ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
พงษ์ศักดิิ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
มีผู้พยายามเสนอว่า การที่เจ้าศุขเกษมและมะเมียะต้องแยกทางกัน เพราะมะเมียะเป็นคนในบังคับอังกฤษเกรงจะเป็นปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น นักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าแล้วสรุปว่าไม่มีมูล<ref name = "Silpa"/> ดังที่ [[เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่]] สมรสกับ[[เจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่|เจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง]] ก็ไม่เป็นปัญหาทางการเมืองแต่อย่างใด
มีผู้พยายามเสนอว่า การที่เจ้าศุขเกษมและมะเมียะต้องแยกทางกัน เพราะมะเมียะเป็นคนในบังคับอังกฤษเกรงจะเป็นปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น นักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าแล้วสรุปว่าไม่มีมูล<ref name = "Silpa"/> ดังที่ [[เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่]] สมรสกับ[[เจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่|เจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง]] ก็ไม่เป็นปัญหาทางการเมืองแต่อย่างใด


เจ้าศุขเกษมได้เข้าพิธีสมรสกับ[[เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่]] เจ้าศุขเกษมมีอุปนิสัยไม่เอาการเอางาน ชอบแต่สุรา ด้วยเหตุฉะนี้จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเพียง "เจ้าอุตรการโกศล" ซึ่งไม่มีสิทธิขึ้นครองนครต่อเนื่องจากไม่ใช่ตำแหน่งเจ้าขันห้าใบ เจ้าศุขเกษมถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2456<ref name=com/> โดยมีพิธีปลงศพ ในวันที่ [[31 สิงหาคม]]ของปีเดียวกัน
เจ้าศุขเกษมได้เข้าพิธีสมรสกับ[[เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่]] เจ้าศุขเกษมมีอุปนิสัยไม่เอาการเอางาน ชอบแต่สุรา ด้วยเหตุฉะนี้จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเพียง "เจ้าอุตรการโกศล" ซึ่งไม่มีสิทธิขึ้นครองนครต่อเนื่องจากไม่ใช่ตำแหน่งเจ้าขันห้าใบ เจ้าศุขเกษมถึงแก่พิราลัยด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2456<ref name=com/> โดยมีพิธีปลงศพ ในวันที่ [[31 สิงหาคม]]ของปีเดียวกัน


== ลำดับสาแหรก ==
== ลำดับสาแหรก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:08, 21 กุมภาพันธ์ 2562

เจ้าอุตรการโกศล
(ศุขเกษม ณ เชียงใหม่)
ประสูติพ.ศ. 2423[1]
พิราลัย20 มีนาคม พ.ศ. 2456 (33 ปี)
พระชายาเจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระราชบิดาเจ้าแก้วนวรัฐ
พระมารดาแม่เจ้าจามรีมหาเทวี

ร้อยตรี เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือ เจ้าน้อยศุขเกษม (ไทยถิ่นเหนือ: ) (พ.ศ. 2423-พ.ศ. 2456) ราชโอรสองค์ใหญ่ใน พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ สมรสกับ เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ พระญาติในราชวงศ์ทิพย์จักร ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น "เจ้าอุตรการโกศล" ถือศักดินา 1,600

เจ้าน้อยศุขเกษม ถูกกล่าวถึงในบทเพลง มะเมี้ยะ ของ จรัล มโนเพ็ชร ซึ่งกล่าวถึงตำนานรักต้องห้ามระหว่าง เจ้าชายเมืองเหนือ กับ มะเมียะ สาวชาวพม่า แห่ง เมืองมะละแหม่ง ที่จบลงด้วยความเศร้า

ประวัติ

เจ้าน้อยศุขเกษม ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2423 เป็นราชโอรสองค์โตในเจ้าแก้วนวรัฐกับแม่เจ้าจามรีมหาเทวี มีน้องสาวและน้องชายร่วมพระมารดา คือ เจ้าบัวทิพย์ และเจ้าวงศ์ตวัน ในปี พ.ศ. 2441 ในวัย 15 ปีก็ถูกส่งตัวไปศึกษายังโรงเรียนเซนต์แพทริคในเมืองมะละแหม่งของพม่า[2] และได้พบรักกับมะเมียะแม่ค้าสาวชาวพม่าในปี พ.ศ. 2445 จนกระทั่งได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา ด้วยความสนับสนุนของทางบ้านของมะเมียะ

หลังจากเรื่องเจ้าศุขเกษมไปคบหากับสาวพม่าได้ยินมาถึงคุ้มเชียงใหม่ เจ้าศุขเกษมก็ถูกเรียกกลับเชียงใหม่ในปีพ.ศ. 2446 โดยมะเมียะปลอมตัวเป็นผู้ชายติดตามขบวนมาและให้คนสนิทปิดเรื่องนี้เป็นความลับ[3] หลังจากเรื่องแดง มะเมี๊ยะซึ่งเป็นคนพม่าและมีฐานะยากจน ก็ถูกคุ้มเชียงใหม่บีบบังคับให้แยกทางจากเจ้าศุขเกษมอย่างเด็ดขาด[2] โดยเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เคยให้สัมภาษณ์ต่อตำนานดังกล่าว ซึ่งเจ้าดวงเดือนรับฟังมาจากเจ้าแก้วนวรัฐ ความว่า:

ได้ข่าวจากเชียงตุงว่า…ไปเฮียนหนังสือมันก็บ่เฮียน ไปเมาสาวเหีย ถ้ามีลูกมีเต้าจะเยี๊ยะจะได เพราะว่าเขาต้องมาสืบความเป็นเจ้าหลวงต่อนะ มันบ่เฮียนหนังสือ เอามันกลับมาเหีย ก็เลยเอากลับมา มาก็มากันสองคน คนหนึ่งปลอมเป็นผู้ชายมาคือมะเมี๊ยะ มาแล้วก็บอกว่ามันอยู่กันบ่ได้เลย ก็เลยบอกว่าให้เอาอีมะเมี๊ยะไปส่งเหีย[2]

— เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่

มีผู้พยายามเสนอว่า การที่เจ้าศุขเกษมและมะเมียะต้องแยกทางกัน เพราะมะเมียะเป็นคนในบังคับอังกฤษเกรงจะเป็นปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น นักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าแล้วสรุปว่าไม่มีมูล[2] ดังที่ เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ สมรสกับเจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง ก็ไม่เป็นปัญหาทางการเมืองแต่อย่างใด

เจ้าศุขเกษมได้เข้าพิธีสมรสกับเจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ เจ้าศุขเกษมมีอุปนิสัยไม่เอาการเอางาน ชอบแต่สุรา ด้วยเหตุฉะนี้จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเพียง "เจ้าอุตรการโกศล" ซึ่งไม่มีสิทธิขึ้นครองนครต่อเนื่องจากไม่ใช่ตำแหน่งเจ้าขันห้าใบ เจ้าศุขเกษมถึงแก่พิราลัยด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2456[1] โดยมีพิธีปลงศพ ในวันที่ 31 สิงหาคมของปีเดียวกัน

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 เจ้าน้อยศุขเกษม กับนางมะเมียะ
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 มะเมี๊ยะ : เรื่องเก่าที่ต้องมองใหม่ สมฤทธิ์ ลือชัย. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ 2555. 20 ธันวาคม 2559
  3. วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมีย, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค, 2556

แหล่งข้อมูลอื่น