มาร์ธาแห่งเดนมาร์ก
มาร์ธาแห่งเดนมาร์ก | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน เจ้าหญิงแห่งเดนมาร์ก | |||||
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1298–1318 | ||||
ก่อนหน้า | เฮลวิกแห่งฮ็อลชไตน์ | ||||
ถัดไป | บล็องช์แห่งนามูร์ | ||||
ประสูติ | ค.ศ. 1277 เดนมาร์ก | ||||
สวรรคต | 2 มีนาคม ค.ศ. 1341 (พระชนมายุราว 64 พรรษา) โบสถ์นักบุญเปเดอ, ไนส์วึด | ||||
ฝังพระศพ | โบสถ์นักบุญเบ็นท์, ริงสเต็ด | ||||
คู่อภิเษก | พระเจ้าบีร์เยอแห่งสวีเดน | ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
ราชวงศ์ | แอสตริดเซน (โดยประสูติ) ยาลโบ (โดยเสกสมรส) | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก | ||||
พระราชมารดา | อักเนสแห่งบรันเดินบวร์ค | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
มาร์ธาแห่งเดนมาร์ก หรือ มาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก (ค.ศ. 1277 - 2 มีนาคม หรือ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1341) ทรงเป็นเจ้าหญิงเดนมาร์ก และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน จากการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าบีร์เยอแห่งสวีเดน เมื่อประสูติทรงมีพระนามว่า มาร์เกรเธอ อีริคสแด็ทเทอร์ (เดนมาร์ก: Margrete Eriksdatter) แต่ในสวีเดนทรงถูกเรียกว่า มาร์ธา (สวีเดน: Märta) และทรงเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ในชื่อ พระราชินีมาร์ธา พระนางทรงได้รับการกล่าวของว่าเป็นสมเด็จพระราชินีที่มีอิทธิพลทางการเมืองสูงสุด และเป็นบุคคลสำคัญในเหตุการณ์กลเกมฮอตูนาและงานเลี้ยงนูเชอปิง
พระชนม์ชีพ
[แก้]ช่วงต้นพระชนม์ชีพ
[แก้]เจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก หรือ มาร์ธา ทรงเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก กับอักเนสแห่งบรันเดินบวร์ค และเป็นพระขนิษฐาในพระเจ้าอีริคที่ 6 แห่งเดนมาร์ก ในค.ศ. 1282 กษัตริย์เดนมาร์กและกษัตริย์สวีเดนได้กลับมาสานสัมพันธ์กันอย่างสันติ และตกลงกันให้เจ้าหญิงมาร์ธาเสกสมรสกับเจ้าชายบีร์เยอ รัชทายาทในราชบัลลังก์สวีเดน[1] ในค.ศ. 1284 สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประทานให้มีการเสกสมรสครั้งนี้[2] ในค.ศ. 1288 ที่เมืองเฮลซิงบอรย์ มีการสร้างพันธมิตรจากการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์เดนมาร์กกับราชวงศ์สวีเดน คือระหว่าง กษัตริย์อีริคที่ 6 พระเชษฐาของพระนาง อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก มักนุสด็อทเทอร์แห่งสวีเดน ซึ่งมีกำหนดการอภิเษกสมรสในค.ศ. 1296[3]
ตามพงศาวดารอีริค เจ้าหญิงมาร์ธาได้เสด็จออกจากเดนมาร์กหลังจากมีการประกาศพิธีหมั้นแล้ว และทรงใช้พระชนม์ชีพในวัยเยาว์ที่ราชสำนักสวีเดน[4] แต่ก็ไม่มีข้อมูลทราบแน่ชัดว่าพระนางเสด็จออกจากเดนมาร์กเมื่อใด แต่คาดว่าอาจจะก่อนพระราชบิดาของพระนางจะสวรรคตใน ค.ศ. 1286[5]
สมเด็จพระราชินี
