ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)
ชื่อย่อวอท.ชลบุรี
คติพจน์เรียนรู้ดี ฝีมือเด่น เน้นคุณธรรม นำคุณภาพชีวิต ส่งเสริมกิจประชาธิปไตย
ประเภทวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนา28 มกราคม พ.ศ. 2551
ที่ตั้ง
37 หมู่ 3 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 20160
เว็บไซต์http://www.sbtvc.ac.th/

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ประกาศจัดตั้งเมื่อ 24กุมภาพันธ์2540โดยนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกนะทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง โดยมีวิทยาลัยการอาชีพพานทอง เป็นสถานศึกษานำร่องแห่งแรก และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2552 เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school)

โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ จัดการศึกษาในระดับการศึกษาพื้นฐานช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาตอนปลาย) ที่มีหลักสูตรครอบคลุมการเรียนวิชาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ เพื่อรองรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ (talented children) ทางการประดิษฐ์คิดค้น และพัฒนาเชิงเทคโนโลยี โดยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ กระบวนการเรียนรู้และความสนใจที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การเป็น"นักเทคโนโลยี"ในอนาคต ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากสายอาชีพแบบเดิมที่เน้นการผลิตกำลังคนในระดับผู้ใช้เทคโนโลยี หรือสายสามัญที่เน้นการสร้างนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังตัวอย่างของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยนักเรียนของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์จะมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีความเข้มข้นเท่านักเรียนสายสามัญ (วิทย์-คณิต) ในขณะที่มีทักษะด้านงานทางเทคโนโลยีเท่าเก่านักเรียนสายอาชีพ ภายใต้การเรียนการสอนแบบ Project-Based learning ที่มุ่งเน้นสร้างทักษะในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อรองรับการสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ให้กับภาคการผลิตและบริการต่อไปในอนาคต และเมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน จะสามารถเลือกศึกษาต่อได้ทั้งสายอุดมศึกษา หรือสายอาชีพ(ปวส.) ซึ่งจะมีการพัฒนาหลักสูตรพิเศษในการศึกษาเพื่อรองรับนักเรียนกลุ่มนี้เป็นการเฉพาะ

เกี่ยวกับวิทยาลัย

[แก้]
  • ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวิทยาลัยการอาชีพพานทอง(เดิม) เลขที่ 37 หมู่3 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20160 มีอาณาเขต 64 ไร่ โดยความร่วมมือสนับสนุนจากหลายฝ่าย อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เจ้าอาวาสวัดบ้านเก่า ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอพานทอง และประชาชนชาวอำเภอพานทอง
    • พื้นที่การศึกษา แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 เขต คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)เขต1 (ฝั่งโรงฝึกทักษะพื้นฐานและบ้านพักครู) และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)เขต2 (ฝั่งอาคารอำนวยการ อาคารเรียนและหอพักนักเรียนโครงการฯโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์)
  • สีประจำวิทยาลัย : แดง-เหลือง
  • ต้นไม้ประจำวิทยาลัย
    • พ.ศ. 2540-2552 ต้นเบญพรรณพานทอง
    • พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน ต้นราชพฤกษ์หรือต้นคูน

ประวัติ

[แก้]

กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งที่ 159/2550 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำข้อเสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการนำร่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญภายใต้แผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(พ.ศ. 2547-2556) เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเพียงพอที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศและตอบสนองต่อความต้องการของภาคเศรษฐกิจและสังคม แต่การพัฒนากำลังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมา มักมุ่งเน้นไปที่การสร้างและเพิ่มจำนวนบุคลากรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยจะเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นของการผลิตสินค้าและบริการที่ใช้องค์ความรู้จากการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อยกระดับความสามารถของธุรกิจให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเพิ่มความสามารถการแข่งขันในระยะยาว แต่ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความพร้อมในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา โดยยังมีข้อจำกัดในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านศักยภาพในการทำวิจัยและพัฒนา แหล่งเงิน และบุคลากรที่มีทักษะด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะในกลุ่มของ “นักเทคโนโลยี” หรือนักประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่มีทักษะฝีมือหรือเก่งทางด้านช่างเท่านั้น แต่ต้องเป็นผู้ที่เก่งด้านวิทยาศาสตร์ด้วย กล่าวคือ สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขามาผสมผสานกับความรู้ความชำนาญด้านการประดิษฐ์ เพื่อสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในแขนงต่างๆ อาทิ การพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ การให้บริการในรูปแบบใหม่ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาระบบการผลิตบุคลากรในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน พบว่าระดับอุดมศึกษาเน้นการผลิตบัณฑิตในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ซึ่งเน้นการใช้ความรู้ในเชิงวิชาการ (academic) ในขณะที่ระดับอาชีวศึกษาเน้นการผลิตช่างฝีมือและนักเทคนิค ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในลักษณะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีมากกว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยี อีกทั้งเมื่อบุคลากรกลุ่มนี้ต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นจะประสบปัญหาด้านการต่อยอดความรู้ เนื่องจากฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่เข้มแข็งพอ ประกอบกับระบบการศึกษาปัจจุบันยังไม่มีหลักสูตรเฉพาะด้านสำหรับการสร้างนักเทคโนโลยี ส่งผลให้บุคลากรที่ผลิตออกสู่ตลาดจึงมักเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มช่างฝีมือที่มีความถนัดด้านการลงมือปฏิบัติเพียงอย่างเดียว การสร้างสรรค์นวัตกรรมจึงเกิดได้ยาก

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งขยายฐานการศึกษาเพื่อบ่มเพาะและสร้างนักเทคโนโลยีที่สามารถผสมผสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้ากับทักษะด้านช่างเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ อันจะนำไปสู่การยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีให้กับภาคการผลิตและบริการของประเทศต่อไปในอนาคต โดยเร่งพัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับการสร้างบุคลากรกลุ่มนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีฐานกำลังคนที่ครบถ้วนและเพียงพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง โดยมีวิทยาลัยการอาชีพพานทอง จ.ชลบุรี เป็นสถานศึกษานำร่องแห่งแรก และโครงการนำร่องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา

การดำเนินโครงการนำร่องที่วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)สามารถรับนักเรียนรุ่นแรกได้ในปีการศึกษา 2551 จำนวน 29 คน และพัฒนาหลักสูตรแล้วเสร็จ 1 หลักสูตร ในระดับ ปวช. สาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ที่มีการเรียนการสอนแบบ project-based โดยวิทยาลัยฯ จัดสถานที่พักให้กับนักเรียนเพื่ออยู่ประจำ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) และ สอศ. จัดสรรอัตราบุคลากรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ครูพี่เลี้ยง จำนวน 8 คน เพื่อดูแลนักเรียนทั้งด้านวิชาการและชีวิตความเป็นอยู่อย่างใกล้ชิด สำหรับวิชาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สอนโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย (มจธ. มทส. มทร. สจล. และจุฬาฯ) และในปีการศึกษา 2552 มีเป้าหมายรับนักเรียน 1 ห้อง ประมาณ 30 คน แม้ว่า ในช่วงแรกโครงการนำร่องจะมีนักเรียนจำนวนไม่มากนัก สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดหลายด้าน อาทิ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ครูพี่เลี้ยงยังขาดประสบการณ์ด้านการเรียนการสอนแบบ project-based teaching and learning การประชาสัมพันธ์ยังไม่เข้มข้นและทั่วถึง ทัศนคติและความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง รวมทั้งค่านิยมของสังคมที่มีต่อการเรียนสายอาชีวศึกษา จนเป็นอุปสรรคต่อการจูงใจนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม สอศ. และ สวทน. ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะจัดการกับข้อจำกัดที่มีอยู่ โดยร่วมกันยกร่างแผนแม่บทโครงการในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) เพื่อวางกรอบการขับเคลื่อนให้เกิดผลเต็มประสิทธิภาพ ทั้งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาความสามารถของครูพี่เลี้ยง แนวทางการคัดสรรนักเรียนที่มีศักยภาพและการปรับระบบบริหารจัดการให้มีความคล่องตัวมากขึ้นในขณะเดียวกัน จำเป็นต้องขยายผลการจัดการศึกษาในรูปแบบดังกล่าวไปยังสถานศึกษาอื่นที่มีศักยภาพของ สอศ. ด้วย ภายใต้ชื่อ “โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์” เพื่อขยายฐานการผลิตกำลังคนที่มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นเชิงเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนเป็นหัวรถจักรของการอาชีวศึกษาซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อภาคการผลิตและบริการต่อไปในอนาคต โดยนำประสบการณ์ที่ได้จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) ปรับใช้ในการจัดการศึกษาระบบนักเรียนประจำของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดซึ่งมีผลต่อการผลิต และพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการรองรับกับการพัฒนาประเทศในอนาคต สิ่งสำคัญคือต้องเร่งพัฒนาขยายพื้นที่ห้องเรียนห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยบริการ เพิ่มปริมาณวัสดุครุภัณฑ์ทางการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัย รวมถึงหอพักอาศัยของนักเรียนและครูผู้ควบคุมดูแล รวมทั้งการพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการจัดการเรียนการสอน โดยปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิสังคม ภูมิอาชีพ และสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตลอดจนพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาด้านเทคโนโลยีให้หลากหลาย เพื่อเป็นรองรับการการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และเป็นการแก้ไขปัญหาให้แก่สถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์จึงได้จัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ โครงการของสำนักตรวจและประเมินผล เพื่อใช้เป็นแผนในการปฏิบัติงานประจำปีต่อไป

เส้นเวลา

[แก้]

พ.ศ. 2541 เปิดทำการสอนครั้งแรกจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ประเภทวิชา ช่างอุตสาหกรรม และบริการธุรกิจ ในสาขางานยานยนต์ และการบัญชี หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ในสาขาศิลปกรรม คหกรรม เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2542 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ในสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานไฟฟ้ากำลัง สาขางานอิเล็กทรอนิกส์และสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

พ.ศ. 2546 เปิดรับนักเรียน-นักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ในระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานยานยนต์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคนิคอุตวาหกรรม สาขางานติดตั้งและบำรุงรักษา และสาขาวิชาพาณิชยการ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานบัญชี

พ.ศ. 2551 เปิดรับนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ ตามโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง

พ.ศ. 2552 เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยการอาชีพพานทอง เป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)

ชื่อและสัญลักษณ์

[แก้]

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ต่อมาเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทการดำเนินงานของสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพพานทองได้มีหนังสือ(ที่ ศธ 0661.15 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552) แจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยฯ ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2552 เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

โดยกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติการเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น "วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)" ชื่อภาษาอังกฤษ Science Based Technology Vocational College(Chonburi) ตัวย่อ (SBTVC) จากเดิมคือ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง ชื่อภาษาอังกฤษ Panthong Industrial and Community Education College ตัวย่อ วก.พานทอง

การดำเนินโครงการ

[แก้]

โครงการนี้ ถือเป็นโครงการใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) เพื่อบ่มเพาะนักเรียนระดับ ปวช. ที่มีศักยภาพด้านการประดิษฐ์คิดค้นเชิงเทคโนโลยี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 ใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school) และนำร่องแห่งแรกที่ “วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)” การดำเนินการในช่วงแรกจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมหลายด้าน และยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ แต่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานพันธมิตรจากภายนอก เช่น สถาบันอุดมศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ รวมทั้ง การทุ่มเทของผู้บริหารและบุคลากรของวิทยาลัยฯ จนสามารถการสามารถขับเคลื่อนได้ในปีการศึกษา 2551 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การกำกับดูแลโครงการ

[แก้]

มีคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ จำนวน 4 ชุด เพื่อกำกับดูแลโครงการในด้านต่างๆ ทั้งด้านนโยบาย การบริหารจัดการ และวิชาการ ดังนี้

  1. คณะกรรมการอำนวยการจัดตั้งและขยายจำนวนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดนโยบาย ทิศทางการจัดตั้งและขยายจำนวนโรงเรียน รวมทั้งจัดหา ระดมทรัพยากรสนับสนุน และกำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงิน (ประธาน คุณเขมทัต สุคนธสิงห์)
  2. คณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง เพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนฯ และบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมาย (ประธาน เลขาธิการ สอศ.)
  3. คณะกรรมการวิชาการโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง เพื่อพัฒนาและจัดทำหลักสูตร รวมทั้งประสานกับสถาบันอุดมศึกษาในด้านการศึกษาต่อของนักเรียนในโครงการ (ประธาน ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร)
  4. คณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง เพื่อพัฒนาหลักสูตร แผนการเรียนการสอน และหลักเกณฑ์การรับนักเรียน (เป็นคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการวิชาการฯ)(ประธาน รศ.ดร.สมชาย จันทร์ชาวนา)

คณะกรรมการชุดที่ 1-3 แต่งตั้ง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน เป็นรัฐมนตรีในขณะนั้น) และคณะอนุกรรมการชุดที่ 4 แต่งตั้ง โดยคณะกรรมการวิชาการฯ สำหรับการจัดประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ

ที่ปรึกษาทางวิชาการ

[แก้]

วิทยาลัยฯ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ สำหรับการเรียนการสอนแบบ Project-based teaching and learning และให้คำปรึกษาแก่ครูของวิทยาลัยที่เป็นครูพี่เลี้ยงในการทำโครงงาน

บทบาทของมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง

[แก้]
  • พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาโครงงาน PjBL
  • พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมนักเรียนและพัฒนาครู
  • พัฒนาแผนและรูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
  • ให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาการดำเนินงานของวิทยาลัยฯ (ทุกๆ 2 สัปดาห์)
  • ออกแบบวิธีการและร่วมคัดเลือกนักศึกษาใหม่
  • ให้คำปรึกษาโครงการพิเศษอื่นๆ ของวิทยาลัยฯ
  • สนับสนุนการประชาสัมพันธ์โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
  • ร่วมเป็นกรรมการสอบโครงงานของนักศึกษาในรายวิชาโครงงาน

การจัดการเรียนการสอน

[แก้]

เป็นลักษณะของโรงเรียนประจำ เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนได้อย่างเต็มที่และเข้มข้น โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน นอกจากนี้ ยังมีการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมในรายวิชาต่างๆ และการทำโครงงาน วิชาในกลุ่มวิชาสามัญ อาทิ ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ศิลปฯ และวิชาชีพ สอนโดยครูของวิทยาลัยฯ สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) และวิชาชีพบางวิชา สอนโดยคณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา (ตารางที่ 3) และมีครูพี่เลี้ยงเป็นจุดเชื่อม คอยชี้แนะ ถ่ายทอด ให้คำปรึกษา ทบทวนบทเรียนให้กับนักเรียน และกระตุ้นให้นักเรียนนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไปเชื่อมต่อทักษะด้านวิชาชีพ เพื่อพัฒนาไปเป็นโครงงานในภาคเรียนต่อๆ ไป นอกจากนี้ ยังมีการเชิญครูชาวต่างประเทศมาสอนวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศให้กับนักเรียน

บุคลากร

[แก้]

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ บุคลากรภายในวิทยาลัย และบุคลากรจากภายนอก โดยบุคลากรจากภายนอกจะให้การสนับสนุนด้านการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญของวิทยาลัย โดยเฉพาะรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) คณิตศาสตร์ และวิชาชีพขั้นสูง สำหรับบุคลากรภายในจะมีภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 3 ด้าน คือ

  • ครูผู้สอน: เป็นผู้สอนในรายวิชาชีพ และวิชาสามัญ
  • ครูพี่เลี้ยง: เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน เพื่อให้สามารถบูรณาการความรู้ทั้งด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพเข้าด้วยกัน รวมทั้งให้คำปรึกษาในการทำโครงงานภายใต้การเรียนการสอนแบบ project-based teaching and learning โดยประสานกับครูผู้สอนของวิทยาลัยฯ และอาจารย์จากภายนอก
  • ครูที่ปรึกษา: เพื่อดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนทั้งในหอพักและที่วิทยาลัยฯ ให้คำปรึกษาด้านชีวิตส่วนตัว เพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกอบอุ่น สามารถปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเพื่อนได้จนจบหลักสูตร

ทั้งนี้ บุคลากรภายในวิทยาลัยฯ แต่ละคน อาจจะปฏิบัติภาระหน้าที่ในโครงการเพียงหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง หรือหลายหน้าที่ก็ได้ ขึ้นกับความพร้อมและศักยภาพของแต่ละบุคคล ครูพี่เลี้ยงที่ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วย เพื่อทำหน้าที่ดูแลนักเรียนในโครงการ และได้เข้ารับการอบรมการเรียนการสอนแบบ project-based teaching and learning ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ นอกจากนี้ วิทยาลัยฯ ได้จัดให้ครูพี่เลี้ยงเข้าพักอาศัยในสถานที่ที่วิทยาลัยฯ จัดไว้เพื่อความสะดวกในการดูแลนักเรียน และมอบหมายให้ร่วมสอนในลักษณะ team teaching กับอาจารย์ผู้สอนจากมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ครูพี่เลี้ยงจะต้องได้รับการประเมินภาระงานหน้าที่ตามระเบียบของ ก.ค.ศ. ในส่วนของครูพี่เลี้ยงที่ได้รับการบรรจุใหม่ ทางวิทยาลัยฯจะดำเนินการเหมือนกันเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

รูปแบบการเรียนการสอน

[แก้]

ในปัจจุบันนักศึกษาในวิทยาลัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาทั่วไป และ กลุ่มนักศึกษาสาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ ซึ่งนักศึกษากลุ่มทั่วไปจะศึกษาเหมือนกับนักศึกษาสายอาชีพทั่วๆไป ส่วนกลุ่มสาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์นั้นจะมีการเรียนการสอนแบบProject-Based learning ซึ่งจะได้เรียนทั้งเนื้อหาของสายวิทย์-คณิต และเนื้อหาของสายช่าง โดยเน้นการปฏิบัติจริง และเน้นการทำโครงงานในแต่ละภาคเรียนตามความสนใจของผู้เรียน ซึ่งจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาและมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการคอยให้การสนับสนุน

เป้าหมาย

[แก้]

โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นโรงเรียนระดับชาติ (national school) และเป็นโรงเรียนประจำ ในระดับการศึกษาพื้นฐานช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาตอนปลาย) ที่มีหลักสูตรครอบคลุมการเรียนวิชาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ เพื่อรองรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ (talented children) ทางการประดิษฐ์คิดค้น และพัฒนาเชิงเทคโนโลยี โดยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ กระบวนการเรียนรู้และความสนใจที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การเป็น"นักเทคโนโลยี"ในอนาคต ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากสายอาชีพแบบเดิมที่เน้นการผลิตกำลังคนในระดับผู้ใช้เทคโนโลยี หรือสายสามัญที่เน้นการสร้างนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังตัวอย่างของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยนักเรียนของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์จะมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีความเข้มข้นเท่านักเรียนสายสามัญ (วิทย์-คณิต) ในขณะที่มีทักษะด้านงานทางเทคโนโลยีเท่าเก่านักเรียนสายอาชีพ ภายใต้การเรียนการสอนแบบ Project-Based learning ที่มุ่งเน้นสร้างทักษะในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อรองรับการสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ให้กับภาคการผลิตและบริการต่อไปในอนาคต และเมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน จะสามารถเลือกศึกษาต่อได้ทั้งสายอุดมศึกษา หรือสายอาชีพ (ปวส.) ซึ่งจะมีการพัฒนาหลักสูตรพิเศษในการศึกษาเพื่อรองรับนักเรียนกลุ่มนี้เป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา 4 แห่ง ได้แก่

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  4. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


ซึ่งให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง ที่มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการในลักษณะของ Project-based learning and teaching ที่มุ่งเน้นสร้างทักษะในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมถึงให้การสนับสนุนบุคลากรผู้สอน และโอกาสในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา

ที่ปรึกษา

[แก้]

ดร.กฤษณพงษ์ กีรติกร

ที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

"นักเรียนโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์" กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต เปรียบได้กับหัวรถจักรลากจูงประเทศให้เข้มแข็งเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้านการออกแบบการประดิษฐ์และสร้างนวัตกรรม นักเรียนกลุ่มนี้ควรมีความสามารถพิเศษด้านช่างและวิศวกรที่สามารถออกแบบและสร้าง มีปัญญาหรือความสามารถหลากหลายตามแนวคิด พหุปัญญา(multiple intelligence) ของ Howard Gardner กล่าวคือ เชื่อความเคลื่อนไหว/กล้ามเนื้อ/การมองเห็นกับมิติสัมพันธ์ความคิดเชิงตรรกะเหตุผล และความสามารถในการคำนวณ"


รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ

ที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

"ประเทศเรามีความต้องการกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสายอาชีวศึกษาจำนวนมาก แต่ในอดีตที่ผ่านมา เรากลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากนัก ดังนั้นการทำโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างกำลังคนที่มีความสามารถในการบูรณาการความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีเข้ากับทักษะปฏิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่การส้รางนวัตกรรมให้กับประเทศไทยต่อไป"

คุณเขมทัต สุคนธสิงห์

ที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

"โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์เป็นสถานบ่มเพาะนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษในสายอาชีพระดับ ปวช. ให้มีทักษะด้านช่างและมีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เทียบเท่าผู้เรียนในสายสามัญศึกษา โดยหลักสูตรนี้ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ Project-Based Learning (PJBL) ทำให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับการประดิษฐ์สิ่งต่างๆได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเติบโตไปเป็นนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมให้กับประเทศต่อไป"

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์

เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

"โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป้าหมายใหญ่คือผลิตนักศึกษาอาชีวะที่เก่งมากๆ โดยเฉพาะอาชีวะที่เก่งทางด้านช่างและการประดิษฐ์คิดค้น เราจึงเริ่มโครงการนี้ขึ้น เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเด็กที่เก่งมากๆ มาเรียนทางนี้ ขั้นแรกดูผลการเรียนเฉลี่ยชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 5 ภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 2.75 ขั้นที่สองดูว่าเด็กมีแววที่จะเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นหรือไม่ วิธีการกรองตรงนี้คือ การประกวดผลงานต่างๆ จากทั้งประเทศและการเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ จากเกณฑ์ทั้งสองคือ ผลการเรียนดีและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เมื่อเด็กผ่านการคัดเลือก เราจะมีกระบวนการเรียนที่เข้มข้นมากๆ ปกติเด็กที่เรียนอาชีวะจะเรียนสายช่างอยู่แล้ว แต่ที่พิเศษคือเด็กต้องเรียนวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น นอกจากนั้นเด็กต้องทำโครงงานโดยใช้ความรู้ทางด้านช่างและวิทยาศาสตร์มาผนวกกัน สร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้น สิ่งดีๆ ออกมา"

ความร่วมมือทางการศึกษา

[แก้]

โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ได้ มีความร่วมมือทางการศึกษาจากหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้


หน่วยงานหลัก

  • กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.)
  • (ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ดูแลและสนับสนุนโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ต่อมาทางกระทรวงได้เปลี่ยนให้ สวทน. เป็นผู้ให้การดูแลและสนับสนุนแทน)
  • กระทรวงอุตสาหกรรม โดย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


หน่วยงานที่ทำความร่วมมือ(MOU)

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สถาบันไทย-เยอรมัน
  • นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร


หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยบูรพา


ซึ่งให้การสนับสนุนด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง ที่มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการในลักษณะของ Project-based learning and teaching ที่มุ่งเน้นสร้างทักษะในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมถึงให้การสนับสนุนบุคลากรผู้สอน และโอกาสในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนผลักดัน การดำเนินงานต่างๆ อาทิ



ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

  • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กรรมการอำนวยการโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์






คุณบงกช สืบสัจจวัฒน์

  • นักวิจัยนโยบายอาวุโส ฝ่ายกำลังคน

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ)

ในคณะกรรมการอำนวยการโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์




รศ.ดร.สมชาย จันทร์ชาวนา

  • ประธานกรรมการวิชาการโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์




ทำเนียบผู้บริหาร

[แก้]
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายเด่นดวง คำตรง พ.ศ. 2541-2547 (วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)
2. นายนเรศ บุญมี พ.ศ. 2547-2551 (วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)
3. นางจุรี ทัพวงษ์ พ.ศ. 2551-2554
4. นายปริวัฒน์ ถานิสโร พ.ศ. 2554-2554
5. นายจิระ เฉลิมศักดิ์ พ.ศ. 2554-2559
6. นายนิติ นาชิต พ.ศ. 2559-2560
7. นายพีรพงษ์ พันธ์โสดา พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน

หลักสูตรทั้งหมดในวิทยาลัย

[แก้]

1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระบบฐานวิทยาศาสตร์

[แก้]

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์

Certificate of Vocational Education (Program: Science-Based Industrial Trade)

ภายใต้โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(นำร่อง) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ปรัชญาของหลักสูตร

[แก้]

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ เป็นหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานช่วงชั้นที่ 4 ที่ครอบคลุมสาระวิชาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ เพื่อบ่มเพาะนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ (talented children) ทางการประดิษฐ์คิดค้นหรือการพัฒนาเชิงเทคโนโลยี โดยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ กระตุ้นความสนใจ และสร้างเสริมกระบวนการคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็น “ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยี” หรือ “นักเทคโนโลยี” ในอนาคต ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากหลักสูตรสายอาชีพแบบเดิมที่เน้นการผลิตกาลังคนในระดับผู้ใช้เทคโนโลยี

ภายใต้หลักสูตรนี้ นักเรียนจะมีพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เข้มข้นเทียบเท่านักเรียนสายสามัญ ในขณะที่มีทักษะด้านปฏิบัติการทางเทคโนโลยีไม่น้อยกว่านักเรียนสายอาชีพ การเรียนการสอนจะผสมผสานระหว่างการเรียนความรู้เชิงวิชาการแบบประยุกต์ (knowledge) 8 กลุ่มสาระ ได้แก่ 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 5) สุขศึกษา และพลศึกษา 6) ศิลปะ 7) การงานอาชีพและเทคโนโลยี และ 8) ภาษาต่างประเทศ และพัฒนาทักษะวิชาชีพ (skills) จากการสังเกต การคิด และการปฏิบัติ โดยเน้นการเตรียมพื้นฐานของเทคโนโลยีที่สำคัญ อาทิ เครื่องกล ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และใช้การเรียนการสอนแบบบูรณาการในลักษณะ “project-based learning” (แผนภาพที่ 1) นักเรียนที่จบการศึกษาจากหลักสูตรดังกล่าวจะมีความพร้อมสาหรับการศึกษาต่อทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีหรือนักเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

