หินช่วงอายุแคมเบรียน 2
หินช่วงอายุแคมเบรียน 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
529 – ~521 ล้านปีก่อน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยาการลำดับเวลา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นิรุกติศาสตร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเป็นทางการของชื่อ | ไม่ทางการ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลการใช้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เทห์วัตถุ | โลก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การใช้ระดับภาค | ทั่วโลก (ICS) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การใช้ช่วงเวลา | ธรณีการของ ICS | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การนิยาม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หน่วยวิทยาการลำดับเวลา | ช่วงอายุ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หน่วยลำดับชั้นหิน | หินช่วงอายุ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเป็นทางการของช่วงกาล | ทางการ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำนิยามขอบล่าง | ไม่มีการนิยามทางการ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แคนดิเดตคำนิยามขอบล่าง | การปรากฏครั้งแรกของสัตวชาติมีเปลือกขนาดเล็กหรืออาร์คีโอไซทา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งแคนดิเดตคำนิยามขอบล่าง GSSP | ไม่มี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำนิยามขอบบน | ไม่มีการนิยามทางการ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แคนดิเดตคำนิยามขอบบน | ระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งแคนดิเดตคำนิยามขอบบน GSSP | ไม่มี |
หินช่วงอายุ 2 (อังกฤษ: Stage 2) ของยุคแคมเบรียน เป็นหินช่วงอายุที่ยังไม่มีชื่อเฉพาะในหินสมัยแตร์นูเวียน อยู่เหนือช่วงอายุฟอร์จูเนียนและอยู่ต่ำกว่าหินช่วงอายุ 3 ของยุคแคมเบรียน มักถูกเรียกว่า ทอมโมเทียน (Tommotian) ตามการลำดับชั้นหินของไซบีเรีย[2][3] ขอบเขตด้านบนและด้านล่างของช่วงนี้ยังไม่ได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการการลำดับชั้นหินสากล[4][5] นิยามที่เสนอสำหรับขอบเขตด้านล่าง คือ การปรากฏตัวครั้งแรกของมอลลัสกาวัตสันเนลลา ครอสบีอี (Watsonella crosbyi) หรืออัลดาเนลลา แอทเทิลบอเรนซิส (Aldanella attleborensis) ประมาณ 529 ล้านปีก่อน[6][7] ความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏตัวครั้งแรกของอัลดาเนลลา แอทเทิลบอเรนซิสและวัตสันเนลลา ครอสบีอี กับการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของไอโซโทปคาร์บอนจู้เจี่ยชิง (Zhujiaqing, ZHUCE) ได้สรุปว่าการรวมกันของสองเครื่องหมายนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือของขอบเขตระหว่างฟอร์จูเนียนและหินช่วงอายุ 2[8] ขอบเขตด้านบนที่เสนออาจเป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์ประมาณ 521 ล้านปีก่อน[4]
การตั้งชื่อ
[แก้]มีการเสนอให้ใช้ชื่อ "เหลาลิเนียน" ซึ่งตั้งตามหมู่บ้านเหลาหลินในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนเป็นชื่อของหินช่วงอายุ 2 เมื่อปี 2555[9]
ชั้นหินแบบฉบับ
[แก้]แคนดิเดตที่เป็นไปได้ของจุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลก ได้แก่ การปรากฏครั้งแรกของวัตสันเนลลา ครอสบีอี ในหมวดหินจูเจียฉิ่ง (朱家庆组) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน หรือหมวดหินเปสโตรตสเวตใกล้แม่น้ำอัลดานบนลานไซบีเรีย[10]
การอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
- ↑ Kouchinsky, Artem; Bengtson, Stefan; Missarzhevsky, Vladimir V.; Pelechaty, Shane; Torssander, Peter; Val'kov, Anatolij K. (24 September 2001). "Carbon isotope stratigraphy and the problem of a pre-Tommotian stage in Siberia". Geological Magazine. 138 (4): 387–396. Bibcode:2001GeoM..138..387K. doi:10.1017/S0016756801005684. S2CID 3884375.
- ↑ Landing, E.; Kouchinsky, A. V. (2016). "Correlation of the Cambrian Evolutionary Radiation: geochronology, evolutionary stasis of earliest Cambrian (Terreneuvian) small shelly fossil (SSF) taxa, and chronostratigraphic significance". Geol. Mag. 153 (4): 750–756. Bibcode:2016GeoM..153..750L. doi:10.1017/s0016756815001089. S2CID 132867265.
- ↑ 4.0 4.1 "GSSP List ICS". ICS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2024-03-26.
- ↑ P. Yu. Parkhaev, Yu. E. Demidenko, M. A. Kulsha (2020). "Zooproblematica Mobergella radiolata as Index Species of the Lower Cambrian Stage Units" (PDF). Стратиграфия. Геологическая корреляция (ภาษารัสเซีย). 28 (2): 34. doi:10.31857/S0869592X20020064. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-30.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "ISCS Working Groups: Working Group on the Stage 2 GSSP". International Subcommission on Cambrian Stratigraphy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-26.
- ↑ Yaqin Qiang, Junfeng Guo, Guoxiang Li, Zuchen Song, Jiaxin Peng, Jie Sun, Jian Han, Zhifei Zhang (2023). "Aldanella attleborensis (Mollusca) from Cambrian Stage 2 of the Three Gorges Area and Its Stratigraphic Implications". Biology. 12 (2): 1—21. doi:10.3390/biology12020261. PMC 9953005. PMID 36829538.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Yang, Chuan; Bowyer, Fred T.; Condon, Daniel J.; Li, Xian-Hua; Zhu, Maoyan (15 April 2023). "New U-Pb age from the Shuijingtuo Formation (Yangtze Gorges area) and its implications for the Cambrian timescale". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology. 616: 111477. Bibcode:2023PPP...61611477Y. doi:10.1016/j.palaeo.2023.111477. ISSN 0031-0182. สืบค้นเมื่อ 2024-03-26 – โดยทาง Elsevier Science Direct.
- ↑ Ed Landing, Gerd Geyer, Adam C. Maloof, Martin B. Brasier, Samuel A. Bowring (2013). "Proposal of the global stratotype section and point for the Laolinian Stage (=informal Cambrian Stage 2) as the upper stage of the Terreneuvian Series". International Cambrian Subcommission: 1—43. doi:10.13140/RG.2.1.4198.1842.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Li, Guoxiang; Zhao, Xin; Gubanov, Alexander; Zhu, Maoyan; Na, Lin (1 April 2011). "Early Cambrian Mollusc Watsonella crosbyi: A Potential GSSP Index Fossil for the Base of the Cambrian Stage 2". Acta Geologica Sinica - English Edition. 85 (2): 309–319. Bibcode:2011AcGlS..85..309L. doi:10.1111/j.1755-6724.2011.00400.x. S2CID 129506892.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "GSSP Table - Paleozoic Era". Geologic Timescale Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-08. สืบค้นเมื่อ 2024-06-13.
- "GSSPs - The Cambrian System 2019" (ภาษาอังกฤษ). International Commission on Stratigraphy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-21.