ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ5 เมษายน พ.ศ. 2442
สิ้นชีพตักษัย26 ธันวาคม พ.ศ. 2531 (89 ปี)
หม่อมหม่อมราชวงศ์เครือศรี สวัสดิวัตน์
พระบุตร
  • หม่อมราชวงศ์อุฑฑินวิศิษฎ์ สวัสดิวัตน์
  • หม่อมราชวงศ์โพยมศรี สุขุม
  • หม่อมราชวงศ์นภาศรี บุรณศิริ
  • หม่อมราชวงศ์นภกานต์ สุวรรณจินดา
  • หม่อมราชวงศ์วิมลโพยม อนิรุทธเทวา
  • หม่อมราชวงศ์ปรียางค์ศรี วัฒนคุณ
ราชสกุลสวัสดิวัตน์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
พระมารดาหม่อมหุ่น สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา

พลอากาศจัตวา หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์ (5 เมษายน พ.ศ. 2442 — 26 ธันวาคม พ.ศ. 2531) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับหม่อมหุ่น สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา

พลอากาศจัตวาหม่อมเจ้าวิศิษฏ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์
รับใช้กระทรวงกลาโหม
ชั้นยศ พลอากาศจัตวา
หน่วย
  • ราชองครักษ์

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับหม่อมหุ่น สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม พิศลยบุตร) ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2442 เมื่อเจริญชันษา ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก

วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เป็นนาคหลวงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวรวงษ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็นพระศีลาจารย์ แล้วไปจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ให้ไปศึกษาการบิน เพราะยังไม่มีเชื้อพระวงศ์ทรงศึกษาทางนี้เลย ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียน Royal Air Force ที่เมืองคอร์นวอลล์ ประเทศอังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ทรงสำเร็จวิชาการบินชั้นสูง จากนั้นเสด็จกลับมารับราชการที่กรมอากาศยาน ในปี พ.ศ. 2470 เมื่อเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงต้องพ้นจากราชการ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 โปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการที่กรมเสนาธิการ ทรงดำรงตำแหน่งราชองครักษ์[2] ประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ถึง พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานยศจากนาวาอากาศเอก เป็น พลอากาศจัตวา[3] ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองวิจัย กรมเสนาธิการกลาโหม

หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์เครือศรี สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม โศภางค์) มีโอรสธิดา ดังนี้

  1. พันตำรวจโท หม่อมราชวงศ์อุฑฑินวิศิษฎ์ สวัสดิวัตน์
  2. หม่อมราชวงศ์โพยมศรี สุขุม
  3. หม่อมราชวงศ์นภาศรี บุรณศิริ
  4. ท่านผู้หญิงนภกานต์ สุวรรรณจินดา
  5. หม่อมราชวงศ์วิมลโพยม อนิรุทธเทวา
  6. หม่อมราชวงศ์ปรียางค์ศรี วัฒนคุณ

พลอากาศจัตวา หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2531 สิริชันษา 89 ปี

พระเกียรติยศ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พระยศ

[แก้]

พระยศทางทหาร

[แก้]
  • 17 สิงหาคม พ.ศ. 2469: นายร้อยโท[7]
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2474: นายพันตรี[8]
  • 10 ตุลาคม พ.ศ. 2493: นาวาอากาศโท[9]
  • 7 ตุลาคม พ.ศ. 2495: นาวาอากาศเอก[10]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2500: พลอากาศจัตวา[11]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การทรงผนวชและบวชนาคหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 781–785. 5 กรกฎาคม 2458. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ฉบับพิเศษ หน้า 5 เล่ม 74 ตอนที่ 35 ราชกิจจานุเบกษา 4 เมษายน 2500
  4. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 9 เล่ม 70 ตอนที่ 78 ราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2496
  5. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนที่ 74 เล่ม 69 ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2495
  6. ฉบับพิเศษ หน้า 326 ตอนที่ 69 เล่ม 66 ราชกิจจานุเบกษา 20 ธันวาคม 2492
  7. พระราชทานยศทหารบก
  8. พระราชทานยศทหารบก
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  11. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร