ข้ามไปเนื้อหา

สมัยเมียวลิงเจียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัยเมียวลิงเจียน
~509 – ~497 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
อนุมัติชื่อ2561[2]
ชื่อเดิมหินสมัยแคมเบรียน 3
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีการของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาสมัย
หน่วยลำดับชั้นหินหินสมัย
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์ออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส
ขอบล่าง GSSPอู่หลิว-เจิ้งเจียหยาน มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน
26°44.843′N 108°24.830′E / 26.747383°N 108.413833°E / 26.747383; 108.413833
การอนุมัติ GSSP2561[2]
คำนิยามขอบบนระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์กลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส
ขอบบน GSSPแหล่งไผบี้ เมืองไผบี้ มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
28°23.37′N 109°31.54′E / 28.38950°N 109.52567°E / 28.38950; 109.52567
การอนุมัติ GSSP2546[3]

สมัยเมียวลิงเจียน (อังกฤษ: Miaolingian) เป็นหินสมัยที่สามของยุคแคมเบรียน และได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการในปี 2561[4] มีช่วงระยะเวลาตั้งแต่ประมาณ 509 ถึง 497 ล้านปีก่อน และแบ่งออกเป็น 3 หินช่วงอายุตามลำดับดังนี้ อูลิวอัน ดรูเมียน และกูจางเจียน สมัยเมียวลิงเจียนนั้นอยู่ถัดจากหินสมัยแคมเบรียน 2 ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ และตามด้วยหินสมัยฝูหรงเจียน[5]

ชื่อเมียวลิงเจียน มาจากเทือกเขาเมียวหลิงในมณฑลกุ้ยโจวตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน[2]

นิยาม

[แก้]

มีการเสนอการใช้ซากดึกดำบรรพ์และชั้นหินแบบฉบับหลายครั้งก่อนที่จะมีการให้การรับรองอย่างเป็นทางการในปี 2561 ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นเครื่องหมายที่มีแนวโน้มดีที่สุดได้รับการพิจารณาให้เป็นการปรากฏขึ้นครั้งแรกของสิ่งมีชีวิตในกลุ่มไทรโลไบต์สปีชีส์โอวาโตรีคโตคารา กรานูลาตา (Ovatoryctocara granulata) หรือออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส (Oryctocephalus indicus)[6] ซึ่งทั้งสองชนิดมีอายุใกล้เคียงกันประมาณ 509 ล้านปีก่อน[5] หลังจากการพิจารณา การปรากฏขึ้นครั้งแรกของออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส ได้ถูกเลือกเป็นเครื่องหมายขอบเขตล่าง และจุด GSSP ถูกวางไว้ในหมวดหินคายหลี อู่หลิว-เจิ้งเจียหยาน มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน[2][7]

ขอบเขตระหว่างเมียวลิงเจียนและฟูหรงเจียนมีคำนิยามเดียวกันกับหินช่วงอายุไผเบียน โดยมีการกำหนดเป็นการปรากฏขึ้นครั้งแรกของกลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส (Glyptagnostus reticulatus) ประมาณ 497 ล้านปีก่อน[5]

การแบ่งย่อย

[แก้]

สมัยเมียวลิงเจียนแบ่งออกได้เป็นดังนี้[5]

สมัย / หินสมัย ช่วงอายุ / หินช่วงอายุ ขอบล่างของช่วงอายุ (ล้านปีก่อน)
ฝูหรงเจียน
หินช่วงอายุ 10 489.5
เจียงชานเนียน 494
ไผเบียน 497
เมียวลิงเจียน
กูจางเจียน 500.5
ดรูเมียน 504.5
อูลิวอัน 509
หินสมัย 2
หินช่วงอายุ 4 514
หินช่วงอายุ 3 521

หินช่วงอายุออร์เดียน (Ordian stage) ซึ่งใช้ในมาตราการลำดับชั้นหินตามอายุกาลของออสเตรเลีย เดิมถูกกำหนดให้เป็นขั้นต่ำสุดของหินสมัยเมียวลิงเจียน แต่มีความเป็นไปได้ว่าอาจอยู่ในตอนบนของหินสมัย 2 จนถึงปี 2567 ฐานของหินช่วงอายุออร์เดียนยังไม่ได้ถูกกำหนดขึ้น[8]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

ในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างหินสมัยแคมเบรียน 2 และเมียวลิงเจียน ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไทรโลไบต์ครั้งแรก ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ขอบเขตโอลเลเนลลิดไบโอเมียร์ (Olenellid Biomere boundary) โดยเฉพาะไทรโลไบต์ในวงศ์โอลเลเนลลุสและเรดลิเคีย ได้สูญพันธุ์ในลอเรนเทียและจีนใต้ ตามลำดับ[9] ไทรโลไบต์ชนิดออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส (O. indicus) ได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกหลังจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งนี้ และในพื้นที่ที่ไม่พบซากดึกดำบรรพ์ของออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส การกำหนดช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างหินสมัยแคมเบรียน 2 และเมียวลิงเจียนจะถูกกำหนดโดยข้อมูลการลำดับชั้นหินตามเคมี[10]

