ข้ามไปเนื้อหา

หินช่วงอายุแคมเบรียน 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หินช่วงอายุแคมเบรียน 4
~514 – ~509 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อไม่ทางการ
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีการของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างไม่มีการนิยามทางการ
แคนดิเดตคำนิยามขอบล่างระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์กลุ่มโอลเลเนลลุสหรือเรดลิเคีย
แหล่งแคนดิเดตคำนิยามขอบล่าง GSSPไม่มี
คำนิยามขอบบนระดับอ้างอิงปรากฏแรกของออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส
ขอบบน GSSPอู่หลิว-เจิ้งเจียหยาน มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน
26°04′51″N 108°24′50″E / 26.0807°N 108.4138°E / 26.0807; 108.4138
การอนุมัติ GSSP2561[2]

หินช่วงอายุแคมเบรียน 4 (อังกฤษ: Cambrian Stage 4) เป็นช่วงที่ยังไม่มีชื่อของยุคแคมเบรียน และเป็นหินช่วงอายุตอนปลายของหินสมัยแคมเบรียน 2 โดยอยู่ต่อจากหินช่วงอายุแคมเบรียน 3 และอยู่ต่ำกว่าช่วงอายุวูลิวเวียน ขอบเขตล่างยังไม่ได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการการลำดับชั้นหินสากล ข้อเสนอหนึ่งคือการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์สองสกุล ได้แก่ โอลเลเนลลุส (Olenellus) หรือ เรดลิเคีย (Redlichia) ข้อเสนออีกประการหนึ่งคือการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์สปีชีส์อาร์ทริโคเซฟาลุส เชาเวอูอี (Arthricocephalus chauveaui)[3] ข้อเสนอทั้งสองนี้จะกำหนดขอบเขตล่างไว้ใกล้เคียงกับ 514 ล้านปีก่อน[4] ขอบเขตบนสอดคล้องกับจุดเริ่มต้นของช่วงอายุวูลิวเวียน

การตั้งชื่อ

[แก้]

คณะกรรมการการลำดับชั้นหินสากลยังไม่ได้กำหนดชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับหินช่วงอายุที่สี่ของยุคแคมเบรียน ในขณะที่ตามการเรียกชื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบไซบีเรียนหินช่วงอายุ 4 จะทับซ้อนกับบางส่วนของช่วงโบโตเมียน (Botomian) และโทโยเนียน (Toyonian)[5]

การลำดับชั้นหินตามชีวภาพ

[แก้]

การเริ่มต้นของหินช่วงอายุแคมเบรียน 4 ได้รับการเชื่อมโยงเบื้องต้นกับฐานของหินช่วงอายุสัตวชาติเลโอเนียน (Leonian faunal stage) ของยุโรปและฐานของช่วงอายุสัตวชาติตู้ยุนเนียน (Duyunian faunal stage) ของจีนตอนใต้[6]

ในหินช่วงอายุแคมเบรียน 4 มีวงศ์ของไทรโลไบต์สามวงศ์ที่แพร่หลายได้แก่ วงศ์โอลเลเนลลุส วงศ์เรดลิชิอิด และวงศ์พาราดอกซิเดด ที่ขอบเขตระหว่างหินช่วงอายุแคมเบรียน 4 กับช่วงอายุวูลิวเวียน ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งแรกของไทรโลไบต์ ซึ่งเรียกว่าขอบเขตโอลเลเนลลิดไบโอเมียร์ (Olenellid Biomere boundary) โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทรโลไบต์ในวงศ์โอลเลเนลลุสในลอเรนเทียและวงศ์เรดลิชิอิดในจีนตอนใต้ได้สูญพันธุ์ไป[7]

การอ้างอิง

[แก้]
  1. "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
  2. Zhao; และคณะ (June 2019). "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) for the conterminous base of the Miaolingian Series and Wuliuan Stage (Cambrian) at Balang, Jianhe, Guizhou, China" (PDF). Episodes. 42: 165–184. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-02.
  3. Peng, S.C.; Babcock, L.E. (21 September 2011). "Continuing progress on chronostratigraphic subdivision of the Cambrian System" (PDF). Bulletin of Geosciences (ภาษาอังกฤษ): 391–396. doi:10.3140/bull.geosci.1273. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-16.
  4. "GSSP Table - Paleozoic Era". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-08. สืบค้นเมื่อ 2024-03-19.
  5. "The 13th International Field Conference of the Cambrian Stage Subdivision Working Group" (PDF). Episodes. 31 (4): 440–441. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-05. สืบค้นเมื่อ 2024-04-03.
  6. Yuan, Jinliang; Ng, Tin-Wai (2014). "Tentative correlation of the Duyunian (Cambrian Series 2, Stage 4) and the Taijiangian (Cambrian Series 3, Stage 5) between South China and the Mediterranean region". GFF. Geological Society of Sweden. 136 (1/2): 314–319. Bibcode:2014GFF...136..314Y. doi:10.1080/11035897.2014.898331. S2CID 129488362.
  7. Jih-Pai Lin, Frederick A. Sundberg, Ganqing Jiang, Isabel P. Montañez, Thomas Wotte (22 November 2019). "Chemostratigraphic correlations across the first major trilobite extinction and faunal turnovers between Laurentia and South China". Scientific Reports. 9 (1): 17392. Bibcode:2019NatSR...917392L. doi:10.1038/s41598-019-53685-2. PMC 6874646. PMID 31758094.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]