[แก้]

เพื่อจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่เป็นผู้มีศักยภาพหรือ ความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้น(นักเรียนโครงการฯโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์)ให้มีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทักษะที่เพียงพอ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีบน ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต

แนวทางการจัดการเรียนการสอน

[แก้]

เป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยผู้สอนจะนาสาระและทักษะพื้นฐานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ใน 8 กลุ่มสาระ และทักษะพื้นฐานด้านวิชาชีพมาบูรณาการในโครงงาน (projects) หรือในหัวเรื่อง (themes) ด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบ project-based teaching and learning(แผนภาพที่ 2)

การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น ผู้มีส่วนร่วมสำคัญจะประกอบด้วย นักเรียน ครูผู้สอน และครูพี่เลี้ยง (mentor) ซึ่งทั้งสามฝ่ายจะมีกระบวนการเรียนการสอนร่วมกัน โดยครูผู้สอนและครูพี่เลี้ยง จะให้ความรู้ในเชิงวิชาการและทักษะปฏิบัติแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนาไปใช้ในการผลิตชิ้นงานหรือสิ่งประดิษฐ์ (แผนภาพที่ 3)

จัดการเรียนการสอน ในสาขางานดังนี้
[แก้]
  • สาขางานยานยนต์
  • สาขางานไฟฟ้ากำลัง
  • สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขางานเครื่องมือกล (ยกเลิกการสอนแล้ว)
  • สาขางานเครื่องจักรอัตโนมัติ
จัดการเรียนการสอน ในสาขางานดังนี้
[แก้]
  • สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระบบปกติ

[แก้]

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำหรับนักศึกษาภาคปกติ

2.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546)

จัดการเรียนการสอนระบบปกติ ในสาขาวิชาดังนี้

  • สาขาวิชาเครื่องกล (สาขางานยานยนต์)
  • สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานไฟฟ้ากำลัง)
  • สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานอิเล็กทรอนิกส์)
  • สาขาวิชาพาณิชยการ (สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

 จัดการเรียนการสอนสำหรับผู้ประกอบอาชีพในระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ในสาขาวิชาดังนี้

  • สาขาวิชาเครื่องกล (สาขางานยานยนต์)
  • สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานไฟฟ้ากำลัง)
  • สาขาวิชาพาณิชยการ (สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

จัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ต้องขังชาย–หญิงและสถานพินิจ) ในสาขาวิชาดังนี้

  • สาขาพาณิชยการ (สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

2.2 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556

จัดการเรียนการสอนระบบปกติ ในสาขาวิชาดังนี้

  • สาขาวิชาเครื่องกล (สาขางานยานยนต์)
  • สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานไฟฟ้ากำลัง)
  • สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานอิเล็กทรอนิกส์)
  • สาขาวิชาพาณิชยการ (สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

3. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบปกติ

[แก้]

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546

จัดการเรียนการสอนระบบปกติ ในสาขาวิชาดังนี้

  • สาขาวิชาเครื่องกล (สาขางานเทคนิคยานยนต์)
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม)

จัดการเรียนการสอนสำหรับผู้ประกอบอาชีพหรือผู้มีงานทำโดยเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ในสาขาวิชาดังนี้

  • สาขาวิชาเครื่องกล (สาขางานเทคนิคยานยนต์)
  • สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง (สาขางานติดตั้งไฟฟ้า)
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (สาขางานเทคโนโลยีสำนักงาน)

4. หลักสูตรระยะสั้น

[แก้]
  • หลักสูตรระยะสั้น จำนวน 30 - 225 ชั่วโมง
  • ฝึกอบรมวิชาชีพ 108 อาชีพ
  • จัดการเรียนการสอนเสริมวิชาชีพประถมและมัธยม

ความภาคภูมิใจ

[แก้]

เกียรติประวัติของสถานศึกษา

[แก้]
  • รางวัลนักเรียนรางวัลพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประจำปี 2553 (นายเจษฎา ตั้งมงคลสุข นักเรียนสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์)
  • นวัตกรรม "Flame Emergency" รางวัลเหรียญเงิน ระดับภาค ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร โดยคณะผู้จัดทำคือ นายธนันโชตน์  ชนวีร์จารุณัฐ, นางสาวอุไรวรรณ  ใหญ่กล้า, นางสาวสิปาง  โกมารทัต, นางสาวสุพรรณญา  ศรีสุวรรณ
  • นวัตกรรม "อุปกรณ์เปลี่ยนหลอดไฟ 2in1" ได้รับเหรียญทองแดง ระดับภาค ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร คณะผู้จัดทำคือ นายสุชาครีย์  สินบรรเทา, นายอภิสิทธิ์  เสงี่ยมงาม และนางสาวจิดาภา  พลอยเพ็ชร
  • นวัตกรรม "อุปกรณ์ขัดห้องน้ำอัตโนมัติ" ได้รับเหรียญทองแดง ระดับภาค ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร คณะผู้จัดทำคือ นายพิริยะ คงศักดิ์, นางสาวฐิติกัญญ์ เลิศวิเศษแก้ว และนางสาวอารดา เสือหลง
  • นวัตกรรม "อุปกรณ์ป้องกันแผลกดทับและบริหารกล้ามเนื้อ บริเวณนิ้วมือ" ได้รับเหรียญทองแดง ระดับภาค ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร
  • นวัตกรรม "Mini Smart House" ได้รางวัลชมเชย ระดับภาค ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร คณะผู้จัดทำคือ นายมนุราช  เที่ยงธรรม, นายวริสร  พงศ์นฤเดช, นางสาวอลิสา  ดีเหมือน, นางสาวจันทิมา  จ้อกระโทก
  • รางวัลชมเชยนิทรรศการวันวิทยาศาสตร์ 2554 “วิถีชีวิตพอดี เทคโนโลยีพอเพียง ณ คณะวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง วันที่ 23 สิงหาคม 2554 (โถส้วมประหยัดน้ำ)
  • รางวัลชมเชยแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ ระดับภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ณ วิทยาลัยเทคนิคนครนายก ระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2555 (แว่นตาสำหรับคนพิการ)
  • รางวัลชมเชยแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ ระดับจังหวัด ณ วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคมวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 (ซออู้ไฟฟ้า)
  • รางวัลชมเชยแข่งขันฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิง ปีที่ 14 ณ ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ระหว่างวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2554 (รถประหยัดเชื้อเพลิง)
  • รางวัลชมเชยแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ ระดับภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ณ วิทยาลัยเทคนิคนครนายก ระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2555 (เครื่องขจัดคราบน้ำมันบนผิวน้ำ)
  • รางวัลชมเชยแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ ระดับภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ณ วิทยาลัยเทคนิคนครนายก ระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ชุดพื้นสาธิตผลิตพลังงานไฟฟ้า)
  • รางวัลชมเชยแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ ระดับจังหวัด ณ วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคมวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 (เครื่องปลอกเปลือกส้มโอ)
  • รางวัลชมเชยแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ ระดับภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ณ วิทยาลัยเทคนิคนครนายก ระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ชุดสาธิตควบคุมเครื่องกลด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา-เอสโซ่ ประจำปี 2555 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 17-19 สิหาคม 2555 ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2555 (อุปกรณ์ตรวจจับวัตถุสำหรับคนตาบอด)
  • รางวัลเหรียญทองแดงแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ ระดับจังหวัด ณ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จ.ชลบุรี วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 (Solar Cell ตามแสงอาทิตย์)
  • รางวัลเหรียญทองแดงแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ ระดับภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ณ Star IT Center @ Rayong จ.ระยอง ระหว่างวันที่ 16-20 ธันวาคม 2555 (Solar Cell ตามแสงอาทิตย์)
  • รางวัลเหรียญทองแดงแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ ระดับภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ณ Star IT Center @ Rayong จ.ระยอง ระหว่างวันที่ 16-20 ธันวาคม 2555 (พื้นผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเพียโซอิเล็กทริก)
  • รางวัลชนะเลิศการแข่งขันศึกปีกหมุนประลองปัญญา ภาคกลาง ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพ
  • รางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทองการประกวดการจัดสถานที่เรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทางอาชีวศึกษา ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2556 (ห้องปฏิบัติการทางภาษา)
  • รางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทองการประกวดการจัดสถานที่เรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทางอาชีวศึกษา ระดับภาค ปีการศึกษา 2556 (ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)

รางวัลพระราชทาน

[แก้]

ปีการศึกษา 2553 นายเจษฎา ตั้งมงคลสุข (นักเรียนสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์) ได้รับพระราชทานรางวัลนักเรียน "รางวัลพระราชทาน" จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์พระราชทานรางวัล ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา


ปีการศึกษา 2554 นางสาวภารดี เจริญธนมิตร (นักเรียนสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์)ได้รับรางวัลชมเชย ในโครงการการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ได้รับเกียรติบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการ

รางวัล V-net ดีเด่น

[แก้]

ปีการศึกษา 2554 มีนักเรียน นักศึกษาที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ทางด้านอาชีวศึกษา Vocational National Education Test (V-NET) ดีเด่น และได้รับรางวัลจากสำนักความร่วมมือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามลำดับ ดังนี้

  • นายเจษฎา ตั้งมงคลสุข
  • นายสารัช สมสุขทวีกูล
  • นายอัมรินทร์ สุขแสงเจริญรักษ์
  • นายกฤตพล อชินีทองคำ

สถานที่ในวิทยาลัย

[แก้]

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) มีอาคารสถานที่ที่สำคัญ ดังนี้

อาคารอำนวยการ

[แก้]

อาคารอำนวยการ มีจำนวน 3 ชั้น ประกอบด้วย

ชั้น 1

  • ห้องผู้อำนวยการ
  • ห้องรับรอง
  • ฝ่ายบริหารทรัพยากรซึ่งประกอบด้วย งานบริหารทั่วไป งานบุคลากร งานการเงิน งานการบัญชี งานพัสดุ งานอาคารสถานที่ งานทะเบียน งานประชาสัมพันธ์
  • ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือซึ่งประกอบด้วย งานวางแผนและงบประมาณ งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ งานความร่วมมือ งานวิจัย พัฒนา นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา งานส่งเสริมผลผลิต การค้าและประกอบธุรกิจ งานฟาร์มและโรงงาน
  • ฝ่ายวิชาการซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแผนกวิชา ดังนี้ แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ แผนกวิชาเครื่องกล แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ แผนกวิชาเทคนิคพื้นฐาน แผนกวิชาการบัญชี แผนกวิชาการตลาด แผนกวิชาอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และส่วนงาน ดังนี้ งานเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน งานวัดผลและประเมินผล งานวิทยบริการและห้องสมุด งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี งานสื่อการเรียนการสอน
  • ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษาซึ่งประกอบด้วย งานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา งานครูที่ปรึกษา งานปกครอง งานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน งานสวัสดิการนักเรียนนักศึกษา งานโครงการพิเศษและการบริการชุมชน
  • ห้องประชุมพานทองเขต2

ชั้น2

  • ศูนย์คอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • ห้องเรียนคอมพิวเตอร์

ชั้น3

  • ศูนย์วิทยบริการ ห้องสมุด
  • ห้องเรียนรวม

อาคารฐานวิทยาศาสตร์(ตึกฐานวิทย์ฯ)

[แก้]

อาคารฐานวิทยาศาสตร์(ตึกฐานวิทย์ฯ) มีจำนวน 4 ชั้น ประกอบด้วย

ชั้น1

  • โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(นำร่อง)
  • ห้องจัดแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการเคมี
  • ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
  • ห้องปฏิบัติการชีววิทยา

ชั้น2

  • ห้องปฏิบัติการทางภาษา
  • ห้องคณิตศาสตร์
  • ห้องเรียนรวม

ชั้น3

  • ห้องสังคมศึกษา
  • ห้องเรียนรวม

ชั้น4

  • แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์

อาคารอุตสาหกรรม

[แก้]

อาคารอุตสาหกรรมมีจำนวน 3 ชั้น ประกอบด้วย

ชั้น1

  • แผนกวิชาช่างยนต์
  • โรงปฏิบัติการช่างยนต์

ชั้น2

  • แผนกวิชาไฟฟ้า
  • ห้องปฏิบัติการทางไฟฟ้า
  • ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ชั้น3

  • หอประชุมอาคารอุตสาหกรรม ชั้น3

อาคารชั้นเดียว

[แก้]

ประกอบด้วยห้องพยาบาล และสำนักงานองค์การวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ระดับหน่วยวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี)

หอพัก

[แก้]

เมื่อเริ่มจัดตั้งโครงการฯโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบของโรงเรียนประจำที่นักเรียนจะต้องอยู่หอพัก แต่เดิมนั้นทางโรงเรียนยังไม่มีหอพักนักเรียนให้นักเรียนเข้าพักได้ทันกำหนดการรับนักเรียนเข้าศึกษาของนักเรียนรุ่นที่ 1 จึงทำให้นักเรียนรุ่นที่ 1 ต้องอาศัยอยู่ที่หอพักเอกชนภายนอกและมีรถรับส่งนักเรียนแทน หลังจากนั้นภายในปีการศึกษา ทางโรงเรียนได้ปรับปรุงอาคารอำนวยการและอาคารเรียนหลังเก่า ที่ตั้งอยู่ ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต1 เป็นหอพักนักเรียน และเริ่มรับนักเรียนรุ่นที่ 2 เข้าศึกษา ต่อมาทางโรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างหอพักนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 หลัง แล้วเสร็จในปี 2557

หอพักนักเรียน

ปัจจุบันหอพักนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 4 อาคาร คืออาคารหอพักนักเรียนชาย(หอบุษกร) อาคารหอพักนักเรียนหญิง(หอขจรรัตน์) หอพักส้ม 2559 และ หอพักเทา 2562 ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต 2 โดยชื่อที่ใช้เรียกนั้น เป็นชื่อหอที่เคยใช้เรียกกันตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่หอพักเดิม ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) เขต1 โดยมีรูปแบบอาคารที่เหมือนกัน คือ เป็นอาคาร 4 ชั้น บริเวณชั้นล่างมีพื้นที่ส่วนกลาง คือห้อง common room ที่ใช้ในการทำกิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมนั้นทนาการ การจัดการประชุม เป็นต้น

โอกาสในการศึกษาต่อ

[แก้]

นักเรียนมีโอกาสศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่ทำ ความร่วมมือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเป็นไปตามข้อกำหนด เงื่อนไข หลักเกณฑ์ และวิธีในการรับสมัครของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบไปแล้วและยังศึกษาต่อเทอมสุดท้ายสมารถเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยต่างๆได้แล้ว ดังนี้

ปีการศึกษา 2561

  1. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  4. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
  6. คณะเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
  7. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  8. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  9. คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
  10. คณะศิลปกรรม วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง
  11. คณะบริการธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  12. คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  13. วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี

ปีการศึกษา 2559

  1. Mechanical Engineering National Institute of Technology, NAGANO college.
  2. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  3. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  6. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
  7. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  8. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  9. คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด

ปีการศึกษา 2555

  1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  2. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปีการศึกษา 2554

  1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  3. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  5. คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  6. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  7. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  8. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  9. โครงการพัฒนาช่างเทคนิควิศวกรรมเคมี วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด

ปีการศึกษา 2553

  1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  2. คณะครุศาสตร์วิศวกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  4. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  6. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นักเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี)

[แก้]
ตราสัญลักษณ์สาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ ออกแบบโดยธนาดล วิลาจันทร์ ออกแบบกราฟิกโดยกฤตพล อชินีทองคำ เผยแพร่โดยเจษฎา ตั้งมงคลสุข
ตราสัญลักษณ์สาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ ออกแบบโดยธนาดล วิลาจันทร์ ออกแบบกราฟิกโดยกฤตพล อชินีทองคำ เผยแพร่โดยเจษฎา ตั้งมงคลสุข

สาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ เป็นสาขาที่เปิดขึ้นใหม่ เริ่มทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปี 2551 เป็นแห่งแรกในประเทศไทย มีนักศึกษารุ่นแรก 29 คน นักเรียนชาย 19 คน นักเรียนหญิง 10 คน รุ่นที่สอง 31 คน รุ่นที่สาม 35 คน รุ่นที่สี่ 25 คน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาในโครงการกลุ่มแรก 8 ท่าน นักเรียนฐานวิทย์ทั้งหมดพักในหอพักที่ทางโรงเรียนจัดไว้ให้ นักเรียนจะได้ศึกษาทั้งสายอาชีพ คือ วิชาเครื่องยนต์ วิชาไฟฟ้า วิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิชางานฝึกฝีมือ และสายสามัญ คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ฯลฯ และได้รับทุนสนับสนุน ในเรื่องสื่อการเรียนการสอน การทำโครงงาน และการดำรงชีวิต

การเรียนวิชาสายอาชีพ นักเรียนจะต้องรู้ทั้งทฤษฎีพื้นฐาน และการปฏิบัติจริง สามารถทำงานได้ และมีการทำโครงงานที่นำความรู้จากการเรียนมาประยุกต์เป็นชิ้นงานหนึ่งอย่าง และต้องสามารถใช้งานได้จริง

การเรียนวิชาสายสามัญ นักเรียนฐานวิทย์จะเรียนในวิชา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา กับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยโดย วิชาคณิตศาสตร์และวิชาฟิสิกส์เป็นอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาชีววิทยาและวิชาคณิตศาสตร์เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าคุณทะหารลาดกระบัง วิชาเคมีจะเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ส่วนวิชาอื่นๆนอกจากนี้จะเป็นอาจารย์ภายในวิทยาลัยที่ดูแล

Project นักเรียนฐานวิทย์จะได้ทำโครงงานหลักทุกปีโดยอาจทำเป็นกลุ่มหรือเป็นงานเดี่ยว นักเรียนจะต้องนำเสนอโครงการกับอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้อำนวยการ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อนำเสนอผ่าน ก็จะใช้เวลาทั้งภาคเรียนในการทำProject งบประมาณทั้งหมดในการทำโปรเจกต์นักเรียนได้รับจากโครงการ ในระหว่างทำโปรเจกต์ นักเรียนจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาในแต่ละงาน พอปลายภาคเรียน นักเรียนก็จะต้องสอบเหมือนกับวิชาโดยทั่วไป โดยการนำเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์จากทางมหาวิทยาลัย ซึ่งผลงานก็คือชิ้นงานจริงที่ได้ และเอกสาร ซึ่งทำเป็นงานวิจัย5บท โครงงานที่จะทำในครั้งต่อไปอาจต่อยอดจากงานเดิม หรือคือขึ้นใหม่ก็ได้ เพื่อนำไปสู่นักเทคโนโลยีที่ดีในอนาคต

นอกจากนี้นักเรียนฐานวิทย์ยังต้องฝึกงาน เหมือนกับนักศึกษาสายอาชีพอื่นๆ และมีการทำโปรเจกต์ในโรงงาน ซึ่งก็เป็นโรงงานในพื้นที่ คือในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร และนักเรียนฐานวิทย์ก็สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ เช่นกิจกรรมชมรม การทำโครงงานอื่นๆ (นอกเหนือจากโปรเจกต์) การเข้าค่ายนอกวิทยาลัย การแข่งขันกีฬา กิจกรรมการทำสาธารณประโยชน์ นักเรียนฐานวิทย์ได้เรียนวิชาลูกเสือเหมือนกับนักเรียนสาขาอื่นๆ และได้เข้าค่ายพักแรมร่วมกัน มีการเรียนนักศึกษาวิชาทหารสำหรับนักเรียนที่สนใจ

