ข้ามไปเนื้อหา

สมัยฝูหรงเจียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัยฝูหรงเจียน
~497 – ~485.4 ± 1.9 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
อนุมัติชื่อ2546
ชื่อเดิมหินสมัยแคมเบรียน 4
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีการของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาสมัย
หน่วยลำดับชั้นหินหินสมัย
เสนอครั้งแรกโดยชานชีและคณะ 2545[2]
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์กลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส
ขอบล่าง GSSPแหล่งไผบี้ เมืองไผบี้ มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
28°23.37′N 109°31.54′E / 28.38950°N 109.52567°E / 28.38950; 109.52567
การอนุมัติ GSSP2546[3]
คำนิยามขอบบนระดับอ้างอิงปรากฏแรกของโคโนดอนต์ยาเปโตกนาทุส ฟลุกทีวากุส
ขอบบน GSSPแหล่งกรีนพอยท์ รัฐนิวฟันด์แลนด์ ประเทศแคนาดา
49°40′58″N 57°57′55″W / 49.6829°N 57.9653°W / 49.6829; -57.9653
การอนุมัติ GSSP2543[4]

ฝูหรงเจียน (อังกฤษ: Furongian) เป็นสมัยและหินสมัยที่สี่และสุดท้ายของยุคแคมเบรียน มีช่วงเวลาอยู่ระหว่าง 497 ถึง 485.4 ล้านปีก่อน สืบต่อมาจากหินสมัยเมียวลิงเจียนของยุคแคมเบรียน และอยู่ก่อนหินช่วงอายุเทรมาโดเชียนของหินสมัยออร์โดวิเชียนตอนต้น หินสมัยฝูหรงเจียนถูกแบ่งออกเป็นสามหินช่วงอายุ ได้แก่ ไผเบียน, เจียงซานเนียน และหินช่วงอายุแคมเบรียน 10 ซึ่งยังไม่มีชื่อ[5]

ประวัติและการตั้งชื่อ

[แก้]

ฝูหรงเจียนหรือที่รู้จักกันในนามหินสมัยแคมเบรียน 4 เป็นชื่อที่มาแทนที่คำว่าหินสมัยแคมเบรียนตอนบน (Upper Cambrian) ซึ่งมีความหมายเทียบเท่ากับคำท้องถิ่นว่า หูหนานเนียน (Hunanian) ชื่อนี้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการลำดับชั้นหินสากลในปี 2547 คำว่า "ฝูหรง" (芙蓉 Fúróng) ในภาษาจีนกลางหมายถึง 'ดอกบัว' ซึ่งสื่อถึงมณฑลหูหนานซึ่งรู้จักกันในนาม "มณฑลดอกบัว"[3]

นิยาม

[แก้]

ขอบเขตล่างถูกกำหนดในลักษณะเดียวกับจุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลกของหินช่วงอายุไผเบียน โดยทั้งสองเริ่มต้นจากการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์กลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส (Glyptagnostus reticulatus) ประมาณ 497 ล้านปีก่อน[6] ขอบเขตบนคือขอบเขตล่างและขอบเขตล่างถูกกำหนดในลักษณะเดียวกับจุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลกของหินช่วงอายุเทรมาโดเชียน ซึ่งเป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของโคโนดอนต์ยาเปโตกนาทุส ฟลุกทีวากุส (Iapetognathus fluctivagus) ประมาณ 485.4 ล้านปีก่อน[7]

การแบ่งย่อย

[แก้]

สมัย/หินสมัยฝูหรงเจียนแบ่งออกได้เป็นดังนี้[5]

สมัย / หินสมัย ช่วงอายุ / หินช่วงอายุ ขอบล่างของช่วงอายุ (ล้านปีก่อน)
ออร์โดวิเชียนตอนต้น/ตอนล่าง
โฟลเอียน 477.7
เทรมาโดเชียน 485.4
ฝูหรงเจียน
หินช่วงอายุ 10 489.5
เจียงชานเนียน 494
ไผเบียน 497
เมียวลิงเจียน
กูจางเจียน 500.5
ดรูเมียน 504.5
อูลิวอัน 509

