ข้ามไปเนื้อหา

สนามบินเลิงนกทา

พิกัด: 16°09′21.9″N 104°35′22.9″E / 16.156083°N 104.589694°E / 16.156083; 104.589694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามบินเลิงนกทา
รันเวย์สนามบินเลิงนกทา
ข้อมูลสำคัญ
เจ้าของกรมการบินพลเรือน[ต้องการอ้างอิง]
ที่ตั้งอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
พิกัด16°09′21.9″N 104°35′22.9″E / 16.156083°N 104.589694°E / 16.156083; 104.589694
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
03/21 1,500 แอสฟอลต์

สนามบินเลิงนกทา (อังกฤษ: Loeng Nok Tha Airport) ตั้งอยู่ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (ถนนชยางกูร) พื้นที่ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร มีพื้นที่กว่า 5,700 ไร่ ทั้งนี้ โดยกองทัพบกได้สงวนไว้ใช้ในราชการ 640 ไร่เศษ มีความยาวรันเวย์ตามสถานที่เดิม 1,500 เมตร หากจะขยายความกว้างของรันเวย์เป็น 300 เมตร จะล้ำเข้าไปในเขตเช่าที่ของประชาชน 19 ราย พื้นที่ประมาณ 187 ไร่ และหากมีการขยายทางยาวของรันเวย์ขึ้นไปทางทิศเหนืออีก 1,000 เมตร เป็นระยะทางยาว 2,500 เมตร จะล้ำเข้าไปในเขตเช่าที่ของราชพัสดุอีก 14 ราย พื้นที่ประมาณ 120 ไร่เศษ เมื่อสนามบินมีทางยาวของรันเวย์ 2,500 เมตร ความกว้าง 300 เมตร จะล้ำเข้าไปในพื้นที่เช่าของราชพัสดุจำนวน 33 ราย พื้นที่ประมาณ 307 ไร่ หากรัฐบาลต้องการจะใช้พื้นที่พัฒนาเป็นสนามบินพาณิชย์สามารถดำเนินการได้ทันที

ประวัติการก่อสร้าง

[แก้]

สนามบินเลิงนกทา สร้างขึ้นโดยทหารสหรัฐอเมริการ่วมกับพันธมิตรอังกฤษ , ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในสมัยสงครามเวียดนาม เริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน 2506 ใช้เวลา 3 ปี จึงดำเนินการแล้วเสร็จ เดิมชื่อสนาม Crown Airfield รันเวย์เป็นพื้นคอนกรีตยาว 1,530 เมตร มีหัวท้ายเป็นแอสฟัลต์ด้านละ 150 เมตร  ความกว้างของรันเวย์ 40 เมตร ว่ากันว่า สมัยสงครามเวียดนาม สหรัฐได้สร้างสนามบินสำรองเอาไว้หลายแห่ง ทั้งในไทยและลาว เพื่อให้เครื่องบินที่ถูกยิงขัดข้อง ได้ลงจอดในสนามบินที่ใกล้ที่สุด และใช้ประโยชน์ในการลำเลียงยุทธภัณฑ์สงคราม ไม่ไกลจากสนามบินโคกตลาด ก็มีการสร้างฐานเรดาร์ขึ้นบนยอดภูหมู ซึ่งวันนี้แปรสภาพเป็น "วนอุทยานภูหมู" อยู่ในพื้นที่ อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร 50 กว่าปีที่แล้ว ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด (ยโสธร-อำนาจเจริญ-มุกดาหาร) เป็นพื้นที่สีแดง มีการเคลื่อนไหวของพลพรรคทหารปลดแอกฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากลาว (แนวลาวอิสระ) เวียดนาม และจีน ช่วงปี 2500-2508 สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้มาขยายงานมวลชน โดยยึดเอาหมู่บ้านสองข้างทางสายชยางกูร นับจากบ้านนาไร่ใหญ่ เขตอำนาจเจริญ ขึ้นไปทางเขตเลิงนกทา โดยใช้เงื่อนไขความยากจน และการเข้ามาสร้างสนามบินลับที่บ้านโคกตลาด เป็นเนื้อหาในการปลุกระดมชาวนาอีสานให้เห็นถึงการเข้ามารุกรานของจักรพรรดินิยมอเมริกา สนามบินลับ และฐานเรดาร์บนภูหมู เป็นรูปธรรมที่นักเคลื่อนไหวใต้ดินหยิบยกขึ้นมาอธิบายถึงสภาพความเป็น "กึ่งเมืองขึ้น" (เมืองขึ้นของสหรัฐ) ตามทฤษฎีของชาว พคท.สมัยโน้น ปลายปี 2508 สมาชิก พคท.ในแถวถิ่นอำนาจเจริญ-เลิงนกทา จึงประกาศจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธหน่วยแรก โดยใช้ชื่อ "พลพรรคประชาชนไทยต่อต้านอเมริกา" (พล.ปตอ.) ซึ่งสี่ปีต่อมา ได้มีการเปลี่ยนชื่อ พล.ปตอ. เป็นกองทัพปลดแอกประชาชนฯ หรือ "ทปท."

อนาคตในการพัฒนา

[แก้]

หากมีการพัฒนาสนามบินเลิงนกทา โดยกรมการบินพลเรือน ยกขึ้นเป็นท่าอากาศยานเลิงนกทาแล้ว จะสามารถช่วยให้จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด และอำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี สามารถได้รับผลประโยชน์อย่างสูงสุดจากท่าอากาศยานแห่งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าในการลงทุน

  • ระยะทางมาสนามบินเลิงนกทา มีดังนี้
    • จังหวัดอำนาจเจริญ 29 กิโลเมตร
    • จังหวัดมุกดาหาร 50 กิโลเมตร
    • อำเภอหนองพอก 51 กิโลเมตร
    • จังหวัดยโสธร 80 กิโลเมตร
    • อำเภอกุดข้าวปุ้น 83 กิโลเมตร
    • อำเภอเขมราฐ 97 กิโลเมตร
    • อำเภอนาตาล 117 กิโลเมตร
    • อำเภอโพธิ์ไทร 119 กิโลเมตร

อ้างอิง

[แก้]