ โดยมีการลดลงของความหลากหลายของไทรโลไบต์ในช่วงเริ่มต้นและในช่วงสิ้นสุดของเหตุการณ์ ซึ่งตรงกับการสูญพันธุ์ของไบโอเมียร์มาร์จูมันช่วงสิ้นสุดลอเรเชีย (Laurentian End-Marjuman Biomere Extinction; EMBE) และการสูญพันธุ์ของไบโอเมียร์สเต็ปโตอีอัน (End-Steptoean Biomere Extinction; ESBE) ตามลำดับ เหตุการณ์ SPICE ยังมาพร้อมกับการเย็นตัวของสภาพอากาศซึ่งช่วยในการฟื้นตัวของระบบนิเวศหลังจากเหตุการณ์เริ่มต้น แต่การอุ่นตัวที่ตามมาได้รบกวนการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทรและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะรีด็อกซ์ใหม่ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด ESBE[9]

บรรพชีวินวิทยา

[แก้]

สกุลของแอกโนสตอยด์ เช่น กลิปตาโนสตุส (Glyptagnostus), โฮแม็กโนสตุส (Homagnostus), ซูดแอกโนสตุส (Pseudagnostus) และแอ็กมาร์ราจิส (Acmarhachis) เป็นที่รู้จักจากการสะสมตัวในช่วงอายุไผเบียน.[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
  2. 2.0 2.1 2.2 Peng, S. C.; Babcock, L. E.; Robison, R. A.; Lin, H. L.; Rees, M. N.; Saltzman, M. R. (2004). "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) of the Furongian Series and Paibian Stage (Cambrian)" (PDF). Lethaia. 37 (4): 365–379. Bibcode:2004Letha..37..365P. doi:10.1080/00241160410002081. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-08. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  3. Shanchi, Peng; Babcock, Loren; Robinson, Richard; Huanling, Lin; Rees, Margaret; Saltzman, Matthew. "PROPOSED GLOBAL STANDARD STRATOTYPE-SECTION AND POINT FOR THE PAIBIAN STAGE AND FURONGIAN SERIES (UPPER CAMBRIAN)" (PDF). International Subcomission on Cambrian Stratigraphy. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-25. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  4. 4.0 4.1 Peng, Shanchi; Babcock, Loren; Zuo, Jingxun; Lin, Huanling; Yang, Xianfeng; Qi, Yuping; Bagnoli, Gabriella; Wang, Longwu (December 2012). "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) for the Base of the Jiangshanian Stage (Cambrian: Furongian) at Duibian, Jiangshan, Zhejiang, Southeast China" (PDF). Episodes. 35 (4): 462–477. doi:10.18814/epiiugs/2012/v35i4/002. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-25. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  5. "GSSP for the Paibian". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-26. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  6. 6.0 6.1 Yiying Deng, Junxuan Fan, Shengchao Yang, Yukun Shi, Zhengbo Lu, Huiqing Xu, Zongyuan Sun, Fangqi Zhao, Zhangshuai Hou (2023). "No Furongian Biodiversity Gap: Evidence from South China". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology (ภาษาอังกฤษ). 618 (1): 111492. Bibcode:2023PPP...61811492D. doi:10.1016/j.palaeo.2023.111492.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Tin-Wai Ng, Jin-Liang Yuan, Jih-Pai Lin (2014). "The North China Steptoean Positive Carbon Isotope Event: New insights towards understanding a global phenomenon". Geobios (ภาษาอังกฤษ). 47 (6): 371-387. Bibcode:2014Geobi..47..371N. doi:10.1016/j.geobios.2014.09.003.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Wenpeng Xia, Karem Azmy, Xu Shenglin, Anqing Chen, Sun Shi, Qian Li, Li Ruixuan, Yixin Dong (2023). "A pilot study of upper Yangtze shallow-water carbonates of the Paibian global marine euxinia: Implications for the late Cambrian SPICE event". Marine and Petroleum Geology (ภาษาอังกฤษ). 150 (3): 106146. Bibcode:2023MarPG.15006146X. doi:10.1016/j.marpetgeo.2023.106146.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Lei Zhang, Thomas J. Algeo, Laishi Zhao, Tais W. Dahl, Zhong-Qiang Chen, Zihu Zhang, Simon W. Poulton, Nigel C. Hughes, Xueqing Gou, Chao Li (2023). "Environmental and trilobite diversity changes during the middle-late Cambrian SPICE event" (PDF). Geological Society of America Bulletin (ภาษาอังกฤษ). 136 (1–2): 810–828. doi:10.1130/B36421.1. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-05.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Stephen Westrop, Jennifer Eoff (2012). "Late Cambrian (Furongian; Paibian, Steptoean) Agnostoid Arthropods from the Cow Head Group, Western Newfoundland". Journal of Paleontology. 86 (2): 201–237. Bibcode:2012JPal...86..201W. doi:10.1666/11-034.1. JSTOR 41480187.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]