ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลบาเซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาเซิล
ชื่อเต็มฟุสส์บอลคลับบาเซิล 1893
ฉายาFCB, Bebbi, RotBlau
ก่อตั้ง15 พฤศจิกายน 1893; 130 ปีก่อน (1893-11-15)
สนามซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก, บาเซิล
ความจุ38,512 ที่นั่ง
37,500 ที่นั่ง (การแข่งขันนานาชาติ)
ประธานBernhard Burgener
ผู้จัดการFabio Celestini
ลีกสวิสซูเปอร์ลีก
2022/23อันดับที่ 5 ในสวิสซูเปอร์ลีก
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลบาเซิล 1893 (Fussball Club Basel 1893) หรือรู้จักกันในชื่อ บาเซิล หรือ FCB[1][2][3] เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่ที่เมืองบาเซิล เป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศ คว้าแชมป์สวิสซูเปอร์ลีก 20 สมัย มากที่สุดเป็นอันดับที่สองในบรรดาสโมสรสวิส

สโมสรประสบความสำเร็จมากในช่วงคริสตทศวรรษ 1960-70 โดยคว้าแชมป์ลีก 7 สมัยในช่วงปี ค.ศ. 1967-1980 แต่ต่อมาช่วงคริสตทศวรรษ 1980 บาเซิลต้องพบกับความยากลำบาก เมื่อพวกเขาไม่สามารถไปแข่งขันในรายการระดับทวีปเป็นเวลาหลายปี และยังต้องตกชั้นในปี ค.ศ. 1987 ต่อมาในช่วงคริสตทศวรรษ 2000 บาเซิลเลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 2002 พวกเขาคว้าแชมป์ลีกครั้งแรกในรอบ 22 ปี และคว้าแชมป์ลีกได้อีก 9 สมัยจาก 13 ฤดูกาล บาเซิลยังคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วย สวิสคัพ 11 สมัย

บาเซิลเข้าร่วมแข่งขันในรายการระดับทวีปยุโรปทุกฤดูกาลตั้งแต่ฤดูกาล 1999–2000 เป็นต้นมา ในฤดูกาล 2001–02 สโมสรเข้ารอบชิงชนะเลิศยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ก่อนที่จะพ่ายต่อแอสตันวิลลา ต่อมาฤดูกาล 2002–03 พวกเขาได้เข้าแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และในฤดูกาล 2005–06 พวกเขาเข้ารอบแปดทีมสุดท้ายในรายการยูฟ่าคัพ บาเซิลได้เข้าร่วมการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกถึง 6 ครั้ง มากกว่าสโมสรสวิสอื่น ๆ และยังเป็นสโมสรเดียวที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบแบ่งกลุ่มอัตโนมัติ

ในฤดูกาล 2011–12 บาเซิลสร้างผลงานอันโดดเด่นในแชมเปียนส์ลีก พวกเขาผ่านเข้ารอบแพ้คัดออกจากการชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในบ้าน 2–1 จากรอบแบ่งกลุ่ม ต่อมาพวกเขาตกรอบโดยบาเยิร์นมิวนิกจากประตูรวม แม้ว่าพวกเขาจะชนะในบ้านก็ตาม ต่อมาฤดูกาล 2012–13 พวกเขาเข้ารอบรองชนะเลิศของยูฟ่ายูโรปาลีก ก่อนจะแพ้ต่อเชลซี ต่อมาในรอบแบ่งกลุ่ม ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2013–14 บาเซิลสามารถเอาชนะเชลซีได้ทั้งเหย้าและเยือน แม้ว่าจะตกรอบแบ่งกลุ่มก็ตาม และในฤดูกาลถัดมา พวกเขาอยู่กลุ่มเดียวกับสโมสรยักษ์ใหญ่อย่างเรอัลมาดริดและลิเวอร์พูล แต่ก็สามารถผ่านเข้ารอบแพ้คัดออกได้จากการบุกเสมอ 1–1 ที่แอนฟีลด์ นัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม แต่พวกเขาก็ตกรอบแพ้คัดออกโดยปอร์ตู

