ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศรินทิพย์ ศิริวรรณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 68: บรรทัด 68:
*2513: กิ่งแก้ว
*2513: กิ่งแก้ว
*2514: สื่อกามเทพ
*2514: สื่อกามเทพ
*2514: เหนือพญายม
*2518: ผยอง
*2518: ผยอง
*2518: โซ่เกียรติยศ
*2518: โซ่เกียรติยศ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:14, 15 กรกฎาคม 2563

ศรินทิพย์ ศิริวรรณ
เกิด19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 (97 ปี)
ไพลิน คอลลิน[1]
คู่สมรสชาลี อินทรวิจิตร
ปีที่แสดง2489-2530
ผลงานเด่นเรียม จาก โรงแรมนรก (2500)
หม่อมแม่ จาก บ้านทรายทอง (2523)
พระสุรัสวดีนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2502 - ขบวนเสรีจีน
พ.ศ. 2525 - ลูกอีสาน
นักแสดงตลกหญิงยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2529 - ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท

ศรินทิพย์ ศิริวรรณ นักแสดงหญิงอาวุโส ผู้เคยรับบทนำในภาพยนตร์ โรงแรมนรก ของ รัตน์ เปสตันยี คู่กับชนะ ศรีอุบล และสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 3 ครั้ง เป็นรางวัลนักแสดงประกอบหญิง 2 ครั้ง จากเรื่อง ขบวนเสรีจีน (2502) และ ลูกอีสาน (2525)[2] และรางวัลตลกหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529)[2] ระยะหลังหันมาแสดงละครโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นดาราหน้าตาย ไม่ค่อยยิ้ม จึงมักได้รับบทแม่ บทที่เป็นที่จดจำคือ บทหม่อมแม่ ของคุณชายกลาง ในเรื่องบ้านทรายทอง ฉบับจารุณี สุขสวัสดิ์-พอเจตน์ แก่นเพชร

ศรินทิพย์ มีชื่อจริงว่า ไพลิน คอลลิน เกิดที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 [3][4] บิดาเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ จบการศึกษาจากโรงเรียนผดุงดรุณี แล้วไปสมัครเป็นนักร้องของวงดนตรีกรมสรรพสามิต และได้พบรักกับชาลี อินทรวิจิตร นักแต่งเพลง และแต่งงานกัน

ชาลี อินทรวิจิตร ได้นำเธอไปฝากฝังกับ อรรถ อรรถไกวัลวที ผู้จัดการคณะละครเทพศิลป์ ซึ่งชักนำเข้าสู่วงการ และตั้งชื่อให้ว่า "ศรินทิพย์ ศิริวรรณ"[4] ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมนรก เป็นเรื่องแรกในปี พ.ศ. 2497

เรื่องราวชีวิตที่ยากลำบากของศรินทิพย์ ช่วง พ.ศ. 2486-2487 ก่อนจะได้พบกับชาลี อินทรวิจิตร เคยถูกสร้างเป็นละครวิทยุจนโด่งดัง ชื่อเรื่อง ม่านน้ำตา และนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับโดย เนรมิต นำแสดงโดย เพชรา เชาวราษฎร์ รับบทเป็นศรินทิพย์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช รับบทเป็นแม่ และอนุชา รัตนมาลย์ รับบทสามีเก่าของศรินทิพย์ เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505[4] ปรากฏว่า อำนวย กลัสนิมิ และ ศรินทิพย์ ถูกสามีเก่าของเธอฟ้องหมิ่นประมาทจนเป็นเรื่องราวโด่งดัง คดีนี้จบลงโดยศาลไกล่เกลี่ย ผู้กำกับยินยอมประกาศขอขมานายจำเนียร รัศมี ทางหน้าหนังสือพิมพ์[4] จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ชาลี อินทรวิจิตร ได้แต่งเพลงชื่อ ไม่อยากให้โลกนี้มีความรัก ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธุ์[4]

ศรินทิพย์ ศิริวรรณ หายตัวไประหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง อีจู้กู้ปู่ป้า ของ กำธร ทัพคัลไลย เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบตัว ภายหลังเหตุการณ์นั้น ชาลี อินทรวิจิตร ได้แต่งเพลงเพื่อระลึกถึง โดยใช้ทำนองเพลง Aubrey ของเดวิด เกตส์แห่งวง Bread ใช้ชื่อเพลงว่า เมื่อเธอจากฉันไป ขับร้องโดย พรพิมล ธรรมสาร ต่อมานำมาขับร้องใหม่โดย อรวี สัจจานนท์