[แก้]พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงมาร์ธากับกษัตริย์บีร์เยอจัดขึ้นในเมืองสตอกโฮล์ม วันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1298[6] พระราชพิธีอภิเษกสมรสมีรายละเอียดที่ซับซ้อนมาก โดยมีขบวนเหล่าอัศวิน โรงละครสมัครเล่นของพวกขุนนาง กษัตริย์ทรงสถาปนาพระราชอนุชาทั้งหลายเป็นดยุก พระนางมาร์ธาทรงได้รับการสรรเสริญเนื่องจากพระนางไม่ทรงร้องขอใดๆ นอกจากขอให้ปล่อยตัวมักนุส อัลโกต์สัน ขุนนางซึ่งถูกจับกุมด้วยข้อหาลักพาตัวเจ้าสาวที่เกิดตั้งแต่ ค.ศ. 1288[7] พระนางทรงได้รับที่ดินเป็นสินสมรสอย่างที่คาดไม่ถึง ประกอบด้วย เฟียดรุนดาลันด์ (อุปป์ลันด์ตะวันตก) และเอียนเชอปิง เป็นที่ดินศักดินาส่วนพระองค์ ซึ่งพระนางทรงได้รับพระราชทานใน ค.ศ. 1300[8] พระนางได้รับการสวมมงกุฎเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดนที่เซอเดอร์เชอปิง วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1302[9]
พระราชินีมาร์ธาและกษัตริย์บีร์เยอทรงเจริญพระชันษามาด้วยกัน และพระชนม์ชีพสมรสก็มีความสุข พระนางทรงได้รับการบรรยายว่าทรงมีอิทธิพลใหญ่หลวงเหนือพระราชสวามีและกิจการของรัฐ และทรงได้รับการบรรยายว่าทรงเป็นผู้กระตือรือร้นทางการเมือง[10] ในค.ศ. 1304 สมเด็จพระราชินีมาร์ธาแห่งสวีเดน และสมเด็จพระราชินีอิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของพระสวามี ทรงเข้าร่วมการประชุมที่พรมแดนระหว่างกษัตริย์บีร์เยอและกษัตริย์อีริคที่ 6 ที่คนาเรด หรือ ฟาแกร์ดาลา[11] ในวาระนี้เจ้าชายมักนุสแห่งสวีเดน พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระนางได้รับการประกาศเป็นรัชทายาทราชบัลลังก์สวีเดน
ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1306 พระราชินีมาร์ธาและกษัตริย์บีร์เยอทรงได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลอง แต่จากนั้นทรงถูกจับกุมโดยเจ้าชายอีริค ดยุกแห่งเซอเดร์มันลันด์และเจ้าชายวัลเดมาร์ ดยุกแห่งฟินแลนด์ ซึ่งเป็นเหล่าพระราชอนุชาของกษัตริย์ ในช่วงนี้คือเหตุการณ์กลเกมฮอตูนาและทรงถูกนำไปจองจำที่ปราสาทนูเชอปิง โดยดยุกทั้งสองทรงยึดพระราชอำนาจของอาณาจักร[12] พระราชโอรส 2 พระองค์และพระราชธิดา 1 พระองค์ได้ถูกจองจำด้วย ในขณะที่เจ้าชายมักนุส พระราชโอรสองค์ใหญ่ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทได้เสด็จหนีไปยังเดนมาร์ก[13] มีการทำสนธิสัญญากันระหว่างกษัตริย์เดนมาร์ก พระเชษฐาของพระราชินีมาร์ธา กับเหล่าดยุกในปีถัดมา เหล่าพระราชอนุชาในพระสวามีได้รับรองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินที่เป็นส่วนของพระนาง และในค.ศ. 1308 พระราชินีมาร์ธาและกษัตริย์บีร์เยอทรงได้รับการปล่อยพระองค์[14]
มีบันทึกว่าสมเด็จพระราชินีมาร์ธาทรงมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์งานเลี้ยงนูเชอปิง ค.ศ. 1317 ซึ่งกษัตริย์และพระราชินีทรงแก้แค้นเหล่าดยุก โดยทรงเชิญพระราชอนุชาทั้งสองมาร่วมงานเฉลิมฉลอง หลังจากนั้นทรงมีรับสั่งให้จับกุมทั้งสองพระองค์และพระราชอนุชาทั้งสองสิ้นพระชนม์ในที่คุมขังใต้ดิน และข้อเท็จจริงชี้ชัดว่าพระราชินีทรงเป็นผู้วางแผนการณ์เบื้องหลัง[15] ตามพงศาวดารอีริค สมเด็จพระราชินีมาร์ธาและโยฮัน บรุนโคว์ ข้าราชสำนักของกษัตริย์เป็นผู้ริเริ่มให้ทำการจับกุมเหล่าดยุก[16] แต่พงศาวดารลือเบ็ค อ้างว่า พระนางทรงมีอิทธิพลเหนือกษัตริย์บีร์เยอให้ดำเนินการซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์เดนมาร์ก พระเชษฐาของพระนาง[17] พงศาวดารอีริค