พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์
พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (4 ปี 42 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท ไถง ปราศจากศัตรู |
ถัดไป | พลตำรวจโท ฐิติราช หนองหารพิทักษ์[1] |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 เมษายน พ.ศ. 2499 จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
---|---|
ประจำการ | พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2557 |
ชั้นยศ | พลตำรวจโท (ถูกถอดยศ) |
พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2499) อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ฉายา "นายพลช็อกโลก"[2] ขณะรับราชการมีผลงานการจับกุมในคดีสำคัญหลายคดีทั้งคดียาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนเป็นอาจารย์บรรยายพิเศษในมหาวิทยาลัยและมีผลงานการเขียนหนังสือแนววิชาการเกี่ยวกับตำรวจหลายเล่ม
นายพงศ์พัฒน์ เคยครองยศพลตำรวจโท และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แต่ต่อมาได้ถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย, ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนโดยแอบอ้างสถาบันเบื้องสูง, ความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน และความผิดฐานรับของโจร จนศาลอาญาได้ตัดสินจำคุกรวม 36 ปี 3 เดือน[3] และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ถอดออกจากยศตำรวจและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา[4]
ประวัติ
[แก้]พงศ์พัฒน์เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2499 ที่ตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของนายประวัต และนางยุพิน ฉายาพันธุ์ เขาเป็นน้าของท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี หรือพระอิสริยยศเดิมคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[5]
การศึกษา
[แก้]- ระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ
- ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 15 (ตท.15)
- โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 31 (ร่วมรุ่นกับ พล.ต.อ.ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร., พล.ต.อ.ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร., พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผบช.ภ.1)
- ระดับปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การผ่านการอบรม
[แก้]- หลักสูตรผู้บริหารชั้นสูงของตำรวจ (สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ)
- หลักสูตรผู้บริหารงานระดับกลางของตำรวจ (สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ)
- หลักสูตรสืบสวนของหน่วยสืบราชการลับ จากวิทยาลัยหน่วยสืบราชการลับสหรัฐอเมริกา
- หลักสูตรด้านการบริหารตำรวจ จากวิทยาลัยตำรวจแคนาดา
การรับราชการ
[แก้]พงศ์พัฒน์เคยเป็นสารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท่าพระ, สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา, รองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาลบางขุนนนท์ ผู้กำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม, ผู้กำกับการ 2 กองบังคับการปราบปราม, ผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม, รองผู้บังคับการปราบปราม รักษาราชการแทนผู้บังคับการปราบปราม, ผู้บังคับการปราบปราม และดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบและมือสอบสวนคนหนึ่งที่มีผลงานต่าง ๆ มากมาย ทั้งคดียาเสพติดและคดีการฉ้อโกงข้ามชาติ และในขณะดำรงตำแหน่งผู้กำกับการ 2 กองปราบปราม ได้จัดตั้ง "หน่วยวิเคราะห์พฤติกรรมศาสตร์" โดยการนำหลักวิชาการมาใช้ในการสืบสวน เพื่อรองรับเทคนิคการสืบสวนสมัยใหม่ ซึ่งจะทำให้การสืบสวนเที่ยงตรง แม่นยำขึ้นและสามารถค้นหาความจริงในคดีต่าง ๆ ได้มาก ซึ่งเป็นหน่วยวิเคราะห์พฤติกรรมศาสตร์ที่ตั้งขึ้นในวงการตำรวจแห่งแรกของทวีปเอเชีย[ต้องการอ้างอิง]
