ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาทิลซิท

พิกัด: 55°05′N 21°53′E / 55.083°N 21.883°E / 55.083; 21.883
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

55°05′N 21°53′E / 55.083°N 21.883°E / 55.083; 21.883

สนธิสัญญาทิลซิท
การประชุมของจักรพรรดิทั้งสอง ในศาลาที่ตั้งอยู่บนแพกลางแม่น้ำเนมาน
การประชุมของจักรพรรดิทั้งสอง ในศาลาที่ตั้งอยู่บนแพกลางแม่น้ำเนมาน
ประเภทสนธิสัญญาสันติภาพ
บริบทยุติสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่
วันลงนาม7 กรกฎาคม ค.ศ. 1807 (1807-07-07)(สำหรับรัสเซีย)
9 กรกฎาคม ค.ศ. 1807 (1807-07-09)(สำหรับปรัสเซีย)
ที่ลงนามเมืองทิลซิท (หรือในปัจจุบันนี้คือเมืองโซเวเสต็บค์, แคว้นคาลินินกราด, ประเทศรัสเซีย)
ผู้ลงนามสำหรับดินแดน:
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง

จักรวรรดิรัสเซีย
ราชอาณาจักรปรัสเซีย


สำหรับผู้ลงนาม:
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส และพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิตาลี


จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิรัสเซียทั้งปวง
พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 แห่งราชอาณาจักรปรัสเซีย
วิกิซอร์ซ

สนธิสัญญาทิลซิท (ฝรั่งเศส: traités de Tilsit; เยอรมัน: Friede von Tilsit; รัสเซีย: Тильзитский мир, อักษรโรมัน: Tilsitski mir) เป็นข้อตกลงทั้งสองฉบับ ที่ลงนามโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ในเมืองทิลซิทในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1807 ภายหลังชัยชนะของพระองค์ที่ฟรีดลันท์ การลงนามครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ระหว่างจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เมื่อพวกพระองค์ได้พบกันบนแพ กลางแม่น้ำเนมาน และครั้งที่สอง ถูกลงนามกับปรัสเซีย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม สนธิสัญญานี้ทำขึ้น โดยความปราชัยของพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย ผู้ซึ่งได้ตกลงที่จะสงบศึกในวันที่ 25 มิถุนายน หลังจากที่กองทัพใหญ่เข้ายึดครองกรุงเบอร์ลิน และไล่ตามพระองค์ ไปยังพรมแดนด้านตะวันออกสุดของราชอาณาจักร ในทิลซิท พระองค์ยอมยกดินแดนประมาณกึ่งหนึ่ง ของช่วงก่อนสงคราม[1][2][3]

จากดินแดนเหล่านั้น นโปเลียนได้ก่อตั้งสาธารณรัฐพี่น้องของฝรั่งเศส ซึ่งถูกให้เป็นระเบียบแบบแผน และเป็นที่ยอมรับในทิลซิท ได้แก่ ราชอาณาจักรเว็สท์ฟาเลิน ดัชชีวอร์ซอ และเสรีนครดันท์ซิช ดินแดนที่ถูกยกให้อื่น ๆ ได้มอบให้รัฐบริวารของฝรั่งเศส และรัสเซีย ที่ยังดำรงอยู่

นโปเลียนไม่เพียงแค่ประสานการควบคุมยุโรปกลาง ของพระองค์เท่านั้น แต่ยังมีรัสเซีย และปรัสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรที่ถูกบั่นทอนอยู่กับพระองค์ เพื่อต่อสู้กับศัตรูอีกสองรัฐ ที่ยังเหลืออยู่ของพระองค์ คือสหราชอาณาจักร และสวีเดน กระตุ้นให้เกิดเป็นสงครามอังกฤษ–รัสเซีย และสงครามฟินแลนด์ ทิลซิทยังได้ปลดปล่อยกองกำลังฝรั่งเศสสำหรับสงครามคาบสมุทร ยุโรปกลางกลายเป็นสมรภูมิอีกครั้งใน ค.ศ. 1809 เมื่อออสเตรียและสหราชอาณาจักร ต่อสู้กับฝรั่งเศส ในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า ภายหลังสิ้นสุดสงครามนโปเลียน ใน ค.ศ. 1815 การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา มีความต้องการที่จะฟื้นฟูดินแดนปรัสเซียในหลายแห่ง

สนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย

[แก้]
เหรียญใหญ่ของฝรั่งเศส สมัยหลังทิลซิท แสดงให้เห็นถึงจักรพรรดิฝรั่งเศสและรัสเซียโอบกอดกันซึ่งกันและกัน

สนธิสัญญาได้สงบศึกระหว่างจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิฝรั่งเศส และเริ่มเป็นพันธมิตรระหว่างสองจักรวรรดิ ที่ทำให้ส่วนที่เหลือของยุโรปแทบจะไร้ซึ่งอำนาจ ทั้งสองรัฐตกลงที่จะช่วยเหลือกันในเรื่องข้อพิพาทอย่างลับๆ ฝรั่งเศสได้ให้คำมั่นสัญญา ว่าจะช่วยเหลือรัสเซียในการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน ในขณะที่รัสเซียตกลงที่จะเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป เพื่อต่อต้านจักรวรรดิบริติช นโปเลียนยังโน้มน้าว ให้อเล็กซานเดอร์เข้าสู่สงครามอังกฤษ–รัสเซีย และปลุกปั่นให้เกิดสงครามฟินแลนด์ กับสวีเดนเพื่อบังคับให้สวีเดนเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซาร์ตกลงที่จะขจัดวัลเลเซีย และมอลดาเวีย ซึ่งถูกกองกำลังรัสเซียยึดครอง โดยเป็นส่วนหนึ่งของสงครามรัสเซีย-ตุรกี หมู่เกาะไอโอเนียน และ คาร์ตาโร (คาตัวร์) ซึ่งถูกยึดครองโดยนายพลเรือชาวรัสเซียอย่าง กูคาคอฟ และเซนยาวิน จะถูกส่งมอบให้กับฝรั่งเศส เพื่อเป็นการตอบแทน นโปเลียนรับรองอำนาจอธิปไตยของดัชชีแห่งโอลเดนบูร์ก และรัฐเล็กๆ อีกหลายแห่งที่ปกครองโดยเครือญาติชาวเยอรมันของซาร์

สนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสและปรัสเซีย

[แก้]
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1, จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย, สมเด็จพระราชินีลูอีเซอ แห่งปรัสเซีย, และพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 ในทิลซิท, ค.ศ. 1807 วาดโดย นิโกลาส โกเฌย์, ประมาณ ค.ศ. 1900

สนธิสัญญากับปรัสเซียได้ขจัดอาณาเขตรัฐประมาณกึ่งหนึ่ง ค็อทบุสยกให้ซัคเซิน ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเอลเบมอบให้ราชอาณาจักรเว็สท์ฟาเลิน ที่ก่อขึ้นมาใหม่ เบียวิสตอคมอบให้รัสเซีย (ซึ่งนำไปสู่ก่อตั้งเบลอสตอคโอบลาสต์) และดินแดนส่วนใหญ่ของโปแลนด์ในดินแดนปรัสเซีย ตั้งแต่การแบ่งโปแลนด์ครั้งที่สองและสาม กลายเป็นดัชชีวอร์ซอที่กึ่งอิสระ ปรัสเซียต้องลดกองทหารเหลือเพียงแค่ 43,000 นาย[4] และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1808 ฝรั่งเศสได้กำหนดให้มีการเรียกเก็บภาษีจากปรัสเซีย อยู่ที่ 154,500,000 ฟรังก์ (41.73 ล้านเทาเลอร์ปรัสเซีย),[5] และหักออก 53,500,000 ฟรังก์ ซึ่งได้รวบรวมเงินมากขึ้น ในระหว่างการยึดครองฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง จำนวนรวมได้ลดลงในสองขั้น เป็น 120 ล้านฟรังก์ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1808