การลำดับชั้นหินตามชีวภาพ

[แก้]

ฐานของสองจากสามหินช่วงอายุของฝูหรงเจียนถูกกำหนดจากการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์ ฐานของหินช่วงอายุไผเบียนคือการปรากฏตัวครั้งแรกของกลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส (Glyptagnostus reticulatus) และฐานของหินช่วงอายุเจียงชานเนียนเป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของแอกโนสโตโตส โอเรียนทัลลิิส (Agnostotes orientalis)[3][8] ส่วนหินช่วงอายุแคมเบรียน 10 ซึ่งยังไม่มีชื่ออาจถูกกำหนดจากการปรากฏตัวครั้งแรกของโลทักโนสตุส อเมริกานุส (Lotagnostus americanus) หรือโคโนดอนต์อีโอโคโนดอนตุส โนชพีเคนซิส (Eoconodontus notchpeakensis)[9]

ฝูหรงเจียนสามารถแบ่งออกเป็นเขตไทรโลไบต์หลายเขต ดังนี้

หินสมัย หินช่วงอายุ เขตไทรโลไบต์ ไทรโลไบต์ที่เป็น GSSP
ฝูหรงเจียน หินช่วงอายุ 10 เขตซาวเกีย (ส่วนบน), เขตยูเรเกีย อะพ็อพซิส, เขตถังชานาสพิส, เขตพาราโกลดินิออยเดีย, เขตซิมฟีซูรินา[9] โลทักโนสตุส อเมริกานุส (ยังไม่ได้ตัดสิน)
เจียงชานเนียน เขตเอลลิพโซเซฟาโลอีเดส, เขตซาวเกีย (ส่วนล่าง)[9] แอกโนสโตโตส โอเรียนทัลลิิส
ไผเบียน ? (?) กลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส
เขตอะฟีลาสพิส[10]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

ในช่วงต้นสมัยฝูหรงเจียน การสูญพันธุ์ในช่วงอายุกูจางเจียน-ไผเบียนสิ้นสุดลง ความหลากหลายของสปีชีส์ซึ่งลดลงไป 45% กลับคืนสู่ระดับเดิมในช่วงต้นของช่วงอายุเจียงชานเนียน การสูญพันธุ์ในช่วงอายุเจียงชานเนียนซึ่งลดความหลากหลายของสปีชีส์ลงไป 55.2% ตามมาด้วยช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของความหลากหลายของสปีชีส์เพียงเล็กน้อย ซึ่งสิ้นสุดลงไม่นานหลังจากเริ่มต้นยุคออร์โดวิเชียน[11]

การเปลี่ยนแปลงของไอโซโทปคาร์บอนเชิงบวกสเต็ปโตอีโออัน (SPICE) เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับขอบเขตของสมัยเมียวลิงเจียน-ฝูหรงเจียน (และขอบเขตของช่วงอายุกูจางเจียน-ไผเบียน ตามลำดับ)[12] เหตุการณ์นี้ได้รับการบันทึกในทวีปโบราณแทบทุกแห่งในช่วงแคมเบรียน แต่สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ได้รับการทำความเข้าใจอย่างครบถ้วน มีข้อสันนิษฐานว่าสามารถเชื่อมโยงกับซอกเมกะซีเควนซ์ (Sauk megasequence) ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล การลดลงของออกซิเจน หรือการเกิดสภาพน้ำทะเลดำ (euxinia) หรือการหมุนเวียนของไทรโลไบต์ไบโอเมียร์[12]

จากสมัยฝูหรงเจียนจนถึงยุคออร์โดวิเซียนตอนต้น ระหว่าง 495-470 ล้านปีก่อน เหตุการณ์การก่อตัวของพลัมจากเนื้อโลก (mantle plume) ซึ่งรู้จักกันในชื่อเหตุการณ์การก่อตัวของหินแมกมาโอลโล เดอ ซาโป (Ollo de Sapo) เกิดขึ้นในดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาทวีปกอนด์วานา ซึ่งปัจจุบันคือคาบสมุทรไอบีเรีย[13]

