ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิวัติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ky:Төңкөрүш
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
[[หมวดหมู่:การปกครอง]]
[[หมวดหมู่:การปกครอง]]
{{โครงการเมือง}}
{{โครงการเมือง}}

[[af:Rewolusie]]
[[als:Revolution]]
[[ar:ثورة]]
[[arz:ثوره]]
[[ast:Revolución]]
[[az:İnqilab]]
[[be:Рэвалюцыя]]
[[bg:Революция]]
[[bs:Revolucija]]
[[ca:Revolució]]
[[ckb:شۆڕش]]
[[cs:Revoluce]]
[[cy:Chwyldro]]
[[da:Revolution (politik)]]
[[de:Revolution]]
[[el:Επανάσταση]]
[[en:Revolution]]
[[eo:Revolucio]]
[[es:Revolución]]
[[et:Revolutsioon]]
[[eu:Iraultza]]
[[fa:انقلاب]]
[[fi:Vallankumous]]
[[fr:Révolution (politique et sociale)]]
[[fy:Revolúsje]]
[[gd:Rèabhlaid]]
[[gl:Revolución]]
[[he:מהפכה]]
[[hi:क्रांति]]
[[hr:Revolucija]]
[[hu:Forradalom]]
[[hy:Հեղափոխություն]]
[[id:Revolusi]]
[[it:Rivoluzione (politica)]]
[[ja:革命]]
[[jbo:sutra binxo]]
[[jv:Révolusi]]
[[ka:რევოლუცია]]
[[kk:Төңкеріс (қоғам)]]
[[ko:혁명]]
[[krc:Революция]]
[[ky:Төңкөрүш]]
[[la:Res novae]]
[[lb:Politesch Revolutioun]]
[[lt:Revoliucija]]
[[lv:Revolūcija]]
[[mhr:Революций]]
[[my:တော်လှန်ရေး]]
[[ne:क्रान्ति]]
[[nl:Revolutie]]
[[nn:Revolusjon]]
[[no:Revolusjon]]
[[pl:Rewolucja]]
[[pt:Revolução]]
[[qu:Pachakutiy]]
[[ro:Revoluție]]
[[ru:Революция]]
[[sah:Өрөбөлүүссүйэ]]
[[sco:Revolution]]
[[sh:Revolucija]]
[[simple:Revolution]]
[[sk:Revolúcia]]
[[sl:Revolucija]]
[[sq:Revolucioni]]
[[sr:Револуција]]
[[sv:Revolution]]
[[ta:புரட்சி]]
[[te:విప్లవం]]
[[tr:Devrim]]
[[uk:Революція]]
[[ur:انقلاب]]
[[vi:Cách mạng]]
[[wa:Revintreye]]
[[yi:רעוואלוציע]]
[[zh:革命]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:24, 9 มีนาคม 2556

ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบ อาจโดยการยกเลิกระบบเดิม ใช้ระบบใหม่ หรือรื้อโครงสร้างเดิม เช่น ปฏิวัติตนเอง คือ ปรับปรุงตัวเองใหม่

นิยาม

คำว่าปฏิวัติในภาษาอังกฤษ (revolution) มีรากศัพท์จากภาษาละตินคือ revolutio และ revolvere แปลว่าการหมุนรอบ หรือแปลได้อีกทางหนึ่งว่าการพลิกฟ้าควำแผ่นดิน (to turn around) คำนี้มีใช้ทั่วไปในทางสังคมศาสตร์ แต่ก็มีใช้ในทางวิทยาศาสตร์เช่นกันเช่นการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น[1]

สารานุกรมเมอร์เรียม-เวบสเตอร์ (Merriam-Webster Encyclopedia) อธิบายว่า การปฏิวัติในทางการเมืองนั้นคือการเปลี่ยนแปลงการตัดรูปแบบของการเมืองการปกครองในระดับฐานราก (fundamentally)[2] สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Briyanica Concise Encyclopedia) อธิบายว่าการปฏิวัติในทางสังคมศาสตร์ และในทางการเมืองคือการกระทำความรุนแรงต่อโครงสร้าง, ระบบ, สถาบัน ฯลฯ ทางสังคมการเมือง การปฏิวัติทางสังคมการเมืองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานต่างๆที่สังคมการเมืองเป็นอยู่เดิม เพิ่มจัดตั้ง หรือสถานามาตรฐานของสังคมการเมืองแบบใหม่ให้เกิดขึ้น[3]