ตาแลร็องแนะนำให้นโปเลียนปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อ่อนโยนกว่า สนธิสัญญาถือเป็นขั้นตอนสำคัญในความบาดหมางจากจักรพรรดิ จนถึง ค.ศ. 1812 ฝรั่งเศสได้รับเงินและเงินช่วยเหลือ จากจำพวกบริษัทและบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทหารรับจ้างในเมือง เงินสมทบเพิ่มเติมนี้ ตีเป็นจำนวนเงินระหว่าง 146 ถึง 309 ล้านฟรังก์ ตามการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป[5] หนี้ของรัฐบาลปรัสเซียเพิ่มสูงขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1806 ถึง ค.ศ. 1815 โดยเป็นเงิน 200 ล้านเทาเลอร์ เป็นหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยรวมทั้งสิ้น 180.09 ล้านเทาเลอร์, พันธบัตรที่ไม่มีดอกเบี้ยรวม 11.24 ล้านเทาเลอร์ และหนี้เดิมของมณฑลอีก 25.9 ล้านเทาเลอร์ ตามที่รัฐบาลหลวงได้สันนิษฐานไว้[6] หนี้สินของเมืองต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเบอร์ลินที่จะถูกเรียกเก็บภาษีเป็นประจำ รัฐบาลปรัสเซียไม่ได้สันนิษฐานไว้ เนื่องจากเจ้าหนี้เข้าใจว่าปรัสเซียเป็นหนี้มากเกินไปใน ค.ศ. 1817 พันธบัตรของรัฐร้อยละ 4 ถูกซื้อขายที่ตลาดหุ้น โดยมีค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นร้อยละ 27 ถึง 29 ใน ค.ศ. 1818 แม้จะลดส่วนเป็นร้อยละ 35 แต่ทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 6.15[7] ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ใหม่ เป็นบางส่วนใน ค.ศ. 1818 ด้วยเงินกู้ 5 ล้านปอนด์ (30 ล้านเทาเลอร์ปรัสเซีย) จากร้อยละ 5 ของตลาดการเงินของลอนดอน รัฐบาลปรัสเซียต้องยอมรับค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ร้อยละ 28⅓ ด้วยเหตุนี้ จึงจ่ายในอัตราที่แท้จริงต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 6.98[7]

เมื่อมีการกำหนดสนธิสัญญา ผู้สังเกตการณ์ได้สังเกตเห็นว่า พระมหากษัตริย์ปรัสเซียกำลังก้าวเดินไปที่ริมฝั่งแม่น้ำเนมาน นโปเลียนกล่าวว่า "เพียงแค่ยกมือขึ้น และปรัสเซียก็จะไม่ดำรงอยู่" (แมคเคย์)[ต้องการอ้างอิง] ดังนั้น ผู้สังเกตการณ์หลายคนในปรัสเซีย และรัสเซีย จึงมองว่าสนธิสัญญานี้ไม่เท่าเทียมกัน และถือเป็นความอัปยศของประเทศชาติ ทหารรัสเซียจึงปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของนโปเลียน ดังที่เหตุการณ์ในลิสบอน ได้แสดงให้เห็นทั่วยุโรป แผนการของนโปเลียนที่จะแต่งงานกับพระกนิษฐาของซาร์ ถูกขัดขวางโดยบุคคลในราชวงศ์ของรัสเซีย ในที่สุด ความร่วมมือระหว่างรัสเซียและฝรั่งเศสได้สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1810 เมื่อซาร์เริ่มอนุญาตให้เรือพาณิชย์ที่เป็นกลาง เทียบท่าในท่าเรือของรัสเซีย[ต้องการอ้างอิง] ใน ค.ศ. 1812 นโปเลียนได้ข้ามแม่น้ำเนมาน และรุกรานรัสเซีย เป็นการยุติร่องรอยแห่งพันธไมตรี

การสูญเสียดินแดนและประชากรของปรัสเซีย

[แก้]
ปรัสเซียใน ค.ศ. 1807 (สีส้ม) และดินแดนที่สูญเสียไปในสนธิสัญญาทิลซิท (สีอื่นๆ)

อาณาเขตของรัฐปรัสเซียถูกลดลงเกือบกึ่งหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาทิลซิท จาก 5,700 ตารางไมล์ปรัสเซีย เป็น 2,800 ตารางไมล์ปรัสเซีย (323,408.4 ถึง 158,867.28 km2 (124,868.68 ถึง 61,339.00 sq mi))[5] และแทนที่ประชากรจะเป็น 9.75 ล้านคน กลับเป็นไม่เกิน 4.5 ล้านคน ที่ยังคงอาศัยภายในอาณาเขตใหม่ของปรัสเซีย [5] รายได้ของรัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ มีมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ต่อปี ลดลงในอัตราส่วนที่มากขึ้น เนื่องจากมณฑลที่ยกให้นั้น ค่อนข้างมีความมั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์ และมีการใช้จ่ายไปหลายล้านดอลลาร์ เพื่อการพัฒนามณฑล มณฑลเกือบทั้งหมดที่ปรัสเซียได้รับจากการแบ่งโปแลนด์ (ค.ศ. 1772–1795) ถูกยึดไปจากดินแดนดังกล่าว ซัคเซิน ในฐานะอดีตสมาพันธ์ของปรัสเซีย เป็นผู้รับมณฑลต่างๆ และรัสเซีย ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีอิทธิพลในสมัยก่อน ได้รับดินแดน พร้อมกับประชากร 200,000 คน และต่อไปนี้คือตารางของการสูญเสียดินแดนและจำนวนประชากร (โดยปราศจากการครอบครองของปรัสเซีย ตั้งแต่ ค.ศ. 1772) ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาทิลซิท:[8]