ปี 2539 พันตำรวจโทพงศ์พัฒน์ ขณะยังเป็นรอง ผกก.หน.สน.บางขุนนนท์ ได้ริเริ่มนำ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ตามทฤษฎีการรักษาความสงบเรียบร้อยชุมชน (community policing) ซึ่งเป็นทฤษฎี/หลักการทำงานของตำรวจที่ใช้ได้ผลจริงในสหรัฐอเมริกาในการลดปัญหาอาชญากรรมในชุมชน มาทดลองใช้อย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 หลังรับตำแหน่ง โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนแพร่หลายอีกครั้งแก่ตำรวจในสังกัดอย่างมาก เช่น ชุมชนทัพพระยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี[6], ชุมชนบ้านหัวทาง ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล[7][8] ชุมชนบ้านคลองบอน คลองดง ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ตามโครงการคืนชุมชนสีขาวให้สังคมโดยตำรวจทางหลวง (ส.ทล.6 กก.6 บก.ทล. (ชัยภูมิ))[9] เป็นต้น และได้ริเริ่มโครงการต่างๆ มากมายเพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์กร เช่น บช.ก.โกอินเตอร์[10],ร.ร.ตำรวจนอกเวลา [11], 5ทฤษฎี1หลักการ ลดหวาดระแวงของประชาชน [12], MOUทางการศึกษากับนิด้า [13] เป็นต้น
พงศ์พัฒน์ยังถือว่าเป็นนักวิชาการด้านอาชญาวิทยาและนิติศาสตร์ด้วย เป็นอาจารย์บรรยายพิเศษให้นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ทั้งเคยเขียนหนังสือวิชาการตำรวจแผนใหม่หลายเล่ม อาทิ ความรู้เบื้องต้นการเฝ้าสังเกตการณ์ และการสะกดรอยติดตาม (พ.ศ. 2536), ความรู้เบื้องต้นการสืบสวนอาชญากรรม (พ.ศ. 2537) และวิธีปฏิบัติภาคสนามสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อรับแจ้งเหตุอาชญากรรม (พ.ศ. 2539) เป็นต้น[14]
ผลงานที่สำคัญ
[แก้]คดีปลอมแปลงเงินตรา
[แก้]ได้สืบสวนคดีธนบัตรดอลลาร์ปลอมที่ทำได้เหมือนที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา จับกุมผู้ต้องหา คือ นายอาซินลี เจ้าของฉายา "คิงคอง" ตัวการปลอมธน บัตรและตั๋วเงิน สามารถ ยึดแท่นพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ปลอม ซึ่งขณะนั้นถือว่าเป็นแท่นพิมพ์ที่สามารถปลอมธนบัตรได้เหมือนที่สุด เป็นคดีประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีผลงานแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประวัติ ศาสตร์หน่วยสืบราชการลับ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.[15]
คดีเครือข่ายการค้ายาเสพติดรายใหญ่ของโลก
[แก้]จับกุมนายโรแลนด์ ลอสซิกมอล ทำลายขบวนการและเครือข่ายการค้ายาเสพติดรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีเครือข่ายหลายประเทศทั่วโลก อาทิ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ่มยุโรป และกลุ่มประเทศเอเชีย (บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ พม่า ไทย ลาว) ยึดทรัพย์สินได้ประมาณ 800 ล้าน ถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ของเมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา[16]
คดีจับกุมโรงงานผลิตยาบ้ารายใหญ่ 7 แห่ง
[แก้]ในช่วงปี 2530-2531 สามารถจับกุมนักเคมีชาวไต้หวัน ร่วมกับกลุ่มนายทุน ผลิตยาบ้า และยึดหัวเชื้อสำหรับผลิตยาบ้า ถือเป็นการ ทลายโรงงานผลิตยาบ้าได้มากที่สุดจนถึงปัจจุบัน จับกุมขบวนการของหนีภาษีศุลกากร มูลค่าหลายสิบล้านบาท โดย ร.ต.อ.พงศ์พัฒน์ (ยศขณะนั้น) ได้ดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยได้ดำเนินคดีกับนายตำรวจยศพันตำรวจเอก ซึ่งเป็นระดับหัวหน้าตำรวจจังหวัด ระดับสารวัตรใหญ่ และเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่มิชอบและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่[17]
คดีข่มขู่ผู้บริหารบริษัท เทสโก้ โลตัส สำนักงานใหญ่ในประเทศอังกฤษ
[แก้]จับกุมนายอเล็กซานเดอร์จอห์น วินสโตน หรือ อเล็กซ์ อายุ 36 ปี สัญชาติอังกฤษ ซึ่งส่งอีเมล์ข้อความข่มขู่ผู้บริหารบริษัทเทสโก้ โลตัส ประเทศ อังกฤษ เรียกเงินจำนวน 2 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 140 ล้านบาท โดยข่มขู่ว่าหากไม่ทำตามจะผสมสารพิษปนเปื้อนในอาหารที่วางจำหน่ายในห้างโลตัส สาขาใดสาขาหนึ่ง ทางเจ้าหน้าที่หน่วยสกอตแลนด์ยาร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร จึงได้ประสานให้ช่วยสืบสวน และได้สืบสวนจับกุมตัวนายอเล็กซานเดอร์ จอห์น วินสโตน หรือ อเล็กซ์ ผู้ต้องหาได้[18]
คดีปล้นทรัพย์ร้านทองนวนคร
