แบรคิโอพอด
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
Brachiopoda ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Cambrian - Recent | |
---|---|
Platystrophia ponderosa (Ordovician). Scale bar is 5.0 mm. | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | Eukarya |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Brachiopoda Duméril, 1806 |
Subphyla and classes | |
See Classification | |
ความหลากหลาย | |
[[List of brachiopod genera|About 4,000 genera]] |
แบรคิโอพอด เป็นคำจากภาษาลาติน brachium หมายถึงแขน + ภาษาลาตินใหม่ -poda หมายถึงตีน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่บนท้องน้ำรู้จักกันอีกชื่อหนึงว่า หอยตะเกียง เป็นสัตว์ทะเลมีสองฝาด้วยลักษณะภายนอกมีความละม้ายกับหอยกาบคู่ซึ่งที่แท้จริงแล้วไม่ได้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างใดเลย นักบรรพชีวินวิทยาได้ประมาณว่าหลักฐานของแบรคิโอพอดที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วถึงร้อยละ 99[1]
แม้ว่าหอยกาบคู่และแบรคิโอพอดจะมีลักษณะภายนอกละม้ายคล้ายคลึงกัน แต่ที่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยปรกติแล้วหอยกาบคู่จะมีระนาบสมมาตรอยู่ระหว่างเปลือกฝาทั้งสอง ขณะที่แบรคิโอพอดจะมีระนาบสมมาตรแบบสมมาตรด้านข้าง คือระนาบสมมาตรจะตั้งฉากกับแนวหับเผย (hinge) เปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดแตกต่างกันทั้งขนาดและรูปร่าง หอยกาบคู่ใช้กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ในการทำให้เปลือกฝาทั้งสองมาปะกบกันและจะเปิดอ้าออกโดยใช้ลิกาเมนต์ด้านนอกหรือด้านในทันทีที่กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์คลายตัว ขณะที่แบรคิโอพอดใช้กล้ามเนื้อดิดักเตอร์ด้านในดึงให้ฝาทั้งสองเปิดออก และจะปิดปะกบเข้าหากันด้วยกล้ามเนื้อแอดดักเตอร์
ความแตกต่างที่ชัดเจนอีกลักษณะหนึ่งคือ แบรคิโอพอดทั้งหลายจะอาศัยอยู่ด้วยการยึดเกาะกับพื้นท้องทะเลโดยอาศัยอวัยวะที่มีลักษณะเป็นก้านเนื้อเยื่อยื่นออกไป ในทางตรงกันข้ามหอยกาบคู่ทั้งหลายจะเคลื่อนที่ไปอย่างอิสระด้วยอวัยวะเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เป็นเท้า ทั้งนี้ยกเว้นหอยพวกหอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยรูดิสต์ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วที่ยึดเกาะกับพื้นท้องทะเล
นอกจากนี้ เปลือกฝาของแบรคิโอพอดถ้าไม่ประกอบด้วยสารแคลเซี่ยมฟอสเฟตก็เป็นสารแคลเซียมคาร์บอเนต ขณะที่เปลือกฝาของหอยกาบคู่ทั่วไปจะประกอบด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต และท้ายสุดที่แบรคิโอพอดไม่เหมือนกับหอยกาบคู่ก็คือ แบรคิโอพอดบางกลุ่มมีเปลือกฝาเป็นปีกคล้ายครีบยื่นออกไปและรวมถึงมีหนามบนพื้นเปลือกฝา
ลักษณะทั่วไป
[แก้]แบรคิโอพอดอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบรคิโอพอดอินอาร์ทิคูเลตที่ใช้กล้ามเนื้อยึดเปลือกฝาทั้งสองให้เชื่อมปะกบเข้าหากัน ขณะที่แบรคิโอพอดอาร์ทิคูเลตเปลือกฝาทั้งสองเชื่อมประกบกันที่แนวหับเผย แบรคิโอพอดทั้งหลายเป็นสัตว์ทะเลพบได้ทั้งที่ยึดเกาะกับพื้นทะเลด้วยอวัยวะที่เรียกว่าเพดิเคิล หรืออาจจะอาศัยอยู่พื้นโคลน แบรคิโอพอดกินอาหารที่แขวนลอยอยู่ในน้ำด้วยอวัยวะที่เรียกว่าโลโฟพอร์ ซึ่งพบได้ให้สัตว์อื่นของไฟลั่มไบรโอซัวและไฟลั่มโฟโรนิดา
แบรคิโอพอดปัจจุบันมีขนาดเปลืกฝาระหว่างน้อยกว่า 5 มม. ถึงมากกว่า 8 ซม. โดยซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดจะมีขนาดเปลือกฝาในช่วงดังกล่าว แต่แบรคิโอพอดโตเต็มวัยบางชนิดอาจมีขนาดน้อยกว่า 1 มม. และบางชนิดอาจมีขนาดเปลือกฝากว้างถึง 38.5 ซม.
