ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อรัญญา นามวงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
เรื่องที่สร้างชื่อเสียงโดดเด่นสูงสุดของยุคนั้น คือ ''[[โทน]]'' พ.ศ. 2513 กำกับโดย [[เปี๊ยก โปสเตอร์]] แสดงคู่กับ [[ไชยา สุริยัน]] ซึ่งกล่าวได้ว่าอื้อฉาวมากในสมัยนั้นเพราะเป็นนางเอกคนแรกของวงการภาพยนตร์ไทยที่มีบทสื่อเป็นนัยว่าต้องตกเป็นของผู้ร้าย ([[สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์]]) จากการกล้าตัดสินใจเสี่ยงรับแสดงบทนำแรงอย่างที่ไม่เคยมีนางเอกหนังไทยทำมาก่อน ส่งผลให้ทั้งภาพยนตร์และดาราเป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วเมืองไทย แม้ผู้ชมแฟนหนังไทยไม่อาจยอมรับได้อย่างเต็มใจนัก
เรื่องที่สร้างชื่อเสียงโดดเด่นสูงสุดของยุคนั้น คือ ''[[โทน]]'' พ.ศ. 2513 กำกับโดย [[เปี๊ยก โปสเตอร์]] แสดงคู่กับ [[ไชยา สุริยัน]] ซึ่งกล่าวได้ว่าอื้อฉาวมากในสมัยนั้นเพราะเป็นนางเอกคนแรกของวงการภาพยนตร์ไทยที่มีบทสื่อเป็นนัยว่าต้องตกเป็นของผู้ร้าย ([[สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์]]) จากการกล้าตัดสินใจเสี่ยงรับแสดงบทนำแรงอย่างที่ไม่เคยมีนางเอกหนังไทยทำมาก่อน ส่งผลให้ทั้งภาพยนตร์และดาราเป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วเมืองไทย แม้ผู้ชมแฟนหนังไทยไม่อาจยอมรับได้อย่างเต็มใจนัก


เป็นดารานักแสดงที่มีแนวคิดระดับสากล ไม่ยึดติดภาพลักษณ์ใดแต่มุ่งหน้าที่ของนักแสดงชั้นนำ พร้อมรับบทหลากหลายท่ามกลางกระแสวิจารณ์อย่างหนัก เคยรับบทคนขอทาน ใน ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ ,ฆาตกรล่ากลุ่มชายโฉด ใน แม้กระทั่งราวช่วงปลายทศวรรษ 2510 ได้นำแสดงไว้หลายเรื่องที่มีเนื้อหาเรื่องเพศ เช่น ตลาดอารมณ์ , จันดารา ,ไฟรักซุมทรวง ฯลฯ
มีแนวคิดระดับสากลตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แสวงหาแนวทางใหม่โดยไม่ยึดติดภาพลักษณ์เดิม พร้อมแสดงได้หลากหลายท่ามกลางกระแสวิจารณ์อย่างหนัก เคยรับบทคนขอทาน ใน ''ไม่มีคำตอบจากสวรรค์'' ,ฆาตกรหลายบุคลิก ใน ''ล่า'' แม้กระทั่งราวช่วงปลายทศวรรษ 2510 ได้นำแสดงไว้หลายเรื่องที่แสดงออกทางเพศอย่างร้อนแรง เช่น ''ตลาดอารมณ์ ,คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ ,ไฟรักสุมทรวง ,มีนัดไว้กับหัวใจ ,จันดารา ฯลฯ''


นอกจากนี้ยังเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และร่วมแสดงนำใน ''[[นรกตะรุเตา]]'' ของ รณภพฟิล์ม (2519)<ref>วีดิทัศน์ นรกตะรูเตา ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ฟิล์ม 2549</ref>เรื่องเด่นอื่นๆ เช่น ''ดาวรุ่ง ,เจ้าหญิง , กลัวเมีย ,แก้วสารพัดนึก ,ชลาลัย ,ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ ,เจ้าแม่ ฯลฯ ''
นอกจากนี้ยังเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และร่วมแสดงนำใน ''[[นรกตะรุเตา]]'' ของ รณภพฟิล์ม (2519)<ref>วีดิทัศน์ นรกตะรูเตา ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ฟิล์ม 2549</ref>เรื่องเด่นอื่นๆ เช่น ''แสนพยศ ,ดาวรุ่ง ,เจ้าหญิง , กลัวเมีย ,แก้วสารพัดนึก ,[[งูเก็งกอง]] ภาค 2 ,ชลาลัย ,เจ้าแม่ ฯลฯ ''


==ปัจจุบัน==
==ปัจจุบัน==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:00, 27 เมษายน 2556

อรัญญา นามวงศ์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด4 กันยายน 2490
(76 ปี 235 วัน)
อัญชลี ชอบประดิษฐ์
คู่สมรสเศรษฐา ศิระฉายา
อาชีพนักแสดง,ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์,ผู้จัดละคร
ปีที่แสดงพ.ศ. 2511 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นอีแตน (2511)
โทน (2513)

อรัญญา นามวงศ์ มีชื่อจริงว่า อัญชลี ศิระฉายา[1] (สกุลเดิม ชอบประดิษฐ์) ชื่อเล่น เปี๊ยก[2] (4 กันยายน พ.ศ. 2490 — ) นักแสดงชาวไทย มีผลงานแสดงคู่กับสมบัติ เมทะนี จำนวนหลายเรื่อง จนนับเป็นนักแสดงคู่ขวัญคู่หนึ่ง

ประวัติ

เกิดในค่ายทหาร จังหวัดลพบุรี บุตรสาวของพันเอกเสงี่ยม ชอบประดิษฐ์ กับ สุรางค์ ชอบประดิษฐ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนโยนออฟอาร์ค โรงเรียนอัมพรไพศาล และโรงเรียนสตรีสันติราษฎร์บำรุง