บรรพชีวินวิทยา

[แก้]

แกรพโตไลต์ชนิดอยู่ก้นท้องน้ำได้กระจายตัวอย่างกว้างขวางในสมัยเมียวลิงเจียน อาณานิคมของวงศ์แรบโดพลูริดา (Rhabdopleuridae) ซึ่งหุ้มด้วยเปลือกแข็งและอาณานิคมที่เติบโตในลักษณะแตกกิ่งก้านยืนตรงของวงศ์ดิเทโคเดนดริเด (Dithecodendridae) ได้วิวัฒนาการขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นของสมัยเมียวลิงเจียน สกุลแกรพโตไลต์ที่พบมากที่สุดในช่วงอายุอูลิวอันคือ สฟีโนเซียม (Sphenoecium) ซึ่งมีอาณานิคมที่แข็งแรงถูกพบทั่วโลก[11]

การอ้างอิง

[แก้]
  1. "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Yuanlong Zhao; Jinliang Yuan; Loren E. Babcock; Qingjun Guo; Jin Peng; Leiming Yin; Xinglian Yang; Shanchi Peng; Chunjiang Wang; Robert R. Gaines; Jorge Esteve; Tongsu Tai; Ruidong Yang; Yue Wang; Haijing Sun; Yuning Yang (June 2019). "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) for the conterminous base of the Miaolingian Series and Wuliuan Stage (Cambrian) at Balang, Jianhe, Guizhou, China" (PDF). Episodes. 42 (2): 165–184. doi:10.18814/epiiugs/2019/019013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 March 2024.
  3. Peng, S. C.; Babcock, L. E.; Robison, R. A.; Lin, H. L.; Rees, M. N.; Saltzman, M. R. (2004). "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) of the Furongian Series and Paibian Stage (Cambrian)". Lethaia. 37 (4): 365–379. Bibcode:2004Letha..37..365P. doi:10.1080/00241160410002081. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-21. สืบค้นเมื่อ 19 March 2024.
  4. "International Chronostratigraphic Chart (2018)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-07. สืบค้นเมื่อ 2024-03-19.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "GSSP Table - Paleozoic Era". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-08. สืบค้นเมื่อ 2024-03-19.
  6. Gozalo, Rodolfo; Álvarez, María Eugenia Dies; Vintaned, José Antonio Gámez; Zhuravlev, Andrey Yu.; Bauluz, Blanca; Subías, Ignacio; Chirivella Martorell, Juan B.; Mayoral, Eduardo; Gursky, Hans-Jürgen; Andrés, José Antonio; Liñán, Eladio (1 December 2011). "Proposal of a reference section and point for the Cambrian Series 2-3 boundary in the Mediterranean subprovince in Murero (NE Spain) and its intercontinental correlation". Geological Journal. 48 (2–3): 142–155. doi:10.1002/gj.1330. S2CID 129084517.
  7. Arne Thorshøj Nielsen, Per Ahlberg (2019). "The Miaolingian, a new name for the 'Middle' Cambrian (Cambrian Series 3): identification of lower and upper boundaries in Baltoscandia". GFF. 141 (2): 162-173. Bibcode:2019GFF...141..162N. doi:10.1080/11035897.2019.1621374.
  8. John R. Laurie, Peter D. Kruse, Glenn A. Brock, James D. Holmes, James B. Jago, Marissa J. Betts, John R. Paterson, Patrick M. Smith (April 2024). "The quest for an Australian Cambrian stage scale". Alcheringa: An Australasian Journal of Palaeontology (ภาษาอังกฤษ): 1–20. doi:10.1080/03115518.2024.2327045.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Jih-Pai Lin, Frederick A. Sundberg, Ganqing Jiang, Isabel P. Montañez, Thomas Wotte (22 November 2019). "Chemostratigraphic correlations across the first major trilobite extinction and faunal turnovers between Laurentia and South China". Scientific Reports. 9 (1): 17392. Bibcode:2019NatSR...917392L. doi:10.1038/s41598-019-53685-2. PMC 6874646. PMID 31758094.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Courtney Birksmith, Glenn A. Brock, Marissa J. Betts, James D. Holmes, Zhiliang Zhang (2023). "Chronostratigraphy of the Cambrian Series 2 -Miaolingian boundary, western Stansbury Basin, South Australia". Conference: Palaeo Down Under 3 at Perth, Western Australia.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Jörg Maletz (8 December 2023). "Benthic graptolites (Graptolithina, Pterobranchia) in the Miaolingian (Cambrian Series 3)". Palaeobiodiversity and Palaeoenvironments. 104 (2): 259–274. doi:10.1007/s12549-023-00595-x.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]