เปลือกฝา
[แก้]แบรคิโอพอดมีเปลือกฝา 2 เปลือกฝาแม้ว่าจะไม่ได้จัดให้เป็นหอยกาบคู่ โดยที่เปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดจะเป็นเปลือกฝาด้านบนและเปลือกฝาด้านล่างแทนที่จะเป็นเปลือกฝาด้านซ้ายและเปลือกฝาด้านขวา โดยเปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดจะเรียกว่าเปลือกฝาเพดิคอลและเปลือกฝาบราเชียล เปลือกฝาเพดอลถูกยึดติดกับเพดิคอลและมีกล้ามเนื้อแอดจัสเตอร์ยึดตรึงไว้ เปลือกฝาแบรเชียลอยู่ที่แบรเชียเดียรองรับอวัยวะโลโฟพอร์ แบรคิโอพอดจะเหมือนแอมโมไนต์คือมีลักษณะหกคะเมนด้วยเปลือกฝาเพดิคอลเป็นด้านท้องและเปลือกฝาแบรเชียลเป็นด้านหลัง ซึ่งไม่เป็นจริงในธรรมชาติ
โครงสร้างเปลือกฝาอาร์ทิคูเลต
[แก้]เปลือกฝาของแบรคิโอพอดอาร์ทิคูเลตจะประกอยด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต เปลือกฝาประกอบด้วยชั้นลามินาร์อยู่ด้านนอกและชั้นไฟบรัสอยู่ด้านในซึ่งเอียงลาดเข้าหาชั้นลามินาร์ไปในทิศทางเข้าหาขอบของเปลือกฝา ชั้นไฟบรัสมีช่องเปิดที่เรียกกันว่าพัลเลียลไซนัสซึ่งขณะที่มีชีวิตจะมีวัตถุแมนเทิล ลักษณะรูปแบบของพัลเลียลไซนัสในซากดึกดำบรรพ์จะใช้ในการวินิจฉัยแบรคิโอพอดสกุลต่างๆ
เปลือกฝาแบรคิโอพอดอาร์ทิคูเลตอาจเป็นแบบอิมพังเทต พังเทต หรือซูโดพังเทต เปลือกฝาแบบอิมพังเทตจะทึบยกเว้นส่วนของช่องเปิดพัลเลียลในชั้นไฟบรัส เปลือกฝาแบบพังเทตจะมีรูเล็กๆของทิวบูลหรือพอร์หรือที่เรียกว่าพังตัมที่แผ่ขยายออกไปจากด้านในของชั้นไฟบรัส ไปจนเกือบทั้งหมดด้านนอกของชั้นลามินาร์ ส่วนเปลือกฝาแบบซูโดพังเทตมีรูปร่างเป็นแท่งของแร่แคลไซต์ไร้โครงสร้างในชั้นไฟบรัสที่อาจผุพังไปเหลือเปิดออกมาที่อาจเข้าใจว่าเป็นพังตัม
ประวัติวิวัฒนาการ
[แก้]ซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดรุ่นแรกๆพบปรากฏในช่วงต้นๆของยุคแคมเบรียน เป็นแบรคิโอพอดอินอาร์ทิคูเลตคือชนิดที่ไม่มีหับเผย โดยชนิดอาร์ทิคูเลตซึ่งมีหับเผยจะพบในช่วงเวลาต่อมา มีความเป็นไปได้ที่ว่าจะพบแบรคิโอพอดในชั้นหินที่มีอายุแก่ลงไปอีกถึงช่วงบนของบรมยุคนีโอโปรเทอโรโซอิกแต่ยังไม่ชัดเจนแน่นอน แบรคิโอพอดพบได้ทั่วไปตลอดมหายุคพาลีโอโซอิกและได้ลดปริมาณลงอย่างมากในช่วงเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อครั้งสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน โดยก่อนที่จะถึงเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่นี้ถือได้ว่าแบรคิโอพอดเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่พบเห็นได้มากและหลากหลายมากกว่าหอยกาบคู่เสียอีก เมื่อเข้าสู่มหายุคมีโซโซอิกแล้วจำนวนและความหลากหลายของแบรคิโอพอดได้ลดลงเป็นอย่างมากแล้วส่วนใหญ่จะถูกแทนที่โดยหอยกาบคู่และก็วิวัฒนาการโดดเด่นต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ขณะที่แบรคิโอพอดส่วนใหญ่จะพบอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมห่างออกไป
แบรคิโอพอดที่พบแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบันอยู่ในชั้นเทเรบราตูลิดา ซึ่งมีรูปร่างลักษณะของเปลือกฝาคล้ายกับตะเกียงน้ำมันโบราณทำให้แบรคิโอพอดมีชื่อสามัญเรียกกันว่า “หอยตะเกียง (lamp shell)” ไฟลั่มที่ใกล้ชิดกับแบรคิโอพอดมากที่สุดอาจเป็นไฟลั่มโพโรนิดาซึ่งเป็นไฟลั่มเล็กๆที่รู้จักเรียกกันว่า “หนอนเกือกม้า” นอกจากไฟลั่มไบรโอซัวและอาจรวมถึงเอนโตพรอคต้าแล้ว ไฟลั่มนี้ถูกตั้งให้เป็นเหนือไฟลั่มโลโฟฟอราต้า
แบรคิโอพอดพวกอินอาร์ติคูเลตสกุล “ลิงกูล่า” ถือว่ามีความเก่าแก่ที่สุดและถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่เกือบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเลย ซากดึกดำบรรพ์ของลิงกูล่าที่เก่าแก่ที่สุดพบในหินยุคแคมเบรียนตอนต้นประมาณ 550 ล้านปีมาแล้ว การกำเนิดของแบรคิโอพอดยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต่อาจมีบรรพบุรุษเป็นทากโบราณ (armored slug) ที่รู้จักกันว่า ฮัลกิเออเรียที่มีโลห์เล็กที่คล้ายแบรคิโอพอดที่หัวและหางของมัน
ในระหว่างยุคออร์โดวิเชียนและยุคไซลูเรียน แบรคิโอพอดได้ปรับตัวเองให้ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลทั้งหมดและส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้น โดยบ้างก็อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเหมือนกันกับหอยกาบคู่ในปัจจุบัน (อย่างเช่นหอยแมลงภู่) บางแห่งที่เป็นชั้นหินปูนและที่ที่มีการตกสะสมตัวของปะการังก็พบเปลือกฝาของแบรคิโอพอดได้มากเช่นกัน
ตลอดประวัติทางธรณีวิทยาอันยาวนาน แบรคิโอพอดได้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางและแตกแขนงวิวัฒนาการไปอย่างหลากหลาย และก็รวมถึงการได้ผ่านการเผชิญกับเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ๆมาหลายครั้งเช่นกัน
