ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2561–2562
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2561–2562 | |
---|---|
แผนที่สรุปฤดูกาล | |
ขอบเขตฤดูกาล | |
ระบบแรกก่อตัว | 26 กันยายน พ.ศ. 2561 |
ระบบสุดท้ายสลายตัว | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 |
พายุมีกำลังมากที่สุด | |
ชื่อ | วิรอนิกา |
• ลมแรงสูงสุด | 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที) |
• ความกดอากาศต่ำที่สุด | 939 hPa (มิลลิบาร์) |
สถิติฤดูกาล | |
ความแปรปรวนทั้งหมด | 25 ลูก |
พายุไซโคลนเขตร้อน | 11 ลูก |
พายุไซโคลนกำลังแรง | 6 ลูก |
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด | 14 คน |
ความเสียหายทั้งหมด | 1.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน USD ปี 2019) |
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2561–2562 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในอัตราใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย ภายในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ระหว่าง 90°ตะวันออก ถึง 160°ตะวันออก โดยฤดูกาลนี้ได้เริ่มนับอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และจะถูกนับรวมในฤดูกาลนี้ด้วย ซึ่งในฤดูกาลนี้มีกรณีของกิจกรรมพายุหมุนเขตร้อนก่อนวันเริ่มฤดูกาลอย่างเป็นทางการ คือ ความกดอากาศต่ำเขตร้อนลีอูอา ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 และพายุไซโคลนแอนน์ ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในระหว่างฤดูกาล พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), สำนักอุตุนิยมวิทยา สภาพภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG) ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และศูนย์บริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกินี ในพอร์ตมอร์สบี ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของกองทัพเรือสหรัฐ (JTWC) ในรัฐฮาวาย สหรัฐ และศูนย์บริการทางอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติอื่น ๆ ประกอบด้วย เมทเซอร์วิซแห่งประเทศนิวซีแลนด์, เมเตโอ-ฟร็องส์แห่งประเทศฝรั่งเศสบนเกาะเรอูนียง และกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ก็ต่างเฝ้าติดตามส่วนของแอ่งในระหว่างฤดูกาลด้วยแบบไม่เป็นทางการ
การพยากรณ์ฤดูกาล
[แก้]ภูมิภาค | จำนวน เฉลี่ย |
โอกาสมีพายุ มากกว่า |
โอกาสมีพายุ น้อยกว่า |
เกิดขึ้น จริง |
---|---|---|---|---|
ทั้งแอ่ง | 11 | 37% | 63% | 11 |
ตะวันตก | 7 | 44% | 56% | 6 |
ตะวันตกด้านเหนือ | 5 | 41% | 59% | 4 |
เหนือ | 3 | 46% | 54% | 5 |
ตะวันออก | 4 | 40% | 60% | 5 |
แหล่งข้อมูล: คาดหมายฤดูกาลสำหรับพายุหมุนเขตร้อนของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย[1] |
ในช่วงเดือนตุลาคม ก่อนที่ฤดูกาลจะเริ่มต้นขึ้น สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM) ได้ออกประกาศการคาดหมายฤดูกาลสำหรับพายุหมุนเขตร้อนในฤดูกาล พ.ศ. 2561–2562 โดยระบุว่าฤดูอย่างเป็นทางการจะมีช่วงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ไปจนถึง 30 เมษายน 2562 การคาดหมายดังกล่าวเป็นการคาดหมายแบบรวมทั้งแอ่ง ประกอบด้วย ภูมิภาคตะวันออก เหนือ และตะวันตก รวมถึงภูมิภาคย่อยตะวันตกด้านเหนือ[1] การพยากรณ์คำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงสภาวะเอลนิโญล่าสุดที่มีกำลังอ่อนถึงเป็นกลางในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิก[1] การคาดหมายแสดงถึงกิจกรรมโดยรวมภายในแอ่ง รวมถึงในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งระบุว่ามีกิจกรรมของพายุใกล้เคียงถึงน้อยกว่าค่าเฉลี่ย[1] สำหรับภูมิภาคตะวันตก คือบริเวณระหว่าง เส้นเมริเดียน 90 องศาตะวันออก ถึง 125 องศาตะวันออกนั้น สำนักอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าจะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (7 ลูก) โดยมีโอกาสถึง 56% ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นน้อยกว่าค่าเฉลี่ย[1] ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนเพิร์ท ยังตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนสองลูก โดยอย่างน้อยหนึ่งลูกที่เป็นพายุโซโคลนกำลังแรงส่งผลกระทบต่อรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย[2] สำหรับภูมิภาคย่อยตะวันตกด้านเหนือ บริเวณระหว่างเส้นเมริเดียน 125 องศาตะวันออก ถึง 142.5 องศาตะวันออก มีโอกาสที่จะมีพายุมากกว่าค่าเฉลี่ย 54%[1] ส่วนภูมิภาคตะวันออก บริเวณระหว่างเส้นเมริเดียน 142.5 องศาตะวันออกถึง 160 องศาตะวันออก พยากรณ์ว่ามีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนใกล้เคียงค่าปกติ โดยมีโอกาส 60% ที่จะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย[1]
ภาพรวมฤดูกาล
[แก้]
หย่อมความกดอากาศต่ำ (≤63 กม./ชม.) | พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 3 (118–159 กม./ชม.) |
พายุไซโคลนระดับ 1 (63–88 กม./ชม.) | พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 4 (160–200 กม./ชม.) |
พายุไซโคลนระดับ 2 (89–117 กม./ชม.) | พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 5 (≥200 กม./ชม.) |
พายุ
[แก้]ความกดอากาศต่ำเขตร้อนลีอูอา
[แก้]ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 25 (เข้ามาในแอ่ง) – 29 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท) |
ความกดอากาศต่ำเขตร้อนบูชรา
[แก้]ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 9 (เข้ามาในแอ่ง) – 16 พฤศจิกายน (ออกนอกแอ่งไปเมื่อวันที่ 10 และกลับเข้ามาอีกครั้งในวันที่ 14 และออกนอกแอ่งไปอีกครั้งในวันที่ 16) | ||
ความรุนแรง | 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท) |
หย่อมความกดอากาศกำลังอ่อนก่อตัวขึ้นแถบศูนย์สูตรในมหาสมุทรอินเดีย ภายในพื้นที่รับผิดชอบของเมเตโอ-ฟร็องส์ในวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยระบบหย่อมความกดอากาศต่ำได้ค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางตะวันออก และแสดงให้เห็นถึงสัญญาณการทวีกำลังแรงขึ้นเพียงเล็กน้อย[3] ในช่วงปลายของวันที่ 9 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันลูกก่อนหน้าในอ่าวเบงกอลได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว บีโอบี 09 และเริ่มเคลื่อนตัวห่างออกไปและพบกับการบรรจบกันของการไหลของอากาศระดับต่ำที่สัมพันธ์กับการอ่อนกำลังของมัน[4] โครงสร้างของระบบเริ่มจัดระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมเตโอฟร็องส์ได้จัดให้ระบบเป็นการแปรปรวนของลมในเขตร้อน[5] ไม่นานหลังจากนั้นระบบได้เคลื่อนตัวผ่านเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก และเข้าสู่แอ่งภูมิภาคออสเตรเลีย โดยได้รับการจัดความรุนแรงของศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนจาการ์ตาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่น[6] ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมประเมินว่าการพัฒนาของหย่อมความกดอากาศต่ำนั้น อยู่ในระดับพายุโซนร้อนแล้วตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และจึงได้ออกรหัสเรียกอย่างไม่เป็นทางการกับระบบว่า 04S[7] ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ในเวลา 10:00 UTC (17:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ระบบได้เคลื่อนตัวย้อนกลับไปทางตะวันตก และกลับเข้าสู่แอ่งมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ตามเดิม[8] และมีการทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง โดยได้รับชื่อจากเมเตโอ-ฟร็องส์ว่า บูชรา (Bouchra)[9]