ผลงานภาพยนตร์

  • 2512: ปราสาททราย
  • 2512: รักยม
  • 2512: ความรักเจ้าขา
  • 2513: กายทิพย์
  • 2513: จุ๊บแจง
  • 2513: กิ่งแก้ว
  • 2514: สื่อกามเทพ
  • 2514: เหนือพญายม
  • 2518: ผยอง
  • 2518: โซ่เกียรติยศ
  • 2520: แผลเก่า
  • 2520: เมียหลวง
  • 2521: เกวียนหัก
  • 2521: ขอเช็ดน้ำตาให้ตัวเอง
  • 2521: ผีเพื่อนรัก
  • 2522: ดาวเรือง
  • 2522: ลูกทาส
  • 2522: โอ้กุ๊กไก่
  • 2522: อยู่กับก๋ง
  • 2523: บ้านทรายทอง พจมาน สว่างวงศ์
  • 2523: กิ่งทองใบตำแย
  • 2523: เสียงซึงที่สันทราย
  • 2523: เมียจำเป็น
  • 2524: รักข้ามคลอง
  • 2524: ผึ้งแตกรัง
  • 2524: แม่กาวาง
  • 2524: นางสาวโพระดก
  • 2524: เสือมังกร
  • 2524: ยอดดรุณี
  • 2524: สายใจ
  • 2524: ดาวพระศุกร์
  • 2524: ลูกสาวแม่ค้า
  • 2524: ทัดดาวบุษยา
  • 2524: ชายสามโบสถ์
  • 2524: เมียสองต้องห้าม
  • 2525: ดาวเคียงเดือน
  • 2525: ลูกอีสาน
  • 2525: ไอ้หนึ่ง
  • 2525: สัตว์สาวผู้น่ารัก
  • 2525: หลวงตา ภาค 2
  • 2525: กระท่อมนกบินหลา
  • 2525: ไอ้ผางร.ฟ.ท.
  • 2525: คุณรักผมไหม
  • 2525: สวัสดีไม้เรียว
  • 2525: แม่แตงร่มใบ
  • 2525: พระเอกรับจ้าง
  • 2525: เต้าฮวยเกศทิพย์
  • 2525: เทพธิดาโรงงาน
  • 2525: ปริศนา
  • 2525: แรงรัก
  • 2526: แม่ดอกกระถิน
  • 2526: เลขาคนใหม่
  • 2526: สงครามปาก
  • 2526: จ้าวภูผา
  • 2526: นิจ
  • 2526: บัวขาว
  • 2526: กำนันสาว
  • 2526: สามอนงค์
  • 2526: รักกันวันละนิด
  • 2526: เพลงรักก้องโลก
  • 2526: มัทรีที่รัก
  • 2526: เขยสี่ทิศ
  • 2526: ไอ้แก้วไอ้ทอง
  • 2526: ไอ้ป.4 (ไม่มีเส้น)
  • 2527: น.ส.ลูกหว้า
  • 2527: รักของปรัศนีย์
  • 2527: 100 เสน่หา
  • 2527: คุณนาย ป.4
  • 2527: ขาวผ่องเจ้าสังเวียน
  • 2527: เลดี้ฝรั่งดอง
  • 2527: ที่รักจ๋า
  • 2527: คาดเชือก
  • 2527: ไอ้จอมเก
  • 2527: รักต้องโกย
  • 2527: สาวนาสั่งแฟน
  • 2527: เฮฮาเมียนาวี
  • 2527: แรงอธิษฐาน
  • 2527: ยันต์สู้ปืน
  • 2527: วันนั้นคงมาถึง
  • 2527: ลูกสาวคนใหม่
  • 2527: ขอโทษที ที่รัก
  • 2528: ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด
  • 2528: ที่รัก เธออยู่ไหน
  • 2528: เขยบ้านนอก
  • 2528: รัตนาวดี
  • 2528: นวลฉวี
  • 2528: ยอดรักยอดพยศ
  • 2528: วัยเรียนเพี้ยนรัก
  • 2528: หลานสาวเจ้าสัว
  • 2528: ตำรวจบ้าน
  • 2529: ลูกสาวเถ้าแก่เฮง
  • 2529: สะใภ้
  • 2529: สะแกกรัง
  • 2529: แม่ดอกรักเร่
  • 2529: ยุ่งนักรักซะเลย
  • 2529: เครื่องแบบสีขาว
  • 2529: ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท
  • 2529: ขบวนการคนใช้
  • 2529: คู่วุ่นวัยหวาน
  • 2529: วันนี้ยังมีรัก
  • 2529: เมียแต่ง
  • 2530: ไฟเสน่หา
  • 2530: คู่สร้างคู่สม
  • 2530: ผู้พันเรือพ่วง
  • 2530: ผู้ชายป้ายเหลือง
  • 2530: วอนเพลงฝากรัก
  • 2530: สะใภ้เถื่อน
  • 2530: เมียคนใหม่
  • 2530: พรหมจารีสีดำ
  • 2530: ร่านดอกงิ้ว
  • 2530: ปีกมาร
  • 2530: วงศาคณาญาติ
  • 2530: ไฟหนาว
  • 2531: อีจู้กู้ปู่ป่า
  • 2531: ผัวใครก็ช่าง
  • 2531: ทายาทคนใหม่
  • 2531: เธอมากับความแค้น
  • 2531: ภุมรีสีทอง
  • 2531: วิวาห์ไฟ

งานละคร

ฯลฯ

อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thaifilm
  2. 2.0 2.1 หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พ.ศ. 2549. หน้า 328. ISBN 974-94228-8-0
  3. แหล่งอ้างอิงระบุปีเกิด และสถานที่เกิดไม่ตรงกัน
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 โรม บุนนาค. แวดวงบันเทิงเมื่อวันวาน สุดยอดเรื่องเด็ดในวงการบันเทิงไทยตั้งแต่ยุคเริ่มหนังไทย. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2551. 232 หน้า. ISBN 978-974-06-6637-0