ข้ามไปเนื้อหา

พันคำ วิพาวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันคำ วิพาวัน
ພັນຄຳ ວິພາວັນ
รองประธานาธิบดีลาว คนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน ค.ศ. 2016 – 22 มีนาคม ค.ศ. 2021
ประธานาธิบดีบุนยัง วอละจิด
ก่อนหน้าบุนยัง วอละจิด
ถัดไปปานี ยาท่อตู้
บุนทอง จิดมะนี
นายกรัฐมนตรีลาว คนที่ 8
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม ค.ศ. 2021 – 30 ธันวาคม ค.ศ. 2022
ประธานาธิบดีทองลุน สีสุลิด
รองนายกรัฐมนตรี
ดูรายชื่อ
ก่อนหน้าทองลุน สีสุลิด
ถัดไปสอนไซ สีพันดอน
รองนายกรัฐมนตรีลาว
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 2014 – 2016
นายกรัฐมนตรีทองสิง ทำมะวง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1951-04-14) 14 เมษายน ค.ศ. 1951 (73 ปี)
บ้านกาง แขวงหัวพัน ราชอาณาจักรลาว อินโดจีนของฝรั่งเศส
สัญชาติลาว
ศาสนาพุทธเถรวาท
พรรคการเมืองประชาชนปฏิวัติลาว
คู่สมรสสีจัน วิพาวัน
อาชีพครู รัฐกร นักการเมือง

พันคำ วิพาวัน (ลาว: ພັນຄຳ ວິພາວັນ, เกิดวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2494) อดีตนายกรัฐมนตรีลาวตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2565[1]จากการเลือกตั้งในกองประชุมครั้งปฐมฤกษ์สภาแห่งชาติลาวชุดที่ 9 ก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีลาวในปี พ.ศ. 2559 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและนายกสมาคมมิตรภาพลาว-เวียดนาม[2][3] เกิดที่ แขวงหัวพัน

ประวัติ

[แก้]

ดร.พันคำ วิพาวัน เกิดวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ บ้านกอง เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน ชนเผ่าไต เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้เข้าร่วมพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสมบูรณ์อย่างเป็นทางการของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2519[4]สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 เริ่มเข้าเป็นรัฐกรของกระทรวงศึกษา กีฬาและธรรมการ และสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาทฤษฎีมากซ์-เลนิน วิทยาศาสตร์ เขามีบทบาทอย่างมากในด้านการศึกษาโดยได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในด้านการศึกษา จนได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ในรัฐบาลชุดที่ 7 ภายใต้การนำของนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี หลังรัฐบาลชุดที่ 7 หมดวาระลง เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559 เขาได้รับเลือกเป็นรองประธานประเทศในสมัยกองประชุมสภาแห่งชาติชุดที่ 8 และเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 เขาได้รับการพิจารณารับรองจากกองประชุมครั้งปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 ในรัฐบาลชุดที่ 9[5] ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดร.พันคำ วิพาวัน ได้กล่าวปฏิญาณตนว่า

ลาว: ຈະເຊີດຊູມານະຈິດປະຕິວັດບຸກໃຫ້ສູງກວ່າເວລາໃດຫມົດ ເພື່ອຮ່ວມກັບສະມາຊິກລັດຖະບານ ຊຸດທີ IX ປະຕິບັດຫນ້າທີ່ຂອງຕົນໃຫ້ດີ ເທົ່າທີ່ຈະດີໄດ້ ພາຍໃຕ້ລັດຖະທໍາມະນູນ ແລະກົດຫມາຍ ຂອງ ສປປ ລາວ ແລະພ້ອມທີ່ຈະອຸທິດ ທຸກເຫື່ອເເຮງ, ສະຕິປັນຍາ ເເລະຄວາມຮູ້ຄວາມສາມາດຂອງຕົນ ເຂົ້າໃນການປະຕິບັດຫນ້າທີ່ດ້ວຍຄວາມຮັບຜິດຊອບສູງ ເເລະຈະບໍລິສຸດໃຈ ເພື່ອຮ່ວມກັບຄະນະນໍາຂອງພັກ ແລະ ລັດ ທັງສູນກາງແລະທ້ອງຖິ່ນ ຈັດຕັ້ງປະຕິບັດມະຕິກອງປະຊຸມໃຫຍ່ຂອງພັກ ຄັ້ງທີ XI, ແຜນພັດທະນາເສດຖະກິດ-ສັງຄົມເເຫ່ງຊາດ 5 ປີ ຄັ້ງທີ IX ເເລະບັນດາມະຕິຕົກລົງຂອງສະພາແຫ່ງຊາດ ຊຸດທີ IX ໃຫ້ປະສົບຜົນສໍາເລັດເປັນຢ່າງດີ.[6]
แปล: จะเชิดชู มานะ จิตปฏิวัติ รุกให้สูงกว่าเวลาใดทั้งหมด เพื่อร่วมกับสมาชิกรัฐบาลชุดที่ 9 ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี เท่าที่จะดีได้ ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายของสปป.ลาว และพร้อมที่จะอุทิศ ทุกเหงื่อ แรง สติปัญญา และความรู้ความสามารถของตน เข้าในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบสูง และบริสุทธิ์ใจ เพื่อร่วมกับคณะนำของพรรคและรัฐ ทั้งศูนย์กลางและท้องถิ่น จัดตั้งปฏิบัติมติกองประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 11 แผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมแห่งชาติ 5 ปี ครั้งที่ 9 และบรรดามติตกลงของประชุมสภาแห่งชาติ ชุดที่ 9 ให้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