ในโลกบันเทิง

เริ่มเข้าสู่วงการตั้งแต่อายุ 14 ปี จากการเข้าประกวดนางงาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เข้าประกวดนางสาวไทย ได้ตำแหน่งรองจาก อาภัสรา หงสกุลซึ่งได้ตำแหน่งนางสาวไทยปีนั้น แล้วได้เรียนขับร้องก่อนแสดงละครโทรทัศน์ครั้งแรกกับคณะกัญชลิกา ที่ ช่อง 4 บางขุนพรหม เรื่อง บ้านทรายทอง รับบทพจมาน สว่างวงศ์ (ก่อนหน้า เคยเป็นนักแสดงรับเชิญและร้องเพลงประกอบภาพยนตร์คู่กับชรินทร์ นันทนาครใน ลมหนาว กำกับโดย พันคำ)

ต่อมาได้เป็นนางเอกจอเงินครั้งแรกในภาพยนตร์ 35 มม.เสียงในฟิล์มของละโว้ภาพยนตร์ คู่กับ มิตร ชัยบัญชา เรื่อง อีแตน พ.ศ. 2511 ซึ่งต้องขับร้องเพลงประกอบด้วย ประสบความสำเร็จอย่างสูง (เรื่องอื่นที่นำแสดงในช่วงนั้นเป็นหนัง 16 มม.) ตามด้วยหนังเพลงฟอร์มใหญ่ของละโว้ในต้นปีต่อมา เกาะสวาทหาดสวรรค์ พ.ศ. 2512 คู่กับ สมบัติ เมทะนี ได้สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมอีกครั้ง หลายเพลงที่ขับร้องไว้ในเรื่องนี้โดยเฉพาะเพลง "รักแท้" (แก้ว อัจฉริยะกุล-สมาน กาญจนะผลิน) เป็นเพลงที่ผู้ชมจดจำเป็นพิเศษ จากเรื่องนี้ทั้งคู่ได้ร่วมงานกันอีกเป็นจำนวนมาก

เรื่องที่สร้างชื่อเสียงโดดเด่นสูงสุดของยุคนั้น คือ โทน พ.ศ. 2513 กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ แสดงคู่กับ ไชยา สุริยัน ซึ่งกล่าวได้ว่าอื้อฉาวมากในสมัยนั้นเพราะเป็นนางเอกคนแรกของวงการภาพยนตร์ไทยที่มีบทสื่อเป็นนัยว่าต้องตกเป็นของผู้ร้าย (สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์) จากการกล้าตัดสินใจเสี่ยงรับแสดงบทนำแรงอย่างที่ไม่เคยมีนางเอกหนังไทยทำมาก่อน ส่งผลให้ทั้งภาพยนตร์และดาราเป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วเมืองไทย แม้ผู้ชมแฟนหนังไทยไม่อาจยอมรับได้อย่างเต็มใจนัก

มีแนวคิดระดับสากลตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แสวงหาแนวทางใหม่โดยไม่ยึดติดภาพลักษณ์เดิม พร้อมแสดงได้หลากหลายท่ามกลางกระแสวิจารณ์อย่างหนัก เคยรับบทคนขอทาน ใน ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ ,ฆาตกรหลายบุคลิก ใน ล่า แม้กระทั่งราวช่วงปลายทศวรรษ 2510 ได้นำแสดงไว้หลายเรื่องที่แสดงออกทางเพศอย่างร้อนแรง เช่น ตลาดอารมณ์ ,คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ ,ไฟรักสุมทรวง ,มีนัดไว้กับหัวใจ ,จันดารา ฯลฯ

นอกจากนี้ยังเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และร่วมแสดงนำใน นรกตะรุเตา ของ รณภพฟิล์ม (2519)[3]เรื่องเด่นอื่นๆ เช่น แสนพยศ ,ดาวรุ่ง ,เจ้าหญิง , กลัวเมีย ,แก้วสารพัดนึก ,งูเก็งกอง ภาค 2 ,ชลาลัย ,เจ้าแม่ ฯลฯ

ปัจจุบัน

สมรสกับเศรษฐา ศิระฉายา ทั้งคู่มีบุตรสาวคือ พุทธิดา ศิระฉายา[1] ปัจจุบัน หันมาเป็นผู้จัดละคร และแสดงละครเป็นครั้งคราว

คืนวันที่ 7 กันยายน 2554 เข้ารักษาตัวฉุกเฉินที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากกล้ามเนื้อด้านซ้ายอ่อนแรง และมุมปากเบี้ยว วันรุ่งขึ้น ศาตราจารย์อดิศร ภัทราดูรย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ของโรงพยาบาลแถลงข่าวว่า มีเลือดออกในส่วนลึกของสมองข้างขวา และมีก้อนเลือดประมาณสองเซนติเมตร เลือดเปราะและแตกเนื่องมาจากความดันโลหิตสูงมาเป็นเวลานาน ต้องรักษาด้วยกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกาย[2]

ผลงาน

ภาพยนตร์

ละครโทรทัศน์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ""อรัญญา" ให้สัมภาษณ์ได้แล้ว เผยอาการดีขึ้นมาก ขยันทำกายภาพ" (Press release). มติชน. 15 กันยายน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 2.0 2.1 "แพทย์แถลง 'อรัญญา' เลือดออกสมอง-อาการดีขึ้น 'อีฟ' โฮห่วงแม่ป่วย". 2554, 12 กันยายน. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. วีดิทัศน์ นรกตะรูเตา ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ฟิล์ม 2549