ไซโทซอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไซโตซอล)
ไซโตซอลเป็นกลุ่มของสารละลายชนิดต่างๆกันที่อยู่ในเซลล์ [1]
ชีววิทยาเซลล์
เซลล์สัตว์
องค์ประกอบของเซลล์สัตว์โดยทั่วไป:
  1. นิวคลีโอลัส
  2. นิวเคลียส
  3. ไรโบโซม (จุดเล็ก ๆ)
  4. เวสิเคิล
  5. ร่างแหเอนโดพลาสมิกแบบขรุขระ
  6. กอลไจแอปพาราตัส (หรือ กอลไจบอดี)
  7. ไซโทสเกเลตัน
  8. ร่างแหเอนโดพลาสมิกแบบเรียบ
  9. ไมโทคอนเดรียน
  10. แวคิวโอล
  11. ไซโทซอล (ของเหลวที่บรรจุออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นไซโทพลาสซึม)
  12. ไลโซโซม
  13. เซนโทรโซม
  14. เยื่อหุ้มเซลล์

ไซโตซอล หรือของเหลวภายในเซลล์ (cytosol หรือ intracellular fluid หรือ cytoplasmic matrix) เป็นของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ ในยูคาริโอตส่วนนี้จะแยกออกจากส่วนของออร์แกเนลล์ด้วยเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ ต่างจากไซโทพลาสซึม ซึ่งหมายถึงส่วนต่างๆที่อยู่ข้างในเยื่อหุ้มเซลล์ ไม่รวมนิวเคลียส ในโปรคาริโอต ปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่เกิดในไซโตซอล ส่วนน้อยเกิดที่ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์ที่ม้วนพับไปมา

ไซโตซอลเป็นองค์ประกอบที่ซับซ้อนของสารต่างๆที่ละลายในน้ำ ความเข้มข้นของไอออนเช่นโซเดียมและโพแทสเซียมในไซโตซอลจะต่างจากของเหลวนอกเซลล์ ซึ่งความแตกต่างนี้เป็นมาจากการควบคุมแรงดันออสโมติกของเซลล์ และการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ นอกจากนั้นในไซโตซอลยังมีสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ล่องลอยอยู่ซึ่งสารเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสารขนาดเล็กกว่า

ความเข้มข้นโดยทั่วไปของไอออนในไซโตซอลของเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและในเลือด [2]
Ion  ความเข้มข้นในไซโตซอล(มิลลิโมลาร์)   ความเข้มข้นในเลือด(มิลลิโมลาร์) 
 โพแทสเซียม   139   4 
 โซเดียม   12   145 
 คลอไรด์   4   116 
 ไบคาร์บอเนต   12   29 
 กรดอะมิโนในโปรตีน   138   9 
 แมกนีเซียม   0.8   1.5 
 แคลเซียม   <0.0002   1.8 

ภายในไซโตซอลเองยังมีระดับความเข้มข้นที่ต่างกันภายในไซโตซอลของเซลล์เดียวกัน เช่นความเข้มข้นของแคลเซียม กลุ่มของโปรตีนและเอนไซม์ที่รวมกันทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆในเมตาบอลิซึม จะทำให้เกิดส่วนปิดและแยกต่างหากออกจากไซโตซอลได้ เช่น โปรทีเอโซม และคาร์บอกซีโซม

คาร์บอกซีโซม เป็นส่วนของโปรตีนที่หุ้มส่วนย่อยๆภายในไซโตซอล ของเซลล์แบคทีเรีย(ซ้าย)เป็นภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน(ขวา) แบบจำลองโครงสร้างของคาร์บอกซีโซม

อ้างอิง[แก้]

  1. Goodsell DS (June 1991). "Inside a living cell". Trends Biochem. Sci. 16 (6): 203–6. doi:10.1016/0968-0004(91)90083-8. PMID 1891800.
  2. Lodish, Harvey F. (1999). Molecular cell biology. New York: Scientific American Books. ISBN 0-7167-3136-3. OCLC 174431482.

ดูเพิ่ม[แก้]