หลังจากที่พายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกของเส้นขอบมหาสมุทรอินเดียตะวันตกด้านใต้อยู่เป็นเวลาหลายวัน ระบบได้เคลื่อนตัวกลับเข้ามาในภูมิภาคออสเตรเลียอีกครั้งในวันที่ 12 พฤศจิกายน[10] โดยกลับเข้ามาในฐานะของพายุที่อ่อนกำลังลงอย่างมาก จากกำลังสูงสุดของตัวมันเอง และเหลือเพียงแค่เป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนเท่านั้น[11] โดยหย่อมนี้จะอยู่ภายในแอ่งออสเตรเลียเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ อีกครั้ง เนื่องจากเมเตโอ-ฟร็องส์ชี้ว่าระบบพายุไซโคลนบูชราเก่านี้ จะเคลื่อนตัวเลี้ยวกลับเข้าไปในด้านตะวันออกสุดของพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานในวันที่ 13 พฤศจิกายน[10] อีกหลายวันต่อมา สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียได้บันทึกว่า ระบบได้เคลื่อนตัวเลี้ยวกลับเข้าไปในแอ่งออสเตรเลียอีกครั้ง โดยมีระยะห่างจากหมู่เกาะโคโคสไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 1,000 กม. ทำให้มันกลายเป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าและออกจากแอ่งออสเตรเลียถึงสามครั้ง ภายในเวลาเพียงห้าวัน[12]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 14 – 18 พฤศจิกายน | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท) |
วันที่ 14 พฤศจิกายน สำนักอุตุนิยมวิทยาได้บันทึกว่ามีความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นในบริเวณพายุฝนฟ้าคะนอง ห่างจากเกาะคริสต์มาสไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 490 กม.[12] ซึ่งอยู่เหนือบริเวณที่มีน้ำทะเลที่อบอุ่นของเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งของเกาะชวา มีการพยากรณ์ว่าระบบจะเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ และมีโอกาสปานกลางในการก่อตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อน[12]
พายุไซโคลนกำลังแรงโอเวน
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 29 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม | ||
ความรุนแรง | 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 956 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.23 นิ้วปรอท) |
- วันที่ 29 พฤศจิกายน สำนักอุตุนิยมวิทยาได้บันทึกว่ามีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นเหนือหมู่เกาะโซโลมอน และระบบได้พัฒนาขึ้นเป็นบริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน[13]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน ระบบได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะทากูลาของประเทศปาปัวนิวกินีจากการเคลื่อนตัวไปทางแนวตะวันตก-ใต้ โดยศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่นได้มีการประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ เนื่องจากระบบมีการปรับปรุงโครงสร้างของมันให้ดีขึ้น[14] โดยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นในทะเลคอรัลเป็นตัวเติมเชื้อเพลิงให้กับระบบ และมีช่องอากาศไหลออกด้านบนเป็นตัวช่วยที่ยอดเยี่ยม ทำให้บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง[15]
- วันที่ 2 ธันวาคม เวลา 06:00 UTC สำนักอุตุนิยมวิทยาได้ปรับให้ระบบเป็นพายุระดับ 1 ตามมาตราของออสเตรเลีย และให้ชื่อกับพายุว่า โอเวน (Owen) ทำให้พายุลูกนี้เป็นพายุไซโคลนเขตร้อนลูกแรกที่ก่อตัวขึ้นในแอ่ง ในฤดูกาลภูมิภาคออสเตรเลีย 2561–2562[16]
- วันที่ 4 ธันวาคม โอเวนอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และถูกปรับลงเป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อน[16]
- วันที่ 10 ธันวาคม หลังจากที่โอเวนเคลื่อนตัวอยู่ด้านตะวันตกของทะเลคอรัลในฐานะความกดอากาศต่ำเขตร้อน โอเวนได้พัดขึ้นฝั่งบริเวณตอนเหนือของเมืองคาร์ดเวลล์ จากนั้นจึงเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวคาร์เพนแทเรีย และเริ่มมีการจัดระบบใหม่อีกครั้ง
- วันที่ 11 ธันวาคม โอเวนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 อีกครั้ง และพายุได้เข้าสู่วงวนแอนไทไซโคลนโดยสมบูรณ์ และเคลื่อนตัวย้อนกลับไปทางทิศตะวันออก และได้กลับมาทวีกำลังแรงอีกครั้ง จนมีความรุนแรงที่สุดเป็นพายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรงระดับ 3 โดยมีความเร็วลมสูงสุดต่อเนื่องใน 10 นาที ที่ 150 กม./ชม.