อาจกล่าวได้ว่าการลดจำนวนลงอย่างช้าๆของแบรคิโอพอดตลอดระยะเวลา 100 ล้านปีที่ผ่านมาหรือมากกว่านั้น เป็นผลโดยตรงมาจาก (1) การเพิ่มขึ้นอย่างหลากหลายของหอยกาบคู่ที่หาอาหารด้วยอวัยวะกรอง ซึ่งได้ขับไล่แบรคิโอพอดให้ออกจากถิ่นฐานเดิมของมัน (2) การเพิ่มการรบกวนในตะกอนโดยพวกที่หากินโดยใช้เหยื่อล่อ (รวมถึงหอยกาบคู่ที่ขุดรูอยู่จำนวนมาก) และ (3) การเพิ่มการล่าด้วยการบดขยี้เปลือกฝาที่รุนแรงและหลากหลายขึ้น อย่างไรก็ตามก็ควรจะระลึกว่าหอยกาบคู่มีความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างถิ่นฐานที่อยู่อาศัยซึ่งไม่เคยพบในแบรคิโอพอดมาก่อน อย่างเช่นการขุดรูอยู่
ความมากมาย ความหลากหลาย และการมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วของแบรคิโอพอดในช่วงมหายุคพาลีโอโซอิกทำให้แบรคิโอพอดมีประโยชน์ในการใช้เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีเพื่อการเปรียบเทียบการลำดับชั้นหินในบริเวณกว้าง
การจำแนก
[แก้]ในการจำแนกดั้งเดิม ไฟลั่มแบรคิโอพอดถูกแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือชั้นอาร์ติคูเลตและชั้นอินอาร์ติคูเลต ด้วยอันดับของแบรคิโอพอดทั้งหมดได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่สิ้นมหายุคพาลีโอโซอิก การจำแนกจึงยึดถือเอารูปลักษณ์สัณฐาน (รูปร่าง)ของซากดึกดำบรรพ์เป็นเกณฑ์ แต่ในช่วง 40 ปีมานี้ได้มีการวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นทั้งในซากดึกดำบรรพ์และในแบรคิโอพอดที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการศึกษาทางพันธุศาสตร์ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการจำแนกทางอนุกรมวิธาน
การจำแนกทางอนุกรมวิธานถือว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นผู้ศึกษาต่างกันอาจจำแนกออกไปต่างกัน ในจำนวน 2000 ชิ้นงานดังส่วนหนึ่งในตำราบรรพชีวินวิทยาของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เขียนโดย วิลเลียม คาร์ลสัน และบรันตัน ได้นำเสนอแนวคิดการจำแนกแบรคิโอพอดเป็นกลุ่มคือ พวกเขาแบ่งแบรคิโอพอดออกเป็น 3 ไฟลั่มย่อย 8 ชั้น และ 26 อันดับ การจำแนกนี้เชื่อว่าจะใกล้เคียงกับประวัติวิวัฒนาการ ความหลากหลายของแบรคิโอพอดได้ลดลงอย่างชัดเจนเมื่อสิ้นมหายุคพาลีโอโซอิก มีเพียง 5 อันดับใน 3 ชั้นเท่านั้นที่อยู่รอดจนถึงปัจจุบันทั้งหมดประมาณระหว่าง 300 ถึง 500 ชนิด ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงกลางของยุคไซลูเรียนจะมีแบรคิโอพอดอยู่ทั้งสิ้นถึง 16 อันดับ
อนุกรมวิธานของแบรคิโอพอด สีเขียวสายพันธุ์ปัจจุบัน, สีเทาสูญพันธุ์ | |||
ไฟลั่มย่อย | ชั้น | อันดับ | สูญพันธุ์ |
---|---|---|---|
Linguliformea | Lingulata | Lingulida | no |
Siphonotretida | Ordovician | ||
Acrotretida | Devonian | ||
Paterinata | Paterinida | Ordovician | |
Craniformea | Craniforma | Craniida | no |
Craniopsida | Carboniferous | ||
Trimerellida | Silurian | ||
Rhynchonelliformea | Chileata | Chileida | Cambrian |
Dictyonellidina | Permian | ||
Obolellata | Obolellida | Cambrian | |
Kutorginata | Kutorginida | Cambrian | |
Strophomenata | Orthotetidina | Permian | |
Triplesiidina | Silurian | ||
Billingselloidea | Ordovician | ||
Clitambonitidina | Ordovician | ||
Strophomenida | Carboniferous | ||
Productida | Permian | ||
Rhynchonellata | Protorthida | Cambrian | |
Orthida | Carboniferous | ||
Pentamerida | Devonian | ||
Rhynchonellida | no | ||
Atrypida | Devonian | ||
Spiriferida | Jurassic | ||
Thecideida | no | ||
Athyridida | Cretaceous | ||
Terebratulida | no |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดในประเทศไทย
[แก้]- Acosarina antesulcata Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Acosarina kanmarai Yanagida & Nakornsri, 1999 เขาหินกลิ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์
- Anomalaria glomerosa Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Arctitreta percostata Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Arionthia sapa Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Aseptella satunensis Brunton in Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
- Asperlinus asperulus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Aspinosella sinauris Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Attenuatella piyasini Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Bibatiola costata Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Brachythyrina rectangulus (Kutorga) Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Brachythyrina thailandica Hamada, 1960 เกาะมุก จังหวัด ตรัง
- Brachythyrina toriyamai Yanagada, 1975 ห้วยหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Callispirina austrina Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Cancrinella yanagidae Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 ถ้ำน้ำมโหฬาร อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Cancrinelloides monticulus Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Caplinoplia thailandensis Racheboeuf in Boucot et al., 1999 จังหวัดสตูล