ด้วยความที่เป็นนักเรียนหอพัก และส่วนใหญ่บ้านอยู่ห่างไกลโรงเรียน นักเรียนฐานวิทย์จะมีการทำกิจกรรมภายในกลุ่ม คือการฉลองวันเกิดให้กับเพื่อนๆ รุ่นพี่ รุ่นน้อง และอาจารย์ที่ปรึกษา นักเรียนจะจัดกิจกรรมกันเองง่ายๆ และมักจะเป็นการเซอร์ไพรส์กับเจ้าของวันเกิด รูปแบบในการทำแต่ละครั้งมักไม่ซ้ำกันขึ้นอยู่กับเพื่อนๆที่จะจัด ทุกคนจะร่วมร้องเพลงให้กับเจ้าของวันเกิดอาจมีดนตรีประกอบเหมือนกิจกรรมนันทนาการ มีเค๊ก ของขวัญวันเกิด หรือมากกว่านั้น มักมีการวางแผนกันก่อนระยะหนึ่งเพื่อให้งานออกมาดี สถานที่ก่อการมีตั้งแต่ห้องเรียน ห้องพัก หรือแม้กระทั่งห้องอาบน้ำ เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนในหอพัก

จำนวนนักเรียนทุนในโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ชลบุรี
จำนวนรุ่น จำนวนนักเรียนในโครงการ สถานะการศึกษา
ชาย หญิง รวม
– นักเรียนรุ่นที่ 1 19 10 29 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2553
– นักเรียนรุ่นที่ 2 20 11 31 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2554
– นักเรียนรุ่นที่ 3 20 15 35 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2555
– นักเรียนรุ่นที่ 4 15 10 25 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2556
– นักเรียนรุ่นที่ 5 15 17 32 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2557
– นักเรียนรุ่นที่ 6 15 19 34 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2558
– นักเรียนรุ่นที่ 7 17 9 26 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2559
– นักเรียนรุ่นที่ 8 25 17 42 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2560
– นักเรียนรุ่นที่ 9 25 25 50 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2561
– นักเรียนรุ่นที่ 10 18 16 34 สำเร็จการศึกษาแล้วปีการศึกษา 2562
– นักเรียนรุ่นที่ 11 ? ? 40 กำลังศึกษา
– นักเรียนรุ่นที่ 12 ? ? 40 กำลังศึกษา
– นักเรียนรุ่นที่ 13 ? ? 40 กำลังศึกษา
รวม 192 149 341 สำเร็จการศึกษาแล้ว 10 รุ่น


ตราสัญลักษณ์ โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี)

[แก้]

ผู้ออกแบบ : นายธนาดล วิลาจันทร์(นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ รุ่นที่ 1)

ความหมายของสัญลักษณ์

สัญลักษณ์นี้มองรวมๆแล้วจะคล้ายๆดอกบัวตูม ความหมายของส่วนต่างๆที่ประกอบกันเป็นสัญลักษณ์นี้ มาจากแนวคิดหลักของสาขา ที่สอนให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ทั้งด้านวิชาการ ด้านงานปฏิบัติ และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาได้ โดยอาศัยการศึกษาและการทดลองบนพื้นฐานของหลักทางวิทยาศาสตร์ โดยความหมายของแต่ละส่วนมีดังนี้

  • -รูปคลื่นน้ำ: มาจากคำว่า “ชล”ในชื่อจังหวัดชลบุรี
  • -เฟือง: สื่อถึงความเป็นช่าง, นักเทคโนโลยี
  • -ขวดรูปชมพู่: สื่อถึงความเป็นวิทยาศาสตร์ ฟองที่ผุดออกสามฟองทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในภาพ
  • -เปลวรัศมีด้านข้าง: ซึ่งแตกยอดออกมาจากใต้เฟือง แสดงถึงปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ที่ประกอบกันมาจากทั้งทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์
  • -เส้นเถา: ผุดขึ้นจากใต้เฟือง เลื้อยวนพันกันเป็นเกลียวขึ้นไป แล้วแตกออกเป็นสามแฉก สื่อถึงการสร้างสรรค์ ปัญญา ความไม่หยุดนิ่ง การต่อยอดพัฒนา การเจริญเติบโต
  • -รัศมี: อยู่ยอดสุด มี๘แฉกหลัก และ๘แฉกรอง เลข๘ สื่อถึงอริยมรรคแปดอย่าง เป็นหนทางในการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลางและเกี่ยวเนื่องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง รัศมีหมายถึงความสว่างไสวแผ่ไปทั่วทั้งแปดทิศ, ปัญญาอันรุ่งโรจน์

ความหมายแห่ง THANVIT

[แก้]

Meaning of THANVIT

T : TALENT

H : HEART

A : ACCOMPLISHMENT

N : NATION

V : VIRTUE

I : INNOVATION

T : TEAMWORK

TALENT : ผู้มีความสามารถพิเศษ

นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ ที่ถูกบ่มเพาะภายใต้ปรัชญาหลักสูตร “สร้างสรรค์ นักเทคโนโลยี การเรียนรู้แบบ Project Based Learning Hands on, Minds on, Hearts on”

HEART : จิตใจ ความรัก

นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ที่มีจิตใจดีงาม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีน้ำใจและกอปรด้วยความรัก ความห่วงใย ที่มีต่อบุพการี โรงเรียน ครูอาจารย์ เพื่อน พี่ น้อง

ACCOMPLISHMENT : งานที่ทำสำเร็จ

นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างงาน ที่เกิดจากการเรียนรู้ ประดิษฐ์ ทดลอง ซึ่งไม่ว่าจะมีอุปสรรคกี่ครั้ง ก็สามารถฝ่าฟันจนประสบความสำเร็จ

NATION : ประเทศชาติ

นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นกำลังคนสำคัญด้าน วทน.ของประเทศ เพื่อยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีให้กับภาคการผลิตและบริการและนำพาประเทศไปสู่การแข่งขันในอนาคตที่ใช้ขีดความสามารถทางนวัตกรรมเป็นปัจจัยกำหนดความสามารถในการแข่งขัน

VIRTUE : คุณงามความดี

นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นนักเรียนที่ตั้งมั่นอยู่ใน ความดี คุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้ที่กระทำกรรมดี ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

INNOVATION : นวัตกรรม

นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้ากับทักษะด้านช่างเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ

TEAMWORK : การร่วมมือร่วมใจกระทำงานร่วมกัน

นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ที่มีความสามัคคีและร่วมมือร่วมใจกระทำงานร่วมกัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี เป็นผู้พูดและผู้ฟังอย่างเหมาะสม มีน้ำใจ มีอัธยาศัยดีและเป็นมิตร

ดูเพิ่ม

[แก้]