- วันที่ 15 ธันวาคม ไซโคลนโอเวนพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองโควันยามา และอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีปฏิสัมพันธ์กับแผ่นดิน[17] จนในช่วงบ่าย โอเวนถูกปรับลดเป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนอีกครั้ง
ในระหว่างที่พายุไซโคลนโอเวนพัดผ่านตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ พายุทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 คน และมีปริมาณน้ำฝนทั่วทั้งภูมิภาคสูงที่สุดอยู่ในชายฝั่งตะวันออก เมื่อเทียบกับชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ส่วนที่เหลือของรัฐ[18] ที่เมืองอินนิสเฟล วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดรายวันเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมได้ที่ 149 มิลลิเมตร (5.9 นิ้ว) ขณะที่เมืองคาวลีย์บีชวัดได้ 135 มิลลิเมตร (5.3 นิ้ว) เขื่อนคอปเปอร์โลดฟอลส์ที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองแคนส์วัดได้ 130 มิลลิเมตร (5.1 นิ้ว) และที่เมืองมิชชันบีชวัดได้ 98 มิลลิเมตร (3.9 นิ้ว)[19]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 05U
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 9 – 12 ธันวาคม | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท) |
- วันที่ 9 ธันวาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาประกาศว่ามีการพัฒนาของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังอ่อนขึ้น โดยระบบเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ผ่านตอนกลางฝั่งตะวันออกของทะเลคอรัล โดยมีระยะห่างจากเมืองทาวน์วิลล์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเฉตะวันออกประมาณ 1000 กม.[20]
พายุไซโคลนเกอนางา
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 14 – 16 ธันวาคม (ออกนอกแอ่ง) | ||
ความรุนแรง | 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท) |
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 27 – 28 ธันวาคม | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 1001 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.56 นิ้วปรอท) |
- วันที่ 27 ธันวาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาระบุว่ามีความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นในทะเลติมอร์ ห่างจากเมืองดาร์วิน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 490 กม.[21]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (โมนา)
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 28 – 31 ธันวาคม (ออกนอกแอ่ง) | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท) |
- วันที่ 28 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อนกำลังอ่อนก่อตัวขึ้นภายในร่องมรสุม ที่ทอดตัวยาวในตอนเหนือของทะเลคอรัล ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของภูมิภาค ใกล้กับแอ่งแปซิฟิกใต้[22]
พายุไซโคลนเพนนี
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 28 ธันวาคม – 9 มกราคม | ||
ความรุนแรง | 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 987 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.15 นิ้วปรอท) |
- วันที่ 28 ธันวาคม มีความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นอีกลูก ทำให้เดือนธันวาคมฤดูกาลนี้ มีกิจกรรมเยอะในแง่ของการก่อตัวของความกดอากาศต่ำเขตร้อน โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาระบุว่านี่เป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นลูกที่สาม[22] ในร่องมรสุม ที่ทอดตัวยื่นออกมาจากทะเลเขตร้อนของทะเลคอรัลในฝั่งตะวันออก ไปยังทะเลติมอร์ในฝั่งตะวันตก[23] การฟื้นคืนของมรสุมและกิจกรรมการพาความร้อนในภูมิภาค มีความเกี่ยวเนื่องกับการมีกำลังปานกลาง-กำลังแรงเป็นจังหวะ (moderate-strength pulse) ของการแกว่งไปมาของแมดเดน–จูเลียน ที่เคลื่อนที่ไปทางตะวันออกผ่านทวีปทะเล[24] ความกดอากาศต่ำ 09U ตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรเคปยอร์ก และถูกประเมินโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาให้มีโอกาสสูง ที่จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนภายในสามวัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย[22]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 29 – 30 ธันวาคม | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 1007 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.74 นิ้วปรอท) |
- วันที่ 29 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อนลูกที่สี่ก่อตัวขึ้นเขตตะวันออก ทางใต้ของเกาะทากูลา ประเทศปาปัวนิวกินี[22]
- วันที่ 30 ธันวาคม ระบบความกดอากาศต่ำเขตร้อนสลายตัวไป[25]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 30 ธันวาคม – 2 มกราคม | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท) |
- วันที่ 30 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทางตอนใต้ของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย[26]
- วันที่ 2 มกราคม เนื่องจากสภาพของบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของระบบ ทำให้ความกดอากาศต่ำเขตร้อนไม่ทวีกำลังแรงขึ้น ท้ายสุดระบบคดเคี้ยวไปมาอยู่ทางใต้ของประเทศอินโดนีเซีย ก่อนจะสลายตัวไป[27]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 11U
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 15 – 23 มกราคม (ออกนอกแอ่ง) | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท) |
พายุไซโคลนกำลังแรงไรลีย์
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 21 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ | ||
ความรุนแรง | 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 974 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.76 นิ้วปรอท) |
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 13U
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 21 – 25 มกราคม | ||
ความรุนแรง | 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 999 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.5 นิ้วปรอท) |
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 6 – 9 กุมภาพันธ์ | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท) |
พายุไซโคลนโอมา
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 7 กุมภาพันธ์ – 22 กุมภาพันธ์ (ออกนอกแอ่งไปเมื่อวันที่ 11 และกลับเข้ามาอีกครั้งในวันที่ 21 และออกนอกแอ่งอีกครั้งในวันที่ 22) | ||
ความรุนแรง | 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 977 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.85 นิ้วปรอท) |
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 15U
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 6 – 11 มีนาคม | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 1007 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.74 นิ้วปรอท) |
พายุไซโคลนกำลังแรงซะแวนนาห์
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 7 – 17 มีนาคม (ออกนอกแอ่ง) | ||
ความรุนแรง | 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 951 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.08 นิ้วปรอท) |
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 13 – 14 มีนาคม | ||
ความรุนแรง | ไม่ทราบความเร็วลม 1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท) |
พายุไซโคลนกำลังแรงเทรเวอร์
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 15 – 26 มีนาคม | ||
ความรุนแรง | 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท) |
พายุไซโคลนกำลังแรงวิรอนิกา
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 18 – 28 มีนาคม | ||
ความรุนแรง | 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 938 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.7 นิ้วปรอท) |
พายุไซโคลนกำลังแรงวอลลิซ
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 1 – 16 เมษายน | ||
ความรุนแรง | 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท) |
สืบเนื่องจากการหยุดลงของร่องมรสุมที่มีมีพลัง ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้เกิดการก่อตัวของพายุไซโคลนกำลังแรงเทรเวอร์และเวรอนิกาในสองสัปดาห์ก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นของกระแสพัดข้ามเส้นศูนย์สูตรจากมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือจึงนำไปสู่การพัฒนาขึ้นอีกครั้งของร่องมรสุมกำลังอ่อน ในทะเลเขตร้อนทางเหนือของทวีปออสเตรเลีย[28] การกลับมาของลักษณะแบบนี้มีส่วนรับผิดชอบในการสร้างสภาพบรรยากาศที่มีส่วนสนับสนุนการก่อตัวของความกดอากาศต่ำเขตร้อน[28]
- วันที่ 1 เมษายน สำนักงานดาร์วิน สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM) ได้ระบุว่ามีความกดอากาศต่ำเขตร้อนกำลังอ่อนก่อตัวขึ้นเหนือทะเลอาราฟูรา และเคลื่อนตัวอยู่ภายในร่องมรสุมกำลังอ่อนที่ก่อตัวขึ้นใหม่ ต่อมาสำนักอุตุนิยมวิทยาให้รหัสกับพายุนี้ว่า 21U[29]
- วันที่ 6 เมษายน เวลา 02.00 AWST (หรือ 18.00 UTC ของวันที่ 5 เมษายน) ความกดอากาศต่ำเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนระดับ 1 ตามมาตราของออสเตรเลีย และได้รับชื่อ วอลลิซ (Wallace) จากสำนักอุตุนิยมวิทยา
- วันที่ 7 เมษายน เวลา 00.00 UTC วอลลิซได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนระดับ 2 หลังจากที่ทวีกำลังแรงอย่างช้า ๆ มาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นผลมาจากการถูกลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรงขัดขวางการพัฒนา[30]
- วันที่ 8 เมษายน เวลา 18.00 UTC วอลลิซทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 3 โดยได้รับการยืนยันว่าวอลลิซเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงอยู่เพียงหกชั่วโมง ก่อนจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรง[31]
- วันที่ 10 เมษายน เวลา 00.00 UTC วอลลิซอ่อนกำลังลงเป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่มีแรงของพายุเกล ซึ่งมีกำลังอ่อนกว่าระดับพายุไซโคลนตามมาตราของออสเตรเลีย
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 22U
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 5 – 15 เมษายน | ||
ความรุนแรง | 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท) |
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 23U