- Caricula salebrosa Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Celebetes gymnus Grant, 1976 จังหวัดพังงา
- Celebetes leptus Grant, 1977 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Chonetinella andamanensis Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Chonetinella cymatilis Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Chonetinella granti Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Chonosteges thailandica Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Cleiothyridina seriata Grant, 1976 จังหวัดพังงา เขาช้าง เขาพริก และเขาตกน้ำ จังหวัดราชบุรี บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
- Cleiothyridina tribulosa Grant, 1977 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Clorinda wongwanichi Boucot & Cocks in Boucot et al., 1999 จังหวัดสตูล
- Coledium satuni Boucot & Brunton in Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
- Composita advena Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Composita dolabrata Grant, 1977 เขาตกน้ำ จังหวัดราชบุรี
- Composita subsolana Grant, 1978 เขาช้าง จังหวัดราชบุรี และบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
- Compressoproductus pentagonalis Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Comuquia modesta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Cooperina polytreta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Costachonetina krotowi Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Cruricella couria Grant, 1976 บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และเกาะมุก จังหวัดตรัง
- Cyrtonotella thailandica Hamada, 1964 บ้านทุ่งดินลุ่ม อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
- Cyrtonotella transversalis Hamada, 1964 บ้านทุ่งดินลุ่ม อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
- Demonedys fastigiata Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง และบ้านเขา จังหวัดกาญจนบุรี
- Derbyella kanmerai Yanagida, 1966 ถ้ำน้ำมโหฬาร จังหวัดเลย
- Derbyia scobina Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Desmoinesia prayongi Yanagada, 1975 ห้วยหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Diplanus minuta Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Dyschrestia spodia Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Echinoconchus huaipotensis Yanagida, 1974 บ้านสูบ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
- Eileenella elegans Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
- Elasmata retusus Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Erismatina cooperi Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Globosobucina scopae Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Glyptosteges percostatus Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Goleomixa acymata Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Gratiosina insculpta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Haydenella buravasi Grant, 1976 เขาช้าง จังหวัดราชบุรี
- Haydenella granti Yanagida & Nakornsri, 1999 เขาหินกลิ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์
- Hemiptychina desticata Grant, 1976 จังหวัดพังงา
- Hemiptychina mintrita Grant, 1977 เขาพริกและเขาช้าง จังหวัดราชบุรี
- Hemiptychina murrita Grant, 1978 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Heteralosia haerens Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Heteralosia iphia Grant, 1977 จังหวัดพังงา เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Hustedia funaria Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Hustedia ratburiensis Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Incisius concisus Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Juresania dissimilis Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Kasetia kaseti Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
- Kitakamithyris buravasi Hamada, 1960 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Komukia solita Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Kozlowskia cornuta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Kozlowskia opipara Grant, 1977 จังหวัดพังงา
- Kutorginella aprica Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Kutorginella fraterculus Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวใหญ่ และเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
- Kutorginella paucispinosa Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
- Lampangella lata Waterhouse, 1983 ห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Linoproductus kaseti Grant, 1976 จังหวัดพังงา
- Litocothia cateora Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Marginifera arenaria Grant, 1976 จังหวัดพังงา เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Marginifera banphotensis Yanagada, 1964 ตำบลบ้านโภชน์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- Marginifera drastica Grant, 1976 จังหวัดพังงา เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Marginifera nesiotes Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Marginifera otaria Grant, 1977 เขาช้างและเขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Martiniopsis trimmata Grant, 1976 จังหวัดพังงา
- Meekella addicta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Meekella bisculpta Grant, 1976 บ้านเขา จังหวัดกาญจนบุรี
- Meekella colpata Grant, 1976 เขาช้าง และเขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Minispina alata Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Mucrospiriferinella undulosa Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Nematocrania crassia Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Neochonetes sakagamii Yanagada, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Neospirifer koewbaidhoni Yanagada, 1966 ถ้ำน้ำมโหฬาร จังหวัดเลย
- Neospirifer steritamakensis (Gerassimov) Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Notothyris hexeris Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Notothyris sakagami Yanagida & Nakornsri, 1999 เขาหินกลิ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์
- Notothyris triplax Grant, 1976 บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เขาพริก จังหวัดราชบุรี และเกาะมุก จังหวัดตรัง
- Opikina bellicostata Hamada, 1964 บ้านทุ่งดินลุ่ม อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
- Orbicoelia fraterculus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Orthotetes perplexus Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Orthotetina phetchabunensis Yanagida, 1964 ตำบลบ้านโภชน์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- Orthotetina ruchae Yanagida & Nakornsri, 1999 เขาหินกลิ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์
- Orthotichia javanapheti Yanagida, 1964 ตำบลบ้านโภชน์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- Orthotichia waterhousei Grant, 1976 เขาช้าง เขาตกน้ำ เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Paralyttonia tenax Grant, 1976 เขามุก จังหวัดตรัง
- Paraspiriferina gentiles Grant, 1976 เขามุก จังหวัดตรัง
- Perigeyerella tricosa Grant, 1976 เขามุก จังหวัดตรัง
- Permophricodothyris notialasiatica Grant, 1976 จังหวัดพังงา และเขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Phricodothyris toriyamai Yanagida, 1966 ถ้ำน้ำมโหฬาร จังหวัดเลย
- Plectodonta (Plectodonta) forteyi Boucot & Cocks in Boucot et al., 1999 จังหวัดสตูล
- Plicambocoelia tansathieni Boucot & Brunton in Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
- Pontielasma praeundatum Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Pontisia exoria Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Prorugaria thailandica Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Purdonella magna Hamada, 1964 ห้วยซำปอด อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Pustuloplica cooperi Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Quasiprosserella samedensis Boucot & Cocks in Boucot et al., 1999 บ้านป่าเสม็ด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
- Rafinesquina komalarjuni Hamada, 1964 บ้านทุ่งดินลุ่ม อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
- Ramavectus pumwarni Grant, 1976 จังหวัดพังงา เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Retimarginifera alata Waterhouse in Waterhouse et al.,, 1981 เกาะยาวใหญ่ และเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
