หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร
หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 5 | |
สวามี | หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร (2432-2477) หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร (2477-2500) |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์ฤทธิ์สุรีย์ กฤดากร หม่อมราชวงศ์ประภาสิริ กฤดากร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ |
พระมารดา | หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา |
ประสูติ | 16 เมษายน พ.ศ. 2444 |
สิ้นชีพิตักษัย | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 (68 ปี) |
หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร (16 เมษายน พ.ศ. 2444 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา มีโสทรภราดาและโสทรภคินี 10 องค์ และมีขนิษฐาต่างพระมารดา 2 องค์
หม่อมเจ้าสุรีย์ประภาเสกสมรสกับหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ) มีโอรสคนเดียว คือ
- หม่อมราชวงศ์ฤทธิ์สุรีย์ กฤดากร สมรสกับจิ๋ว (สกุลเดิม สุริเวก) มีบุตรธิดา 3 คน
- หม่อมหลวงสุดา กฤดากร
- หม่อมหลวงสุธีรา กฤดากร
- หม่อมหลวงกฤษดา กฤดากร
เมื่อหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร ถึงชีพิตักษัยเมื่อปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้าสุรีย์ประภาเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร เชษฐาของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร มีธิดาคนเดียวคือ
- หม่อมราชวงศ์ประภาสิริ กฤดากร สมรสและหย่ากับฉลอง ชุมพล มีบุตรและธิดา 2 คน โดยทั้งสองใช้นามสกุลมารดา[1]
- ธีระวัฒน์ กฤดากร
- สุภิญดา กฤดากร
หม่อมเจ้าสุรีย์ประภาสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 สิริชันษา 68 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2469 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[2]
ราชตระกูล[แก้]
หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร | พระบิดา: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ |
อัยกา: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ปัยกา: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ปัยยิกา: สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี | |||
อัยยิกา: เจ้าจอมมารดาตลับ |
ปัยกา: พระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต) | ||
ปัยยิกา: อิ่ม | |||
พระมารดา: หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา |
อัยยิกา: พระยาสุพรรณพิจิตร (โต) |
ปัยกา: ไม่มีข้อมูล | |
ปัยยิกา: ไม่มีข้อมูล | |||
อัยกา: หม่อมราชวงศ์สำอาง เสนีวงศ์ |
ปัยกา: หม่อมเจ้าหนู เสนีวงศ์ | ||
ปัยยิกา: ไม่มีข้อมูล |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2020-08-16.
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |