ข้ามไปเนื้อหา

มนุษย์โบราณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กะโหลกดึกดำบรรพ์ของ Homo rhodesiensis ที่เรียกว่า "Broken Hill Cranium" มีอายุถึง 130,000 ปีก่อน (โดยใช้วิธี amino acid racemization determination) ก็ 800,000-600,000 ปีก่อน (คือในช่วงอายุเดียวกับ Homo erectus)

สายพันธุ์มนุษย์สกุล Homo หลายชนิดสามารถจัดเข้าในหมวดกว้าง ๆ คือ มนุษย์โบราณ (อังกฤษ: archaic human) เริ่มตั้งแต่ 600,000 ปีก่อน ซึ่งปกติจะรวม Homo neanderthalensis[1] (300,000-28,000 ปีก่อน[2]) Homo rhodesiensis (400,000-125,000 ปีก่อน), Homo heidelbergensis (600,000-250,000 ปีก่อน), และอาจรวม Homo antecessor (1.2 ถึง 0.8 ล้านปีก่อน)[3] โดยมนุษย์กลุ่มไหนจะจัดเป็น "มนุษย์โบราณ" ขึ้นอยู่กับนิยามต่าง ๆ ของผู้เขียน เป็นหมวดหมู่ที่ใช้เปรียบเทียบกับ มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน/มนุษย์ปัจจุบัน (อังกฤษ: anatomically modern humans)

มีสมมติฐานว่า มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการมาจากมนุษยโบราณ ซึ่งก็วิวัฒนาการมาจาก Homo erectus บางครั้ง มนุษย์โบราณจะรวมเข้าในสปีชีส์ "Homo sapiens" เพราะขนาดสมองใกล้เคียงกัน คือ มีขนาดสมองเฉลี่ยที่ระหว่าง 1,200-1,400 ซม3 ซึ่งคาบเกี่ยวกับพิสัยขนาดสมองของมนุษย์ปัจจุบัน แต่มนุษย์โบราณจะต่างจากมนุษย์ปัจจุบันโดยมีกะโหลกศีรษะหนา สันคิ้วเหนือตาที่เด่น และไม่มีคางเด่นเท่ามนุษย์ปัจจุบัน[3][4]

มนุษย์ปัจจุบันปรากฏขึ้นประมาณ 300,000 ปีก่อน[5] และหลังจาก 70,000 ปีก่อน ก็เริ่มจะแทนที่มนุษย์โบราณในที่ต่าง ๆ แต่มนุษย์สกุล Homo ที่ "ไม่ปัจจุบัน" ก็คงอยู่รอดจนกระทั่ง 30,000 ปีก่อน และอาจจนถึง 10,000 ปีก่อน

อย่างไรก็ดี ตามงานศึกษาทางพันธุกรรมปี 2555 มนุษย์ปัจจุบันอาจจะได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณ "อย่างน้อยสองกลุ่ม" คือ นีแอนเดอร์ทาลและมนุษย์กลุ่ม Denisovan[6] ส่วนงานศึกษาอื่น ๆ ตั้งความสงสัยว่า การผสมพันธุ์อาจไม่ใช่เหตุที่มนุษย์ปัจจุบันมียีนร่วมกับมนุษย์โบราณ แล้วชี้ไปที่การมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 500,000-800,000 ปีก่อน[7][8][9]

งานศึกษาปี 2555 ยังเสนอมนุษย์อีกกลุ่มที่อาจมีชีวิตอยู่จนกระทั่ง 11,500 ปีก่อน คือกลุ่มมนุษย์ Red Deer Cave people ในจีน[10] ดร. คริส สตริงเกอร์ ที่พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาลอนดอน ได้เสนอว่า มนุษย์กลุ่มนี้อาจเกิดจากการผสมพันธุ์กันระหว่างมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์ Denisovan[11] ส่วนนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น ๆ ยังไม่ค่อยเชื่อ และเสนอว่า ลักษณะที่กำหนดว่ามีเฉพาะมนุษย์กลุ่มนี้ ยังอยู่ในพิสัยความแตกต่างที่หวังได้จากกลุ่มประชากรมนุษย์ปัจจุบัน[12]

ศัพท์และนิยาม

[แก้]

หมวดหมู่ "มนุษย์โบราณ" ไม่มีนิยามเดียวที่นักวิชาการมีมติร่วมกัน[3] ตามนิยามหนึ่ง Homo sapiens เป็นสปีชีส์เดียวอันประกอบด้วยสปีชีส์ย่อยต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์โบราณและมนุษย์ปัจจุบัน ตามนิยามนี้ มนุษย์ปัจจุบันก็จะเรียกว่า Homo sapiens sapiens และมนุษย์โบราณก็จะมีทวินามขึ้นหน้าว่า "Homo sapiens" ด้วย ยกตัวอย่างเช่น นีแอนเดอร์ทาลก็จะเรียกว่า Homo sapiens neanderthalensis และ Homo heidelbergensis ก็จะเรียกว่า Homo sapiens heidelbergensis

ส่วนนักอนุกรมวิธานอื่น ๆ ชอบใจไม่รวมมนุษย์โบราณและมนุษย์ปัจจุบันเข้าในสปีชีส์เดียว แต่แบ่งออกเป็นหลายสปีชีส์ ในกรณีนี้ ก็จะใช้ชื่อทวินามตามแบบอนุกรมวิธาน เช่น Homo rhodesiensis หรือ Homo neanderthalensis[3] เหตุผลทางวิวัฒนาการเพื่อแบ่งมนุษย์ปัจจุบันจากมนุษย์โบราณ และแบ่งมนุษย์โบราณจาก Homo erectus เป็นเรื่องยังไม่ชัดเจน

ซากดึกดำบรรพ์เก่าแก่ที่สุดที่จัดเข้าสกุล Homo sapiens โดยเรียกว่าเป็น "H. sapiens ต้น ๆ"[13] หรือ "H. sapiens ที่กำลังดำเนินไปสู่การมีกายวิภาคปัจจุบัน"[14] มาจากโบราณสถาน Jebel Irhoud ประเทศโมร็อกโก โดยมีอายุประมาณ 315,000 ปีก่อน[5]

ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่เรียกว่าเป็น "มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันต้น ๆ"[15] ก็คือซาก Omo remains จากโบราณสถาน Omo มีอายุ 195,000 ปีก่อน โดยจัดเข้ากับ H. sapiens และซากจากโบราณสถาน Herto Formation ที่มีอายุ 160,000 ปี โดยจัดเป็น Homo sapiens idaltu

ซากสองอย่างหลังนี้ ชัดเจนว่ามีกายวิภาคปัจจุบัน แต่ซากแรกจาก Jebel Irhoud ยังไม่ชัดเจน เช่นมีนักวิชาการที่คัดค้านว่า กะโหลกศีรษะโดยเฉพาะคือหน้าผาก ไม่เหมือนของมนุษย์ปัจจุบันพอ[16]

การเปรียบเทียบทางกายวิภาคของกะโหลกมนุษย์ Homo sapiens (ซ้าย) และ Homo neanderthalensis (ขวา) (พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์) ส่วนที่เปรียบเทียบรวมทั้งกระดูกหุ้มสมอง หน้าผาก สันคิ้ว กระดูกจมูก การยื่นออกของใบหน้า มุมกระดูกแก้ม คาง และกระดูกท้ายทอย

การขยายขนาดสมอง

[แก้]

การเกิดขึ้นของมนุษย์โบราณสปีชีส์ต่าง ๆ บางครั้งใช้เป็นหลักฐานของทฤษฎี "ดุลยภาพเป็นพัก ๆ" (punctuated equilibrium)[17] ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่งเกิดวิวัฒนาการทางชีวภาพอย่างสำคัญภายในระยะเวลาสั้น ๆ แต่หลังจากนั้น สปีชีส์นั้นก็จะเปลี่ยนแปลงน้อยเป็นระยะเวลานานจนกระทั่งถึง "พัก" ต่อไป ขนาดสมองของมนุษย์โบราณขยายขึ้นอย่างสำคัญเป็น 1,300 ซม3 จาก 900 ซม3 ของ H. erectus โดยจากขนาดใหญ่สุดที่มนุษย์โบราณมี สมองมนุษย์หลังจากนั้นความจริงได้ลดขนาดลง[18]

