ภาษามีรังดา
ภาษามีรังดา | |
---|---|
mirandés | |
ป้ายชื่อถนนสองภาษาในมีรังดาดูโดรู ด้านบนเป็นภาษามีรังดา ด้านล่างเป็นภาษาโปรตุเกส | |
ประเทศที่มีการพูด | โปรตุเกส |
ภูมิภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เทศบาลมีรังดาดูโดรู, วีมีโยซู และมูกาโดรู) |
จำนวนผู้พูด | 15,000 คน (2543)[1] (ใช้เป็นประจำ 10,000 คน; ใช้เมื่อกลับสู่พื้นที่ 5,000 คน; มีผู้พูดสำเนียงเซ็งดิง 2,000 คนในเขตเซ็งดิง)[1] |
ตระกูลภาษา | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ภาษาทางการร่วมและสถานะคุ้มครองพิเศษในเขตเทศบาลมีรังดาดูโดรู; ภาษาแห่งอัตลักษณ์ท้องถิ่นตามกฎหมายในเทศบาล 4 เทศบาลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของโปรตุเกส[1] |
ผู้วางระเบียบ | สถาบันภาษามีรังดา |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | mwl |
ISO 639-3 | mwl |
Linguasphere | 51-AAA-cb |
แผนที่แสดงที่ตั้งของเทศบาลมีรังดาดูโดรูซึ่งเป็นที่อยู่ของผู้พูดภาษามีรังดาส่วนใหญ่ |
ภาษามีรังดา (มีรังดา: mirandés) เป็นภาษาหรือวิธภาษาหนึ่งของกลุ่มภาษาอัสตูเรียส-เลออน[2] ใช้พูดกันอย่างประปรายในเขตเทศบาลมีรังดาดูโดรู, มูกาโดรู และวีมีโยซูทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส รัฐสภาโปรตุเกสรับรองภาษานี้ควบคู่ไปกับภาษาโปรตุเกสในกิจการท้องถิ่นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2541 ตามกฎหมายเลขที่ 7/99 ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2542[3] ใน พ.ศ. 2544 ภาษามีรังดาได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสำนักงานภาษาที่มีผู้ใช้น้อยแห่งยุโรป (European Bureau for Lesser-Used Languages) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการอยู่รอดของบรรดาภาษายุโรปที่มีผู้พูดน้อยที่สุด[4]
ภาษามีรังดาสืบเชื้อสายมาจากวิธภาษาอัสตูเรียส-เลออนที่พูดกันในอดีตราชอาณาจักรเลออนทางตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย แต่มีระบบเสียง ระบบหน่วยคำ และวากยสัมพันธ์เป็นเอกเทศ และยังมีทั้งคำโบราณและคำใหม่ที่ทำให้ภาษานี้แตกต่างจากบรรดาวิธภาษาสมัยใหม่ของภาษาอัสตูเรียส-เลออนที่พูดในประเทศสเปน เนื่องจากความแตกต่างดังกล่าวและความโดดเดี่ยวทางการเมืองจากดินแดนอื่น ๆ ที่พูดภาษาอัสตูเรียส-เลออน ภาษามีรังดาจึงมีบรรทัดฐานการสะกดที่แตกต่างจากบรรทัดฐานสำหรับภาษาอัสตูเรียส-เลออนที่ใช้ในสเปน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ภาษามีรังดา ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ "Discovering Mirandese". Terminology Coordination Unit. 2015-05-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-06. สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.
- ↑ "Lei 7/99, 1999-01-29". Diário da República Eletrónico (ภาษาโปรตุเกส). สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.
- ↑ Svobodová, Petra. "Mirandese language and its influence on the culture of the municipality of Miranda do Douro". Universidade Palacký.