ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดช็อลลาใต้"

พิกัด: 34°45′N 127°0′E / 34.750°N 127.000°E / 34.750; 127.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AisinGioro (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
{{ภูมิภาคและการแบ่งเขตการปกครองของเกาหลีใต้}}
{{ภูมิภาคและการแบ่งเขตการปกครองของเกาหลีใต้}}
{{โครงประเทศ}}
{{โครงประเทศ}}

[[หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศเกาหลีใต้]]


[[ace:Jeollanam-do]]
[[ace:Jeollanam-do]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:29, 12 พฤษภาคม 2555

34°45′N 127°0′E / 34.750°N 127.000°E / 34.750; 127.000

จังหวัดจอลลาใต้
(ฮันกึล 전라남도
ฮันจา 全羅南道)
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อภาษาไทยจังหวัดจอลลาใต้
ชื่อภาษาเกาหลีฮันกึล 전라남도
ฮันจา 全羅南道
เมืองเอกมูอัน
ภูมิภาคโฮนัม
ผู้ว่าราชการพัก จุนยอง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่12,247 ตร.กม. (อันดับ 3)
ประชากร1,741,499 คน (2553) (อันดับ 6)
ความหนาแน่น142 คน/ตร.กม.
เว็บไซต์jeonnam.go.kr (อังกฤษ)
แผนที่
แผนที่ประเทศเกาหลีใต้เน้นแผนที่ประเทศเกาหลีใต้ เน้นจังหวัดจอลาใต้

จังหวัดจอลลาใต้, หรือ จอลลานัม-โด เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเกาหลีใต้ โดยมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี 2439 โดยแยกออกจากจังหวัดจอลลาเดิมทางด้านใต้ และยังคงเป็นจังหวัดของเกาหลีจนกระทั่งมีการแบ่งเกาหลีในปี 2488 และหลังจากนั้นก็หลายเป็นส่วนหนึ่งของเกาหลีใต้ โดยมีกวางจู เป็นเมืองเอกของจังหวัด จนกระทั่งมีการย้ายศาลากลางจังหวัดไปยังตอนใต้ของหมู่บ้านนามัก เมืองชนบทมูอัน ในปี 2548

ภูมิศาสตร์

จังหวัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคโฮนัม โดยมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันตกติดกับทะเลเหลือง, ทางทิศเหนือติดกับจังหวัดจอลลาเหนือ ทางทิศใต้ติดกับช่องแคบเชจู, ทางด้านทิศตะวันออกติดกับจังหวัดคยองซังเหนือ

จอลลานัม-โดมีเกาะมากกว่า 2,000 เกาะตลอดแนวชายฝั่ง ประมาณสามในสี่ส่วนเป็นเกาะที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ และจังหวัดยังมีชายฝั่งยาวประมาณ 6,100 กิโลเมตร ผลิตผลทางทะเลที่สำคัญของจังหวัด เช่น หอยนามรม และสาหร่ายทะเล โดนเฉพาะอย่างหลังมีการพัฒนาพื้นที่เพาะเลี้ยงอย่างมาก

จังหวัดนี้มีภูเขาเพียงบางส่วนเท่านั้น พื้นที่ราบตลอดบริเวณแม่น้ำซอมจิน,ยองซันและทัมจิน เป็นอู่ข้าวอู่น้ำขนาดใหญ่ของประเทศ และเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุก ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือทางด้านการเกษตร และจังหวัดนี้ยังเป็นสถานที่ที่อบอุ่นที่สุดในคาบสมุทร ซึ่งช่วยให้เกิดผลิตผลทางการเกษตรอย่างมากมายเช่น ข้าว,ข้าวสาลี,ข้าวบาร์เลย์,เมล็ดพืชที่สามารถรับประทานได้และมันฝรั่ง ผัก,ฝ้ายและผลไม้ ก็เจริญเติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน

ถึงแม้จะมีการขุดทองและถ่านหิน จำนวนน้อยจากจังหวัดนี้ แต่อุตสาหกรรมในจังหวัดก็พัฒนาอย่างมาก

จังหวัดพี่จังหวัดน้อง

อ้างอิง

  1. "Background Brief on International Trade" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2008-07-21.

ข้อมูลเพิ่มเติม