[แก้]บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 21 – 26 เมษายน | ||
ความรุนแรง | 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท) |
พายุไซโคลนลีลี
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 4 – 11 พฤษภาคม | ||
ความรุนแรง | 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 997 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.44 นิ้วปรอท) |
พายุไซโคลนแอนน์
[แก้]พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย) | |||
---|---|---|---|
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
| |||
ระยะเวลา | 9 (เข้ามาในแอ่ง) – 18 พฤษภาคม | ||
ความรุนแรง | 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที) 993 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.32 นิ้วปรอท) |
รายชื่อพายุ
[แก้]สำนักอุตุนิยมวิทยา
[แก้]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551–52 มีรายชื่อพายุเพียงชุดเดียวที่สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียประกาศใช้ โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียได้แบ่งศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในประเทศออสเตรเลียออกเป็นสามศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เพิร์ท, ศูนย์ดาร์วิน และศูนย์บริสเบน[32] โดยมีหน้าที่ตรวจสอบพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดที่ก่อตัวในภูมิภาคออสเตรเลีย รวมถีงทำหน้าที่ออกคำแนะนำพิเศษให้ทั้งพื้นที่รับผิดชอบของ TCWC จาการ์ตาหรือ TCWC พอร์ตมอร์สบีด้วย โดยในฤดูกาล 2561–2562 นี้มีชื่อของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียถูกใช้ทั้งสิ้น 8 ชื่อ ดังตาราง
รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียในฤดูกาล 2561–2562 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
โอเวน (Owen) |
เพนนี (Penny) |
ไรลีย์ (Riley) |
ซะแวนนาห์ (Savannah) |
เทรเวอร์ (Trevor) |
วิรอนิกา (Veronica) |
วอลลิซ (Wallace) |
แอนน์ (Ann) |
TCWC จาการ์ตา
[แก้]ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในจาการ์ตา ทำการติดตามพายุหมุนเขตร้อนในขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออกไปจนถึง 145 องศาตะวันออก เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนในขอบเขตรับผิดชอบของ JTWC จาการ์ตานี้ พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากทางศูนย์ฯ[32] โดยในฤดูกาล 2561–2562 มีพายุหมุนเขตร้อนที่ได้รับจาก JTWC จาการ์ตาทั้งสิ้น 2 ชื่อ ดังตาราง
รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของ JTWC จาการ์ตา ในฤดูกาล 2561–2562 | |
---|---|
เกอนางา (Kenanga) | ลีลี (Lili) |
TCWC พอร์ตมอร์สบี
[แก้]พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในระหว่างขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้จนถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 151 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก จะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี บริเวณนี้บริเวณที่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก และไม่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวและมีกำลังขึ้นจนได้รับชื่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แล้ว[33] โดยฤดูกาล 2561–2562 ไม่มีพายุหมุนเขตร้อนใดได้รับชื่อจาก TCWC พอร์ตมอร์สบี
ผลกระทบ
[แก้]ชื่อ | ระหว่างวันที่ | ความรุนแรงสูงสุด | ความเร็วลม เฉลี่ย |
ความกดอากาศ | พื้นที่ผลกระทบ | ความเสียหาย (AUD) |
ความเสียหาย (USD) |
ผู้เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีอูอา | 26 – 29 กันยายน | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | 55 กม./ชม. | 995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) | หมู่เกาะโซโลมอน | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
บูชรา | 9 – 16 พฤศจิกายน | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | 55 กม./ชม. | 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
TL | 14 – 18 พฤศจิกายน | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) | เกาะชวา, เกาะคริสต์มาส | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
โอเวน | 29 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม | พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 | 150 กม./ชม. | 956 hPa (28.23 นิ้วปรอท) | หมู่เกาะโซโลมอน, ปาปัวนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี |
34.8 ล้าน | 25 ล้าน | 1 | [18][34] |
TL | 9 – 12 ธันวาคม | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) | หมู่เกาะโซโลมอน, รัฐควีนส์แลนด์ | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
เกอนางา | 14 – 16 ธันวาคม | พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 | 75 กม./ชม. | 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
เพนนี | 26 ธันวาคม – 9 มกราคม | พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 | 95 กม./ชม. | 989 hPa (29.15 นิ้วปรอท) | ปาปัวนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์ | เล็กน้อย | เล็กน้อย | ไม่มี | |
