พุทราจีน
พุทราจีน | |
---|---|
ต้นพุทรา | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Rhamnaceae |
สกุล: | Ziziphus |
สปีชีส์: | Z. jujuba |
ชื่อทวินาม | |
Ziziphus jujuba Mill. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
พุทราจีน (อังกฤษ: jujube; พันธุ์ที่มีเปลือกสีน้ำตาลเข้มเรียก อังกฤษ: red date; Chinese date; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ziziphus jujuba) ภาคอีสานเรียก บักทันหรือหมากกะทัน ภาคเหนือเรียกมะตัน มะตันหลวง นางต้มต้น ภาษาจีนเรียก เป้กเลี้ยบ อินเดียเรียก เบอร์[2] เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ในวงศ์ Rhamnaceae เป็นไม้ยืนต้นมีหนาม มักมีเป็นคู่ โดยตรงทั้งสองอันหรือตรงอันหนึ่ง โค้งอันหนึ่ง ผลมีเมล็ดเดียว ผิวเรียบ[3] ส่วนใหญ่ผลสุกจะเป็นสีเหลือง ยกเว้นบางพันธุ์ที่เป็นสีแดงเข้ม มีทั้งพันธุ์ผลเล็กและผลใหญ่
พุทราจีนมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนเหนือ มีการบริโภคในประเทศจีนมาเมื่อ 4,000 ปีที่แล้ว ในอินเดียปลูกพุทรามาก่อนสมัยพุทธกาล ซึ่งมีกล่าวถึงในบันทึกของหลวงจีนยวนชางที่เดินทางไปอินเดียเมื่อราว พ.ศ. 1172 ในกรีกเป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยโฮเมอร์ โดยมีกล่าวถึงพุทราในโอดิสซี [2]
พันธุ์พุทราจีน
[แก้]พันธุ์พุทราจีนที่มีปลูกในประเทศไทยได้แก่ [2]
- พันธุ์พื้นเมือง แบ่งเป็นพันธุ์ลูกเกดและพันธุ์ไข่เต่า ใบขนาดเล็ก กลม ผลรีหรือกลมแป้น เปลือกบาง เนื้อหยาบสีเหลือง รสเปรี้ยวและฝาดอมหวาน
- พันธุ์สามรส ใบเล็กยาวรี หนา ผลทรงกลมแป้น เปลือกบาง เนื้อละเอียดสีขาวกรอบ
- พันธุ์เจดีย์ หรือพันธุ์ปากน้ำ เป็นลูกผสมของพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์จากอินเดีย ถิ่นกำเนิดอยู่ที่สมุทรปราการ
- พันธุ์บอมเบย์ นำเข้ามาจากกัลกัตตา ใบยาวรี ปลายแหลม ผลยาวรี เปลือกบางเป็นมัน เนื้อเหลือง ละเอียด หวานกรอบ
- พันธุ์เหรียญทอง ใบใหญ่ยาว ผลใหญ่ทรงกลมคล้ายแอปเปิล เปลือกหนา ผิวหยาบ เนื้อขาวละเอียด หวานกรอบ มีกลิ่นหอม
- พันธุ์แอปเปิล ใบใหญ่รูปหัวใจ ผลใหญ่ กลมแป้น เปลือกหนาใส สีเขียวเข้มเนื้อสีขาว กรอบละเอียด หวานอมเปรี้ยว
- พันธุ์สาลี่หรือพันธุ์บอมเบย์ยักษ์ ใบใหญ่ ผลทรงคล้ายสาลี่ ผลใหญ่กว่าพันธุ์อื่น เปลือกบาง ผิวเหลือง เนื้อสีเหลือง ค่อนข้างหยาบ หวานกรอบ เนื้อมาก
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 331 กิโลจูล (79 กิโลแคลอรี) |
20.23 g | |
0.20 g | |
1.20 g | |
วิตามิน | |
วิตามินเอ | 40 IU |
ไทอามีน (บี1) | (2%) 0.020 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (3%) 0.040 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (6%) 0.900 มก. |
วิตามินบี6 | (6%) 0.081 มก. |
วิตามินซี | (83%) 69 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (2%) 21 มก. |
เหล็ก | (4%) 0.48 มก. |
แมกนีเซียม | (3%) 10 มก. |
ฟอสฟอรัส | (3%) 23 มก. |
โพแทสเซียม | (5%) 250 มก. |
โซเดียม | (0%) 03 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 77.86 g |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 1,201 กิโลจูล (287 กิโลแคลอรี) |
73.60 g | |
1.10 g | |
3.70 g | |
วิตามิน | |
วิตามินเอ | 40 IU |
ไทอามีน (บี1) | (18%) 0.210 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (30%) 0.360 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (3%) 0.500 มก. |
วิตามินบี6 | (0%) 0.00 มก. |
วิตามินซี | (16%) 13 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (8%) 79 มก. |
เหล็ก | (14%) 1.80 มก. |
แมกนีเซียม | (10%) 37 มก. |
ฟอสฟอรัส | (14%) 100 มก. |
โพแทสเซียม | (11%) 531 มก. |
โซเดียม | (1%) 09 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 19.70 g |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Plant List: A Working List of All Plant Species, สืบค้นเมื่อ 24 March 2016
- ↑ 2.0 2.1 2.2 [นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. พุทรา ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 121 - 123
- ↑ ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2543