[แก้]จับกุมนายยุทธนา นึกหมาย และนายสุชาติ หรือ "อัศวิน" สิทธิทองหลวง ผู้ต้องหาที่ได้ปล้นทรัพย์ ทองคำไปกว่า 500 บาท โดยก่อนหน้านี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ได้จับกุม นายชุบ ชุมแสง, นายเชษฐ์ ชุมแสง และนายบุญถึง ทองแถม ผู้ต้อง หาจำนวน 3 คน ผิดตัว โดยพ.ต.อ.พงศ์พัฒน์ ผกก.1 ป. (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) ได้สืบสวนรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ จนกระทั่งสามารถจับผู้ต้อง หาตัวจริงได้ และศาลได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2545 ตัดสินจำคุกนายยุทธนา และนายสุชาติ ผู้ต้องหาตัวจริงคนละ 31 ปี และได้ปล่อยผู้ต้องหาที่ตกเป็นแพะในคดีดังกล่าว 2 คน สู่อิสรภาพ[19]
คดีฆาตกรต่อเนื่องหญิง
[แก้]นางณัฐกานต์ อนะมาน วางแผนจดทะเบียนสมรสกับ พล.อ.ต.กิตติพัฒน์ เมือง โคตร (เมื่อปีพ.ศ. 2543) และนายอรุณ ครัวกลาง (เมื่อปีพ.ศ. 2545) ทำประกันชีวิตวงเงินประมาณ 40 ล้านบาท วางยาพิษและจัดฉากอำพรางคดีเป็นอุบัติเหตุ การดำเนินการสืบสวนใช้หลักการวิเคราะห์พฤติกรรมซึ่งเป็นวิชาการสืบสวนสมัยใหม่ จนสามารถดำเนินคดีกับนางณัฐกานต์ได้ ต่อมาศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 25 ปี[20]
ผู้ต้องหาในคดีความ
[แก้]พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ออกคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 631/2557 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ให้โยกย้ายข้าราชตำรวจให้ปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วันที่ 22 พฤศจิกายน พลตำรวจโท ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผบช.น. ขออนุมัติศาลอาญาออกหมายจับพลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. และผู้อื่นได้แก่ พลตำรวจตรี โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ รอง ผบช.ก., พลตำรวจตรี บุญสืบ ไพรเถื่อน ผบก.รน., พันตำรวจเอก โกวิทย์ ม่วงนวล ผกก.ตม.สมุทรสาคร, ตำรวจชั้นประทวน 1 นาย และพลเรือนอีก 4 รายในความผิดฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนหรือประโยชน์อื่นใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 149 ผบ.ตร.แต่งตั้งพลตำรวจโท ประวุฒิ ถาวรศิริ เป็นรักษาการผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557[ต้องการอ้างอิง]
วันที่ 23 พฤศจิกายน ผบ.ตร.มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 632/2557 ให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการไว้ก่อน[21] ต่อมา พลตำรวจโทประวุฒิซึ่งเข้ามารักษาการแทน ผบช.ก. ได้ออกคำสั่ง บช.ก.ให้พันตำรวจเอกอัคราเดช พิมลศรี รอง ผบก.ป. รักษาราชการแทน ผบก.ป., พันตำรวจเอก จิรภพ ภูริเดช ผู้กำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว (ผกก.5 บก.ทท.) รักษาราชการแทน ผกก.1 บก.ป. และพันตำรวจเอก ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้กำกับการ 8 กองบังคับการตำรวจน้ำ (ผกก.8 บก.รน.) รักษาราชการแทน ผกก.5 บก.ป.[22] วันที่ 24 พฤศจิกายน ตำรวจนำผู้ต้องหาฝากขังตามหมายจับ ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2557[23]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คดีร่วมกันเรียกรับส่วยบ่อนพนันออนไลน์อาบูบาก้า
[แก้]วันที่ 14 ธันวาคม 2557
[แก้]ตำรวจขอศาลอาญาอออกหมายจับ พ.ต.ท.ทรงรักษ์ ขุนทรี หมายจับดังกล่าวเป็นหมายจับศาลอาญา เลขที่ 2263/2557 และ 2264/2557 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2557 ให้จับกุม พ.ต.ท.ทรงรักษ์ ขุนทรี รอง ผกก.6 และนายทรงพล ทองสิน[24]
วันที่ 20 ธันวาคม 2557
[แก้]ตำรวจออกหมายจับ นายวิฑูรย์ ตระการพฤกษ์ และศาลอนุมัติหมายจับ นายเริงศักดิ์ ศักดิ์ณรงค์เดช และนางสวงค์ มุ่งเที่ยง ตามหมายจับเลขที่ 2308/2557 และ 2309/2557 [25]
วันที่ 24 ธันวาคม 2557
[แก้]ตำรวจออกหมายจับ พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป. ปฏิบัติหน้าที่ ศปก.ตร. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2345/2557 พ.ต.อ.วัชรพล ทองล้วน ผกก.5 บก.ป. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2342/2557 พ.ต.อ.สุพัฒน์ ลิ้มอิ่ม ผกก.2 บก.ปอท. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2346/2557 พ.ต.ท.ณภัค หรือพิพัฒน์ เฉวงราษฎร์ สว.กลุ่มงานสนับสนุนทางเทคโนโลยี บก.ปอท. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2349/2557 พ.ต.ท.วัฒนา ผลงานดี สว.กก.2 บก.ป. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2347/2557 พ.ต.ต.จักรพันธุ์ ลีลานันทวงศ์ สว.กก.1 บก.ป. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2343/2557 พ.ต.ต.อภิสิทธิ์ เมฆประยูร สว.กก.ปพ.บก.ป. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2350/2557 ร.ต.อ.นิธิพัฒน์ กังรวมบุตร รอง สว.กก.ปพ.บก.ป. หลานชาย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2344/2557 ร.ต.อ.ศักดิ์รินทร์ เกสรเทียน รอง สว.กก.4 บก.ปคม. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2348/2557[26]ในข้อหา คดีร่วมกันเรียกรับส่วยบ่อนพนันออนไลน์อาบูบาก้า