TL | 27 – 28 ธันวาคม | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 1001 hPa (29.56 นิ้วปรอท) | เกาะติมอร์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
โมนา | 28 – 31 ธันวาคม | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) | หมู่เกาะโซโลมอน | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
TL | 30 ธันวาคม – 2 มกราคม | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
11U | 15 – 29 มกราคม | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
ไรลีย์ | 19 – 30 มกราคม | พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 | 120 กม./ชม. | 974 hPa (28.76 นิ้วปรอท) | รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
13U | 21 – 25 มกราคม | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | 55 กม./ชม. | 999 hPa (29.50 นิ้วปรอท) | รัฐควีนส์แลนด์ | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
โอมา | 7 – 22 กุมภาพันธ์ | พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 | 100 กม./ชม. | 979 hPa (28.91 นิ้วปรอท) | หมู่เกาะโซโลมอน, รัฐควีนส์แลนด์, รัฐนิวเซาท์เวลส์ | 700 พัน | 500 พัน | 1 | |
15U | 6 – 11 มีนาคม | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 1007 hPa (29.74 นิ้วปรอท) | หมู่เกาะมาลูกู | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
ซะแวนนาห์ | 7 – 17 มีนาคม | พายุโซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 | 175 กม./ชม. | 951 hPa (28.08 นิ้วปรอท) | เกาะชวา, เกาะคริสต์มาส, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) | 6.87 ล้าน | 4.84 ล้าน | 12 | [35][36] |
18U | 13 – 14 มีนาคม | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
เทรเวอร์ | 15 – 26 มีนาคม | พายุโซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 | 175 กม./ชม. | 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) | ปาปัวนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี | 1 ล้าน | 710 พัน | ไม่มี | |
วิรอนิกา | 18 – 31 มีนาคม | พายุโซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 | 195 กม./ชม. | 938 hPa (27.70 นิ้วปรอท) | เกาะติมอร์, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย | 2.2 พันล้าน | 1.6 พันล้าน | ไม่มี | [37] |
TL | 31 มีนาคม – 3 เมษายน | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) | ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของปาปัวนิวกินี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
วอลลิซ | 1 – 16 เมษายน | พายุโซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 | 120 กม./ชม. | 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) | นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, หมู่เกาะมาลูกู, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย, เกาะติมอร์, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) |
ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
22U | 5 – 15 เมษายน | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | 65 กม./ชม. | 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) | เกาะนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย |
ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
TL | 21 – 26 เมษายน | ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | ไม่ได้ระบุ | 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
ลีลี | 4 – 11 พฤษภาคม | พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 | 75 กม./ชม. | 997 hPa (29.44 นิ้วปรอท) | อินโดนีเซียตะวันออก, ติมอร์ตะวันออก, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่มี | |
แอนน์ | 9 – 18 พฤษภาคม | พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 | 95 กม./ชม. | 993 hPa (29.32 นิ้วปรอท) | หมู่เกาะโซโลมอน, นิวแคลิโดเนีย, รัฐควีนส์แลนด์ | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
สรุปฤดูกาล | |||||||||
25 ลูก | 26 กันยายน – 18 พฤษภาคม | 195 กม./ชม. | 938 hPa (27.70 นิ้วปรอท) | 2.24 พันล้าน | 1.63 พันล้าน | 14 |
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อฤดูพายุไซโคลนซีกโลกใต้
- ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก: 2561, 2562
- ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก: 2561, 2562
- ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก: 2561, 2562
- ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ: 2561, 2562
- ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2561–2562
- ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2561–2562
- พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 National Climate Centre (8 October 2018). "Australian Tropical Cyclone Outlook for 2018 to 2019: Lower number of cyclones likely for Australia". Australian Bureau of Meteorology. สืบค้นเมื่อ 8 October 2018.
- ↑ Perth Tropical Cyclone Warning Centre (10 October 2016). "Western Australia Seasonal Tropical Cyclone Outlook 2016–17". Australian Bureau of Meteorology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 10 October 2016.
