สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (21 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ไทย
10 ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี2,281.0593 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร, ปลัดกระทรวง
  • ยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา, รองปลัดกระทรวง
  • โชติกา อัครกิจโสภากุล, รองปลัดกระทรวง
  • ฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ, ผู้ช่วยปลัดกระทรวง
  • สุภัทร กิจเวช, ผู้ช่วยปลัดกระทรวง
เว็บไซต์http://www.m-culture.go.th

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงวัฒนธรรม กำกับดูแลหน่วยงานระดับกรมในสังกัด ตลอดจนนิเทศ ติดตาม และบังคับบัญชาสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ[2]

ประวัติ[แก้]

วันที่ 12 มีนาคม 2495 มีการสถาปนากระทรวงวัฒนธรรมขึ้น[3] โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาลในเดือนกันยายน 2500 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ถึงพุทธศักราช 2501 เกิดภาวะผันแปรทางการเมือง กระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบ โดยลดฐานะเป็นกองวัฒนธรรม สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมการศาสนาตามลำดับ จนถึงพุทธศักราช 2522 จึงจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้น มีฐานะเทียบเท่ากรม

ต่อมารัฐบาลจึงได้สถาปนากระทรวงวัฒนธรรมขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 โดยมีภารกิจสำคัญครอบคลุมงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม[4]

หน่วยงานส่วนกลาง[แก้]

กลุ่มรายงานตรงปลัดกระทรวง[แก้]

  • กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
  • ศูนย์ปฏิบัติการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ 1765 สายด่วนวัฒนธรรม
  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสารประจำกระทรวงวัฒนธรรม

กองกลาง[แก้]

  • กลุ่มอำนวยการและประสานราชการ
  • กลุ่มบริหารงานบุคคล
  • กลุ่มสรรหาและทะเบียนประวัติ
  • กลุ่มพัฒนาบุคลากร
  • กลุ่มคลังและพัสดุ
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายและประสานราชการภูมิภาค
  • กลุ่มพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มบริหารงานอาคาร สถานที่และยานพาหนะ

กองยุทธศาตร์และแผนงาน[แก้]

  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์
  • กลุ่มแผนและงบประมาณ
  • กลุ่มเลขานุการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • กลุ่มเลขานุการคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
  • กลุ่มประชาสัมพันธ์
  • กลุ่มขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (กลุ่ม ป.ย.ป.) ในกระทรวงวัฒนธรรม

กองการต่างประเทศ[แก้]

  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มความร่วมมือทวิภาคี
  • กลุ่มความร่วมมือพหุภาคี
  • กลุ่มพัฒนาข้อมูลและส่งเสริมเครือข่าย
  • กลุ่มความร่วมมืออาเซียน

กองเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม[แก้]

  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
  • กลุ่มพัฒนาสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์

กองตรวจราชการ[แก้]

  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มประเมินผล
  • กลุ่มวางแผนและพัฒนาระบบการตรวจราชการ
  • กลุ่มรับเรื่องร้องเรียนและกิจการพิเศษ

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[แก้]

  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ
  • กลุ่มระบบฐานข้อมูล
  • กลุ่มบริหารเครือข่ายและบริการคอมพิวเตอร์

กองกฎหมาย[แก้]

  • ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
  • กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบ
  • กลุ่มงานวินัย งานอุทธรณ์ งานร้องทุกข์และร้องเรียน

กองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน[5][แก้]

  • กลุ่มอำนวยการ
  • กลุ่มแผนและงบประมาณงานพิธี
  • กลุ่มติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานพิธี
  • กลุ่มฝึกอบรมการปฏิบัติงานพิธี
  • กลุ่มปฏิบัติพิธีการส่วนหน้า
  • กลุ่มพัสดุงานพิธี
  • กลุ่มบุคลากรงานพิธี
  • กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานกรุงเทพมหานคร

หน่วยงานส่วนภูมิภาค[แก้]

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด[แก้]

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เป็นส่วนราชการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ตั้งอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทอำนวยการ ระดับสูง (ยกเว้นจังหวัดบึงกาฬ ที่เป็นประเภทอำนวยการ ระดับต้น) ตำแหน่ง "วัฒนธรรมจังหวัด" แบ่งส่วนภายในสำนักงาน ดังนี้

  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
  • กลุ่มยุทธศาสตร์ และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน
  • กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ ๑ - ๑๕ (เฉพาะจังหวัดนนทบุรี สิงห์บุรี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง พิษณุโลก เชียงใหม่ พะเยา อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี พังงา และสงขลา)
  • กลุ่มกิจการพิเศษ

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด มีข้าราชการพลเรือนสามัญ ปฏิบัติราชการในระดับจังหวัด ส่วนใหญ่มีชื่อเรียกตำแหน่งว่า "นักวิชาการวัฒนธรรม"

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด มีเครือข่ายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม เช่น สภาวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมอำเภอ สภาวัฒนธรรมตำบล สภาวัฒนธรรมชาติพันธุ์ สมาคมศิลปิน ชุมชนคุณธรรม (ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วพลุง "บวร" (วัด/ศาสนสถาน, บ้าน/ผู้นำชุมชน, โรงเรียน/สถานศึกษา/ราชการ) องค์กรคุณธรรม อำเภอคุณธรรม จังหวัดคุณธรรม เครือข่ายศาสนาทั้ง ๕ ศาสนา (พุทธ, ครีสต์, อิสลาม, พราหมณ์-ฮินดู, ซิกส์) ฯลฯ

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ราชกิจจานุเบกษา. (มปป.). กระทรวงวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. (เข้าถึงเมื่อ: 2 มกราคม 2556).
  3. ราชกิจจานุเบกษา. (มปป.). กระทรวงวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. (เข้าถึงเมื่อ: 2 มกราคม 2556).
  4. กฎกระทรวง. (มปป.). กระทรวงวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3] เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 2 มกราคม 2556).
  5. วธ.แนะกองพิธีการศพสกัดโควิด

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]