ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"

พิกัด: 13°45′22″N 100°30′23″E / 13.7560386°N 100.506507°E / 13.7560386; 100.506507
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:King Prajadhipok Museum.jpg|thumb|250px|พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า]]
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:King Prajadhipok Museum.jpg|thumb|300px|พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า]]


'''พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว''' เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของ[[สถาบันพระปกเกล้า]] ตั้งที่อาคาร[[กรมโยธาธิการ]]เดิม บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] อาคารหลังนี้เป็นอาคารสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 6-7 ซึ่งสถาบันพระปกเกล้า ได้บูรณะเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร และพระราชประวัติของพระองค์
'''พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว''' เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของ[[สถาบันพระปกเกล้า]] ตั้งที่อาคาร[[กรมโยธาธิการ]]เดิม บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] อาคารหลังนี้เป็นอาคารสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 6-7 ซึ่งสถาบันพระปกเกล้า ได้บูรณะเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร และพระราชประวัติของพระองค์
บรรทัด 32: บรรทัด 31:
== การเดินทาง ==
== การเดินทาง ==
การเดินทางสามารถใช้ได้ 2 เส้นทาง<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000129337 การเดินทางไปยัง "พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"]</ref>
* '''ทางรถยนต์'''
;ทางรถยนต์
** '''รถโดยสารประจำทาง''' สาย 2, 15, 25, 44, 47, 59, 60
** '''รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ''' สาย 39, 44, 59, 79, 511, 512
* '''รถโดยสารประจำทาง''' สาย 2, 15, 25, 44, 47, 59, 60
* '''รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ''' สาย 39, 44, 59, 79, 511, 512
* '''ทางเรือ''' เรือโดยสาร[[คลองแสนแสบ]]ขึ้นที่ท่าเรือผ่านฟ้า

;ทางเรือ
* เรือโดยสาร[[คลองแสนแสบ]]ขึ้นที่ท่าเรือผ่านฟ้า


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|King Prajadhipok Museum}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* เอกสารแผ่นพับจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
* เอกสารแผ่นพับจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
* [http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000129326 ท่อง'พิพิธภัณฑ์ฯพระปกเกล้า' รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ร.7]
* [http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000129326 ท่อง'พิพิธภัณฑ์ฯพระปกเกล้า' รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ร.7]
{{จบอ้างอิง}}

{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|King Prajadhipok Museum}}
{{geolinks-bldg|13.7560386|100.506507}}
{{geolinks-bldg|13.7560386|100.506507}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:07, 22 พฤษภาคม 2558

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งที่อาคารกรมโยธาธิการเดิม บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อาคารหลังนี้เป็นอาคารสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 6-7 ซึ่งสถาบันพระปกเกล้า ได้บูรณะเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร และพระราชประวัติของพระองค์

ประวัติ

อาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

อาคารหลังนี้เริ่มก่อสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2449 ในปลายรัชกาลที่ 5 ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 6 ปี และเปิดให้เช่าเป็นที่ตั้ง "ห้างยอนแซมสัน" ดำเนินธุรกิจขายผ้าฝรั่งและตัดชุดสูทสากลที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาเมื่อห้างยอนแซมสันเลิกกิจการ อาคารหลังนี้จึงเปลี่ยนเป็น "ห้างสุธาดิลก" ขายเครื่องก่อสร้างและเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2476 กรมโยธาเทศบาลจึงเช่าอาคารใช้เป็นที่ทำการของกรม จนกระทั่งกรมนี้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมโยธาธิการดังในปัจจุบัน

รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารหลังนี้ออกแบบโดยนายชาร์ล เบเกอแลง สถาปนิกชาวฝรั่งเศส-สวิส เป็นอาคาร 3 ชั้น อิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิค มีหอคอยยอดโดม ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นแบบกรีก-โรมัน ในปี พ.ศ. 2538 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคารเป็นโบราณสถานแห่งชาติ อาคารกรมโยธาธิการหลังนี้ ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมเรียกว่า พิพิธภัณฑ์รัฐสภา อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อยู่บริเวณใต้พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าอาคารรัฐสภา จัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์นำมาจัดแสดงและเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 สถาบันพระปกเกล้าได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ฯ และได้รับความอนุเคราะห์จากกรมโยธาธิการให้ใช้อาคารที่ตั้งในปัจจุบัน

การจัดแสดง

ห้องจัดแสดงเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ห้องจัดแสดงเกี่ยวกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แบ่งออกเป็น 3 ชั้น โดยแต่ละชั้นจะจัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

ห้องจัดแสดงชั้นที่ 1

ห้องจัดแสดงบริเวณชั้น 1 ของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้แก่ พระราชประวัติส่วนพระองค์ ตั้งแต่ขณะทรงพระเยาว์ อภิเษกสมรส จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2527 รวมทั้ง การจัดแสดงเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เช่น การเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ การตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษ และพระราชกรณียกิจขณะเสด็จกลับมาประทับ ณ ประเทศไทยเป็นการถาวร นอกจากนี้ ยังจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ด้วย

ห้องจัดแสดงชั้นที่ 2

ห้องจัดแสดงบริเวณชั้น 2 ของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ขณะทรงพระเยาว์ เสด็จเข้าศึกษาที่ทวีปยุโรป ทรงพระผนวช ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ (พระยศขณะนั้น) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงสละราชสมบัติ จนกระทั่ง เสด็จสวรรคตและการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ ประเทศอังกฤษ จนกระทั่ง เชิญพระบรมอัฐิกลับมายังประเทศไทย นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระจริยวัตรและพระราชนิยมส่วนพระองค์ในด้านต่าง ๆ เช่น ดนตรี กีฬา ภาพยนตร์

ห้องจัดแสดงชั้นที่ 3

ห้องจัดแสดงบริเวณชั้น 3 ของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น ฉลองพระองค์ พระมาลา ฉลองพระบาท รวมทั้ง พระราชกรณียกิจต่าง ๆ เช่น การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยที่สมบูรณ์ การพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่จบการศึกษาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย พระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในพิธีฉลองพระนคร 150 ปี การเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้าและปฐมบรมราชานุสรณ์ พระราชลัญจกรในพระองค์

การเข้าชม

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดให้เข้าชมวันอังคาร – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ไม่เว้นวันนักขัตฤกษ์ โดยจัดเก็บค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท/คน เด็ก นักเรียน นักศึกษา พระภิกษุ สามเณร ผู้พิการไม่เสียค่าเข้าชม วันหยุดราชการไม่เสียค่าเข้าชม สำหรับภาพยนตร์ทางพิพิธภัณฑ์เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชมได้โดยสามารถสอบถามรอบและภาพยนตร์ที่จะฉายได้ล่วงหน้า

การเดินทาง

การเดินทางสามารถใช้ได้ 2 เส้นทาง[1]

ทางรถยนต์
  • รถโดยสารประจำทาง สาย 2, 15, 25, 44, 47, 59, 60
  • รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย 39, 44, 59, 79, 511, 512
ทางเรือ

อ้างอิง

13°45′22″N 100°30′23″E / 13.7560386°N 100.506507°E / 13.7560386; 100.506507