กำเนิดภาษา

[แก้]

นักมานุษยวิทยาและจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการชาวอังกฤษ รูบิน ดันบาร์ อ้างว่า มนุษย์โบราณเป็นพวกแรกที่ใช้ภาษา โดยวิเคราะห์ขนาดสมองสัมพันธ์กับขนาดกลุ่มสังคมของสายพันธุ์มนุษย์ เขาได้สรุปว่า เพราะว่ามนุษย์โบราณมีสมองใหญ่ จึงควรมีชีวิตอยู่กับกลุ่มใหญ่กว่า 120 คน เขาอ้างว่า กลุ่มใหญ่ขนาดนี้โดยไม่ใช้ภาษาเป็นไปไม่ได้ ไม่งั้นแล้วก็จะไม่เกิดความผูกพันแล้วกลุ่มก็จะสลายลง โดยเปรียบเทียบแล้ว ลิงชิมแปนซีใช้ชีวิตอยู่ในฝูงเล็กที่จำนวนอาจถึง 50 ตัว[19][20]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Hublin, J. J. (2009). "The origin of Neandertals". Proceedings of the National Academy of Sciences. 106 (38): 16022–7. Bibcode:2009PNAS..10616022H. doi:10.1073/pnas.0904119106. JSTOR 40485013. PMC 2752594. PMID 19805257.
  2. "Homo neanderthalensis - The Neanderthals". Australian Museum. 2013-02-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Dawkins (2005). M1 "Archaic homo sapiens". The Ancestor's Tale (US Paperback). Boston: Mariner. ISBN 0-618-61916-X. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |chapter-url= (help)
  4. Barker, Graeme (1999-01-01). "Companion Encyclopedia of Archaeology". Routledge – โดยทาง Google Books.
  5. 5.0 5.1 doi:10.1038/nature22335
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand Abstract
  6. Mitchell, Alanna (2012-01-30). "DNA Turning Human Story Into a Tell-All". NYTimes. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  7. "Neanderthals did not interbreed with humans, scientists find".
  8. Association, Press (2013-02-04). "Neanderthals 'unlikely to have interbred with human ancestors'" – โดยทาง The Guardian.
  9. Lowery, Robert K.; Uribe, Gabriel; Jimenez, Eric B.; Weiss, Mark A.; Herrera, Kristian J.; Regueiro, Maria; Herrera, Rene J. (2013-11-01). "Neanderthal and Denisova genetic affinities with contemporary humans: Introgression versus common ancestral polymorphisms". Gene. 530 (1): 83–94. doi:10.1016/j.gene.2013.06.005 – โดยทาง ScienceDirect.
  10. Amos, Jonathan (2012-03-14). "Human fossils hint at new species". BBC. สืบค้นเมื่อ 2012-03-14.
  11. Barras, Colin (2012-03-14). "Chinese human fossils unlike any known species". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 2012-03-15.
  12. Owen, James (2012-03-14). "Cave Fossil Find: New Human Species or "Nothing Extraordinary"?". National Geographic News.
  13. "Oldest Fossils of Homo Sapiens Found in Morocco, Altering History of Our Species". เดอะนิวยอร์กไทมส์. 2017-06-07.
  14. "Oldest Homo sapiens fossils discovered in Morocco". Washington Post. 2017-06-07.
  15. "World's oldest Homo sapiens fossils found in Morocco". Science Magazine. 2017-06-07.
  16. "Oldest Homo sapiens fossil claim rewrites our species' history". Nature. 2017-06-07.
  17. Huyssteen, Van; Huyssteen, Wentzel Van (2006-04-12). "Alone in the World?". Wm. B. Eerdmans Publishing – โดยทาง Google Books.
  18. "Cro Magnon skull shows that our brains have shrunk".
  19. Dunbar, Robin. "CO-EVOLUTION OF NEOCORTEX SIZE, GROUP SIZE AND LANGUAGE IN HUMANS". BBS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-26.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. Dunbar (1993). Grooming, Gossip, and the Evolution of Language. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-36336-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]