ข้ามไปเนื้อหา

สรีรวิทยาไต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สรีรวิทยาไต เป็นการศึกษาสรีรวิทยาของไต อันครอบคลุมการทำหน้าที่ทุกอย่างของไต รวมถึงการดูดซึมกลับซึ่งกลูโคส กรดอะมิโน และสารโมเลกุลเล็กอื่น การกำกับแร่ธาตุโซเดียม โพแทสเซียมและอิเล็กโทรไลต์อื่น การกำกับสมดุลของเหลวและความดันเลือด การธำรงสมดุลกรด-เบส การผลิตฮอร์โมนหลายชนิด รวมถึงอีรีโทรปอยอีติน และการปลุกฤทธิ์วิตามินดี

สรีรวิทยาไตส่วนมากศึกษาที่ระดับหน่วยไต อันเป็นหน่วยทำหน้าที่เล็กที่สุดของไต แต่ละหน่วยเริ่มต้นด้วยส่วนกรองซึ่งกรองเลือดที่เข้าสู่ไต ของเหลวที่กรองได้จะไหลตามความยาวของหน่วยไต ซึ่งเป็นโครงสร้างรูปท่อบุด้วยเซลล์ที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะชั้นเดียวและล้อมรอบด้วยหลอดเลือดฝอย หน้าที่หลักของเซลล์บุเหล่านี้ คือ การดูดน้ำและสารโมเลกุลเล็กจากของเหลวที่กรองได้กลับเข้าสู่เลือด และหลั่งของเสียจากเลือดออกมาเป็นปัสสาวะ

การทำหน้าที่ที่เหมาะสมของไตจำเป็นต้องได้รับและกรองเลือดอย่างเพียงพอ การกรองเกิดขึ้นในระดับที่เห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยหน่วยกรองหลายแสนหน่วย เรียก เม็ดไต (renal corpuscle) ซึ่งแต่ละหน่วยประกอบด้วยโกลเมอรูลัสและโบว์แมนแคปซูล การประเมินการทำหน้าที่ของไตสากลมักใช้การประมาณอัตราการกรอง เรียก อัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate; GFR)

หน้าที่ของไต

[แก้]

หน้าที่ของไตสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ การหลั่งฮอร์โมน การสร้างกลูโคส (gluconeogenesis) และภาวะธำรงดุลนอกเซลล์ของ pH และองค์ประกอบของเลือด หน่วยไตเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ของไต

การหลั่งฮอร์โมน

[แก้]

การสร้างกลูโคส

[แก้]

ไตในมนุษย์สามารถผลิตกลูโคสได้จากแลกเตด กลีเซอรอลและกลูตามีน ไตรับผิดชอบการสร้างกลูโคสเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดในมนุษย์ที่อดอาหาร การกำกับการผลิตกลูโคสในไตเป็นฤทธิ์ของอินซูลิน แคตีโคลามีนและฮอร์โมนอื่น การสร้างกลูโคสของไตเกิดขึ้นในไตส่วนนอก ส่วนไตส่วนในไม่สามารถผลิตกลูโคสได้เนื่องจากขาดเอ็นไซม์ที่จำเป็น

ภาวะธำรงดุลนอกเซลล์

[แก้]