สนาม

[แก้]
ซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก ในตอนกลางคืน

สนามเหย้าของบาเซิลคือ ซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก จุคนได้ 37,500 ที่นั่ง[4] อยู่ในประเภท 4 ดาวจากยูฟ่า ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2001 ความจุแรกเริ่มคือ 33,433 ที่นั่ง ต่อมาได้ขยายอัฒจันทร์ส่วน G ทำให้มีความจุเพิ่มเป็น 42,500 ที่นั่ง ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 หลังจากที่จบรายการแข่งขันนี้ เก้าอี้บางตัวได้ถูกถอดออก ความจุจึงลดลงเหลือเพียง 37,500 ที่นั่ง[5] ชื่อเล่นของสนามแห่งนี้คือ "ยอกเกลี" สนามมีภัตตาคารสองแห่ง คือภัตตาคารยูโน และแฮตทริกสปอร์ตบาร์ และยังมีศูนย์การค้า เปิดในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 การเดินทาง มีที่จอดรถ 680 คัน และมีสถานีรถไฟ

ซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก เคยใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ทั้งหมด 6 นัด นัดที่สำคัญได้แก่ นัดเปิดสนามระหว่างเจ้าภาพ สวิตเซอร์แลนด์ พบกับ สาธารณรัฐเช็ก และรอบรองชนะเลิศ เยอรมนี พบกับ ตุรกี ลักษณะพิเศษของสนามอยู่ที่โครงสร้างโปร่งแสงที่สามารถเปลี่ยนสีได้ ต่อมาเอฟเฟกต์ได้ถูกนำไปใช้กับอัลลิอันซ์อาเรนาของบาเยิร์นมิวนิก

ก่อนที่ซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก จะถูกสร้างขึ้น บาเซิลเคยลงเล่นสนามเหย้าในแลนด์ฮอฟ และสนามกีฬาซังคท์. ยาค็อบ ซึ่งตั้งอยู่ที่เดียวกันกับซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก ในปัจจุบัน ช่วงที่กำลังก่อสร้างซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก นั้น บาเซิลต้องเล่นที่สนามเหย้าชั่วคราว Stadion Schützenmatte

ในปี ค.ศ. 2016 ซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก ใช้จัดแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ ระหว่างลิเวอร์พูลกับเซบิยา

ด้านในสนามซังคท์. ยาค็อบ-พาร์ก

เกียรติประวัติ

[แก้]

ในประเทศ

[แก้]
  • สวิสซูเปอร์ลีก
    • ชนะเลิศ (20): 1952–53, 1966–67, 1968–69, 1969–70, 1971–72, 1972–73, 1976–77, 1979–80, 2001–02, 2003–04, 2004–05, 2007–08, 2009–10, 2010–11, 2011–12, 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2015–16, 2016–17
  • สวิสคัพ
    • ชนะเลิศ (12): 1932–33, 1946–47, 1962–63, 1966–67, 1974–75, 2001–02, 2002–03, 2006–07, 2007–08, 2009–10, 2011–12, 2016–17
  • สวิสลีกคัพ
    • ชนะเลิศ (1): 1972

นานาชาติ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Liverpool v FC Basle". The Guardian. 26 September 2002. สืบค้นเมื่อ 24 August 2014.
  2. "FC Basle fan Roger Federer predicts 2–1 defeat for Chelsea". Sunday Express. 24 April 2014. สืบค้นเมื่อ 24 August 2014.
  3. "FC Basle vs Chelsea: live". The Telegraph. 25 April 2013. สืบค้นเมื่อ 24 August 2014.
  4. "Figures and facts". FC Basel 1893. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2012. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  5. www.baselunited.ch เก็บถาวร 6 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]