พระธรรมมหาวีรานุวัตร (อำนวย จนฺทสโร)
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พระธรรมมหาวีรานุวัตร (อำนวย จนฺทสโร) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ที่บ้านค้อ ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ (87 ปี) |
มรณภาพ | 17 กันยายน พ.ศ. 2563 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | ป.ธ. 4, น.ธ.เอก, คศ.ม. (กิตติมศักดิ์) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดคลองโพธิ์ อุตรดิตถ์ |
อุปสมบท | พ.ศ. 2496 |
พรรษา | 67 |
ตำแหน่ง | ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๕ เจ้าอาวาสวัดคลองโพธิ์ |
พระธรรมมหาวีรานุวัตร (อำนวย จนฺทสโร) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๕ และอดีตเจ้าอาวาสวัดคลองโพธิ์ เป็นพระนักพัฒนาด้านการศึกษาสงเคราะห์รูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเป็นผู้ก่อตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดคลองโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2513 (ปีที่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองโพธิ์) และพัฒนาสำนักเรียนแห่งนี้จนสำนักเรียนวัดคลองโพธิ์กลายเป็นสำนักเรียนบาลีที่มีพระภิกษุสามเณรสอบไล่ได้คิดจากจำนวนผู้เข้าสอบและสอบได้มากที่สุด 1 ใน 5 ของประเทศ และเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสำนักเรียนบาลีแห่งที่ 1 ของเขตการปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ[1]
ชาติภูมิ
[แก้]พระธรรมมหาวีรานุวัตร มีนามเดิมว่า อำนวย สีเสนียด เกิดเมื่อปีระกาวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ภูมิลำเนาเดิม บ้านค้อ หมู่ 9 ตำบลสนม อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ (ปัจจุบันได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอสนม) โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ พ่อเกตุ แม่สุข สีเสนียด
การบรรพชา-อุปสมบท
[แก้]- บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี
- อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 20 ปี โดยมีเจ้าอธิการแก้ว รตฺนโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์[2]
วุฒิการศึกษา
[แก้]- สอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
- สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก
งานการปกครอง
[แก้]- ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- ไดรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์
- ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดคลองโพธิ์ พระอารามหลวง จังหวัดอุตรดิตถ์
- ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์
- ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์
- ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๕
งานการศึกษา
[แก้]- ผู้ก่อตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดคลองโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2513
รางวัลเชิดชูเกียรติ
[แก้]- ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ได้รับการถวายปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- ได้รับการถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มรณภาพ
[แก้]พระธรรมมหาวีรานุวัตร ได้ถึงแก่มรณะภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๕๗ ณ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ สิริอายุได้ ๘๗ ปี ๑ เดือน ๒ วัน พรรษา ๖๗
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2512 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโทที่ พระครูปริยัติสาทร
- พ.ศ. 2530 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ในราชทินนามเดิม[3]
- พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสิทธิญาณมุนี[4]
- พ.ศ. 2540 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติมุนี ศรีศาสนกิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปริยัติวิธาน ศีลาจารโสภณ โกศลปริยัติกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- พ.ศ. 2556 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมหาวีรานุวัตร ปริยัติกิจวิมล โสภณธรรมวราลังการ ไพศาลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระมหาวิจารณ์ มหาปญฺโญ. (2549). อนุสรณ์งานสมโภชวัดคลองโพธิ์พระอารามหลวงและฉลองสมณศักดิ์พระเทพปริยัติวิธาน. อุตรดิตถ์ : พงษ์วิทยาการพิมพ์.
- ↑ พระมหาวิจารณ์ มหาปญฺโญ. (2549). อนุสรณ์งานสมโภชวัดคลองโพธิ์พระอารามหลวงและฉลองสมณศักดิ์พระเทพปริยัติวิธาน. อุตรดิตถ์ : พงษ์วิทยาการพิมพ์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม ๑๓๑, ตอนที่ ๒๐ ข, หน้า ๑, วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เล่ม ๑๐๙,ตอน ๑๐๑ ง ฉบับพิเศษ,วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕,หน้า ๙
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-25. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.