ไตรับผิดชอบต่อการรักษาสมดุลของสารต่อไปนี้

สาร คำอธิบาย หลอดไตส่วนต้น ห่วงเฮนเล หลอดไตส่วนปลาย ท่อรวม
กลูโคส หากกลูโคสไม่ถูกไตดูดซึมกลับ กลูโคสจะปรากฏในปัสสาวะ เป็นภาวะปัสสาวะมีน้ำตาล ซึ่งสัมพันธ์กับเบาหวาน[1] การดูดซัมกลับ (เกือบ 100%) ผ่าน โปรตีนขนส่งโซเดียม-กลูโคส[2] (ยอด) และ GLUT (ฐานข้าง)
โอลิโกเปปไทด์, โปรตีน, และกรดอะมิโน ทั้งหมดถูกดูดซึมกลับแทบทั้งหมด[3] การดูดซึมกลับ
ยูเรีย การกำกับออสโมแลลิตี แปรผันตาม ADH[4][5] การดูดซึมกลับ (50%) โดย การลำเลียงแบบไม่ใช้พลังงาน การหลั่ง การดูดซึมกลับในท่อรวมส่วนนอก
โซเดียม ใช้ แอนตีพอร์ต Na-H, ซิมพอร์ต Na-กลูโคส, ช่องไอออนโซเดียม (เล็กน้อย)[6] การดูดซึมกลับ (65%, ออสโมลเสมอ) การดูดซึมกลับ (25%, ส่วนขึ้นหนา, ซิมพอร์ต Na-K-2Cl) การดูดซึมกลับ (5%, ซิมพอร์ตโซเดียม-คลอไรด์) การดูดซึมกลับ (5%, เซลล์พรินซิพอล), กระตุ้นโดย อัลโดสเตอโรน ผ่าน ENaC
คลอไรด์ มักตามโซเดียม ใช้พลังงาน (ผ่านเซลล์) และไม่ใช้พลังงาน (ข้างเซลล์) [6] การดูดซึมกลับ การดูดซึมกลับ (ส่วนขึ้นบาง, ส่วนขึ้นหนา, ซิมพอร์ต Na-K-2Cl) การดูดซึมกลับ (ซิมพอร์ตโซเดียม-คลอไรด์)
น้ำ ใช้ช่องน้ำเอควาพอริน ดูเพิ่มที่ การขับปัสสาวะ การดูดตามออสโมติกร่วมกับสารละลาย การดูดซึมกลับ (ส่วนลง) การดูดซึมกลับ (กำกับโดย ADH ผ่าน ตัวรับอาร์จินีนวาโซเพรสซิน 2)
ไบคาร์บอเนต ช่วยรักษาสมดุลกรด-เบส[7] การดูดซึมกลับ (80–90%) [8] การดูดซึมกลับ (ส่วนขึ้นหนา) [9] การดูดซึมกลับ (เซลล์แทรก ผ่าน แบนด์ 3 และ เพนดริน)
โปรตอน ใช้ โปรตอนเอทีพีเอสช่องว่าง การหลั่ง (เซลล์แทรก)
โพแทสเซียม แปรผันตามความต้องการอาหาร การดูดซึมกลับ (65%) การดูดซึมกลับ (20%, ส่วนขึ้นหนา, ซิมพอร์ต Na-K-2Cl) การหลั่ง (พบมาก, ผ่าน Na+/K+- เอทีพีเอส, เพิ่มขึ้นโดย อัลโดสเตอโรน), หรือการดูดซึมกลับ (พบน้อย, ไฮโดรเจนโพแทสเซียมเอทีพีเอส)
แคลเซียม ใช้แคลเซียมเอทีพีเอส, ตัวแลกโซเดียม-แคลเซียม การดูดซึมกลับ การดูดซึมกลับ (ส่วนขึ้นหนา) ผ่านการลำเลียงแบบไม่ใช้พลังงาน การดูดซึมกลับสนองต่อ PTH และ ↑ การดูดซึมกลับด้วยยาขับปัสสาวะไทอะไซด์
แมกนีเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียมแย่งกัน และส่วนเกินของธาตุหนึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งอีกธาตุหนึ่ง การดูดซึมกลับ การดูดซึมกลับ (ส่วนขึ้นหนา) การดูดซึมกลับ
ฟอสเฟต ขับออกในรูปกรดไทเทรตได้ การดูดซึมกลับ (85%) โดย ตัวส่งร่วมโซเดียม/ฟอสเฟต[2] ยับยั้งโดย ฮอร์โมนพาราไทรอยด์
คาร์บอกซิเลต การดูดซึมกลับ (100%[10]) ผ่าน ตัวส่งคาร์บอกซิเลต

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sect. 7, Ch. 6: Characteristics of Proximal Glucose Reabsorption. lib.mcg.edu
  2. 2.0 2.1 Sect. 7, Ch. 5: Cotransport (Symport). lib.mcg.edu
  3. Sect. 7, Ch. 6: Proximal Reabsorption of Amino Acids: Site of Reabsorption. lib.mcg.edu
  4. Sect. 7, Ch. 6: Proximal Reabsorption of Urea. lib.mcg.edu
  5. V. Excretion of Organic Molecules. lib.mcg.edu
  6. 6.0 6.1 "VI. Mechanisms of Salt & Water Reabsorption". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-10. สืบค้นเมื่อ 2014-07-03.
  7. Sect. 7, Ch. 6: Proximal Reabsorption of Bicarbonate. lib.mcg.edu
  8. Sect. 7, Ch. 12: Proximal Tubular Reabsorption of Bicarbonate. lib.mcg.edu
  9. Sect. 7, Ch. 12: Bicarbonate Reabsorption, Thick Limb of Henle’s Loop. lib.mcg.edu
  10. Walter F., PhD. Boron (2005). Medical Physiology: A Cellular And Molecular Approaoch. Elsevier/Saunders. ISBN 1-4160-2328-3. Page 799