โดยสรุปการปฏิวัติมีความหมายว่าการเปลี่ยนแปลงระบอบ (regime) ในทางสังคมการเมืองอาทิ วัฒนธรรมทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น การปฏิวัติจึงไม่ต่างจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการเมือง (political paradigm) ซึ่งเกิดได้ยากกว่าการรัฐประหาร ซึ่งเพียงการเปลี่ยนแปลงระบบทางการเมือง (political system) อาทิ ผู้นำของรัฐ (head of state) หรือรัฐบาล (government) เท่านั้น[4]

อนึ่งการปฏิวัติทางการเมืองเป็นมโนทัศน์ที่สำคัญในการอธิบายการปฏิวัติสังคมในลัทธิทรอทสกี้ (Trotskyism)

ตัวอย่างของการปฏิวัติทางการเมืองในประวัติศาสตร์ทางการเมืองโลก[5]

  • คำว่าปฏิวัติถูกใช้ครั้งแรกในอังกฤษ ค.ศ. 1688 - 89 เพื่ออธิบายการที่กษัตริย์เจมส์ที่ 2 ถูกยึดอำนาจ ศัพท์ในทางสังคมศาสตร์เรียกเหตุการณ์นี้ว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) การปฏิวัติครั้งนี้ทำให้อำนาจสมบูรณ์ของกษตริย์อังกฤษถูกถ่ายโอนมาสู่สภา
  • ในศตวรรที่ 18 ในประเทศอเมริกาเกิดการปฏิวัติอเมริกา (The American Revolution) ซึ่งเป็นการปฏิวัติประเทศอเมริกาให้ปกครองตนเองแและแยกออกจากการปกครองของอังกฤษ
  • ใน ค.ศ. 1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส (The French Revolution) เมื่อปัญญาชน และประชาชนนำโดยโรแบร์สปิแอร์ (Maximilien de Robespierre) ปฏิวัติการปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ 16 (Louise XVI) การปฏิวัติครั้งนี้มักถูกยกย่องว่าเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งแรก รวมถึงเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของโลกสมัยใหม่ด้วย
  • ในศตวรรษที่ 19 การแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) ทำให้ประเทศจำนวนมากเกิดการปฏิวัติการปกครองโดยประชาชน (People Revolution) ขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์

สำหรับในสังคมการเมืองไทยเกิดการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นเพียงครั้งเดียวคือ การปฏิวัติสยาม ในวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) ส่วนการล้มล้างรัฐบาลในครั้งต่อมานั้นเป็นเพียงการรัฐประหาร เพราะไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ทว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ผู้นำของรัฐบาล หรือเป็นการยืดอายุของรัฐบาลอุปถัมป์อำนาจนิยม (Suzerain-Authoritarianism) ของสังคมไทยเพียงเท่านั้น[6]

แต่ในความเห็นอีกด้านหนึ่ง กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) อันเป็นการปฏิวัติ แต่ก็เป็นการรัฐประหาร (coup d'état) ด้วย เพราะใช้กำลังทหาร ควบคุม บังคับ ทำให้อำนาจรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นสุดลง(สำหรับฝ่ายที่ต่อต้านการปฏิวัติ) แต่กลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านระบอบกษัตริย์ พยายามสร้างภาพให้เป็นเชิงบวก ว่าเป็นการปฏิวัติ หรืออภิวัฒน์ จนเรียกว่า สยามภิวัฒน์

อ้างอิง

  1. Richard Pipes, "A Concise History of the Russian Revolution," Cited by http://chagala.com/russia/pipes.htm
  2. http://www.merriam-webster.com/dictionary/revolution
  3. http://www.britannica.com/EBchecked/topic/500584/revolution
  4. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (มธ 120) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
  5. Richard Pipes, "A Concise History of the Russian Revolution," Cited by http://chagala.com/russia/pipes.htm
  6. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (มธ 120) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.

ดูเพิ่ม