บทบาททางด้านการเมือง

[แก้]
ดร.พันคำ วิพาวัน ในงานประชุมเศรษฐกิจเอเชีย

หลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง ดร.พันคำ วิพาวันได้รับความเห็นชอบและร่วมกับคณะบริหารของประธานประเทศ ดร.ทองลุน สีสุลิด ในการเข้าตำแหน่งรองนายกของสปป.ลาวนั้น ประเทศลาวได้เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แม้ว่าทางรัฐบาลลาวจะรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับต้นๆของอาเซียน แต่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดได้ส่งผลให้ประเทศได้เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ด้านอัตราค่าเงินกีบเฟ้อสูง ทำให้ค่าครองชีพและค่าแรงต่ำ อีกทั้งยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง

30 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่ประชุมสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 9 ดร. พันคำ วิพาวัน ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจของลาว โดยเขาได้ขึ้นกล่าวต่อกองประชุมสภาฯ ว่า ได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกฯ สืบเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ และขอส่งต่อภารกิจให้นายกฯคนใหม่ แก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติต่อไป

โดยที่ประชุมสมาชิกสภาได้มีมติเห็นชอบอย่างด้วยเสียงส่วนใหญ่ ให้แต่งตั้งสอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน

ประวัติการทำงานและการศึกษา

[แก้]
  • ปี พ.ศ. 2518 - 2520 : เป็นพนักงานรัฐกรประจำกระทรวงศึกษาธิการ กีฬา และธรรมการ(ກະຊວງສຶກສາ ກີລາ ແລະທຳມະການ)
  • ปี พ.ศ. 2520 - 2526 : เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยอดีตสหภาพโซเวียต
  • ปี พ.ศ. 2526 - 2528 : เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบำรุงทฤษฎีการเมืองสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กีฬา และธรรมการ
  • ปี พ.ศ. 2528 - 2531 : ศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาทฤษฎีมากซ์-เลนินที่สหภาพโซเวียต
  • ปี พ.ศ. 2531 - 2539 : เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาลัยสร้างครูเวียงจันทน์
  • ปี พ.ศ. 2544 - 2548 : เป็นรัฐมนตรีช่วยประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปี พ.ศ. 2548 - 2554 : เป็นเจ้าแขวงหัวพัน(ผู้ว่าราชการจังหวัด)
  • ปี พ.ศ. 2554 - 2558 : เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการและกีฬา
  • ปี พ.ศ. 2559 - 2564 : เป็นรองประธานาธิบดีลาว
  • ปี พ.ศ. 2564 - 2565 : เป็นนายกรัฐมนตรีลาว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ກອງປະຊຸມຄັ້ງປະຖົມມະລືກຂອງສະພາແຫ່ງຊາດ ຊຸດທີ່IX ເລືອກຕັ້ງ ທ່ານ ພັນຄຳ ວິພາວັນ ເປັນນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ຄົນໃໝ່". ສະພາແຫ່ງຊາດ ແຫ່ງສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-09. สืบค้นเมื่อ March 24, 2021.
  2. "Members of the Lao Government". Lao News Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-03. สืบค้นเมื่อ September 4, 2010.
  3. "Vietnam Embassy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2016-05-06.
  4. "ປະຫວັດທ່ານພັນຄຳ ວິພາວັນ". Laos CRI Online. สืบค้นเมื่อ March 25, 2021.
  5. "ກອງປະຊຸມຄັ້ງປະຖົມມະລືກຂອງສະພາແຫ່ງຊາດ ຊຸດທີ່IX ເລືອກຕັ້ງ ທ່ານ ພັນຄຳ ວິພາວັນ ເປັນນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ຄົນໃໝ່". ສະພາແຫ່ງຊາດ ແຫ່ງສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-09. สืบค้นเมื่อ March 24, 2021.
  6. "ທ່ານ ພັນຄຳ ວິພາວັນ ໄດ້ຮັບເລືອກເປັນນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ແຫ່ງ ສປປ ລາວ". Allinlaos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-09. สืบค้นเมื่อ March 25, 2021.
ก่อนหน้า พันคำ วิพาวัน ถัดไป
ทองลุน สีสุลิด
นายกรัฐมนตรีลาว
(22 มีนาคม พ.ศ. 2564 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565)
สอนไซ สีพันดอน
บุนยัง วอละจิด
รองประธานาธิบดีลาว
(20 เมษายน พ.ศ. 2559 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2564)
ปานี ยาท่อตู้
บุนทอง จิดมะนี

แม่แบบ:รองประธานาธิบดีลาว