บรรยายว่าพระราชินีทรงให้การต้อนรับเหล่าพระราชอนุชาของกษัตริย์ด้วยคำมั่นว่า พระนางทรงรักพวกเขาราวกับเป็นพระอนุชาโดยสายเลือดเดียวกัน[18] พงศาวดารยังกล่าวถึงบทบาทของพระนางในงานเฉลิมฉลองที่บรรยายว่า "ทุกๆ คนเต้นรำตั้งแต่จากในบ้านไปจนถึงนอกบ้าน พระราชินีไม่เคยดูมีความสุขเช่นนี้มาก่อน"[19] ความอารมณ์ดีของพระนางถูกมองว่าเป็นสัญญาณแสดงความกระหายอย่างโหดเหี้ยมที่พระนางและพระราชสวามีต้องการแก้แค้นความอัปยศจากกลเกมฮอตูนา และทรงวางแผนจับกุมตัวดยุกทั้งสองกลางงานเฉลิมฉลอง[20]
แต่การปลงพระชนม์เหล่าดยุก ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งกับ 2 ดัชเชส พระชายาม่ายของดยุกทั้งสอง คือ เจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก โฮกุนสแด็ทเทอร์แห่งนอร์เวย์ ดัชเชสม่ายแห่งเซอเดร์มันลันด์และเจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก อีริคสแด็ทเทอร์แห่งนอร์เวย์ ดัชเชสม่ายแห่งฟินแลนด์ ได้รวมกำลังได้ชัยชนะเหนือกองทัพกษัตริย์ใน ค.ศ. 1318 กษัตริย์และราชินีเสด็จหนีไปเกาะเกิตลันด์ และจากนั้นเสด็จไปยังเกาะเชลลันด์ เดนมาร์ก พร้อมพระราชโอรสธิดา ส่วนโอรสในอดีตดยุกและดัชเชสม่ายแห่งเซอเดร์มันลันด์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สวีเดน[21]
ลี้ภัย
[แก้]วันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1318 กษัตริย์อีริคที่ 6 แห่งเดนมาร์กทรงพระราชทานตำหนักและที่ดินในยารุป บนคาปสมุทรจัตแลนด์แก่อดีตพระราชินีสวีเดนเป็นรายได้แก่พระนาง ปีถัดมากษัตริย์อีริคที่ 6 พระเชษฐาของพระนางได้เสด็จสวรรคต ราชบัลลังก์ได้ส่งผ่านไปยังพระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระราชอนุชาของพระนาง มีรายงานว่า อดีตพระราชินีมาร์ธาทรงมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์พระองค์ใหม่ที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากอาจเป็นเพราะในอดีต กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์เคยสนับสนุนเหล่าเจ้าชายดยุกสวีเดนในการต่อต้านกษัตริย์อีริคแห่งเดนมาร์ก[23] แต่ถึงกระนั้นกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 2 ทรงพระราชทานตำหนักสเปเกอบอร์กที่สแกร์สคอร์ บนเกาะเชลลันด์ แก่อดีตพระราชินีมาร์ธาและอดีตกษัตริย์บีร์เยอ โดยมีเขตการปกครองสองแห่ง[24]
อดีตพระราชินีมาร์ธาทรงตกพุ่มหม้ายใน ค.ศ. 1321 เหมือนว่า พระนางทรงต้องเสด็จติดตามกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 2 เมื่อกษัตริย์ทรงลี้ภัยไปยังดินแดนเยอรมัน ค.ศ. 1326 และไม่ทรงได้เสด็จกลับเดนมาร์กเป็นเวลา 3 ปี[25] ในค.ศ. 1329 พระนางทรงได้รับการรับรองว่าจะมีการคืนทรัพย์สินให้แก่พระนาง ใน ค.ศ. 1332 กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 2 เสด็จสวรรคต และเดนมาร์กตกอยู่ในภาวะวุ่นวายของสมัยไร้กษัตริย์ ไม่มีการบันทึกถึงพระนางในช่วงเวลานี้ แต่ในช่วงปีต่อๆ มา ซึ่งเป็นวาระบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระนางทรงปลีกพระองค์ไปประทับที่อารามสโคฟคลอสเตอที่ไนส์วืดบนเกาะเชลลันด์[26]