ดินแดนเว็สท์ฟาเลิน[a] ตารางไมล์ปรัสเซีย จำนวนประชากร (คน)
รัฐมาร์ค กับเอ็สเซิน แวร์เดิน และลิพชตัท 51 =2,893.65 km2 (1,117.24 sq mi) 148,000
ราชรัฐมินท์เดิน 18.5 =1,049.66 km2 (405.28 sq mi) 70,363
รัฐราเฟินส์แบร์ค 16.5 =936.18 km2 (361.46 sq mi) 89,938
รัฐลิงเงิน และเท็คเลินบวร์ค 13 =737.6 km2 (284.8 sq mi) 46,000
เคลเวอ บนชายฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ 20.5 =1,163.14 km2 (449.09 sq mi) 54,000
ราชรัฐโอสท์ฟรีสลันท์ 56.5 =3,205.71 km2 (1,237.73 sq mi) 119,500
ราชรัฐมึนส์เทอร์ 49 =2,718.18 km2 (1,049.50 sq mi) 127,000
ราชรัฐพาเดอร์บอร์น 30 =1,702.15 km2 (657.20 sq mi) 98,500
ดินแดนซัคเซิน ตารางไมล์ปรัสเซีย จำนวนประชากร (คน)
มัคเดอบวร์ค พร้อมกับดินแดน ในส่วนนั้นของดัชชี บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเอ็ลเบอ ฮัลเลอ และอื่นๆ 54 =3,063.87 km2 (1,182.97 sq mi) 160,000
รัฐมันส์เฟ็ลท์ 1.0 =56.74 km2 (21.91 sq mi) 27,000
ราชรัฐฮัลเบอร์ชตัท 26.5 =1,503.57 km2 (580.53 sq mi) 101,000
รัฐโฮเอินชไตน์, 8.5 =482.28 km2 (186.21 sq mi) 27,000
ดินแดนเควดลินบวร์ค, 1.5 =85.11 km2 (32.86 sq mi) 13,400
ราชรัฐฮิลเดสไฮม์และกอสลาร์ 40 =2,269.53 km2 (876.27 sq mi) 114,000

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ดินแดนของเว็สท์ฟาเลินบางส่วน ถูกยกให้ไปก่อนหน้านี้ และไม่มีการจ่ายค่าชดเชย สำหรับความสูญเสียเหล่านี้ ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาทิลซิท

อ้างอิง

[แก้]
  1. Georges Lefebvre, Napoleon: From 18 Brumaire to Tilsit, 1799-1807 (1969).
  2. Dominic Lieven, Russia against Napoleon: the battle for Europe, 1807 to 1814 (Penguin UK, 2009).
  3. Hubert Zawadzki, "Between Napoleon and Tsar Alexander: The Polish Question at Tilsit, 1807." Central Europe 7.2 (2009): 110-124.
  4. The Encyclopædia Britannica, 11th ed., vol. 2, 620.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Georg Sydow, Theorie und Praxis in der Entwicklung der französischen Staatsschuld seit dem Jahre 1870, Jena: Fischer, 1903, p. 49.
  6. Herbert Krafft, Immer ging es um Geld: Einhundertfünfzig Jahre Sparkasse Berlin, Berlin: Sparkasse der Stadt Berlin West, 1968, p. 10.
  7. 7.0 7.1 Herbert Krafft, Immer ging es um Geld: Einhundertfünfzig Jahre Sparkasse Berlin, Berlin: Sparkasse der Stadt Berlin West, 1968, p. 9.
  8. The New annual register, or General repository of history, politics, and literature: To which is prefixed, the History of Knowledge ..., Published by Printed for G.G.J. and J. Robinson, Pater-noster-Row., 1808. p. 276. See the footnote

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]