หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 16 มกราคม พ.ศ. 2433 |
ชีพิตักษัย | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (45 ปี) |
ชายา | หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร (2432-2477) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ |
พระมารดา | หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา |
อำมาตย์เอก เสวกเอก หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร มีพระนามลำลองว่า ท่านชายโป๊ะ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2432 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2433) ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัยและโรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากนั้นเสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียน Harrow ที่ประเทศอังกฤษ แล้วจึงเสด็จเรียนวิชาสถาปัตยกรรมที่เอกอลเดโบซาร์ ประเทศฝรั่งเศส หลังจากจบการศึกษาจึงเข้ารับราชการที่กรมศิลปากรในปี พ.ศ. 2459 จนได้รับพระราชทานยศเป็นเสวกเอกเมื่อปี พ.ศ. 2466
ปี พ.ศ. 2469 เมื่อกรมศิลปากรย้ายสังกัดขึ้นอยู่กับราชบัณฑิตยสภา หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ได้เป็นผู้อำนวยการศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตสภา และได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์เอก เมื่อปี พ.ศ. 2470 ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากรและกลุ่มสถาปนิกยุคบุกเบิกของสังคมไทยในสมัยนั้น ผู้ได้รับการศึกษาสถาปัตยกรรมตามแนวสากลจากอังกฤษและฝรั่งเศส ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม (The Association of Siamese Architects)[1]
ผลงานด้านสถาปัตยกรรมของพระองค์เช่น การซ่อมแปลงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท งานออกแบบพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม[2] วังไกลกังวล เป็นต้น
พระองค์เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุรีย์ประภา รพีพัฒน์ มีพระโอรส 1 คน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์ฤทธิ์สุรีย์ กฤดากร
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2478) ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7[3] พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2478 ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม
ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็น บูรพศิลปิน สาขาทัศนศิลป์[4]ในฐานะเป็นศิลปินที่มีผลงานอันทรงคุณค่ายิ่งต่อประเทศไทย
- ตึกจักรพงษ์ (สโมสรนิสิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2475 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2461 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[8]
- พ.ศ. 2472 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[9]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[10]
อิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, กอบกุล อินทรวิจิตร, ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ และวีระ อินพันทัง (2536) พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต, สมาคมสถาปนิกสยามฯ, กรุงเทพฯ, หน้า 33-34.
- ↑ แนวความคิดทางสถาปัตยกรรมของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร[ลิงก์เสีย]
- ↑ กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. - - กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2547.
- ↑ บูรพศิลปิน พุทธศักราช 2558.
- ↑ ปูชนียศิลปิน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 94 วันที่ 10 เมษายน 2475
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและรายนามผู้รับพระราชทานตราวัลภาภรณ์ ในวันที่ 1 เมษายน 2462 และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ , เล่ม 36,หน้า 7 วันที่ 6 เมษายน 2462
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 94 วันที่ 10 เมษายน 2475
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 134 วันที่ 14 เมษายน 2472
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า วันที่ 26 พฤศจิกายน 2469 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 3122
- ↑ พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