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ เคยได้รับและถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่าง ๆ ดังนี้[27]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[28]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[29]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ "สัมภาษณ์พิเศษ : "พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" ว่าที่ ผบช.ก. ชู"โอท็อปความดี"พลิกโฉมสีกากีไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-10. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
- ↑ สอบคดีน้ำมันเถื่อน โยง "พงษ์พัฒน์"
- ↑ โปรดเกล้าฯถอดยศ-เรียกคืนเครื่องราชฯ"พงศ์พัฒน์ - โกวิทย์ - บุญสืบ"
- ↑ "Thailand crown prince strips wife's family of royal name". BBC online. 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2014-11-30.
- ↑ กองปราบฯลงชุมชน
- ↑ เปิดชุมชนตัวอย่างชัด โครงการ "พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" 1ปีคดีลด-ชาวบ้านอุ่นใจ
- ↑ ผู้รับใช้ชุมชน
- ↑ "โครงการคืนชุมชนสีขาวให้สังคมโดยตำรวจทางหลวง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-10-24.
- ↑ บช.ก.โกอินเตอร์
- ↑ ตำรวจนอกเวลา
- ↑ พงศ์พัฒน์เดินหน้านโยบาย 5ทฤษฎี1หลักการ ลดหวาดระแวงของประชาชน
- ↑ บช.ก.ก้าวอีกขั้น
- ↑ เปิดเส้นทางมือปราบ พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ สู่เจ้าพ่อสอบสวนกลาง
- ↑ พลิกปูม เปิดประวัติ "พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" กับคำสั่งเด้งฟ้าผ่ากลางดึก
- ↑ พลิกปูม เปิดประวัติ "พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" กับคำสั่งเด้งฟ้าผ่ากลางดึก มติชนออนไลน์ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 17:52:05 น.
- ↑ พลิกปูม เปิดประวัติ "พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" กับคำสั่งเด้งฟ้าผ่ากลางดึก มติชนออนไลน์ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 17:52:05 น.
- ↑ พลิกปูม เปิดประวัติ "พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" กับคำสั่งเด้งฟ้าผ่ากลางดึก มติชนออนไลน์ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 17:52:05 น.
- ↑ พลิกปูม เปิดประวัติ "พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" กับคำสั่งเด้งฟ้าผ่ากลางดึก มติชนออนไลน์ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 17:52:05 น.
- ↑ พลิกปูม เปิดประวัติ "พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" กับคำสั่งเด้งฟ้าผ่ากลางดึก มติชนออนไลน์ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 17:52:05 น.
- ↑ โชว์คำสั่งผบ.ตร.ให้“พงศ์พัฒน์-โกวิทย์”ออกจากราชการ เหตุหมิ่นม.112
- ↑ "รักษาราชการแทน ผกก.1 บก.ป." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-26.
- ↑ "ตำรวจนำผู้ต้องหาฝากขังตามหมายจับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-26. สืบค้นเมื่อ 2014-11-25.
- ↑ หมายจับศาลอาญา เลขที่ 2263/2557 และ 2264/2557[ลิงก์เสีย]
- ↑ พิษ'ส่วย'บอล หมายจับเพิ่ม
- ↑ หมายจับอีก 9ตำรวจบ่อน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศตำรวจ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๕๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๒๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- กองปราบปราม เก็บถาวร 2011-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองสมุทรสาคร
- ตำรวจชาวไทย
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- อาชญากรชาวไทย
- นักโทษของประเทศไทย
- นักโทษในคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
- ตำรวจชาวไทยที่ถูกถอดยศ