ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
|รัฐมนตรี10_ชื่อ =
|รัฐมนตรี10_ชื่อ =
|รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
|หัวหน้า1_ชื่อ = ..สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ
|หัวหน้า1_ชื่อ = ว่าง<ref>http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000118349&keepThis=true&TB_iframe=true&height=650&width=850&caption=Manager+Online+-+Breaking+News</ref>
|หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ผู้อำนวยการ
|หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ผู้อำนวยการ
|หัวหน้า2_ชื่อ =
|หัวหน้า2_ชื่อ =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:27, 15 ตุลาคม 2557

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
Thailand National Disaster Warning Center
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง30 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
สำนักงานใหญ่ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ว่าง[1], ผู้อำนวยการ
เว็บไซต์http://www.ndwc.go.th

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ และควบคุมสั่งการในภาวะวิกฤติ ตลอดจนแจ้งเตือนภัยพิบัติทุกประเภท ซึ่งเกิดขึ้นภายในประเทศไทย

ประวัติ

ไฟล์:TVPool Warning.png
ภาพเข้ารายการพิเศษประกาศเตือนภัย จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเนื่องมาจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย (คลื่นสึนามิ) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยร้ายแรงที่สุด มีจำนวนผู้เสียชีวิตถึง 5,396 คน มีผู้บาดเจ็บ 8,457 คน สูญหาย 2,951 คน ตลอดจนสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน การเกษตร การประมง ปศุสัตว์ การท่องเที่ยว และธุรกิจ จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติขึ้นเพื่อดำเนินภารกิจในเรื่องดังกล่าว และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2548[2]

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ. 2548 [3] ต่อมาจึงได้โอนมาสังกัดสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[4] และสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังเช่นปัจจุบัน[5]

หน่วยงานภายใน

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น 6 หน่วยงาน[6] ได้แก่

  • ฝ่ายบริการงานทั่วไป
  • กลุ่มงานบริหารจัดการระบบเตือนภัย
  • กลุ่มงานแผนการเตือนภัย
  • กลุ่มงานเตือนภัยและเผนแพร่
  • กลุ่มงานวิชาการและพัฒนาระบบเตือนภัย
  • ศูนย์บริหารจัดการวิกฤตการณ์ด้านการสื่อสาร

อ้างอิง