ข้ามไปเนื้อหา

มานะ มหาสุวีระชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มานะ มหาสุวีระชัย
สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มวิทยาศาสตร์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 มีนาคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
พรรคการเมืองอิสระ

มานะ มหาสุวีระชัย (เกิด 31 มีนาคม พ.ศ. 2498) เป็นสมาชิกวุฒิสภา อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคแทนคุณแผ่นดิน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

เกิดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2498 ที่ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายประวิทย์ และนางสุชา มหาสุวีระชัย

การศึกษา

[แก้]

มานะ มหาสุวีระชัย หรือ ดร.มานะ มหาสุวีระชัย จบการศึกษาประถมศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลวัดพระโต จบมัธยมศึกษา ม.ศ.1-2 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ ม.ศ.3โรงเรียนศรีวิกรม์ ม.ศ.4-5โรงเรียนอำนวยศิลป์ จบปริญญาตรีวิศวกรรมโยธา จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สอบได้ที่ 1) ปริญญาโทวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (A.I.T.) ทุนรัฐบาลเยอรมัน (สอบได้ที่ 1) และปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง (Ph.D. Structural Engineering) จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ สหรัฐอเมริกา

การทำงาน

[แก้]

รับราชการ

[แก้]

ดร.มานะ มหาสุวีระชัย เริ่มรับราชการสังกัดกรมโยธาธิการ ชั้นพิเศษ (ระดับ 7) โดยทำงานอยู่ 6 ปี เป็นผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสะพานพระราม 7 เป็นกรรมการวิชาการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

งานการเมือง

[แก้]

ก่อนจะเข้าสู่การเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาคราบน้ำมันในอ่าวไทย เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี พ.ศ. 2537[2] และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจรัส พั้วช่วย) เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2538

ลงสมัคร ส.ส. ศรีสะเกษ เขต 1 อีกครั้งในสังกัด พรรคพลังธรรม ในการเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2539, เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2539, เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางพิมพา จันทร์ประสงค์) เมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539, ลงสมัคร ส.ส. ศรีสะเกษ เขต 1 อีกครั้งในสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และได้ลงสมัคร ส.ส. ศรีสะเกษ เขต 1 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 แต่แพ้ให้กับนายบุญชง วีสมหมายไปเพียง 138 คะแนน[3] และการเลือกตั้งซ่อม 3 มีนาคม พ.ศ. 2545, ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2546

สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2547 ดร.มานะ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้หมายเลข 5 และไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด โดยได้รับการสนับสนุนจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตผู้ว่ากรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

การเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง

[แก้]

ในช่วงของการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ดร.มานะได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 ที่หน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ ที่ทำการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

การสมัครรับเลือกตั้งหลังปี พ.ศ. 2549

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2550 ดร.มานะได้เข้าเป็นหัวหน้าพรรคแทนคุณแผ่นดินอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนจะเข้าร่วมกับพรรคประชาราชของนายเสนาะ เทียนทอง โดยลงเลือกตั้งในระบบสัดส่วน เขต 4 ของพรรคประชาราช ลำดับที่ 1[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 เขาลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกเข้ามาในอันดับที่ 9 ของกลุ่มที่ 13 ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๙/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง [นายมานะ มหาสุวีระชัย]
  3. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน (พรรคประชาราช)
  5. "เปิดรายชื่อ 200 สว. "สมชาย" ตกรอบ "ศรีวราห์-ทนายตั้ม" ติดสำรอง". ไทยพีบีเอส.
  6. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]