เจ้าชายอีริคแห่งสวีเดน อัครพันธบริกรแห่งอุปซอลา พระราชโอรสองค์ที่สองของพระนางสิ้นพระชนม์ขณะลี้ภัยใน ค.ศ. 1319 ส่วนใน ค.ศ. 1320 เจ้าชายมักนุสแห่งสวีเดน พระราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จกลับสวีเดน เพื่อชิงราชบัลลังก์คืน ซึ่งทำให้ทรงถูกจับประหารชีวิตด้วยการตัดพระเศียร[27] พงศาวดารกล่าวถึงพระราชธิดาทั้งสองของพระนางคือ เจ้าหญิงอักเนสและเจ้าหญิงคาทารีนาเพียงน้อยนิดเท่านั้น เรื่องของเจ้าหญิงคาทารีนา พระราชธิดาองค์สุดท้องนั้นไม่มีการกล่าวถึงอีกเลย และที่รู้เพียงพระราชธิดาองค์ใหญ่คือ เจ้าหญิงอักเนสแห่งสวีเดน ที่ระบุว่า กษัตริย์เดนมาร์ก ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าหญิงได้พระราชทานที่ดินอารามสลันเงอรัป เพื่อให้พระนางดูแลใน ค.ศ. 1344[28]
พระศพของอดีตพระราชินีมาร์ธาได้รับการฝังที่โบสถ์นักบุญเบ็นท์, ริงสเต็ด
พระราชโอรส-ธิดา
[แก้]- เจ้าชายมักนุสแห่งสวีเดน (ค.ศ. 1300 - 1320) ถูกประหารชีวิตในสวีเดน
- เจ้าชายอีริคแห่งสวีเดน (สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1319) เป็นอัครพันธบริกรแห่งอุปซอลา สิ้นพระชนม์ในช่วงลี้ภัย
- เจ้าหญิงอักเนสแห่งสวีเดน (สิ้นพระชนม์หลัง ค.ศ. 1344) เป็นแม่ชีแห่งอารามสลันเงอรัป
- เจ้าหญิงคาทารีนาแห่งสวีเดน (สิ้นพระชนม์หลัง ค.ศ. 1320)
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Christer Öhman: Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien [Saints, peasants and warriors. Stories from the Swedish history], 1994
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Christer Öhman: Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien [Saints, peasants and warriors. Stories from the Swedish history], 1994
- ↑ Christer Öhman: Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien [Saints, peasants and warriors. Stories from the Swedish history], 1994
- ↑ Christer Öhman: Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien [Saints, peasants and warriors. Stories from the Swedish history], 1994
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Engberg, Niels (2014). "Erik 4. Plovpenning og Jutta". ใน Kryger, Karin (บ.ก.). Danske kongegrave I. Selskabet til Udgivelse af danske Mindesmærker. pp. 322–335 (p. 323 in particular).
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
- ↑ Märta, urn:sbl:8651, Svenskt biografiskt lexikon (art av Hans Gillingstam), hämtad 2016-09-06.
อ้างอิง
[แก้]- Svensk Uppslagsbok, 1947 års utgåva. [Swedish dictionary, 1947 edition] 1947 (Swedish)
- Wilhelmina stålberg (Swedish): Anteqningar om svenska qvinnor [Notes on Swedish women]
- Dick Harrison (Swedish): Jarlens sekel [The century of the jarl]
- Christer Öhman: Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien [Saints, peasants and warriors. Stories from the Swedish history], 1994
- [1]
ก่อนหน้า | มาร์ธาแห่งเดนมาร์ก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ว่าง ตำแหน่งก่อนหน้า เฮลวิกแห่งฮ็อลชไตน์ |
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน (ค.ศ. 1298–1318) |
ว่าง ตำแหน่งถัดไป บล็องช์แห่งนามูร์ |