- ↑ "12 UTC Gradient Level Wind Analysis Chart". Bureau of Meteorology. 1 November 2018.
- ↑ "Tropical Activity Bulletin" (PDF). Météo-France La Réunion. 9 November 2018.
- ↑ "Moderate Tropical Storm Bouchra Forecast Track Map". Météo-France La Réunion. 10 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2018.
- ↑ "Current Tropical Cyclone Basin Activity". Meteorology, Climatology and Geophysical Agency. 10 พฤศจิกายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ตุลาคม 2018.
- ↑ "Tropical Cyclone 04S Warning #1". Joint Typhoon Warning Center. 10 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2018.
- ↑ "Tropical Activity Bulletin" (PDF). Météo-France La Réunion. 10 November 2018.
- ↑ "Bouchra Analysis Bulletin #2" (PDF). Météo-France La Réunion. 11 November 2018.
- ↑ 10.0 10.1 "Tropical Activity Bulletin" (PDF). Météo-France La Réunion. 13 November 2018. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 13 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2018. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 14 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2018. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
- ↑ "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 29 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2018. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
- ↑ "Tropical Cyclone Formation Alert (Owen)". Joint Typhoon Warning Center. 30 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2018. สืบค้นเมื่อ 1 December 2018.
- ↑ "Tropical Cyclone 05P (Owen) Warning #1". Joint Typhoon Warning Center. 2 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
- ↑ 16.0 16.1 "Tropical Cyclone Owen Forecast Track Map #3". Bureau of Meteorology. 2 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
- ↑ "Tropical Cyclone Owen Advice 39". Bureau of Meteorology. 15 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-15. สืบค้นเมื่อ 15 December 2018.
- ↑ 18.0 18.1 "Man swept to his death after ex-cyclone Owen's record rain, as crocs let loose". The New Daily. 16 December 2018. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
- ↑ "Ex-Cyclone Owen downgraded to tropical low half a day after crossing Queensland coast". Australian Broadcasting Corporation. 15 December 2018. สืบค้นเมื่อ 15 December 2018.
- ↑ "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 9 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 9 December 2018.
- ↑ "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 27 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 28 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2018. สืบค้นเมื่อ 28 December 2018.
- ↑ "12 UTC Australian Region MSLP Analysis" (PDF). Bureau of Meteorology. 28 ธันวาคม 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2018.
- ↑ "Weekly Tropical Climate Note". Bureau of Meteorology. 18 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2018. สืบค้นเมื่อ 28 December 2018.
- ↑ "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 31 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2019. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
- ↑ "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 30 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2018. สืบค้นเมื่อ 30 December 2018.
- ↑ "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 3 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2019. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
- ↑ 28.0 28.1 "Weekly Tropical Climate Note". Bureau of Meteorology. 26 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
- ↑ "Northern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 1 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
- ↑ "Tropical Cyclone Technical Bulletin #13 (Wallace)". Bureau of Meteorology. 7 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ "Tropical Cyclone 23S (Wallace) Warning #16". www.webcitation.org. 2019-04-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
- ↑ 32.0 32.1 "Tropical Cyclone Operational plan for the South Pacific & Southeast Indian Ocean, 2014 Edition" (PDF). WMO. สืบค้นเมื่อ 2016-06-12.
- ↑ Gary Padgett (2008). "Monthly Global Tropical Cyclone Summary October". Australian Severe Weather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.
- ↑ Weather, Climate & Catastrophe Insight: 2018 Annual Report (PDF) (Report). AON Benfield. January 22, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2019-02-14. สืบค้นเมื่อ January 24, 2019.
- ↑ Bagus, Rahadian (7 March 2019). "Kecelakaan Mobil di Jalan Tol Madiun-Surabaya, Bocah 5 Tahun Tewas" (ภาษาอินโดนีเซีย). Tribunnews. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
- ↑ Muryanto, Bambang (18 March 2019). "Five dead, one missing after flooding, landslides in Yogyakarta". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
- ↑ Dyer, Glenn (2 April 2019). "Rio Confirms Cyclone Veronica Damage". ShareCafe. สืบค้นเมื่อ 2 April 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย เก็บถาวร 2009-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เก็บถาวร 2015-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนจาการ์ตา (อินโดนีเซีย)