บรรพชีวินวิทยา

[แก้]

นักวิจัยได้สังเกตว่ามีสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนและขนาดใหญ่ที่มีชีวิตอยู่ระหว่างการระเบิดของชีวิตในยุคแคมเบรียน (Cambrian Explosion) และเหตุการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพในยุคออร์โดวิเดียน (Great Ordovician Biodiversification Event) ที่ยังไม่ได้รับการค้นพบ[14] ในปี 2562 ช่วงเวลานี้ได้รับการตั้งชื่อว่า "ช่องว่างด้านความหลากหลายทางชีวภาพในสมัยฝูหรงเจียน" (Furongian Biodiversity Gap) โดยฮาร์เปอร์และคณะ ช่องว่างนี้ถูกระบุว่าอาจเกิดจากการขาดแคลนหิน เหตุการณ์ทางสิ่งแวดล้อม หรือบรรพภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงในตอนท้ายของยุคแคมเบรียน อย่างไรก็ตาม การทบทวนวรรณกรรมและสถานที่ที่มีการค้นพบหินยุคแคมเบรียนแสดงให้เห็นว่า ช่องว่างนี้เกิดจากการขาดแคลนของการค้นพบหินสมัยฝูหรงเจียนในพื้นที่ที่ได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอ รวมถึงการขาดความสนใจต่อซากดึกดำบรรพ์ในช่วงเวลานี้[15] การค้นพบหินสมัยฝูหรงเจียนในตอนใต้ของจีนในภายหลังได้ทำให้มีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการลำดับชั้นหินตามชีวภาพ และความผันผวนในความหลากหลายของสปีชีส์ในสมัยนี้[11]

มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์และแอกโนสตอยจำนวน 8,502 ตัวอย่างจากหินสมัยฝูหรงเจียนของหมวดหินหินดินดานอลัม บนเกาะบอร์นโฮล์ม ประเทศเดนมาร์ก สกุลที่ได้รับการบรรยายนี้รวมถึง เตโนไพจ (Ctenopyge), ยูรีคาร์ (Eurycare), เลพทอพลาสตุส (Leptoplastus), โอเลนุส (Olenus), พาราโบลินา (Parabolina), เพลทูรา (Peltura), โพรโทเพลทูรา (Protopeltura), สฟาเอโรฟทาลมุส (Sphaerophthalmus), โลตักโนสตุส (Lotagnostus) และ ไทรแองกูโลจิฟ (Triangulopyge)[16] แกรพโตไลต์อยู่ก้นท้องน้ำรวมถึงสกุล ราบโอพลูรา (Rhabdopleura), เดนโดรแกรพตุส (Dendrograptus), คาลโลแกรพตุส (Callograptus) และ ไซบีรีโอแกรพตุส (Siberiograptus) ถูกพบในตะกอนสมัยฝูหรงเจียนในตอนใต้ของจีน[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
  2. Shanchi, Peng; Babcock, Loren; Robinson, Richard; Huanling, Lin; Rees, Margaret; Saltzman, Matthew. "PROPOSED GLOBAL STANDARD STRATOTYPE-SECTION AND POINT FOR THE PAIBIAN STAGE AND FURONGIAN SERIES (UPPER CAMBRIAN)" (PDF). International Subcomission on Cambrian Stratigraphy. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-25. สืบค้นเมื่อ 2024-04-14.
  3. 3.0 3.1 3.2 Peng, S. C.; Babcock, L. E.; Robison, R. A.; Lin, H. L.; Rees, M. N.; Saltzman, M. R. (2004). "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) of the Furongian Series and Paibian Stage (Cambrian)" (PDF). Lethaia. 37 (4): 365–379. Bibcode:2004Letha..37..365P. doi:10.1080/00241160410002081. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-08. สืบค้นเมื่อ 2024-04-14.
  4. Cooper, Roger; Nowlan, Godfrey; Williams, S. H. (March 2001). "Global Stratotype Section and Point for base of the Ordovician System" (PDF). Episodes (ภาษาอังกฤษ). 24 (1): 19–28. doi:10.18814/epiiugs/2001/v24i1/005. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-25. สืบค้นเมื่อ 2024-04-14.
  5. 5.0 5.1 "GSSP Table - Paleozoic Era" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-08.
  6. "GSSP for the Paibian". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-26. สืบค้นเมื่อ 2024-04-14.
  7. "GSSP for the Cambrian - Ordovician Boundary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2024-04-14.
  8. "GSSP for Jiangshanian" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-04-14.
  9. 9.0 9.1 9.2 Landing, E.; Westrop, S.R.; Adrain, J.M. (19 September 2011). "The Lawsonian Stage - the Eoconodontus notchpeakensis FAD and HERB carbon isotope excursion define a globally correlatable terminal Cambrian stage" (PDF). Bulletin of Geosciences: 621–640. doi:10.3140/bull.geosci.1251. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-29.
  10. David R. Schwimmer, William M. Montante. "An Aphelaspis zone (Upper Cambrian, paibian) trilobite faunule in the central conasauga River Valley, North Georgia, USA". Southeastern Geology (ภาษาอังกฤษ). 49 (1): 31–41. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-07.
  11. 11.0 11.1 Yiying Deng, Junxuan Fan, Shengchao Yang, Yukun Shi, Zhengbo Lu, Huiqing Xu, Zongyuan Sun, Fangqi Zhao, Zhangshuai Hou (2023). "No Furongian Biodiversity Gap: Evidence from South China". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology (ภาษาอังกฤษ). 618 (1): 111492. Bibcode:2023PPP...61811492D. doi:10.1016/j.palaeo.2023.111492.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 Guangying Ren, Mikaela A. Pulsipher, James D. Schiffbauer, Jin-Liang Yuan, Ying Guo, Chao Chang, Fanwei Meng, Yan Zhao, Jian Gao (2021). "A contiguous record of the SPICE event, sea-level change and the first appearance of Fenghuangella laevis in Shandong Province, North China". Lethaia (ภาษาอังกฤษ). 54 (5): 1—12. Bibcode:2021Letha..54..631R. doi:10.1111/let.12425.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Josep Maria Casas, J. Brendan Murphy, Teresa Sanchez-Garcia, Jacques de Poulpiquet, José-Javier Alvaro, A. Díez-Montes, Joan Guimerà (2023). "Does the Ollo de Sapo magmatic event support Furongian-Tremadocian mantle plume activity fringing NW Gondwana?". International Geology Review (ภาษาอังกฤษ). 66 (10): 1956–1970. doi:10.1080/00206814.2023.2263787.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. Rudy Lerosey-Aubril, Stacey Gibb, John Paterson, Brian D. E. Chatterton (2016). "Late Cambrian (Furongian) exceptional fossils from McKay Group of British Columbia, Canada". Conference: Palaeontology Down Under 2 (ภาษาอังกฤษ). Adelaide, Australia.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. David A.T. Harper, Borja Cascales-Miñana, Yuan-Dong Zhang, Timothy Topper, Thomas Servais, Per Ahlberg (2019). "The Furongian (late Cambrian) Biodiversity Gap: Real or apparent". Palaeoworld (ภาษาอังกฤษ). 28 (1–2): 4—12. doi:10.1016/j.palwor.2019.01.007.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Arne Thorshøj Nielsen, Line Frigaard Andersen (2021). "Furongian (upper Cambrian) trilobites and agnostoids from the Alum Shale Formation of Bornholm, Denmark: revised taxonomy and biostratigraphy" (PDF). Bulletin of the Geological Society of Denmark (ภาษาอังกฤษ). 69: 123–213. doi:10.37570/bgsd-2021-69-08. ISSN 2245-7070. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-26.
  17. Jörg Maletz, Xuejian Zhu, Yuan-Dong Zhang (2022). "Graptolithina from the Guole Biota (Furongian, upper Cambrian) of South China". Palaeoworld (ภาษาอังกฤษ). 31 (8): 582—590. doi:10.1016/j.palwor.2022.03.002.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]