- Retimarginifera celeteria Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Rhamnaria bunopasi Waterhouse in Waterhouse et al.,, 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Rhipidomella cordialis Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง เขาตกน้ำและเขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Rhynchopora culta Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Rigbyella crassa Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Rorespirifer ruinosus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Rugaria molengraaffi (Broili) Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Rugosochonetes bansupensis Yanagida, 1974 บ้านสูบ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
- Sarytchevinella tenuissima Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Schuchertella cooperi Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Septasteges acanthus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Septospirigerella felinella Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Spinifrons planaconvexa Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Spinomarginifera plana Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Spinomartinia prolifica Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Spiriferella modesta Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา
- Spiriferellina aduncata Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Spiriferellina yanagidai Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Squamularia postgrandis Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Stenoscisma kanmerai Yanagida, 1975 ห้วยหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Stenoscisma quasimutabilis Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา
- Stenoscisma tetricum Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Stereochia koyaoensis Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
- Stereochia litostyla Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
- Stictozoster leptus Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Streptorhynchus khwaense Grant, 1976 บ้านเขา จังหวัดกาญจนบุรี เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Streptorhynchus sulculatum Grant, 1977 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Streptorhynchus turbineus Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Striochonetes scutella Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Sulciplica thailandica Hamada, 1960 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Swaicoelia rotunda Hamada, 1968 เส้นทางสายเชียงใหม่-อำเภอฝาง ระหว่าง กม. 105-108 อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
- Terebratuloidea mimula Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Tipispirifer oppilatus Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Tornquistia orthogonal Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
- Tornquistia tricorporum Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
- Tornquistia tropicalis Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Torynifer turbatus Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา
- Transennatia pitakpaivani Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
- Tuberculatella tubertella Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
- Uncinunellina mitigate Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Uncinella siamestris Grant, 1976 เขาช้างและเขาพริก จังหวัดราชบุรี
- Urushtenia arguta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Urushtenia murina Grant, 1977 เกาะมุก จังหวัดตรัง
- Waagenites speciosus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลจากนักบรรพชีวินวิทยา W. H. Easton (1960) ใน Invertebrate Paleontology (New York: Harper and Brothers).
- Williams, A; Carlson, S.J.; Brunton, C.H.C. (2000). "Brachiopod classification". ใน Williams, A.; และคณะ (บ.ก.). Brachiopoda (revised). Vol. 2. Part H of Kaesler, R.L. (บ.ก.). Treatise on Invertebrate Paleontology. Boulder, Colorado and Lawrence, Kansas: Geological Society of America and The University of Kansas. ISBN 0-8137-3108-9.
- MLF (Moore, Lalicker and Fischer); Invertebrate Fossils, McGraw-Hill Book, 1952
- [1] http://www.scienceforums.net/forum/showthread.php?p=339638 เก็บถาวร 2009-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วิฆเนศ ทรงธรรม และคณะ (2549) ทำเนียบซากดึกดำบรรพ์ไทย นามยกย่องบุคคล กรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร 99 หน้า